พบผลลัพธ์ทั้งหมด 344 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7280/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอนาถาซ้ำ: ศาลไม่อนุญาตหากเคยมีคำสั่งยกคำร้องและไม่ได้อุทธรณ์
หลังจากที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของโจทก์แล้ว โจทก์ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ ศาลชั้นต้นเห็นว่าไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมอีก ยกคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ฉบับนี้ โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ แต่โจทก์ไม่อุทธรณ์ กลับมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่อีกครั้ง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6506/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนของกลางที่ศาลสั่งริบ ผู้ร้องไม่มีอำนาจเนื่องจากไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ การยื่นคำร้องซ้ำจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ขัดต่อกฎหมาย
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอคืนของกลางที่ศาลสั่งให้ริบ ศาลชั้นต้นฟังว่าผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่มีอำนาจ ยื่นคำร้องขอคืนของกลาง ให้ยกคำร้องและคดีถึงที่สุด แล้วผู้ร้องยื่นคำร้องเข้ามาใหม่ขอให้ศาลยกคำร้องขึ้นไต่สวนและมีคำสั่งใหม่โดยอ้างเหตุเดียวกันว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในของกลางซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดีที่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4517/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องขับไล่และค่าเสียหายเกินเกณฑ์ที่ห้ามอุทธรณ์ฎีกา แม้เกี่ยวข้องกระบวนพิจารณา
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 4,000 บาท จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใดๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท อันต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง แม้จะเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาซึ่งไม่เกี่ยวกับเนื้อหาของคดีที่คู่ความพิพาทกันก็ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12498/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ต้องมีทนายความแต่งตั้งเป็นหนังสือ หากไม่มีการแต่งตั้ง ทนายความไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณา
ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์มีร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ แต่ไม่ปรากฎในสำนวนว่าโจทก์ได้ตั้งแต่งบุคคลผู้นี้เป็นทนายความโจทก์ไว้ ทั้งบุคคลผู้นี้มิได้ทำหน้าที่เป็นทนายความโจทก์มาก่อนที่จะมีการยื่นอุทธรณ์ ดังนั้น จึงไม่มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการอุทธรณ์แทนโจทก์ได้
แม้ พ.ร.บ. อัยการฯ มาตรา 11 (2) กำหนดว่า ในคดีแพ่งพนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง แต่เมื่อพนักงานอัยการเข้ามาดำเนินการแทนตัวความในคดีแพ่งในฐานะทนายความ การตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 61 เมื่อคดีนี้ไม่มีการตั้งแต่งร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีให้เป็นทนายความแก้ต่างในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ
แม้ พ.ร.บ. อัยการฯ มาตรา 11 (2) กำหนดว่า ในคดีแพ่งพนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง แต่เมื่อพนักงานอัยการเข้ามาดำเนินการแทนตัวความในคดีแพ่งในฐานะทนายความ การตั้งทนายความจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อตัวความและทนายความแล้วยื่นต่อศาลเพื่อรวมไว้ในสำนวนตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 61 เมื่อคดีนี้ไม่มีการตั้งแต่งร้อยตำรวจเอก ป. พนักงานอัยการจังหวัดราชบุรีให้เป็นทนายความแก้ต่างในคำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4323/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังบันทึกถ้อยคำแทนการเบิกความต่อหน้าศาลในคดีทรัพย์สินทางปัญญา ชอบด้วยกฎหมายหากจำเลยไม่ค้าน
โจทก์ยื่นบัญชีพยานระบุชื่อ ว. เป็นพยานโจทก์ และโจทก์ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ซึ่งมีรายการครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 30 ต่อศาลพร้อมกับคำแถลงขออนุญาตใช้บันทึกถ้อยคำดังกล่าวแทนการซักถามพยานบุคคล โดยโจทก์ได้ส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อถึงวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ทนายจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีและได้กล่าวไว้ในคำร้องด้วยว่า หากโจทก์จะใช้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลแล้ว จำเลยที่ 3 ไม่ค้าน และขอซักค้านผู้ให้ถ้อยคำในนัดหน้าพร้อมกับสืบพยานจำเลยที่ 3 ซึ่งต่อมาศาลก็มีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดสืบพยานโจทก์พร้อมพยานจำเลยที่ 3 ในนัดหน้า ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้ายทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาศาลแต่ได้ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดี เมื่อศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้โจทก์นำพยานเข้าสืบ การที่ทนายจำเลยที่ 3 ไม่มาถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ไม่ติดใจที่จะซักค้าน ว. ศาลย่อมรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เป็นพยานหลักฐานได้ โดยไม่จำเป็นต้องให้ ว. ที่มาศาลในวันดังกล่าวเข้าเบิกความต่อหน้าศาลอีกตามข้อกำหนด ข้อ 29 วรรคท้าย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลมิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำ การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไม่มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไป เพียงแต่เมื่อ ว. มาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความจึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงแทนการสืบพยานบุคคลมิได้ระบุให้ผู้ให้ถ้อยคำต้องสาบานหรือปฏิญาณตนก่อนให้ถ้อยคำ การที่บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไม่มีข้อความของการสาบานหรือปฏิญาณตนของ ว. ก็ไม่ทำให้บันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. เสียไป เพียงแต่เมื่อ ว. มาศาลเพื่อตอบคำถามค้านและคำถามติงของคู่ความจึงจะต้องสาบานหรือปฏิญาณก่อนเบิกความ และโจทก์ไม่จำต้องระบุอ้างบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. ไว้ในบัญชีพยานโจทก์ในฐานะเป็นพยานเอกสาร เพราะถือว่าการส่งบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงเป็นกระบวนพิจารณาแทนการสืบพยานบุคคล ดังนั้น เมื่อโจทก์ระบุชื่อ ว. เป็นพยานบุคคลของโจทก์ไว้ในบัญชีพยานของโจทก์แล้ว การที่ศาลรับฟังบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงของ ว. แทนการที่โจทก์ต้องซักถามตัวพยานจึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1724/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการควบคุมกระบวนพิจารณาเพื่อความเป็นธรรมและความรวดเร็วในการดำเนินคดี
การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นอำนาจของศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 271 ศาลย่อมมีสิทธิควบคุมการดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ต่อเนื่องและเป็นธรรม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์นำพยานเข้าสืบเพียง 1 ปาก จนจบคำซักถามแล้วให้เลื่อนคดีไปซักค้านนัดต่อไปพร้อมกับสืบพยานคู่อีกปากหนึ่งเพื่อความเป็นธรรมที่จะไม่ให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีและเพื่อความรวดเร็ว เนื่องจากการซักถามในนัดนี้ไว้ก่อนจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปซักถามในนัดหน้า คำสั่งของศาลชั้นต้นในการดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีและการเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ รวมถึงการฟ้องคดีใหม่
คำร้องของโจทก์ฉบับแรกอ้างว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดหลงเพราะศาลชั้นต้นนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 19 ตุลาคม 2544 ไม่ใช่วันที่ 17 ตุลาคม2544 ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีอันเป็นเรื่องอ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2544 โจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งภายในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 แต่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ กลับยื่นคำร้องฉบับหลังอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทราบนัดในวันที่ 17 ตุลาคม 2544 ที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีจึงไม่ถูกต้องขอให้อนุญาตให้โจทก์พิจารณาคดีใหม่ อันเป็นเรื่องอ้างว่าโจทก์ไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา ขอให้พิจารณาคดีใหม่ ไม่ได้อ้างว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบดังเช่นคำร้องฉบับแรก ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องฉบับหลังเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2544 อ้างว่าไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ให้ยกคำร้องฉบับแรก และโจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องฉบับหลังในวันที่ 4 ธันวาคม 2544 จึงเป็นการอุทธรณ์ภายในกำหนด 1 เดือนตามมาตรา 229
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย หากโจทก์เห็นว่าการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปนั้นเพราะหลงผิดเนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ ถ้าศาลยกคำร้อง โจทก์ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นต่อไปได้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์โจทก์จึงคงมีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในอายุความเท่านั้น
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 โจทก์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ไม่ได้ ทั้งห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งจำหน่ายคดีด้วย หากโจทก์เห็นว่าการที่ศาลสั่งจำหน่ายคดีไปนั้นเพราะหลงผิดเนื่องจากโจทก์ยังไม่ทราบกำหนดวันนัดสืบพยานโจทก์ก็ชอบที่จะขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ ถ้าศาลยกคำร้อง โจทก์ก็สามารถอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นต่อไปได้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์โจทก์จึงคงมีสิทธิที่จะฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในอายุความเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7141/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในคดีแพ่ง
พ. มิได้เป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงให้ดำเนินคดีแทนโจทก์ แต่ พ. ได้แต่งทนายความให้ดำเนินคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นเรื่องโจทก์ดำเนินคดีผิดพลาดในเรื่องผู้มีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์ โดยความบกพร่องของโจทก์เอง โจทก์จะมาฎีกาโต้แย้งว่าการกระทำผิดกระบวนพิจารณาของตนเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่แก้ไขข้อผิดพลาดของตนเอง ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษโดยไม่สืบพยานประกอบคำรับสารภาพในคดีอาญาที่มีโทษสูง เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกายกเลิกคำพิพากษาและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพรากเด็กหญิง ส. อายุ 12 ปีเศษ ไปเสียจากบิดาและผู้ปกครองของผู้เยาว์ โดยปราศจากเหตุสมควรเพื่อการอนาจาร ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 317 หากศาลฟังว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยจะมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคท้าย ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ศาลต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2544 ระบุว่า อ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยขอให้การรับสารภาพผิดตามฟ้องและไม่ต้องการทนาย โจทก์และจำเลยไม่ขอสืบพยาน ศาลเห็นสมควรให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะข้อเท็จจริงก่อนมีคำพิพากษา จึงเลื่อนไปนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 25 กันยายน 2544 โดยโจทก์ไม่ได้ลงลายมือชื่อรับทราบรายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคท้าย ตามคำฟ้องโดยไม่มีการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลยก่อนและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีที่ชอบด้วยกฎหมายและการขาดนัดพิจารณาที่มีผลต่อการดำเนินคดีกับจำเลยร่วม
เมื่อไม่ปรากฏหลักฐานใดที่แสดงว่าจำเลยที่ 7 ได้ทราบนัดโดยชอบแล้ว ศาลชั้นต้นควรจะต้องจัดส่งหมายนัดให้แก่จำเลยที่ 7 ณ ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 7 อีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งให้ปิดประกาศแจ้งนัดวันสืบพยานโจทก์ครั้งที่ 3 ให้จำเลยที่ 7 ทราบหน้าศาลเพียงอย่างเดียว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยที่ 7 ทราบนัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้ว หาได้ไม่ และการที่จำเลยที่ 7 ไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 7 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการสั่งโดย ผิดหลง และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 7 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้ระบุว่าชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 7 ในฐานะ ผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ขอรับผิดร่วมกันและแทนกันอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเช่นเดียวกับ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ดังนี้ มูลหนี้ของจำเลยทั้งเจ็ดตามฟ้องโจทก์จึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินในมูลหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวน หรือหากจำเลยคนใดไม่มาศาล ก็ต้องปรากฏเหตุโดยแจ้งชัดว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งให้จำเลยผู้นั้นขาดนัดพิจารณาได้โดยชอบ เมื่อคดีปรากฎเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีก็หาอาจพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานแห่งการ ขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 7 ให้ชัดเจนเสียก่อนได้ไม่
ตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 7 ถูกฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้ระบุว่าชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 7 ในฐานะ ผู้ค้ำประกันของจำเลยที่ 1 ขอรับผิดร่วมกันและแทนกันอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเช่นเดียวกับ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 6 ดังนี้ มูลหนี้ของจำเลยทั้งเจ็ดตามฟ้องโจทก์จึงเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินในมูลหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวน หรือหากจำเลยคนใดไม่มาศาล ก็ต้องปรากฏเหตุโดยแจ้งชัดว่าศาลชั้นต้นอาจสั่งให้จำเลยผู้นั้นขาดนัดพิจารณาได้โดยชอบ เมื่อคดีปรากฎเหตุที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีก็หาอาจพิจารณาพิพากษาไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานแห่งการ ขาดนัดพิจารณาของจำเลยที่ 7 ให้ชัดเจนเสียก่อนได้ไม่