พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10100/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกลับคืนสู่ทะเบียนบริษัทร้าง: การนับระยะเวลาร้องขอตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
แม้เดิมบริษัท ท. จะถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนเป็นบริษัทร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 1246 (เดิม) เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2544 ก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งจดชื่อบริษัทดังกล่าวกลับคืนสู่ทะเบียนวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2555 อันเป็นเวลาภายหลังจากมาตรา 1273/4 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับแล้ว จึงต้องใช้บทบัญญัติดังกล่าวบังคับใช้แก่คดีนี้ ซึ่งมาตรา 1273/4 วรรคสอง กำหนดว่าการร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทกลับคืนสู่ทะเบียน ห้ามมิให้ร้องขอเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่นายทะเบียนขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทออกจากทะเบียน อันเป็นบทบัญญัติจำกัดสิทธิของผู้ร้องซึ่งเคยมีอยู่แต่เดิมก่อนกฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับ การนับระยะเวลาจำกัดสิทธิของผู้ร้องจึงต้องตีความโดยเคร่งครัด การนับกำหนดระยะเวลาร้องขอให้บริษัทดังกล่าวกลับคืนสู่ทะเบียนตามมาตรา 1273/4 วรรคสอง จึงให้เริ่มนับแต่วันที่บทบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ คือวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 หาใช่เริ่มนับแต่วันที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทขีดชื่อบริษัทดังกล่าวออกจากทะเบียน เมื่อนับแต่วันที่มาตรา 1273/4 วรรคสอง มีผลใช้บังคับจนถึงวันยื่นคำร้องคดีนี้ยังไม่พ้นกำหนดสิบปี ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6416/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายบัตรประชาชนกระทบต่อองค์ประกอบความผิดฐานสนับสนุนการกระทำผิด และการปรับบทลงโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2554 มาตรา 11 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ซึ่งแก้ไขโดย พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2542 และให้ใช้ความใหม่แทน ตามมาตรา 14 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดคดีนี้ได้จำกัดองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้สนับสนุนการกระทำความผิดเป็นเจ้าพนักงานไม่ว่าจะมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้หรือไม่ก็ตาม เป็นว่าผู้สนับสนุนการกระทำความผิดต้องเป็นเจ้าพนักงานออกบัตร เจ้าพนักงานตรวจบัตร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานออกบัตร เจ้าพนักงานตรวจบัตร หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน กรณีไม่อาจลงโทษจำเลยตามมาตรา 14 วรรคสาม ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้
องค์ประกอบความผิดในฐานผู้สนับสนุนตามมาตรา 14 วรรคสาม ตามกฎหมายเดิมยังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดอยู่ตามมาตรา 14 (2) วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 และเมื่อโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
องค์ประกอบความผิดในฐานผู้สนับสนุนตามมาตรา 14 วรรคสาม ตามกฎหมายเดิมยังบัญญัติให้การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดอยู่ตามมาตรา 14 (2) วรรคหนึ่ง ตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.อ. มาตรา 86 และเมื่อโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณมากกว่า จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยไม่ว่าในทางใดตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโดยปรับให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4773/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามกฎหมายยาเสพติดที่แก้ไขใหม่ และการขอปรับมาตราบทลงโทษหลังคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 4 มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2547 ซึ่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 ใช้บังคับแล้ว และศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยไว้ในคำพิพากษาแล้วว่า ให้ใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 กรณีจึงมิได้เป็นเรื่องกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด แต่เป็นกรณีบังคับใช้กฎหมายลงโทษจำเลย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาลงโทษจำเลยแล้ว หากจำเลยเห็นว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 ลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง ชอบที่จะใช้สิทธิฎีกาปัญหาดังกล่าวไปยังศาลฎีกา แต่จำเลยกลับยื่นฎีกาเฉพาะประเด็นที่ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานนำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรหรือไม่เท่านั้น และศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ภาค 4 จนคดีถึงที่สุดไปนานแล้ว จำเลยจึงมายื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดโทษจำเลยใหม่โดยอ้างเหตุข้างต้น พยานหลักฐานโจทก์เป็นเท็จ และมีเหตุอันควรปรานีลดโทษให้จำเลย ดังนี้ หากศาลฟังข้อที่จำเลยอ้างดังกล่าวแล้ววินิจฉัยกำหนดโทษจำเลยใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแก้ไขคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว ขัดต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 190 ซึ่งห้ามมิให้แก้ไขคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอ่านแล้วนอกจากแก้ถ้อยคำที่เขียนหรือพิมพ์ผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาโทษจำเลยอายุไม่เกิน 18 ปีในคดีพยายามฆ่า: การปรับโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ป.อ. มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 และ 83 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 ประกอบ ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม แล้ว คงจำคุก 25 ปี อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 104 (2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นฝึกและอบรม ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษากลับให้ยกฟ้อง ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่าจำเลยกระทำความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แต่เนื่องจาก ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม บัญญัติว่า ในกรณีผู้ซึ่งกระทำผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้กระทำผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุก 50 ปี ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นวางโทษฐานร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนแล้วลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่งโดยประกอบ ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม คงจำคุก 25 ปี นั้นไม่ถูกต้อง เพราะ จะทำให้จำเลยซึ่งมีอายุเกินสิบแปดปีไม่ได้รับประโยชน์ตามเจตนารมณ์ของมาตรา 18 วรรคสาม และจะทำให้เด็กได้รับโทษเท่ากับผู้ใหญ่ จึงให้เปลี่ยนโทษประหารชีวิตเป็นห้าสิบปีเสียก่อน แล้วจึงนำ ป.อ. มาตรา 80 ซึ่งให้ระวางโทษสองในสามของโทษห้าสิบปีมาปรับ หลังจากนั้นจึงลดมาตราส่วนโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 76 ประกอบมาตรา 18 วรรคสาม ดังนั้น จึงคงจำคุกเพียง 16 ปี 8 เดือน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขโทษให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1134/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นจับกุม, ผลกระทบจากกฎหมายแก้ไขใหม่, การโต้แย้งดุลพินิจศาล, ข้อจำกัดฎีกาข้อเท็จจริง
ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสุดท้าย ที่แก้ไขใหม่มิได้มีความหมายว่า ขณะที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำพิพากษาคดีนี้ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้มีผลใช้บังคับแล้วต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยตามบันทึกการจับกุมมารับฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลย เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เจ้าพนักงานผู้จับได้จัดทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับ และโจทก์ได้ส่งอ้างเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา 226 โดยชอบแล้ว ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่แก้ไขใหม่ไม่มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 84 วรรคสุดท้ายที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับแก่คดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลยุติธรรมก่อนวันที่กฎหมายดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จึงต้องใช้หลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงนำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยมารับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบการลงโทษจำเลยได้ตามกฎหมายเดิม
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ในชั้นจับกุมจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามบันทึกการจับกุมเกิดจากการขู่เข็ญของเจ้าพนักงานตำรวจ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 243 วรรคสามนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจขู่เข็ญหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังมา เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ในชั้นจับกุมจำเลยให้การรับสารภาพในข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามบันทึกการจับกุมเกิดจากการขู่เข็ญของเจ้าพนักงานตำรวจ ไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 243 วรรคสามนั้น ในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวศาลฎีกาจำต้องย้อนไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าการที่จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมเป็นเพราะถูกเจ้าพนักงานตำรวจขู่เข็ญหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังมา เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยยกขึ้นอ้าง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำอนาจารและพรากผู้เยาว์ โดยพิจารณาบทบัญญัติกฎหมายที่แก้ไขใหม่ และการปรับบทความผิด
การร้องทุกข์มิใช่เป็นการทำนิติกรรม โจทก์ร่วมที่ 1 จึงกระทำเองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพรากโจทก์ร่วมที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม การปรับวรรคความผิดเป็นหน้าที่ของศาล โจทก์จึงไม่จำต้องระบุวรรคความผิดไว้ท้ายคำฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 318 วรรคสาม จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยพรากโจทก์ร่วมที่ 1 ไปเพื่อการอนาจาร จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม การปรับวรรคความผิดเป็นหน้าที่ของศาล โจทก์จึงไม่จำต้องระบุวรรคความผิดไว้ท้ายคำฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 318 วรรคสาม จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6248/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดทรัพย์และการครอบครองปรปักษ์: การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
ผู้ร้องยื่นคำร้องให้ปล่อยทรัพย์ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2560 และประกาศขายทอดตลาดครั้งแรกในวันที่ 31 มกราคม 2561 โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561 ซึ่งตามมาตรา 288 (เดิม) ให้ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอก่อนการขายทอดตลาด แต่มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ มีผลให้ใช้บังคับเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2560 ให้ยื่นคำร้องขอภายใน 60 วัน นับแต่ที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แม้มาตรา 21 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2560 จะบัญญัติว่า "พระราชบัญญัตินี้ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาของศาลและกระบวนวิธีการบังคับของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ได้กระทำไปแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" ก็ตาม แต่ก็มิได้มีข้อความบัญญัติต่อไปว่า และให้ใช้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่เริ่มดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจนถึงที่สุดแต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2560 การยื่นคำร้องขัดทรัพย์นับแต่นั้นจึงต้องดำเนินการตามความในมาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมาตรา 323 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ยื่นคำร้องภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่า 7 วัน ก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก คดีนี้เมื่อมีการยึดที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างก่อนวันที่มาตรา 323 ที่แก้ไขใหม่ ใช้บังคับเช่นนี้ การที่จะให้ยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในระยะเวลา 60 วัน นับแต่วันที่กฎหมายใช้บังคับ ก็ไม่มีกฎหมายระบุให้เป็นเช่นนั้น กรณีถือว่ามีพฤติการณ์พิเศษแล้ว และการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขัดทรัพย์ไม่ช้ากว่า 7 วัน ก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดครั้งแรกจึงเป็นการยื่นคำร้องขัดทรัพย์ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงทองคำ - การบังคับชำระราคาทองคำที่แท้จริง - อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่
จำเลยทั้งสองร่วมกันฉ้อโกงทองคำของโจทก์ร่วมไปหลายรายการ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,075,012 บาท แต่โจทก์และโจทก์ร่วมขอให้บังคับจำเลยทั้งสองคืนทองคำที่ฉ้อโกงไปคืนหรือใช้ราคา 11,103,793 บาท ซึ่งเกินไปกว่าราคาทองคำที่แท้จริงที่จำเลยทั้งสองฉ้อโกงไป โดยส่วนที่เกินกว่าราคาทองคำที่แท้จริงเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองคืนหรือชดใช้ราคาทองคำที่แท้จริงที่จำเลยทั้งสองฉ้อโกงไปแทนโจทก์ร่วม อันเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมต้องสูญเสียไปเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองได้เท่านั้น ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มมิใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่โจทก์ร่วมสูญเสียไปเนื่องมาจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของจำเลยทั้งสอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 ทั้งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสองซื้อขายทองคำกันจริง หากแต่เป็นเพียงอุบายของจำเลยทั้งสองในการฉ้อโกงโจทก์ร่วมเท่านั้น โจทก์ร่วมจึงไม่ต้องมีหน้าที่นำส่งค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากร ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจึงมิใช่เป็นค่าเสียหายในทางทรัพย์สิน อันเกิดจากการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงของจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 โจทก์ร่วมไม่อาจเรียกร้องให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของราคาทองคำที่จำเลยทั้งสองฉ้อโกงโจทก์ร่วมไปนั้น โจทก์ร่วมมีสิทธิเรียกร้องให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440 แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่ง ป.พ.พ. และมาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. ให้ใช้ข้อความใหม่แทน ซึ่งมีผลให้กรณีเสียดอกเบี้ยให้แก่กัน และมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยโดยนิติกรรมหรือกฎหมายอันชัดแจ้งให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละสามต่อปี เว้นแต่เจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราที่กำหนดตามมาตรา 7 บวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละ 2 ต่อปี เว้นแต่เจ้าหนี้จะได้เรียกดอกเบี้ยสูงกว่านั้น โดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไป แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดังนั้นดอกเบี้ยของค่าเสียหายที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วม จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขใหม่ โดยโจทก์ร่วมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยของราคาทองคำในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทองคำของโจทก์ร่วมแต่ละรายการ จนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะชดใช้ราคาทองคำเสร็จแก่โจทก์ร่วม โดยดอกเบี้ยในส่วนนี้ให้ปรับเปลี่ยนไปตามอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 วรรคสอง (ที่แก้ไขใหม่) แต่ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามที่โจทก์ร่วมขอ