พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3344/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการค้าและการรับสภาพหนี้: การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ผู้ประกอบการค้าและการสะดุดหยุดของอายุความ
เมื่อ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ.2499มาตรา 6 (2) กำหนดให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้โจทก์มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมป่าไม้ และเพื่อให้โจทก์สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ มาตรา 7 (2) กำหนดให้โจทก์มีอำนาจรวมถึงการค้าผลิตผลและผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมป่าได้ด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ทำสัญญาขายไม้ซุงให้แก่จำเลยจึงเป็นการประกอบธุรกิจหรือดำเนินกิจการในวัตถุประสงค์ของโจทก์และการที่จำเลยที่ 1 ซื้อไม้ซุงจากโจทก์ก็เพื่อนำไปใช้ผลิตเป็นไม้แปรรูปออกจำหน่ายอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ซึ่งเข้าข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1)การที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาไม้ซุงที่ค้างชำระจากจำเลยจึงต้องใช้อายุความ 5 ปีตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/33 (5)
ส่วนอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1)ซึ่งบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ฯลฯ เรียกเอาของที่ได้ส่งมอบ ฯลฯ"นั้น กฎหมายมุ่งหมายถึงเจ้าหนี้ซึ่งได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องของตน หาใช่หมายถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่
โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าไม้ส่วนที่ค้างชำระไปชำระแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้โดยไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับก็ตามแต่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนก็ไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ และไม่มีข้อกำหนดว่าการลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ทำบันทึกตาม มาตรา 193/14 (1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15
ส่วนอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (1)ซึ่งบัญญัติให้ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ฯลฯ เรียกเอาของที่ได้ส่งมอบ ฯลฯ"นั้น กฎหมายมุ่งหมายถึงเจ้าหนี้ซึ่งได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมใช้สิทธิเรียกร้องของตน หาใช่หมายถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่
โจทก์แจ้งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าไม้ส่วนที่ค้างชำระไปชำระแก่โจทก์ แม้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้โดยไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับก็ตามแต่จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดในฐานะส่วนตัวกับจำเลยที่ 1 ด้วย ซึ่งตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนก็ไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการ และไม่มีข้อกำหนดว่าการลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 2 ต้องประทับตราของจำเลยที่ 1 ด้วย จำเลยที่ 2 จึงมีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 และมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงในวันที่ทำบันทึกตาม มาตรา 193/14 (1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 289/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในหนี้จากการค้าที่ภริยาเกี่ยวข้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นภริยา ว. จำเลยและ ว.ทำกิจการโรงสีร่วมกัน ว.กู้ยืมเงินโจทก์ไปทำกิจการโรงสี เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในหนี้สินที่ทำการค้าร่วมกับ ว.ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1271/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ และการประเมินภาษีที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่แจ้งรายละเอียด
แม้โจทก์จะโอนที่ดินใช้หนี้ให้แก่ ส.ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มีเงินได้จากการขายบ้านพร้อมที่ดินแล้ว การที่โจทก์ประกอบธุรกิจปลูกสร้างบ้านขายพร้อมที่ดินและที่ดินที่โจทก์โอนตีใช้หนี้เป็นที่ดินแปลงหนึ่งในจำนวนหลายแปลงที่โจทก์จัดสรรขายเพียงแต่วิธีการชำระเงินให้โจทก์เป็นการหักกลบลบหนี้ต่อกันเท่านั้น ดังนั้น การโอนที่ดินตีใช้หนี้ดังกล่าวจึงเป็นการขายสินค้าอย่างหนึ่ง โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าในประเภท 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่ง ป.รัษฎากรที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น เมื่อโจทก์มีอาชีพประกอบการค้าที่ดินแล้ว แม้จะครอบครองมาเกิน 5 ปี ก็ถือว่าเป็นการกระทำอันเป็นการค้าหรือหากำไร ถือว่าโจทก์ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์แล้ว
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 เพียงแต่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรเท่านั้น มิได้กำหนดว่าในการแจ้งการประเมิน เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีอากรทราบด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระให้โจทก์ทราบโดยมิได้แจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการประกอบกิจการของโจทก์เลย โจทก์เพิ่งมายื่นแบบชำระภาษีเนื่องจากมีการประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน2534 แต่โจทก์ยื่นแบบไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นการแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บตามการประเมิน คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์อีก ส่วนเงินเพิ่มนั้น ป.รัษฎากร มาตรา 27 และ 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 เพียงแต่กำหนดให้เจ้าพนักงานประเมินเมื่อได้ประเมินแล้วให้แจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรเท่านั้น มิได้กำหนดว่าในการแจ้งการประเมิน เจ้าพนักงานประเมินต้องแจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินให้ผู้ต้องเสียภาษีอากรทราบด้วย ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งจำนวนภาษีอากรที่โจทก์ต้องชำระให้โจทก์ทราบโดยมิได้แจ้งรายละเอียดและเหตุผลที่ประเมินในหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้โจทก์ทราบ จึงเป็นการประเมินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ไม่เคยยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการประกอบกิจการของโจทก์เลย โจทก์เพิ่งมายื่นแบบชำระภาษีเนื่องจากมีการประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องขยายเวลายื่นรายการการชำระภาษีหรือนำส่งภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน2534 แต่โจทก์ยื่นแบบไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง เป็นการแสดงว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงการเสียภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บตามการประเมิน คงเรียกเก็บเพียงร้อยละ 50 ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์มากอยู่แล้ว ไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับให้โจทก์อีก ส่วนเงินเพิ่มนั้น ป.รัษฎากร มาตรา 27 และ 89 ทวิ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นกำหนดไว้แน่นอนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้งดเก็บเสียได้และจะลดได้ก็จะต้องเป็นไปตามกฎหมาย ศาลจึงไม่อาจพิจารณางดหรือลดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 586/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการขนส่งเพื่อการค้าของตนเอง ไม่ถือเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร จึงไม่อยู่ในข่ายได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
การประกอบกิจการขนส่งของโจทก์นั้นโจทก์มีหัวรถพ่วงสำหรับลากจูง 3 คัน กระบะพ่วง 3 คัน รถกระบะหกล้อ 1 คัน และรถกระบะสี่ล้อ 1 คันในการค้าสินค้าวัสดุก่อสร้างของโจทก์ หากลูกค้าต้องการรับสินค้าจากโจทก์โดยตรงก็จะต้องชำระค่าสินค้าในราคาหนึ่ง แต่ถ้าลูกค้าต้องการจะรับสินค้าจากคลังสินค้าในเครือบริษัทปูนซีเมนต์ไทย จำกัด จะมีราคาถูกกว่า ทั้งนี้โจทก์จะออกใบสั่งซื้อสินค้าให้แก่ลูกค้าเพื่อไปรับสินค้าเอง หากลูกค้าไม่มีรถที่จะไปรับของจากคลังสินค้าโดยตรงโจทก์จะนำรถบรรทุกของโจทก์ไปรับจ้างลูกค้าเพื่อขนส่งสินค้าจากคลังสินค้าไปส่งให้แก่ลูกค้าและในการมารับสินค้าจากคลังสินค้าที่กรุงเทพมหานคร โจทก์ต้องใช้รถเปล่าไปรับสินค้า ดังนั้น โจทก์จึงติดต่อห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.เพื่อรับสินค้ายางพาราไปส่งยังกรุงเทพมหานคร และบริษัทโจทก์ไม่มีป้ายติดว่ารับจ้างขนส่งสินค้าทั่วไป ดังนี้ การที่โจทก์รับขนส่งสินค้าในกรณีที่ลูกค้าไม่มีรถไปบรรทุกสินค้าที่คลังสินค้าด้วยการนำรถของโจทก์เองไปบรรทุกสินค้าส่งให้แก่ลูกค้า และการที่โจทก์รับขนส่งสินค้ายางพาราจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีไปยังกรุงเทพมหานครนั้นเป็นการให้บริการเป็นครั้งคราว ไม่ใช่ประกอบกิจการขนส่งอย่างถาวร แม้จะฟังว่าโจทก์ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคล แต่กรณีดังกล่าวก็ถือเป็นการกระทำเพื่อการค้าหรือธุรกิจของโจทก์เอง จึงไม่เข้าลักษณะเป็นการให้บริการขนส่งในราชอาณาจักร โจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา81 (1) (ณ) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงต้องนำค่าขนส่งมารวมคำนวณเป็นฐานภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
ป.รัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติในเรื่องของเงินเพิ่มที่จะต้องเสียไว้ 2 กรณี คือ ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และวรรคสองบัญญัติให้การลดเงินเพิ่มนั้นสามารถกระทำได้ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา 3 อัฏฐ แห่ง ป.รัษฎากรและได้ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้อนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดไว้ในบทมาตราดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้งดเงินเพิ่มได้ จึงไม่มีเหตุที่จะลดหรืองดเพิ่มให้แก่โจทก์
ป.รัษฎากร มาตรา 89/1 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติในเรื่องของเงินเพิ่มที่จะต้องเสียไว้ 2 กรณี คือ ไม่ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ และวรรคสองบัญญัติให้การลดเงินเพิ่มนั้นสามารถกระทำได้ในกรณีที่อธิบดีกรมสรรพากรอนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดในมาตรา 3 อัฏฐ แห่ง ป.รัษฎากรและได้ชำระภาษีหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายให้นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้อนุมัติให้ขยายเวลาเสียภาษีตามที่กำหนดไว้ในบทมาตราดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้งดเงินเพิ่มได้ จึงไม่มีเหตุที่จะลดหรืองดเพิ่มให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิเข้าข่ายการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีการค้า
การครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ที่มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่เป็นทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันหรือใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนั้น ผู้ครอบครองย่อมมีสิทธิครอบครองและยกขึ้นใช้ยันบุคคลอื่นที่มิใช่รัฐได้ ดังนั้นผู้ครอบครองจึงโอนไปซึ่งการครอบครองโดยการส่งมอบที่ดินอันเป็นทรัพย์สินที่ครอบครองให้แก่กันได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 และสิทธิครอบครองเป็นสิทธิอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 100 เดิม บัญญัติให้หมายรวมเป็นอสังหาริมทรัพย์ด้วย ดังนั้นการที่โจทก์โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ให้แก่ผู้รับโอนไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินจำนวน 25,500,000 บาทย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร มาตรา 77
โจทก์ยอมรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆจำนวน 1,500 ไร่ จากบริษัท ม.เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2532 แทนการรับชำระด้วยเงินสดจำนวน 25,500,000 บาท แล้วโอนขายให้แก่ผู้รับโอนไปจำนวน 56 รายเมื่อระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ในระยะเวลาอันสั้นย่อมเห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนารับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆดังกล่าวไว้เพื่อจะโอนต่อให้ผู้อื่นโดยมุ่งในค่าตอบแทนมาแต่ต้น อีกทั้งโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบการค้าดำเนินการให้เช่าช่วงที่ดินตามสัญญาเช่าช่วงที่บริษัท ม.ทำกับโจทก์ ค่าเช่าช่วงที่โจทก์ได้รับจากกิจการย่อมเป็นกำไรที่โจทก์มุ่งจะนำไปแบ่งปันแก่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การที่โจทก์รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดจากบริษัท ม.แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดแล้วโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ดังกล่าวนั้นไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน ย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อให้ได้เงินค่าเช่าช่วงแต่กิจการที่ทำมาแบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้นนั่นเอง นอกจากนี้โจทก์ยังได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ บางส่วน ไปในระหว่างที่โจทก์จดทะเบียน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้า ซื้อขายที่ดิน จัดสรรที่ดินแล้วด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ไปในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.5โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับจำนวน 25,500,000 บาท ดังกล่าวตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ กับมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนต่อเจ้าพนักงาน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งสถานการค้าตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 84, 85 และ 85 ทวิแต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ มิได้นำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีโดยแก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการการค้าเพื่อให้ถูกต้องตามความจริง แล้วแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87, 87 ทวิ (2) และ 88 กับมีอำนาจเรียกเบี้ยปรับอีก1 เท่า ของเงินภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3) และเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ตลอดจนภาษีบำรุงเทศบาลตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาลพ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ได้ด้วย
โจทก์ยอมรับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆจำนวน 1,500 ไร่ จากบริษัท ม.เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2532 แทนการรับชำระด้วยเงินสดจำนวน 25,500,000 บาท แล้วโอนขายให้แก่ผู้รับโอนไปจำนวน 56 รายเมื่อระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน 2532 ถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ในระยะเวลาอันสั้นย่อมเห็นได้ว่า โจทก์มีเจตนารับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆดังกล่าวไว้เพื่อจะโอนต่อให้ผู้อื่นโดยมุ่งในค่าตอบแทนมาแต่ต้น อีกทั้งโจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด มีวัตถุประสงค์ประกอบการค้าดำเนินการให้เช่าช่วงที่ดินตามสัญญาเช่าช่วงที่บริษัท ม.ทำกับโจทก์ ค่าเช่าช่วงที่โจทก์ได้รับจากกิจการย่อมเป็นกำไรที่โจทก์มุ่งจะนำไปแบ่งปันแก่ผู้ถือหุ้น ฉะนั้น การที่โจทก์รับโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใดจากบริษัท ม.แทนการชำระหนี้ด้วยเงินสดแล้วโอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ ดังกล่าวนั้นไปโดยมีประโยชน์ตอบแทนเป็นเงิน ย่อมเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการเพื่อให้ได้เงินค่าเช่าช่วงแต่กิจการที่ทำมาแบ่งปันกำไรให้ผู้ถือหุ้นนั่นเอง นอกจากนี้โจทก์ยังได้โอนสิทธิครอบครองที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิใด ๆ บางส่วน ไปในระหว่างที่โจทก์จดทะเบียน มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการค้า ซื้อขายที่ดิน จัดสรรที่ดินแล้วด้วย ดังนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ขายอสังหาริมทรัพย์ไปในทางการค้าหรือหากำไร เข้าลักษณะเป็นผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 11 ซึ่งกำหนดให้ผู้ขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 3.5โจทก์จึงมีหน้าที่เสียภาษีการค้าจากรายรับจำนวน 25,500,000 บาท ดังกล่าวตามที่ ป.รัษฎากร มาตรา 78 วรรคหนึ่ง บัญญัติไว้ กับมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการการค้าเป็นรายเดือนต่อเจ้าพนักงาน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ซึ่งสถานการค้าตั้งอยู่ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 84, 85 และ 85 ทวิแต่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไว้ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ มิได้นำรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์ไปรวมคำนวณเสียภาษีการค้าด้วย เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภาษีโดยแก้ไขเพิ่มเติมรายการในแบบแสดงรายการการค้าเพื่อให้ถูกต้องตามความจริง แล้วแจ้งการประเมินเป็นหนังสือไปยังโจทก์ได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 87, 87 ทวิ (2) และ 88 กับมีอำนาจเรียกเบี้ยปรับอีก1 เท่า ของเงินภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 89 (3) และเรียกเงินเพิ่มตามมาตรา 89 ทวิ ตลอดจนภาษีบำรุงเทศบาลตาม พ.ร.บ.รายได้เทศบาลพ.ศ.2497 มาตรา 12 (1) ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสิทธิเรียกร้องจากการซื้อขายสินค้าทางการค้า: การซื้อขายอาหารสัตว์เพื่อเลี้ยงกุ้งเพื่อการค้า อายุความ 5 ปี
โจทก์เป็นบริษัทจำกัดประกอบกิจการโรงงานผลิตอาหารสัตว์ทุกชนิดเพื่อจำหน่ายจำเลยทั้งสองมีอาชีพเลี้ยงกุ้งและเป็นลูกค้าโจทก์โดยซื้ออาหารและผลิตภัณฑ์การเลี้ยงกุ้งไปเพื่อเลี้ยงกุ้งจำหน่ายมิได้ซื้อไปเพื่อเลี้ยงกุ้งไว้บริโภคเองกรณีจึงตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา193/34ตอนท้ายที่ว่าเว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเองดังนั้นอายุความสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีกำหนด5ปีหาใช่2ปีไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1ลงชื่อยอมรับยอดหนี้ตามบันทึกลงวันที่1ตุลาคม2533อันมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเมื่อนับระยะเวลาจากวันดังกล่าวถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด5ปีฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5775/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดธุรกิจการขายสินค้าให้ผู้อื่นเข้าข่ายตัวแทนค้าต่างตามประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน ตามประมวลรัษฎากร
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับผู้ขายเพื่อนำสินค้ามาวางขายให้ห้างสรรพสินค้าของโจทก์โดยมีข้อตกลงกันว่าในขณะที่มีบุคคลที่สามมาขอซื้อสินค้าให้ถือว่าสินค้านั้นได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายแล้วในทางปฏิบัติโจทก์ยอมให้ผู้ขายส่งสินค้าเข้ามาวางขายในห้างสรรพสินค้าของโจทก์ในสถานที่ที่โจทก์กำหนดโดยโจทก์ยังมิต้องชำระเงินค่าสินค้านั้นแก่ผู้ขายโจทก์จะชำระเงินให้ผู้ขายต่อเมื่อมีลูกค้าได้ตกลงซื้อสินค้านั้นในแต่ละเดือนจึงทำบัญชีสินค้าที่ขายได้ในแต่ละวันกันไว้ราคาที่โจทก์ซื้อและขายให้ลูกค้าก็ต้องเกิดจากการกำหนดร่วมกันระหว่างโจทก์และผู้ขายซึ่งนำสินค้ามาวางขายในห้างสรรพสินค้าของโจทก์แต่ตราบใดที่ยังไม่มีลูกค้าของโจทก์มาขอซื้อผู้ขายก็ยังคงต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายของสินค้านั้นอยู่อีกทั้งเมื่อผู้ขายจะส่งสินค้ามาวางขายผู้ขายยังต้องดำเนินการติดตั้งของใช้ถาวรเฟอร์นิเจอร์และอื่นๆอันเกี่ยวกับการนำสินค้ามาวางขายด้วยค่าใช้จ่ายของผู้ขายเองโดยความเห็นชอบจากโจทก์ก่อนโจทก์ไม่มีเจตนาอันแท้จริงที่จะซื้อสินค้าจากผู้ขายมาขายเองไม่ว่าโจทก์จะจัดพนักงานขายสินค้านั้นเองหรือต้องให้ผู้ขายส่งพนักงานของผู้ขายมาดำเนินการขายสินค้านั้นด้วยก็เป็นเพียงข้อตกลงที่จะให้มีการขายสินค้านั้นเท่านั้นโจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นโจทก์จึงเป็นผู้รับจัดธุรกิจการขายให้ผู้ขายเข้าอยู่ในประเภทการค้าที่10นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5755/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายที่ดินที่ได้จากการจำนองและประมูลเข้าข่ายเป็นการค้าหรือหากำไร ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
โจทก์ประกอบกิจการเงินทุนจัดหาเงินทุนจากประชาชนมาให้กู้ยืมโดยจำนองที่ดินเป็นประกันโจทก์มีสิทธิได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์จากการชำระหนี้การประกันการให้กู้ยืมเงินหรือการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ต้องจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวภายในสามปีนับแต่วันที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตกมาเป็นของโจทก์หรือภายในกำหนดเวลากว่านั้นตามที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยดังที่พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์พ.ศ.2522มาตรา20(1)(ข)บัญญัติไว้ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้เงินคืนมาชำระหนี้จำนองและหนี้ที่โจทก์จัดหาทุนมาจากประชาชนกับเป็นกำไรของโจทก์อีกส่วนหนึ่งนั่นเองวิธีการดังกล่าวเป็นธุรกิจปกติของโจทก์ดังนั้นการที่โจทก์ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์รับจำนองไว้จากการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวจึงเป็นการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการการที่โจทก์ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530จึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา91/2(6)แห่งประมวลรัษฎากรดังที่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร(ฉบับที่244)มาตรา3(5)กำหนดไว้โจทก์จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะในอัตราร้อยละ3ของรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา91/6(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้จากการค้าซื้อมาขายไป การหักต้นทุนสินค้า และการใช้สิทธิหักค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด
กรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่ง ป.รัษฎากรซึ่งตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดค่าใช้จ่ายที่ยอมให้หักจากเงินได้พึงประเมิน (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502 มาตรา 8 (25) ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาร้อยละ 80 เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากกิจการดังกล่าวแสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้นก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้น ปรากฏว่ารายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดดังกล่าว ก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์ ซึ่งหมายความว่า หากผู้มีเงินได้พิสูจน์โดยมีหลักฐานแสดงว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าร้อยละ 80 ก็หักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้มากกว่าร้อยละ 80 ได้ แต่ถ้าหลักฐานที่ผู้มีเงินได้นำมาแสดงนั้นบ่งชี้ว่าผู้มีเงินได้มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าร้อยละ 80 ก็ต้องหักค่าใช้จ่ายให้ผู้มีเงินได้น้อยกว่าร้อยละ 80 ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถแสดงหลักฐานและพิสูจน์ได้ว่าโจทก์มีค่าใช้จ่ายเท่าใดแน่จึงต้องหักค่าใช้จ่ายให้ร้อยละ 80 แม้ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.ฎ.(ฉบับที่ 11)พ.ศ.2502 จะใช้บังคับแก่บุคคลธรรมดา แต่ก็สามารถนำมาปรับใช้แก่กรณีของนิติบุคคลเช่นกรณีของโจทก์ได้โดยไม่ขัดต่อ ป.รัษฎากร มาตรา 65 ซึ่งบัญญัติว่าเงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้ คือ กำไรสุทธิ ฯลฯ แต่อย่างใด เนื่องจากการประกอบกิจการของโจทก์เป็นการประกอบกิจการค้าประเภทซื้อมาขายไปโจทก์มิได้เป็นผู้ผลิตซึ่งตามปกติแล้วต้องมีต้นทุนซื้อมาและจะต้องหักต้นทุนซื้อให้การที่จำเลยทั้งสี่นำรายรับทั้งหมดมาถือเป็นรายได้จึงไม่ถูกต้อง
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริงจำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขายจำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับ เมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์
ตามคำอุทธรณ์ของโจทก์ที่มีต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ได้อุทธรณ์ถึงการประเมินที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบธรรมของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ว่า รายจ่ายทุกประเภทรวมทั้งค่าใช้จ่ายโจทก์ได้จ่ายไปจริงสมเหตุผลทางการค้าและเพื่อกิจการของโจทก์ รายการขายแต่ละรายการได้ผ่านการบันทึกบัญชีถูกต้องทุกรายการตามความเป็นจริง รายการขายตามใบส่งของที่ออกแทนนั้น เป็นรายการขายเดี่ยวและเป็นการขายจริงตามเอกสารทางบัญชีมีการลงบัญชีไว้ถูกต้องทุกรายการ ข้อความตามอุทธรณ์ของโจทก์เท่ากับโจทก์อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดตามหนังสือแจ้งประเมินภาษีทั้งหมด ดังนั้นในส่วนการขอให้หักต้นทุนซื้อซึ่งทำให้ไม่ต้องรับผิดเสียภาษีในส่วนที่เป็นต้นทุนเพราะมิใช่กำไรสุทธิ จึงถือเป็นเหตุผลหรือรายละเอียดประกอบการอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุผลที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เพราะไม่มีบทบัญญัติแห่ง ป.รัษฎากร บังคับไว้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามตามมาตรา 30 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่โดยบรรยายฟ้องอย่างชัดแจ้งว่ารายการขายสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินอ้างว่า ขายต่ำกว่าความเป็นจริงจำเลยยอมให้หักต้นทุนสินค้า แต่รายการที่หาว่าขายสินค้าโดยมิได้ลงบัญชีขายจำเลยไม่ยอมให้หักต้นทุนสินค้าให้โจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบและไม่ถูกต้อง ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามหนังสือแจ้งการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับ เมื่อศาลภาษีอากรกลางได้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยที่ 1 ไม่ถูกต้องเป็นการประเมินที่ไม่ชอบและได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการประเมินตามหนังสือแจ้งการประเมิน และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทั้งสองฉบับนั้น การที่ศาลภาษีอากรกำหนดให้หักต้นทุนซื้อในกรณีที่โจทก์ขายสินค้าไม่ลงบัญชีโดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาให้ร้อยละ 80 ทั้งสองรอบระยะเวลาบัญชี จึงเป็นการชี้ถึงสิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย มิได้เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6755/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการค้าในตลาดนัด: การจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับประเภทที่ได้รับอนุญาตไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบ
ระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธินพ.ศ.2526 ข้อที่ 27 ระบุว่า ผู้ค้าต้องจำหน่ายสินค้าให้ถูกต้องตามประเภทที่กำหนดไว้จะนำสินค้าประเภทอื่นเข้าไปจำหน่ายไม่ได้นั้น มีความหมายว่าผู้ค้าไม่ค้าสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาต แต่ไปค้าสินค้าประเภทอื่นอย่างชัดแจ้ง เช่น ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทอาหารสด แต่กลับไปจำหน่ายสินค้าประเภทต้นไม้ เป็นต้นจึงจะถือได้ว่าผู้ค้าได้ฝ่าฝืนระเบียบนี้ แต่หากผู้ค้าได้จำหน่ายสินค้าตามประเภทที่ได้รับอนุญาตแล้ว และได้จำหน่ายสินค้าประเภทอื่นซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายด้วย เช่น กรณีของจำเลยได้รับอนุญาตให้จำหน่ายสินค้าประเภทสัตว์มีชีวิตก็ได้จำหน่ายสัตว์มีชีวิต คือ ปลาเลี้ยง ปลาสวยงามต่าง ๆ ตรงตามประเภทแล้วยังได้จำหน่ายสินค้าจำพวกอาหารปลา อุปกรณ์การเลี้ยงปลาด้วย ย่อมไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อระเบียบดังกล่าว นอกจากนี้ตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดย่านพหลโยธิน(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2527 ข้อ 2 ประเภทแผงค้า (4) สัตว์มีชีวิตก็ดี ตามทะเบียนผู้ค้าตลาดนัดกรุงเทพมหานคร ระบุว่าประเภทสินค้า สัตว์มีชีวิตก็ดี มิได้มีข้อความระบุไว้ชัดแจ้งว่าให้เป็นสินค้าเฉพาะสัตว์มีชีวิตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และตามระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัด ได้ระบุวัตถุประสงค์ในการจัดตลาดนัดไว้ในข้อที่ 2ว่า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยรวมสินค้าหลาย ๆ ประเภทไว้ ณ สถานที่เดียวกัน ผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าหลายชนิดมาจากหลายแห่ง ช่วยให้ประหยัดเวลาและพาหนะ ดังนั้น การที่จำเลยจำหน่ายสินค้าสัตว์มีชีวิตจำพวกปลาเลี้ยงปลาสวยงาม และมีสินค้าจำพวกอาหารปลาและอุปกรณ์การเลี้ยงปลาไว้จำหน่ายด้วยจึงเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ หาเป็นการฝ่าฝืนระเบียบของโจทก์ไม่
การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลา ดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน
การค้าปลาของจำเลยจำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อให้ออกซิเจนแก่ปลาที่จำหน่ายตลอดเวลา ดังนั้นการที่จำเลยต้องหยุดการจำหน่ายปลาเพราะมีเหตุจำเป็นเกี่ยวกับไม่มีกระแสไฟฟ้าใช้ในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมิได้จำหน่ายปลาในแผงค้าที่จำเลยได้รับสิทธิโดยฝ่าฝืนต่อระเบียบว่าด้วยการจัดตลาดนัดของโจทก์เช่นกัน