คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 59 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมาย สิทธิในมรดก และการแบ่งสินสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พฤติการณ์ที่ผู้ตายพาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆเหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรโดยให้โจทก์ใช้นามสกุลของผู้ตายและเป็นผู้อุปถัมภ์ค่าเล่าเรียน เครื่องแต่งตัว เครื่องเล่าเรียน ถือได้ว่าผู้ตายได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 แล้ว ผู้ตายกับ ฉ. สมรสกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4และมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของผู้ตายกับ ฉ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายสินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของผู้ตายสองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ฉ. แม้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 วินิจฉัยถึงสิทธิของ ฉ.ซึ่งฟ้องขอเพิกถอนการโอนที่ดินแปลงอื่นและเรียกที่ดินคืนจากจำเลยในคดีดังกล่าวว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งแต่ไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทไม่อาจจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2102/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้า: คดีไม่ใช่ละเมิด ใช้กฎหมายแพ่งทั่วไป อายุความ 10 ปี
โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระราคาค่ากระแสไฟฟ้า โดยอ้างว่าจำเลยเบียดบังให้เครื่องวัดหน่วยกระแสไฟฟ้าลดน้อยลงกับเรียกค่าปรับตามสัญญาที่จำเลยได้ผิดเงื่อนไขการใช้ไฟฟ้าตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ ไม่ใช่เป็นการฟ้องจำเลยว่าละเมิดต่อโจทก์และไม่มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เงินกู้โดยการมอบเงินให้บุคคลอื่นแทน การนำสืบการใช้เงินต้องมีหลักฐานตาม กม.แพ่งฯ มาตรา 653
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินที่กู้ยืมไปพร้อมดอกเบี้ยการที่จำเลยให้การและนำสืบอ้างว่า จำเลยได้ชำระเงินที่กู้ยืมให้โจทก์แล้วโดยมอบให้แก่ ล. ซึ่งขอกู้เงินจำนวนนี้จากโจทก์ตามคำสั่งของโจทก์ ดังนี้ มิใช่กรณีแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 กรณีจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรค 2 เมื่อจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่ไม่มีหลักฐานตามที่มาตรา 653 วรรค 2 กำหนดไว้ จำเลยจะนำสืบการใช้เงินหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1560/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อหุ้นของตนเองและรับจำนำหุ้นเป็นประกัน ขัดต่อกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายธุรกิจหลักทรัพย์
โจทก์จัดการซื้อหรือขายหลักทรัพย์โดยเป็นตัวแทนและนายหน้าของลูกค้า โดยโจทก์ให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เป็น สมาชิกตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการแทนโจทก์หาใช่เป็นการจัด ให้มีตลาดหรือสถานที่อันเป็นศูนย์กลางการซื้อหรือขาย หลักทรัพย์หรือให้บริการที่เกี่ยวกับการจัดให้มีตลาดหรือ สถานที่ดังกล่าวตามความหมายของ พระราชบัญญัติ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2517 มาตรา 3 ไม่ โจทก์ย่อมกระทำการดังกล่าวได้โดยชอบ
การที่โจทก์ให้จำเลยกู้เงินไปเพื่อซื้อหุ้นของบริษัท โจทก์เองโดยโจทก์ ยึดถือหุ้นนั้นไว้เป็นจำนำหรือเป็นประกัน เงินที่โจทก์ทดรองจ่ายซื้อหุ้น หรือโจทก์ให้จำเลยกู้เงิน จากบริษัทในเครือของบริษัทโจทก์โดยเงิน ที่กู้เป็นเงิน ของบริษัทโจทก์ให้บริษัทในเครือดังกล่าวกู้ไปให้จำเลย กู้ อีกต่อหนึ่ง ทั้งหุ้นที่จำเลยจำนำแก่บริษัทในเครือ ดังกล่าว โจทก์เป็น ผู้ยึดถือไว้เอง พฤติการณ์เช่นนี้ถือ ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ให้จำเลยกู้ยืมเงินไปซื้อหุ้นของ บริษัทโจทก์และโจทก์รับจำนำหุ้นของตนเองเป็นประกัน เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1143 ทั้งต่อมา พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ และ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 20(3) บัญญัติห้ามมิให้บริษัทเงินทุน รับหุ้นของ บริษัทเงินทุนนั้นเองเป็นประกันหรือรับหุ้นของบริษัทเงินทุน จากบริษัทเงินทุนอื่นเป็นประกันอีกด้วย การกระทำของ โจทก์จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ไม่มีผลบังคับ โจทก์จะอ้างเป็นมูลเรียกร้องให้ จำเลยชดใช้เงินที่โจทก์ฟ้องมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3428/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: คูน้ำกว้างไม่ถึงขนาดเป็นอุปสรรคขัดขวางทางออกตาม กม.แพ่งฯ จึงไม่อาจบังคับเปิดทางได้
ที่ดินที่ถูกล้อมมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้ แต่ต้องข้ามคูน้ำกว้างประมาณ 4 - 5 เมตร มิใช่สระหรือบึงกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคสอง เจ้าของที่ดินดังกล่าวจึงฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2528/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งเรียกคืนเงินค่าชดเชยศาลแรงงานต้องมีข้อโต้แย้งสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้การประปานครหลวงจำเลยจ่ายค่าชดเชย จำเลยให้การว่าได้จ่ายเงินกองทุนสงเคราะห์ซึ่งถือว่าเป็นค่าชดเชยให้โจทก์ไปแล้ว และฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนเงินดังกล่าวดังนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามข้อบังคับของจำเลยฉบับที่ 6 อันเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง จึงอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานที่จะพิจารณาพิพากษาตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา8(1)
การเสนอคำฟ้องแย้งนั้น ผู้เสนอต้องแสดงให้เห็นว่าตนมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งดังบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา55 การยืนยันว่าเงินกองทุนสงเคราะห์ที่จ่ายไปนั้นเป็นค่าชดเชย จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์คืนเงินดังกล่าว คดีไม่มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายแพ่ง ต้องพิพากษายกฟ้องแย้ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสก่อน-หลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง: กฎหมายที่ใช้บังคับเมื่อสามีภริยาสมรสก่อนและเสียชีวิตหลังใช้กฎหมายใหม่
เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5(ฉบับปี พ.ศ.2477) แต่ตายจากกันเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 (ฉบับปี พ.ศ.2519)แล้ว การแบ่งสินสมรสระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จะต้องนำกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ขณะสมรสมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจัดการสินบริคณห์: การใช้บทบัญญัติเดิมก่อนมีการแก้ไขกฎหมาย
พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 7 บัญญัติว่าบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ไม่กระทบกระเทือนถึงอำนาจการจัดการสินบริคณห์ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 ใหม่นี้ เมื่อคดีได้ความว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาตั้งแต่ พ.ศ. 2499 โจทก์ซึ่งเป็นสามีมีอำนาจจัดการรวมทั้งมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อประโยชน์แก่ที่พิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์นั้นได้อยู่แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5(เดิม) มาตรา 1468,1469 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้โดยลำพัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1924/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมรสโดยสุจริตแม้เป็นโมฆะ ก็มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 5 บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้นการสมรส ฯลฯ"ดังนั้น ปัญหาว่าการสมรสของโจทก์หรือของจำเลยฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของสามีที่ตายจึงต้องวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 เดิมจะนำบรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ซึ่งออกมาใช้บังคับขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขึ้นมาปรับแก่คดีหาได้ไม่
คำว่า "สิทธิ" ตามมาตรา 1494 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งบัญญัติว่า "เหตุที่การสมรสถูกเพิกถอนไม่เป็นผลให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสียสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น" มีความหมายรวมถึงสิทธิในการรับมรดกด้วย ดังนั้น แม้การสมรสระหว่างโจทก์กับเจ้ามรดกจะเป็นโมฆะและต้องถูกเพิกถอนเพราะเจ้ามรดกมีจำเลยเป็นภรรยาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์ทำการสมรสโดยสุจริตโจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกตามมาตรา 1494 ดังกล่าว
ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์จำเลยแถลงว่าการจดทะเบียนสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับโจทก์จำเลยต่างก็สุจริต ขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดตามทะเบียนสมรสว่าของฝ่ายใดจะสมบูรณ์และมีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแล้วต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยานบุคคลดังนี้ เป็นกรณีที่โจทก์จำเลยตกลงกันกำหนดประเด็นข้อพิพาทให้ศาลวินิจฉัยซึ่งเป็นการสละข้อต่อสู้ในประเด็นข้ออื่นตามคำฟ้องและคำให้การแล้วคดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเท่าที่คู่ความตกลงกำหนดไว้เท่านั้น จำเลยจะหยิบยกขึ้นกล่าวอ้างต่อมาว่า ทรัพย์ตามบัญชีทรัพย์ท้ายฟ้องไม่ใช่ทรัพย์มรดก หรือเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบหาได้ไม่ เมื่อศาลเห็นว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกก็วินิจฉัยต่อไปได้ว่าโจทก์มีสิทธิได้รับมรดกเพียงใด โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 875/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจยื่นคำร้องขอตั้งผู้ปกครองและการรับบุตรบุญธรรม ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ผู้รับบุตรบุญธรรมยื่นคำร้องขอให้ศาลตั้ง บ.บุตรเขยเป็นผู้ปกครองบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้เยาว์ เมื่อผู้ร้องไม่ใช่ญาติหรือเป็นพนักงานอัยการ จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1556
เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมยังไม่ได้จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมหรือถูกถอนอำนาจปกครอง ทั้งมารดาผู้เยาว์ยังมีชีวิตอยู่แม้ไม่ทราบที่อยู่ไม่อาจติดต่อได้ ก็ไม่ใช่กรณีที่จะจัดให้มีผู้ปกครองผู้เยาว์ได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 เมื่อไม่อาจตั้งผู้ปกครองได้การตั้งผู้ปกครองหลายคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1559 จึงไม่อาจทำได้ บ. ยังไม่ได้รับความยินยอมจากมารดาผู้เยาว์ ย่อมรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมไม่ได้
of 6