คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กลฉ้อฉล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลและสิทธิการครอบครองของเจ้าของร่วม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิ ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ล.บุตรสาวจำเลย เดิม ล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากัน โจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคาร ล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้น ล.กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา จำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของ ล. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับ ล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรส ระหว่างเวลาดังกล่าว มีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนาม ล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โจทก์กับ ล.จึงเป็นเจ้าของร่วม การที่ ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริง อันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ ล.หลงเชื่อ แล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้น โดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคาร การจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของ ล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับ ล.ในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้น เป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลและผลกระทบต่ออำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิ ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ล.บุตรสาวจำเลย เดิม ล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากัน โจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคารล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้น ล. กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา จำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของล.โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับ ล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรส ระหว่างเวลาดังกล่าว มีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนามล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โจทก์กับ ล.จึงเป็นเจ้าของร่วม การที่ ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริง อันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ ล.หลงเชื่อแล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้นโดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคาร การจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับ ล.ในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้น เป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลทำให้โมฆะ เจ้าของร่วมมีสิทธิเข้าอยู่อาศัย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของล.บุตรสาวจำเลยเดิมล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากันโจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคารล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้นล. กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาจำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของล.โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรสระหว่างเวลาดังกล่าวมีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนามล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์อีกส่วนหนึ่งเป็นของล. โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์อีกส่วนหนึ่งเป็นของล. โจทก์กับล.จึงเป็นเจ้าของร่วมการที่ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริงอันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ล.หลงเชื่อแล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้นโดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคารการจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา156กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับล.ในฐานะเจ้าของร่วมเมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้นเป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานรับรองพินัยกรรม & กลฉ้อฉล: ศาลต้องสืบพยานก่อนมีคำพิพากษา
จำเลยลงชื่อเป็นพยานรับรองลายพิมพ์นิ้วหัวแม้มือของผู้ทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ลงชื่อเป็นพยานรับรองพินัยกรรม ไม่มีผลให้ข้อกำหนดพินัยกรรมยกที่ดินแก่จำเลยเป็นโมฆะจำเลยมีสิทธิรับมรดกตามพินัยกรรม
เมื่อยังมีประเด็นตามคำฟ้องว่าพินัยกรรมกระทำขึ้นด้วยกลฉ้อฉล พินัยกรรมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ จึงต้องฟังคำพยานโจทก์จำเลยก่อน ที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยและมีคำพิพากษาเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมจากกลฉ้อฉล สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย และการกลับคืนสู่ฐานะเดิม
คดีนี้แม้โจทก์จำเลยจะมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาในส่วนที่ให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์ยังคงอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับค่าเสียหายและดอกเบี้ยต่อมานั้น ไม่อาจทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง จึงถือไม่ได้ว่าคดีนี้ได้ถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษานั้นได้ถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่
การกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อยินยอมโอนที่ดินให้แก่จำเลย อันเป็นการทำกลฉ้อฉลต่อโจทก์ ดังนั้นสัญญาขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะกรรม เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวแล้ว สัญญาขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก อันมีผลทำให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 138 วรรคท้าย เดิม จำเลยจะต้องโอนที่ดินพิพาทกลับคืนให้แก่โจทก์และโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าที่ดินซึ่งโจทก์ได้รับจากจำเลยไปแล้วทั้งหมดแก่จำเลยและในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมซึ่งเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ย และคดีนี้จำเลยมิได้ฟ้องแย้งหรือมีคำขอให้โจทก์ต้องรับผิดคืนค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ย ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าที่ดินที่โจทก์จะต้องคืนแก่จำเลยด้วย
ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลย มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้หรือใช้สิทธิเลิกสัญญาอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้อีกส่วนหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 213วรรคท้าย และ มาตรา 391 วรรคท้าย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆียะ และโจทก์ได้บอกล้างแล้ว ถือได้ว่าตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลเสมือนหนึ่งว่ามิได้ทำนิติกรรมต่อกันมาแต่ต้น และทำให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมป.พ.พ.มาตรา 138 วรรคท้าย เดิม ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวนี้กำหนดให้มีการได้รับค่าเสียหายชดใช้แทนก็แต่เฉพาะกรณีที่การจะให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมดังกล่าวเป็นการพ้นวิสัยเท่านั้น ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8429/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กลฉ้อฉล สัญญาโมฆียะ การบอกล้างโมฆียะ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
คดีนี้แม้โจทก์จำเลยจะมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาในส่วนที่ให้เพิกถอนสัญญาขายที่ดินและรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์ยังคงอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นในประเด็นแห่งคดีเกี่ยวกับค่าเสียหายและดอกเบี้ยต่อมานั้น ไม่อาจทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่อง จึงถือไม่ได้ว่าคดีนี้ได้ถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะยื่นคำขอให้ศาลชั้นต้นออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษานั้นได้ถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงให้โจทก์หลงเชื่อยินยอมโอนที่ดินให้แก่จำเลย อันเป็นการทำกลฉ้อฉลต่อโจทก์ดังนั้นสัญญาขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นโมฆียะกรรม เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนถือได้ว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมดังกล่าวแล้ว สัญญาขายที่ดินระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก อันมีผลทำให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 138 วรรคท้าย เดิมจำเลยจะต้องโอนที่ดินพิพาทกลับคืนให้แก่โจทก์และโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าที่ดินซึ่งโจทก์ได้รับจากจำเลยไปแล้วทั้งหมดแก่จำเลยและในการคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมซึ่งเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้ต้องคืนพร้อมดอกเบี้ย และคดีนี้จำเลยมิได้ฟ้องแย้งหรือมีคำขอให้โจทก์ต้องรับผิดคืนค่าที่ดินพร้อมดอกเบี้ย ศาลย่อมไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ชำระดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าที่ดินที่โจทก์จะต้องคืนแก่จำเลยด้วย ตามคำฟ้องของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมอันเกิดจากกลฉ้อฉลของจำเลย มิได้ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระหนี้หรือใช้สิทธิเลิกสัญญาอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้อีกส่วนหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 213 วรรคท้าย และ มาตรา 391 วรรคท้าย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่านิติกรรมดังกล่าวเป็นโมฆียะ และโจทก์ได้บอกล้างแล้ว ถือได้ว่าตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ซึ่งมีผลเสมือนหนึ่งว่ามิได้ทำนิติกรรมต่อกันมาแต่ต้น และทำให้ผู้เป็นคู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 138 วรรคท้ายเดิม ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวนี้กำหนดให้มีการได้รับค่าเสียหายชดใช้แทนก็แต่เฉพาะกรณีที่การจะให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมดังกล่าวเป็น การพ้นวิสัยเท่านั้น ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: สิทธิเลิกสัญญาและการคืนเงินมัดจำ
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยทั้งสอง ทั้งข้อความในสัญญาก็ไม่ระบุให้โจทก์เลิกสัญญาได้ก่อนถึงกำหนดวันโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6967/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน มิใช่เพราะกลฉ้อฉล และสิทธิในการเรียกเงินมัดจำคืน
เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยทั้งสองทั้งข้อความในสัญญาก็ไม่ระบุให้โจทก์เลิกสัญญาได้ก่อนถึงกำหนดวันโอนโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายและเรียกเงินมัดจำคืน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรมซื้อขายที่ดินจากกลฉ้อฉลหรืออาศัยความไม่รู้ของคู่กรณี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกให้โจทก์ไปทำสัญญาประกันชีวิตแต่กลับไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นการอ้างความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ขายที่ดินให้จำเลยเท่ากับปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ได้สำคัญผิดหาได้ยกเรื่องกลฉ้อฉลขึ้นต่อสู้ไม่แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่าเป็นการแสดงเจตนาเพราะกลฉ้อฉลและจำเลยฎีกาในทำนองเดียวกันก็ตามก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น จำเลยอาศัยความไม่รู้หนังสือตลอดจนความสูงอายุและความไม่รู้ระเบียบต่างๆของทางราชการของโจทก์ทำให้โจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาททั้งแปลงให้แก่จำเลยทั้งที่โจทก์มีเจตนาจะโอนขายที่ดินเฉพาะส่วนเท่านั้นหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทจึงเกิดโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา119เดิม(มาตรา156ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2398/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆียะกรรมจากกลฉ้อฉล & สินส่วนตัว: ผลต่อการโอนที่ดินชำระหนี้
ค่าอ้างเอกสารตามตาราง 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่ง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ชำระตั้งแต่เมื่อส่งเอกสารเป็นต้นไป มิใช่ว่าหากไม่ชำระค่าอ้างเอกสารทันทีแล้วจะรับฟังเอกสารนั้น ๆ ไม่ได้ ผู้อ้างเอกสารย่อมมีโอกาสเสียค่าอ้างเอกสารได้เสมอ ดังนั้น เมื่อโจทก์เสียค่าอ้างเอกสารหลังจากจำเลยได้ยื่นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์รับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้ นิติกรรมที่จำเลยโอนที่พิพาทตีใช้หนี้เงินยืมให้โจทก์เกิดจากกลฉ้อฉลของโจทก์เป็นโมฆียะ แต่ ป. สามีจำเลยไม่ใช่ผู้ได้ทำการแสดงเจตนาโดย วิปริตหรือเป็นบุคคลที่กฎหมายให้บอกล้างโมฆียะกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 การที่ป. มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมจึงไม่มีผลตามกฎหมาย ที่พิพาทเป็นสินส่วนตัวของจำเลยซึ่งได้รับการยกให้มาจากบิดาก่อนทำการสมรสกับ ป. จำเลยจึงมีอำนาจจัดการสินส่วนตัวได้โดย ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี นิติกรรมโอนที่พิพาทตีใช้หนี้ให้โจทก์ย่อมสมบูรณ์ แม้ไม่ได้รับความยินยอมจาก ป.
of 8