คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กันส่วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทและเจ้าหนี้ในการบังคับคดีทรัพย์สินร่วมกัน: การกันส่วนได้ของทายาท
ผู้ตายและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน เมื่อผู้ตาย ที่ดินส่วนของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิจะยึดทรัพย์ส่วนของจำเลยมาชำระหนี้ตนได้ แต่ต้องไม่ทำให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้ของผู้อื่นผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลย
เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นของบุคคลหลายคนรวมกันถูกขายทอดตลาดตามคำพิพากษาของศาลเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ร่วมกับจำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลกันส่วนได้ของตนเสียภายในห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์: สิทธิทายาทและการกันส่วนมรดก
การแบ่งทรัพย์มรดก เมื่อเจ้ามรดกตายเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 แล้ว ต้องแบ่งตาม มาตรา 1635 และ 1636
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดก ศาลต้องแบ่งให้เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิควรจะได้
คำว่า "กันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่น" ตามที่มาตรา 1749 ห้ามไว้นั้น หมายความว่า กันไว้เพื่อทายาทนั้นมารับเอาไปได้ทีเดียว โดยมิต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ดังเช่นที่เคยปฏิบัติกันมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 การแบ่งให้โจทก์เพียงเท่าที่โจทก์มีสิทธิควรจะได้ตามกฎหมายนั้น หาใช่เป็นการกันส่วนไว้เพื่อทายาทอื่นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6653-6654/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกันส่วนในที่ดินพิพาทกรณีแบ่งมรดก: ไม่ใช่การบังคับชำระหนี้
การร้องขอกันส่วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ต้องเป็นกรณีที่มีการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่คดีนี้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทที่เป็นทรัพย์มรดกของ ป. และ ต. ให้แก่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ตามลำดับ เนื่องจาก ป. ต. ส. และจำเลยที่ 3 ถือกรรมสิทธิ์รวมกันในที่ดินพิพาทโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นทายาทของ ส. การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสามแบ่งทรัพย์มรดกของ ป. และ ต. ให้โจทก์ทั้งสองตามส่วน โดยคู่ความตกลงกันให้นำที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดแล้วนำเงินที่ได้แบ่งกันตามส่วน จึงเป็นเรื่องบังคับให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินพิพาทในระหว่างผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมด้วยกัน แล้วจัดการแบ่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองเท่านั้น หาได้มีการบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามไม่ ผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่อาจขอกันส่วนโดยอ้างว่าผู้ร้องทั้งสี่เป็นทายาทของ ส. ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม และมีสิทธิรับมรดกในส่วนของ ส. ร่วมกับจำเลยทั้งสาม เป็นเรื่องที่ผู้ร้องทั้งสี่จะต้องไปดำเนินคดีกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างหาก
of 3