พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172-2173/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการผู้จัดการร่วมรับผิดในฐานะนายจ้าง และการฟ้องซ้ำฐานะบุคคลต่างกัน
จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนิติบุคคล และมีฐานะเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับบริษัทจำเลยที่ 2
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ถือว่าจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมและคดีนี้เป็นคนละคนกัน จึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกอันจะเป็นฟ้องซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด ถือว่าจำเลยที่ 1 ในคดีเดิมและคดีนี้เป็นคนละคนกัน จึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกอันจะเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172-2173/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการผู้จัดการในฐานะนายจ้าง และการไม่เป็นฟ้องซ้ำเมื่อสถานะจำเลยต่างกัน
จำเลยที่1เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลยที่2ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์จำเลยที่1จึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่2ซึ่งเป็นนิติบุคคลและมีฐานะเป็นนายจ้างตามความหมายของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ2จำเลยที่1ต้องร่วมรับผิดกับบริษัทจำเลยที่2 คดีเดิมโจทก์ฟ้องจำเลยที่1ให้รับผิดในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ให้รับผิดในฐานะที่จำเลยที่1เป็นกรรมการผู้จัดการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่2ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดถือว่าจำเลยที่1ในคดีเดิมและคดีนี้เป็นคนละคนกันจึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกอันจะเป็นฟ้องซ้ำ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับทางอาญาสำหรับความผิดตาม พ.ร.บ.แร่: ลงโทษปรับเรียงรายบุคคล แม้เป็นนิติบุคคลและกรรมการผู้จัดการ
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 148 ซึ่งต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงห้าเท่าของมูลค่าแร่ ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่ มิได้มีข้อจำกัดว่า ถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนแล้ว ให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่ เมื่อพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำประมวลกฎหมายอาญามาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษปรับนิติบุคคลและกรรมการผู้จัดการในความผิดตาม พ.ร.บ.แร่ โดยแยกปรับตามรายตัวบุคคล
ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510 มาตรา 148ซึ่งต้องระวางโทษปรับตั้งแต่หนึ่งเท่าถึงห้าเท่าของมูลค่าแร่ตามราคาที่กำหนดโดยกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราค่าภาคหลวงแร่มิได้มีข้อจำกัดว่า ถ้ามีผู้ร่วมกันกระทำผิดหลายคนแล้ว ให้ปรับรวมกันตามมูลค่าของแร่ เมื่อพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ.2510มิได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงนำประมวลกฎหมายอาญามาใช้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 ต้องลงโทษปรับจำเลยเรียงตามรายตัวบุคคล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
นิติบุคคลอาจต้องรับผิดในทางอาญาร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลนั้นได้ หากการกระทำนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ และนิติบุคคลได้รับประโยชน์อันเกิดจากการกระทำนั้น
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้จัดการกระทำกิจการต่าง ๆ แทน ลำพังจำเลยที่ 1 ไม่อาจกระทำกิจการด้วยตนเองได้การกระทำผิดเกิดขึ้นเนื่องมาจากจำเลยที่ 2 โดยตรง ย่อมต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1ด้วย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นตัวการกระทำความผิดฐานมีแร่ไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ มิได้โต้แย้งว่าการกระทำดังกล่าวอยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้โดยไม่จำต้องสอบถามข้อเท็จจริงจากจำเลยก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2275/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการผู้จัดการโอนทรัพย์สินบริษัทที่เป็นหนี้เจ้าหนี้ ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย ถือเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้
จำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท ส. จำเลยรู้อยู่แล้วว่าบริษัท ส.เป็นลูกหนี้โจทก์และยังไม่ได้รับชำระหนี้ จำเลยได้โอนทรัพย์สินของบริษัท ส. ให้บริษัท อ. ซึ่งเป็นการทำให้โจทก์เสียหายไม่ได้รับชำระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน แม้การโอนทรัพย์สินรายนี้จำเลยกระทำไปตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นในฐานะที่จำเลยเป็นกรรมการผู้จัดการ ก็ถือได้ว่าจำเลยร่วมรู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด จำเลยจึงต้องร่วมรับผิดฐานเป็นตัวการในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3887/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการตายของกรรมการผู้จัดการ และความรับผิดของกรรมการผู้จัดการคนใหม่ต่อหนี้สินของบริษัท
พ. ตายเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2520 ขณะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของบริษัทโจทก์ กรรมการของบริษัททุกคนต่างก็ทราบดี ถือได้ว่าบริษัทโจทก์รู้ถึงความตายของ พ. ในวันนั้นเอง หากบริษัทโจทก์มีสิทธิเรียกร้องอย่างใดต่อ พ. ก็จะต้องฟ้องร้องเสียภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อได้รู้ถึงความตายของ พ. ตามป.พ.พ. ม.1754วรรคสาม เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์อันมีต่อ พ. เจ้ามรดกจึงขาดอายุความแล้ว ถึงแม้โจทก์เพิ่งทราบว่า พ. เป็นหนี้โจทก์ ก็หาเป็นเหตุให้อายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์ขยายออกไปไม่ จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างในบริษัทจำกัด: กรรมการผู้จัดการรับเงินเดือนมีสิทธิคุ้มครองแรงงาน แม้มาจากการเลือกตั้ง
การที่โจทก์เป็นผู้ถือหุ้นและมีตำแหน่งเป็นกรรมการจัดการบริษัทจำเลยนั้น แม้โจทก์จะได้รับตำแหน่งด้วยการเลือกจากผู้ถือหุ้น และต้องอยู่ในตำแหน่งตามวาระที่กำหนดไว้ก็ตาม แต่ตำแหน่งของโจทก์คือผู้บริหารงานของบริษัทซึ่งมีรายได้เป็นเงินเดือนหรือที่เรียกว่าค่าตอบแทนรายเดือนและโจทก์ก็ยังมีสิทธิและหน้าที่ในสวัสดิการของบริษัทเช่นเดียวกับพนักงานอื่นอีกด้วย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้ตกลงทำงานให้แก่บริษัทเพื่อรับค่าจ้างหรือค่าตอบแทนรายเดือน อันนับได้ว่าเป็นลูกจ้างตามความหมายในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การรอการจ่ายเงินประกันหรือเงินสะสมไว้ก่อน โดยคาดคะเนหรือสันนิษฐานว่าโจทก์และภรรยาอาจสมคบกันเบียดบังเงินของจำเลยไปทำให้จำเลยเสียหาย โดยที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะยก ขึ้นอ้างได้ หากจำเลยเสียหายจริงก็อาจไปว่ากล่าวกัน เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จำเลยจึงต้องคืนเงินดังกล่าว ให้โจทก์
การรอการจ่ายเงินประกันหรือเงินสะสมไว้ก่อน โดยคาดคะเนหรือสันนิษฐานว่าโจทก์และภรรยาอาจสมคบกันเบียดบังเงินของจำเลยไปทำให้จำเลยเสียหาย โดยที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ว่ามีการทุจริตเกิดขึ้นนั้น ไม่เป็นเหตุที่จะยก ขึ้นอ้างได้ หากจำเลยเสียหายจริงก็อาจไปว่ากล่าวกัน เป็นส่วนหนึ่งต่างหาก จำเลยจึงต้องคืนเงินดังกล่าว ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1707/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะกรรมการผู้จัดการกับการเป็นลูกจ้าง: การพิจารณาความสัมพันธ์ทางแรงงานเมื่อมีพฤติการณ์ปฏิบัติงานที่ไม่เป็นกิจจะลักษณะ
การปฏิบัติงานของ ล. กรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ไม่เป็นกิจจะลักษณะ ไปปฏิบัติงานบ้าง ไม่ปฏิบัติงานบ้าง สุดแท้แต่จะมีสุขภาพดีหรือไม่ ไม่มีหลักเกณฑ์การทำงานแน่นอน แต่อย่างใด แม้เงินเดือนจำน้อย ล. ก็พอใจ เพราะไม่มีเงินก็ขอเอาจากประธานกรรมการบริษัทได้ แสดงว่า ล. เป็นเพียงกรรมการผู้จัดการแต่เพียงในนาม เพราะหาก ล.เป็นลูกจ้างของบริษัทโจทก์ก็จะปฏิบัติตนเช่นนั้นไม่ได้ล. คงเป็นเพียงกรรมการของบริษัทโจทก์ตามมติที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นแต่อย่างเดียว มิได้ตกลงทำงานให้แก่บริษัทโจทก์อีกชั้นหนึ่ง ล. จึงมิใช่ลูกจ้างของบริษัทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3533/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างประเทศ, ใบมอบอำนาจ, การรับสภาพหนี้, อายุความ, และผลของการลงนามสัญญาโดยกรรมการผู้จัดการ
ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแม้จะมิได้ระบุว่าให้ฟ้องคดีในศาลประเทศไทยผู้รับมอบอำนาจก็มีอำนาจฟ้องคดีได้
สาระสำคัญของสัญญามีความว่า โจทก์ตกลงจะให้คำแนะนำช่วยเหลือจำเลยในการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบและช่วยฝึกฝนพนักงานของจำเลยในด้านเทคนิคและบริหารโรงงานทอกระสอบของจำเลยโดยจำเลยตกลงให้ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปแก่โจทก์เป็นงานที่โจทก์ตกลงจะทำให้จำเลยหลายสิ่งหลายอย่างทั่ว ๆ ไปและไม่กำหนดให้งานนั้นสำเร็จอย่างไรเมื่อใด จึงไม่มีลักษณะเป็นการจ้างทำของอันจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยลงนามในสัญญาพิพาทเพียงคนเดียวและไม่ประทับตามของบริษัท ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัท แต่หลังจากทำสัญญาแล้วโจทก์ได้ส่งพนักงานของโจทก์มาช่วยเหลือแนะนำจำเลยตามสัญญา จนการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบของจำเลยสำเร็จเรียบร้อยเปิดดำเนินการได้ และจำเลยได้ยอมรับเอาผลงานของโจทก์ไว้เป็นประโยชน์แล้วตลอดมา จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย เป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ตลอดมาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามสัญญา ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยและจำเลยก็ยอมรับเอาผลงานของโจทก์แล้ว เมื่อผู้แทนโจทก์มาเจรจาเรื่องหนี้ตามสัญญาพิพาท กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยก็เป็นผู้เจรจากับผู้แทนโจทก์ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าบริษัทจำเลยเชิดกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย
การที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 24 เมษายน 2514 ในนามบริษัทจำเลยถึงโจทก์รับรองจะชำระเงินค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น เป็นการยอมรับสภาพหนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยพ้นจากตำแหน่งหรือไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแล้วแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้นับแต่วันที่ 24 เมษายน 2514 ซึ่งเป็นวันรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
สาระสำคัญของสัญญามีความว่า โจทก์ตกลงจะให้คำแนะนำช่วยเหลือจำเลยในการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบและช่วยฝึกฝนพนักงานของจำเลยในด้านเทคนิคและบริหารโรงงานทอกระสอบของจำเลยโดยจำเลยตกลงให้ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายที่โจทก์เสียไปแก่โจทก์เป็นงานที่โจทก์ตกลงจะทำให้จำเลยหลายสิ่งหลายอย่างทั่ว ๆ ไปและไม่กำหนดให้งานนั้นสำเร็จอย่างไรเมื่อใด จึงไม่มีลักษณะเป็นการจ้างทำของอันจะต้องเสียอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยลงนามในสัญญาพิพาทเพียงคนเดียวและไม่ประทับตามของบริษัท ไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัท แต่หลังจากทำสัญญาแล้วโจทก์ได้ส่งพนักงานของโจทก์มาช่วยเหลือแนะนำจำเลยตามสัญญา จนการก่อตั้งโรงงานทอกระสอบของจำเลยสำเร็จเรียบร้อยเปิดดำเนินการได้ และจำเลยได้ยอมรับเอาผลงานของโจทก์ไว้เป็นประโยชน์แล้วตลอดมา จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลย เป็นผู้ติดต่อกับโจทก์ตลอดมาเกี่ยวกับการดำเนินงานตามสัญญา ในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยและจำเลยก็ยอมรับเอาผลงานของโจทก์แล้ว เมื่อผู้แทนโจทก์มาเจรจาเรื่องหนี้ตามสัญญาพิพาท กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยก็เป็นผู้เจรจากับผู้แทนโจทก์ตามพฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือได้ว่าบริษัทจำเลยเชิดกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลย
การที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 24 เมษายน 2514 ในนามบริษัทจำเลยถึงโจทก์รับรองจะชำระเงินค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์ตามสัญญาพิพาทนั้น เป็นการยอมรับสภาพหนี้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่า กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยพ้นจากตำแหน่งหรือไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทจำเลยแล้วแต่อย่างใด จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ตามหนังสือรับสภาพหนี้นับแต่วันที่ 24 เมษายน 2514 ซึ่งเป็นวันรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันตามหนังสือรับสภาพหนี้ แม้ไม่มีตราบริษัท โดยพิจารณาจากพฤติการณ์การทำสัญญาและการกระทำของกรรมการผู้จัดการ
ในการติดต่อกับบุคคลธรรมดาอื่น ๆ บริษัทจำเลยที่ 1 มักจะไม่ประทับตราของบริษัท แต่เมื่อติดต่อกับหน่วยราชการจึงจะใช้ตราประทับ และเมื่อบริษัทจำเลยที่ 1 ทำสัญญาให้โจทก์รับเหมาช่วงขุดคลองส่งน้ำของกรมชลประทานกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1ได้ลงลายมือชื่อ แต่ไม่ได้ประทับตราบริษัท บริษัทจำเลยที่ 1 ก็ผูกพันตามสัญญา ดังนั้นการที่กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ไว้แก่โจทก์เนื่องจากโจทก์หาเงินมาให้บริษัทจำเลยที่ 1 ใช้จ่ายในงานก่อสร้างที่รับเหมาจากกรมชลประทานแม้จะมิได้ประทับตราบริษัทจำเลยที่ 1 ก็เป็นการทำแทนบริษัทหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวจึงผูกพันบริษัทจำเลยที่ 1