คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายเปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิด และผลกระทบต่อการลงโทษคดีค้ากำไรเกินควร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรพ.ศ. 2490 มาตรา 16 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อมาพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มีบทบัญญัติมาตรา 30กำหนดหลักการไว้ใกล้เคียงกับมาตรา 16 ของพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร ดังนี้ เมื่อกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด โดยกฎหมายที่ใช้ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบแห่งความผิด และเปิดโอกาสให้จำเลย อ้างเหตุผลอันสมควรมาเป็นข้อแก้ตัวได้ จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลัง เป็นคุณแก่จำเลย และต้องนำมาบังคับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิดและการบังคับใช้กฎหมายที่ให้คุณแก่จำเลย กรณีค้ากำไรเกินควร
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 มาตรา 16 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อมาพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควรได้ถูกยกเลิกโดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 โดยพระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มีบทบัญญัติมาตรา 30กำหนดหลักการไว้ใกล้เคียงกับมาตรา 16 ของพระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร ดังนี้ เมื่อกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิด โดยกฎหมายที่ใช้ภายหลังได้เปลี่ยนแปลงองค์ประกอบแห่งความผิด และเปิดโอกาสให้จำเลย อ้างเหตุผลอันสมควรมาเป็นข้อแก้ตัวได้ จึงต้องถือว่ากฎหมายที่ใช้ภายหลังเป็นคุณแก่จำเลย และต้องนำมาบังคับใช้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายเปลี่ยนแปลงกลางคดี: การยกฟ้องเมื่อกฎหมายที่ใช้บังคับถูกยกเลิก
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 26 และ 51 ลงโทษผู้นำใบยาแห้งพันธุ์ต่างประเทศตั้งแต่หนึ่งกิโลกรัมขึ้นไป ออกนอกเขตจังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามบทบัญญัตินี้ ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2513 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 13 และ 19 บัญญัติให้ยกเลิก มาตรา 26 และ 51 ดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ การกระทำของจำเลยตามฟ้องย่อมไม่เป็นความผิดต่อไป ต้องยกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 109/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายเปลี่ยนแปลงระหว่างพิจารณาคดี: ผลกระทบต่อความผิดเดิม
พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 มาตรา 26 และ 51 ลงโทษผู้นำใบยาแห้งพันธุ์ต่างประเทศตั้งแต่หนึ่งกิโลกรัมขึ้นไปออกนอกเขตจังหวัดโดยไม่ได้รับอนุญาต โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามบทบัญญัตินี้ต่อมาระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มีพระราชบัญญัติยาสูบ (ฉบับที่ 3)พ.ศ. 2512 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 13 และ 19 บัญญัติให้ยกเลิกมาตรา 26 และ 51 ดังกล่าว เมื่อเป็นเช่นนี้ การกระทำของจำเลยตามฟ้องย่อมไม่เป็นความผิดต่อไป ต้องยกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดอาญา การใช้กฎหมายที่เปลี่ยนแปลง และการพิสูจน์ความรับผิด
โจทก์ฟ้องคดีแพ่งขอให้จำเลยชดใช้เงินของโจทก์ที่จำเลยยักยอกเอาไปตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2494 อันเป็นมูลความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 121 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำผิดและมีอายุความฟ้องร้อง 20 ปี ตามกฎหมายลักษณะอาญามาตา 78 (1) แต่ต่อมากฎหมายลักษณะอาญาได้ถูกยกเลิกและมีประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแทนมูลความผิดของจำเลยต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 ซึ่งใช้ในภายหลังและมีอัตราโทษก่อนแก้ไขเบากว่าอัตราโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 131 อันเป็นกฎหมายซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยซึ่งมีอายุความฟ้องร้อง 15 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 (2) อายุความฐานละเมิดในทางแพ่งจึงต้องถืออายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 (2) ดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรค 2 แม้จำเลยผู้ยักยอกจะยังมิได้ถูกฟ้องในคดีอาญาก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1981/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โดยการมอบหมายและการยักยอกเงิน: ความผิดอาญาแผ่นดินแม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
ผู้ควบคุมการไฟฟ้าเทศบาลได้มอบหมายให้จำเลยซึ่งเป็นช่างสายให้ช่วยเก็บเงินค่ากระแสไฟฟ้าด้วย เช่นนี้ถือว่า ในเรื่องการเก็บเงินดังที่ได้รับมอบหมายถือว่าเป็นหน้าที่ ฉะนั้นเมื่อจำเลยยักยอกเอาเงินนั้นไปก็ฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องมอบอำนาจให้ฟ้อง
เมื่อใช้ประมวลกฎหมายอาญาแทนกฎหมายลักษณะอาญาความผิดที่จำเลยถูกฟ้อง(ฐานเป็นเจ้าพนักงานยักยอก) เป็นความผิดอันยอมกันได้และต้องร้องทุกข์ก่อน ตาม มาตรา 356,96 ก็ไม่มีผลย้อนหลังกระทบกระทั่งการฟ้องคดีที่ได้ดำเนินมาโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์ในความผิดฐานฆ่าสัตว์: ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
ฆ่าสุกรในระหว่างเวลาใช้ พ.ร.บ.ฆ่าขายโคกระบือแพะแกะและสุกร พ.ศ.2481 คดีมาถึงศาลฎีกาเมื่อใช้ พ.ร.บ.อากรฆ่าสัตว์ พ.ศ.2488 นั้น ปัญหาในเรื่องริบทรัพย์ศาลต้องใช้ พ.ร.บ.อากรฆ่าสัตว์ พ.ศ.2488 ซึ่งให้ฆ่าสัตว์โดยได้รับอนุญาต ฉะนั้นทรากสัตว์ที่ฆ่าริบไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 59/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและผลกระทบต่อการริบทรัพย์ในคดีฆ่าสัตว์
ฆ่าสุกรในระหว่างเวลาใช้พ.ร.บ.ฆ่าขายโคกระบือแพะแกะและสุกร พ.ศ.2481 แต่คดีมาถึงศาลฎีกาเมื่อใช้ พ.ร.บ. อากรฆ่าสัตว์ พ.ศ. 2488 นั้น
ปัญหาในเรื่องการริบทรัพย์ศาลต้องใช้ พ.ร.บ. อากรฆ่าสัตว์ พ.ศ. 2488 ซึ่งให้ฆ่าสัตว์โดยได้รับอนุญาต ฉนั้นเครื่องมือฆ่าและทรากสัตว์ที่ฆ่าจะริบไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษทางอาญาหลังกฎหมายเปลี่ยนแปลง - สิทธิอุทธรณ์และการใช้กฎหมายใหม่ที่เป็นคุณ
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2541 ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 66 วรรคสอง ป.อ. มาตรา 83 หากจำเลยเห็นว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษา แต่จำเลยมิได้ใช้สิทธิดังกล่าวจนคดีถึงที่สุด จำเลยจึงมิอาจยื่นคำร้องในภายหลังว่าโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเฮโรอีนของกลางที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เกินหนึ่งร้อยกรัมดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 66 วรรคสอง เดิม แม้โจทก์นำสืบว่าเฮโรอีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เกินหนึ่งร้อยกรัม ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตาม มาตรา 66 วรรคสอง เดิม ได้ เพราะการกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ หากศาลฟังตามคำร้องของจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต เมื่อมีการแก้ไขกฎหมายในภายหลัง และความผิดของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (3) และมาตรา 66 วรรคสาม ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต กฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5571/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังฟ้องคดี และอำนาจการร้องทุกข์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจในคดีทุจริต
เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้แล้ว มี พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2545 มาใช้บังคับ โดยให้มีผลเป็นอันยกเลิก พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2545 เป็นต้นไป และกำหนดให้นำ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 มาใช้บังคับแทน และมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 ที่ถูกยกเลิกบัญญัติให้พนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ที่ใช้บังคับแทนมิได้บัญญัติให้พนักงานขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 จึงเป็นการไม่ชอบ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 วรรคแรก เพียงบทเดียว
of 5