คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กระทงความผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษกระทงความผิดฐานมียาเสพติดประเภท 1 และ 2 แม้ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกกระทง
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 และประเภท 2เป็นความผิดที่มีบทความผิดและบทลงโทษคนละมาตราต่างกัน จึงเป็นความผิดต่างกระทงอย่างชัดแจ้งแม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกเป็นกระทง ๆ ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นความผิดสองกระทงทั้งคำฟ้องตอนต้นได้บรรยายไว้แล้วว่าเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ คำขอท้ายฟ้องก็อ้างป.อ. มาตรา 91 ไว้แล้ว ศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษความผิดฐานมียาเสพติดประเภท 1 และ 2 แม้ไม่บรรยายฟ้องแยกกระทง แต่เป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระ ศาลลงโทษทุกกระทงได้
ความผิดฐานมียาเสพติดให้โทษประเภท 1 และประเภท 2 เป็นความผิดที่มีบทความผิดและบทลงโทษคนละมาตรากัน จึงเป็นความผิดต่างกระทงกันเมื่อตามฟ้องโจทก์มีความผิดเพียง 2 กระทง แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องแยกเป็นรายกระทง ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าเป็นความผิด 2 กระทงทั้งคำฟ้องตอนต้นได้บรรยายแล้วว่าเป็นความผิดต่างกรรมต่างวาระและคำขอท้ายฟ้องก็อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ไว้แล้วศาลจึงมีอำนาจลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1616/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาความผิดหลายกรรมต่างกันในคดีสุรา: ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดได้
โจทก์ได้บรรยายฟ้องในข้อหามีภาชนะและเครื่องมือใช้สำหรับทำสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต และข้อหาทำและขายสุราโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 มาตรา 5,30มาเป็นแต่ละกรรม และของกลางก็เป็นคนละส่วนกัน ทั้งสภาพความผิดก็สามารถแยกออกเป็นต่างกรรมกันได้ จึงเป็นความผิดคนละกรรมต่างกันส่วนความผิดฐานมีสุราไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตกับความผิดฐานมีแสตมป์สุราปลอมนั้น พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติความผิดในโทษทั้งสองฐานนี้ไว้คนละมาตรา และสภาพความผิดก็เห็นได้ชัดว่าแยกต่างหากจากกัน ดังนี้ การกระทำของจำเลยสองกรรมหลังนี้จึงเป็นคนละกรรมและเป็นคนละกรรมกับความผิดในสองกรรมแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2713/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม กรณีโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกินหนึ่งปี แม้ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษ
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย 3 กระทง ฐานมีอาวุธปืน จำคุก 6เดือนปรับ 1,500 บาท ฐานมีเครื่องกระสุนปืน ปรับ 2,500 บาท ฐานมีวัตถุระเบิดจำคุก 1 ปี 6 เดือน ปรับ 1,000 บาท ให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 2 ปีกรณียังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงเกินหนึ่งปีแม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้โทษทั้ง 3 กระทง โดยบางกระทงแก้จากโทษปรับเป็นให้จำคุกสถานเดียวและไม่รอการลงโทษอันเป็นการแก้ไขมากก็ตาม แต่โทษแต่ละกระทงศาลอุทธรณ์ยังคงให้จำคุกไม่เกินหนึ่งปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 219.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่าหลายกรรม: การพิจารณาความประสงค์โจทก์ในการลงโทษและจำนวนกระทงความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายบทหลายกระทงต่างกรรมกัน แล้วบรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดฐานพยายามฆ่าว่าจำเลยบังอาจใช้อาวุธปืนพกยิงประทุษร้าย ส.และท. หลายนัดโดยมีเจตนาฆ่าบุคคลทั้งสองและคำขอท้ายคำฟ้องระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91,80,288 ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์มีความประสงค์ที่จะให้ศาลลงโทษจำเลยในการใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย 2 คนเป็นความผิดหลายกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา และการกำหนดโทษกระทงความผิด
ข้อหาพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมืองและทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ นั้นเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แม้จะมิได้กำหนดโทษไว้แต่ความผิดฐานดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ดังนี้ จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3942/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดกรรมและกระทงความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอม การใช้กฎหมายหมวดความผิดเกี่ยวกับเอกสาร
การที่จะวินิจฉัยว่าคดีใดต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาฐานความผิดเป็นกระทง ๆ ไปศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดรวม 6 กระทงซึ่งแต่ละกระทงลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 โจทก์บรรยายฟ้องแยกการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เมื่อการกระทำของจำเลยในขั้นตอนที่ทำปลอมขึ้นซึ่งรอยตราของสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ไทยประจำกรุงเบรุต แล้วเอารอยตราปลอมนั้นไปประทับลงในหนังสือเดินทางปลอม ก็เพื่อให้หนังสือเดินทางปลอมที่จำเลยทำขึ้นมีลักษณะข้อความและรอยตราที่ประทับเหมือนของจริง เมื่อผู้ใดพบเห็นจะได้หลงเชื่อและเข้าใจว่าเป็นหนังสือเดินทางที่แท้จริงอันเป็นการปลอมหนังสือเดินทางทั้งฉบับให้สำเร็จบริบูรณ์ดังเจตนาของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทคือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 กับมาตรา 251 กระทงหนึ่งต่อมาเมื่อจำเลยนำหนังสือเดินทางนั้นไปใช้แสดง ต่อเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง เพื่อตรวจประทับตราเดินทาง ออกไปนอกราชอาณาจักรและเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรรวม 3 ครั้ง แม้จะเป็นการใช้ในลักษณะเดียวกัน แต่เป็นการใช้คนละเวลา คนละครั้งต่างกรรมกัน จึงเป็นความผิดหลายกรรม คือมีความผิดตามมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบด้วยมาตรา 265และมาตรา 251 ประกอบด้วย มาตรา 252 ซึ่งมาตรา 263ให้ลงโทษตามมาตรา 251 แต่กระทงเดียว เมื่อจำเลยเป็นผู้ทำรอยตราปลอมอันเป็นความผิดตามมาตรา 251และได้ใช้รอยตราปลอมนั้นอันเป็นความผิดตามมาตรา 252รวม 3 ครั้ง ในการใช้ครั้งแรก จำเลยทำรอยตราปลอมและใช้รอยตราปลอมด้วย จึงมีความผิดตามมาตรา 251ประกอบด้วยมาตรา 263 กระทงหนึ่ง แต่ในการใช้ครั้งที่สองและที่สาม จำเลยมิได้ปลอมรอยตราขึ้นอีกคงใช้รอยตราปลอม อันเก่านั้นเอง จึงมีความผิดฐานใช้รอยตราปลอมอย่างเดียว ตามมาตรา 252 อีก 2 กระทง รวมทั้งสิ้น 3 กระทง ที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยรวม 6 กระทง จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานยักยอกเงินค่าธรรมเนียมไปรษณีย์ การกำหนดกระทงความผิดและบทลงโทษ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานตำแหน่งนายไปรษณีย์โทรเลขอำเภอฝางและเป็นพนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้รับเอาเงินค่าธรรมเนียมฝากส่งจดหมายแต่ละวันเป็นเวลา 7 วัน รวม 7ครั้งไว้โดยมิได้ปิดตราไปรษณียากรที่ซองจดหมายหรือมิได้จ่ายตราไปรษณียากรให้ผู้ฝากปิดเองตามระเบียบ แล้วเบียดบังเงินค่าธรรมเนียมและกักจดหมายดังกล่าวแต่ละวันไว้ เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยยักยอกเอาเงินดังกล่าวแต่ละครั้งแต่ละวันไปอันเป็นความผิดหลายกรรมรวม 7 กรรม เมื่อพระราชบัญญัติการสื่อสารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2519 มาตรา15 บัญญัติให้พนักงานของการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนั้น จึงถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 จะปรับบทลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 หาได้ไม่ และเมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามมาตรา147 แล้ว ก็ไม่จำต้องปรับบทด้วยมาตรา 157 อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกฟ้องความผิดฐานครอบครองและจำหน่ายยาเสพติดเป็นกระทงความผิดได้ แม้จำเลยรับสารภาพตามฟ้อง
ความผิดฐานมีกัญชาไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย และความผิดฐานจำหน่ายกัญชาเป็นความผิดต่างฐานกัน การที่โจทก์แยกฟ้องเป็นข้อ ก. และข้อ ข. ก็เห็นเจตนาของโจทก์ได้ว่าขอให้ลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ย่อมหมายความว่ารับว่าได้กระทำผิดทั้งสองกรรม ซึ่งเป็นความผิดต่างฐานกันตามฟ้อง จึงต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2355/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง พิจารณาเป็นกระทงความผิด
ในการที่จะปรับว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องพิจารณากระทงความผิดเป็นกระทง ๆ ไป
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปรับจำเลยที่ 1 กระทงแรก 4,000 บาท และให้จำคุกจำเลยที่ 1 อีก 2 กระทง กระทงละ 1 ปี และศาลอุทธรณ์ก็ยังคงลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ ถึงแม้ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาแก้เป็นว่าให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไว้อันเป็นการแก้มากก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นคดีที่ห้ามมิให้คู่ความ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
of 8