คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กองมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย โดยศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาความเหมาะสมและประโยชน์สูงสุดของกองมรดก
คดีนี้มีการร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคท้าย ซึ่งศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิเคราะห์พฤติการณ์และความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ผู้ร้องได้แก้ฎีกาว่าตามพฤติการณ์แล้วสมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกคนเดียว ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียโดยเป็นผู้รับมรดกของ ช. ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกสืบทอดจากจ.ซึ่งถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก เมื่อผู้คัดค้านไม่ใช่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ร้อง แต่เป็นหลานโดยเป็นบุตรของพี่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับชั้นถัดลงมาตามกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีคุณสมบัติบกพร่องในการจัดการมรดก ประกอบกับเจตนาของ ช. เจ้ามรดกผู้เป็นต้นตระกูลตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมว่า "ขอให้บรรดาทายาทของข้าพเจ้าจงมีความสมานสามัคคี ช่วยกันผดุงส่งเสริมตระกูลของเราให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป" แล้ว ดังนี้ ตามพฤติการณ์และความเหมาะสมจึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกับผู้ร้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้บังคับคดีจากกองมรดกได้ก่อนแบ่งมรดก แม้มีข้อพิพาทเรื่องผู้จัดการมรดก
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิขอให้บังคับคดีเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของจำเลยได้โดยไม่ต้องรอให้มีผู้จัดการมรดกหรือแบ่งมรดกระหว่างทายาทของจำเลยก่อน การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลยแม้โจทก์จะคัดค้านและขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลย และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล ก็ไม่ใช่เหตุสมควรที่ศาลจะสั่งงดการบังคับคดีไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้บังคับคดีจากกองมรดกได้ แม้ยังไม่มีผู้จัดการมรดก หรือการแบ่งมรดก
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมขอให้บังคับคดีเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกของจำเลยได้โดยไม่ต้องรอ ให้มีผู้จัดการมรดกหรือแบ่งมรดกระหว่างทายาทของจำเลยก่อนดังนั้น การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลย แม้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะคัดค้านและขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกของจำเลย และคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลก็ตามกรณีก็หาใช่เหตุสมควรที่ศาลจะสั่งงดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันสัญญาจะซื้อขายหลังผู้จะซื้อเสียชีวิต: สิทธิเรียกร้องของกองมรดกต่อคู่สัญญา
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิมอบอำนาจให้ทนายความทำหนังสือแจ้งให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินและบ้านพิพาท และตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่าง พ.กับจำเลยระบุว่า คู่สัญญาจะต้องไปจดทะเบียนซื้อขายที่ดินในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 เมื่อถึงกำหนดนัด พ.ไม่ไปตามนัดจึงเป็นฝ่ายผิดนัด คำให้การดังกล่าวเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดนัด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ จึงเป็นการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ผิดจากข้อเท็จจริงในสำนวน
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทตรงประเด็นตามคำฟ้องและคำให้การ แม้จะไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่เมื่อจำเลยไม่ได้คัดค้านภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นสั่งกำหนดประเด็น ตามป.วิ.พ.มาตรา 183 วรรคสี่ ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว
ตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทเป็นสัญญาระหว่าง พ.กับจำเลย กำหนดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในวันที่ 19 สิงหาคม 2535 พ.ถึงแก่ความตายก่อนวันนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น สิทธิการรับโอนกรรมสิทธิ์และหน้าที่การชำระเงินที่เหลือของที่ดินและบ้านพิพาทตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวย่อมเป็นกองมรดกของ พ.ผู้ตาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1600 การเรียกร้องสิทธิของจำเลยในฐานะเจ้าหนี้กองมรดกต้องบังคับต่อทายาทหรือผู้จัดการมรดก การที่จำเลยมีหนังสือนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านพิพาทแจ้งให้ พ.ไปดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามสัญญาหลังจาก พ.ถึงแก่ความตายแล้ว จึงย่อมไม่มีผลบังคับสัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทจึงยังมีผลผูกพันกันอยู่ระหว่างจำเลยกับทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
แม้โจทก์จะไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลย แต่โจทก์ก็ดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยในฐานะคู่สัญญากับ พ.ปฏิบัติตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 327/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงผู้จัดการมรดกเพื่อประโยชน์สูงสุดของกองมรดกและทายาท
แม้จะมีข้อกำหนดในพินัยกรรมให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งให้ผู้ร้องทั้งสี่ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว เมื่อปรากฎต่อมาในภายหลังว่ามีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจถอดถอนหรือสั่งตั้งผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลเพิ่มเติมได้เพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก
แม้ศาลยกคำร้องของ ค. ที่ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว แต่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกคนอื่นร้องขอต่อศาลให้ตั้ง ค.เป็นผู้จัดการมรดกก็เป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713
การที่บุคคลใดเคยถูกศาลพิพากษาลงโทษ มิใช่เหตุที่จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2621/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีหนี้สินหลังเจ้ามรดกเสียชีวิต: ไม่ตกตามมาตรา 1754 หากกองมรดกเป็นเจ้าหนี้
อายุความตามมาตรา1754ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นอายุความห้ามฟ้องคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกส่วนคดีที่เจ้ามรดกเป็นเจ้าหนี้มิได้กำหนดอายุความไว้เป็นพิเศษในมาตรา1754เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทและเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินกู้ที่จำเลยทั้งสองกู้ยืมผู้ตายไปแม้โจทก์จะฟ้องเมื่อพ้นกำหนด1ปีนับแต่เจ้ามรดกตายคดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความเพราะคดีนี้ไม่ได้เป็นคดีมรดกหรือเป็นคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดกไม่ตกอยู่ในบังคับมาตรา1754

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2340/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของกองมรดกและการครอบครองโดยไม่เจตนาเป็นเจ้าของ
แม้ตามฟ้องโจทก์จะระบุชื่อโจทก์ที่ 1 ว่า กองมรดก ห.ซึ่งไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายก็ตาม แต่เมื่ออ่านคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 โดยตลอดแล้วเป็นที่เห็นได้ว่า บ.ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห.เป็นผู้ฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของ ห.ที่ บ.เป็นผู้จัดการมรดก ดังนั้น การระบุชื่อโจทก์ที่ 1 ดังกล่าว จึงเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำผิด แท้จริงแล้วเท่ากับ บ.ฟ้องคดีในฐานะผู้จัดการมรดกของ ห.ถือได้ว่าโจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้อง
จำเลยขออาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทของโจทก์ทั้งสอง มิได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จำเลยจะครอบครองมานานเท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8438/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากการประนีประนอมยอมความ: การบังคับชำระหนี้จากกองมรดกเมื่อลูกหนี้ถึงแก่ความตาย
ป.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์มีใจความว่า ข้อ 2. ป.ยินยอมชดใช้เงินจำนวน 40,000,000 บาท ให้แก่โจทก์ ข้อ 3.ป.จะจ่ายเงินจำนวน 40,000,000 บาทให้แก่โจทก์ เมื่อ ป. สามารถขายที่ดินโฉนดที่ 3837หรือที่ดินโฉนดเลขที่ 4211 ได้และได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้ว หนี้ที่ ป.จะต้องชำระแก่โจทก์เกิดขึ้นแล้วตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.ส่วนข้อกำหนดที่ว่าจะชำระหนี้ต่อเมื่อขายที่ดินได้และได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้ว เป็นเพียงข้อกำหนดในนิติกรรมอย่างหนึ่งอันไม่เกี่ยวกับความเป็นผลหรือสิ้นผลของนิติกรรมจึงมิใช่ เงื่อนไขตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 เดิมและถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระหนี้ไว้เมื่อป.ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้จัดการมรดกของ ป. ให้ชำระหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ต้องสงสัยคดีอาญา และผลกระทบต่อการรับมรดก
ผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกล่าวหาว่า ผู้ร้องเป็นผู้ยิงเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ต่อมาผู้ร้องถูกส่งฟ้องต่อศาลในข้อหาดังกล่าวซึ่งผู้ร้องให้การปฏิเสธ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ดังนั้น ถ้าหากต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ร้องได้เจตนากระทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องก็เป็นบุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606 (1) ซึ่งเป็นการถูกกำจัดมิให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639 ที่ผู้สืบสันดานของผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของเจ้ามรดกและมรดกของผู้ตายก็มีเฉพาะที่ดินแปลงเดียว ทั้งการที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ความประสงค์ก็เพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกแปลงเดียวดังกล่าวมาเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอาจถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ที่ผู้ร้องขอให้ตั้งเป็นผูัจัดการมรดกของผูัตายนั้นคือผู้สืบสันดานของผู้ร้องซึ่งอาจเป็นผู้ที่เสียประโยชน์จากการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้ร้องอันมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้น จึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้สืบสันดานของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ นอกจากเพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกของผู้ตายแก่ผู้ร้องแล้ว จำเป็นต้องมีการกระทำการอย่างใด ๆ แก่ที่ดินมรดกดังกล่าวอีกจึงไม่มีความจำเป็นรีบด่วนในการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามที่ผู้ร้องขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกเมื่อทายาทอาจถูกตัดสิทธิมรดก และผลกระทบต่อผู้สืบสันดาน
ผู้ร้องถูกเจ้าพนักงานตำรวจ จับกล่าวหาว่า ผู้ร้องเป็นผู้ยิงเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ต่อมาผู้ร้องถูกส่งฟ้องต่อศาลในข้อหาดังกล่าวซึ่งผู้ร้องให้การปฏิเสธ คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ดังนั้น ถ้าหากต่อมามีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าผู้ร้องได้เจตนากระทำให้เจ้ามรดกถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ผู้ร้องก็เป็นบุคคลที่ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606(1) ซึ่งเป็นการถูกกำจัดมิให้รับมรดกภายหลังเจ้ามรดกถึงแก่ความตายกรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1639ที่ผู้สืบสันดานของผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้ร้อง ผู้ร้องเป็นทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของเจ้ามรดกและมรดกของผู้ตายก็มีเฉพาะที่ดินแปลงเดียว ทั้งการที่ผู้ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ความประสงค์ก็เพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกแปลงเดียวดังกล่าวมาเป็นของผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายอาจถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตาย และผู้ที่ผู้ร้องขอให้ตั้งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้นคือผู้สืบสันดานของผู้ร้องซึ่งอาจเป็นผู้ที่เสียประโยชน์จากการเป็นผู้รับมรดกแทนที่ผู้ร้องอันมีลักษณะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของผู้ตาย ดังนั้นจึงไม่มีเหตุสมควรตั้งผู้สืบสันดานของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ประกอบกับไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า การขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายครั้งนี้ นอกจากเพื่อจัดการโอนที่ดินมรดกของผู้ตายแก่ผู้ร้องแล้ว จำเป็นต้องมีการกระทำการอย่างใด ๆ แก่ที่ดินมรดกดังกล่าวอีกจึงไม่มีความจำเป็นรีบด่วนในการตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามผู้ร้องขอ
of 15