คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายแก้ไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6085/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้บังคับขณะทำสัญญา ยังใช้เป็นพยานหลักฐานได้ แม้กฎหมายจะแก้ไขภายหลัง
แม้ขณะโจทก์นำสัญญาค้ำประกันมาใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีบัญชีอัตราอากรแสตมป์ลักษณะแห่งตราสารข้อ 17(ก) ซึ่งแก้ไขโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526มาตรา 13 บัญญัติให้ผู้ค้ำประกันต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทในสัญญาค้ำประกันสำหรับกรณีที่มิได้จำกัดจำนวนเงินไว้ แต่ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2526มาตรา 16 ก็บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดนี้ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีอากรที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่ได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนถูกต้องตามประมวลรัษฎากรที่ใช้บังคับในขณะที่ทำสัญญา จึงยังคงใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหวงห้ามที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดิน การดำเนินการตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการพิจารณาการหวงห้ามโดยไม่ต้องมีพระราชกฤษฎีกา
ที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นตามธรรมดารัฐยอมใช้เพื่อประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์รวมกันได้ ส่วนวิธีการที่จะหวงห้ามนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามกาลสมัย เพิ่งมาบัญญัติเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อ พ.ศ. 2478 โดยพระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินพ.ศ. 2478 ซึ่งได้หวงห้ามโดยวิธีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ต่อมาพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไปโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา4(6) ดังนั้นเมื่อการสงวนหวงห้ามที่ดินพิพาทเป็นการสงวนหรือหวงห้ามตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 ตรี ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 334 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2515โดยเป็นกฎหมายที่ออกมาภายหลังจากที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่า อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 ได้ถูกยกเลิกไปแล้ว การหวงห้ามจึงไม่จำต้องดำเนินการโดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาและประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3912-3913/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งราคาซื้อขายหลักทรัพย์เท็จ แม้กฎหมายแก้ไข แต่ความผิดยังคงมีอยู่ หากองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทุกคนร่วมกันซื้อหุ้นจำนวน 4,500 หุ้น ให้โจทก์ในราคาเพียงหุ้นละ 265 บาท แต่แจ้งให้โจทก์ทราบว่าซื้อในราคาหุ้นละ 423 บาท คิดเงินจากโจทก์เกินไปถึง 711,000 บาท กับดอกเบี้ยอีกส่วนหนึ่ง โดยจำเลยมีเจตนาทุจริต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 มาตรา 21 และมีโทษตามมาตรา 42 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 ยกเลิกความในมาตรา 21 และ 42 เดิมก็ตาม แต่ในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่แก้ไขใหม่นี้ก็ยังคงบัญญัติลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักทรัพย์และหรือการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาซื้อหรือขายของหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาตซึ่งฟ้องของโจทก์ดังกล่าวก็ได้บรรยายมาด้วยว่า จำเลยทุกคนร่วมกันแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับราคาซื้อหลักทรัพย์จดทะเบียนหรือหลักทรัพย์รับอนุญาต อันเข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 42 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวแล้ว พระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 จึงมิได้ยกเลิกความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในคดีอาญาที่ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้อง หลังกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมใช้บังคับ
โจทก์ยื่นฎีกาหลังจากพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2532ใช้บังคับการพิจารณาว่าโจทก์จะฎีกาได้หรือไม่ ต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะยื่นฎีกา เมื่อคดีนี้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์ย่อมฎีกาไม่ได้แม้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532มาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากการยกที่ดินโดยไม่ระบุเป็นสินส่วนตัว แม้กฎหมายแก้ไข ก็ไม่ทำให้สินสมรสเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัว
จำเลยเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของ ส. ในระหว่างสมรสเมื่อ พ.ศ. 2508 มารดาจำเลยยกที่ดินซึ่งเป็นส่วนของตนตามโฉนดที่พิพาท ให้แก่จำเลยโดยไม่ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับส. ตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มาตรา 1464 และมาตรา 1466 แม้ต่อมาบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1471 และมาตรา1474 จะบัญญัติแตกต่างจากบทบัญญัติบรรพ 5 เดิม ก็ไม่ ทำให้ที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม ส. จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1481.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส การทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน และผลกระทบของกฎหมายที่แก้ไขใหม่
จำเลยเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของ ส. ในระหว่างสมรสเมื่อพ.ศ. 2508 มารดาจำเลยยกที่ดินซึ่งเป็นส่วนของตนตามโฉนดที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 เดิม มาตรา 1464 และมาตรา 1466 แม้ต่อมาบทบัญญัติบรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1471 และมาตรา 1474 จะบัญญัติแตกต่างจากบทบัญญัติบรรพ 5 เดิม ก็ไม่ทำให้ที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม ส.จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1481

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2584/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสและการทำพินัยกรรมยกทรัพย์สิน: ที่ดินที่ได้รับจากการยกให้ระหว่างสมรสเป็นสินสมรส แม้กฎหมายแก้ไข
จำเลยเป็นภรรยาชอบด้วยกฎหมายของ ส. ในระหว่างสมรสเมื่อพ.ศ. 2508 มารดาจำเลยยกที่ดินซึ่งเป็นส่วนของตนตามโฉนดเลขที่11878 ให้แก่จำเลยโดยไม่ระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัว ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิม มาตรา 1464 และมาตรา 1466 แม้ต่อมาบทบัญญัติบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1471และมาตรา 1474 จะบัญญัติแตกต่างจากบทบัญญัติบรรพ 5 เดิมก็ไม่ทำให้ที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสอยู่แต่เดิมเปลี่ยนเป็นสินส่วนตัวของจำเลย เพราะกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่ได้บัญญัติให้เปลี่ยนแปลงไปดังกรณีสินเดิม ส. จึงมีอำนาจทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวเฉพาะส่วนของตนให้แก่โจทก์ทั้งสองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1481.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5566/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษอาญาฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและฉ้อโกงประชาชน แม้กฎหมายจัดหางานมีการแก้ไข
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 มาตรา 7 ให้ลงโทษจำคุก 1 เดือน และจำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 ให้ลงโทษจำคุก 5 ปี ให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำนวนเงินที่ให้ใช้คืนแก่ผู้เสียหาย เป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงเล็กน้อย ทั้งศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละไม่เกิน 5 ปี จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
แม้พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 จะยกเลิกพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองหางาน พ.ศ.2511 แต่ก็มิได้ยกเลิกความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจำเลยกระทำในทางตรงกันข้ามกลับกำหนดโทษสำหรับความผิดดังกล่าวให้สูงขึ้นกว่าเดิมอีก ดังนั้น ศาลจึงชอบที่จะลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะจำเลยกระทำผิดเพราะเป็นกฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทลงโทษคดียาเสพติด: การปรับบทตามกฎหมายแก้ไขเมื่อปริมาณยาเสพติดไม่เข้าข่าย
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 69 วรรคสามขยายความมาตรา 69 วรรคสอง เฉพาะความผิดฐานจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ซึ่งเป็นมอร์ฟีน ฝิ่น หรือโคคาอีน ที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม
จำเลยมีมูลฝิ่นหนัก 8.5 กรัม ไว้ในครอบครอง จึงต้องวางอัตราโทษตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง ศาลล่างวางโทษจำเลยตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2) พ.ศ.2528 ซึ่งเป็นบทแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 69 วรรคสามและวรรคสี่ด้วยนั้นไม่ถูก ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2) พ.ศ.2528 มาตรา 6.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางโทษคดีฝิ่น: ศาลฎีกาชี้การปรับบทลงโทษตามกฎหมายแก้ไขเป็นไปผิดพลาด ต้องใช้บทเดิม
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 69วรรคสามขยายความมาตรา69 วรรคสอง เฉพาะความผิดฐานจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภท 2 ซึ่งเป็นมอร์ฟีน ฝิ่นหรือโคคาอีนที่มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินหนึ่งร้อยกรัม
จำเลยมีมูลฝิ่นหนัก 8.5 กรัม ไว้ในครอบครอง จึงต้องวางอัตราโทษตามมาตรา 69 วรรคหนึ่ง ศาลล่างวางโทษจำเลยตามมาตรา 6แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่2) พ.ศ.2528 ซึ่งเป็นบทแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 69 วรรคสามและวรรคสี่ด้วยนั้นไม่ถูก ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเป็นไม่ปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ(ฉบับที่2)พ.ศ.2528 มาตรา 6.
of 8