คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การดำเนินคดี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 87 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินการเมื่อคู่ความถึงแก่กรรมระหว่างพิจารณาคดี ศาลต้องเลื่อนการพิจารณาเพื่อหาผู้แทน
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถึงแก่กรรมในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลชั้นต้นต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ออกไปเพื่อดำเนินการให้มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1ไปโดยยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 42

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกโดยบุคคลอายุไม่เกิน 20 ปี ไม่ทำให้การดำเนินคดีเป็นโมฆะ หากจำเลยทราบและต่อสู้คดีได้
การส่งคำคู่ความ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 25,31ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคแรก นอกจากเป็นบทบัญญัติที่มุ่งประสงค์ป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการเอารัดเอาเปรียบในการส่งคำคู่ความและเอกสารนั้น แล้วยังเป็นบทบัญญัติให้ความคุ้มครองว่าการส่งคำคู่ความหรือเอกสารนั้นจะต้องถึงผู้รับโดยถูกต้องจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการไว้เช่นนั้น เมื่อได้ความว่าหลังจากเจ้าพนักงานศาลได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้ว จำเลยได้แต่งทนายความมาต่อสู้คดี และดำเนินกระบวนพิจารณา จนมีการตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความจนศาลแรงงานกลางพิพากษาตามยอมแล้วแสดงว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยจำเลยได้รับทราบและมาตามนัดของศาลแล้ว แม้การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องดังกล่าวจะมีบุคคลอายุไม่เกินยี่สิบปี ซึ่งทำงานเป็นพนักงานของจำเลยเป็นผู้รับไว้ ก็หาทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเพราะเหตุนี้ไม่ ทั้งเป็นกรณีที่จำเลยมายื่นคำร้องภายหลังศาลแรงงานกลางมีคำพิพากษาแล้วซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสภาพบุคคลโจทก์ก่อนศาลมีคำสั่งตั้งผู้แทนเฉพาะคดี ทำให้ไม่สามารถดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
การร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดี ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 6 จะต้องปรากฏว่า โจทก์มีสภาพบุคคลเป็นผู้วิกลจริต และไม่มีผู้อนุบาลแต่ปรากฏว่าโจทก์ซึ่งผู้ร้องอ้างว่าเป็นผู้วิกลจริตและไม่มีผู้อนุบาลได้ถึงแก่ความตายระหว่างไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดีสภาพบุคคลของโจทก์จึงสิ้นสุดลงไปแล้วก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งตั้งผู้ร้องให้เป็นผู้แทนเฉพาะคดี ผู้ร้องจึงขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ไม่ได้ อนึ่ง แม้ขณะที่โจทก์ถึงแก่ความตายผู้ร้องในฐานะผู้ร้องขอเป็นผู้แทนเฉพาะคดีของโจทก์ได้ยื่นคำฟ้องไว้ก่อนแล้วในนามของโจทก์ แต่ในขณะที่โจทก์ถึงแก่ความตาย ศาลยังไม่ได้ตั้งผู้ร้องเป็นแทนเฉพาะคดีของโจทก์จะถือว่าเป็นกรณีที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วตายลงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีและการดำเนินคดีภาษีอากร: ความบกพร่องของจำเลยและการใช้ดุลยพินิจของศาล
ข้อกำหนดคดีภาษีอากร ฉบับลงวันที่ 30 มกราคม 2529ข้อ 8
โจทก์บรรยายฟ้องสรุปได้ว่า เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2523จำเลยนำเข้าเครื่องอะไหล่อุปกรณ์วิทยุจากประเทศญี่ปุ่น และสำแดงราคาของสินค้าไว้ในใบขนสินค้าขาเข้า และแบบแสดงรายการการค้าลงวันที่ 17 ธันวาคม2524 เป็นเงิน 161,780.06 บาท เพื่อเสียอากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาล พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 เห็นว่าไม่มีรายละเอียดราคาท้องตลาดสำหรับสินค้าของจำเลย จึงให้จำเลยวางเงินประกันไว้10,000 บาท ภายหลังได้มีการตรวจสอบราคาจากการนำเข้าของรายอื่น แล้วปรากฏว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดที่มีราคา359,173.29 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงประเมินค่าภาษีอากรที่จำเลยจะต้องชำระเพิ่มขึ้น แต่จำเลยไม่ชำระ การบรรยายฟ้องดังนี้จึงแสดงถึงสภาพข้ออ้างและข้อหาตลอดจนการที่ถูกโต้แย้งสิทธิไว้อย่างชัดแจ้ง จำเลยสามารถเข้าใจคำฟ้องและต่อสู้คดีได้ถูกต้องชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีของศาลภาษีอากรกลางเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งปกติจำเลยจะต้องโต้แย้งคำสั่งของศาลเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อไป แต่ในกรณีที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งไม่อนุอาตให้จำเลยเลื่อนคดีและมีคำพิพากษาในวันเดียวกัน ทำให้จำเลยไม่มีระยะเวลาหรือโอกาสโต้แย้งคำสั่งได้ จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์โดยไม่ต้องโต้แย้งได้
จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินในส่วนของภาษีการค้าและ-ภาษีบำรุงเทศบาล ทั้งในชั้นพิจารณาของศาล จำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยานตามข้อกำหนดคดีภาษีอากร ข้อ 8 ทำให้จำเลยไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลย และในวันนัดชี้สองสถาน จำเลยทราบนัดแล้วก็ไม่มาศาล อีกทั้งนับจากวันที่จำเลยยื่นคำให้การจนถึงวันนัดสืบพยานโจทก์เป็นเวลาถึงสองเดือนเศษซึ่งเป็นระยะเวลานานพอควร จำเลยควรที่จะติดตามและสอบถามถึงวันนัดที่จำเลยมีวันว่างเพื่อจะได้ขอเลื่อนคดีเสียก่อนนั้นได้ แต่ตามพฤติการณ์ของจำเลยกลับปรากฏว่า จำเลยไม่เอาใจใส่และสนใจดำเนินคดีเท่าที่ควร ที่ศาลภาษีอากร-กลางไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นผลมาจากความบกพร่องของจำเลยเอง จึงเป็นการใช้ดุลยพินิจที่มีเหตุผลสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 120/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีบุคคลถึงแก่ความตาย: สภาพการเป็นคู่ความและผลกระทบต่อการดำเนินคดี
จำเลยถึงแก่ความตายก่อนโจทก์ฟ้อง จึงไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมาย ไม่อาจเป็นคู่ความในคดีได้ โจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องจำเลยต่อศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการดำเนินคดีกับเด็กที่กระทำผิด พ.ร.บ.สารระเหย ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้
จำเลยซึ่งกระทำความผิดตามพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหยพ.ศ. 2533 มาตรา 17 มีอายุไม่เกิน 17 ปี และไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ติดสารระเหย ในกรณีเช่นนี้พระราชกำหนดดังกล่าวมาตรา 26(1) บัญญัติว่า ให้ศาลมีอำนาจดำเนินการคือ ให้ว่ากล่าวตักเตือนจำเลยแล้วปล่อยตัวไป และถ้าศาลเห็นสมควรจะเรียกบิดามารดาผู้ปกครองหรือบุคคลที่จำเลยอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้ ดังนี้ต้องถือว่าพระราชกำหนดดังกล่าวได้บัญญัติวิธีที่จะให้ศาลดำเนินการกับจำเลยไว้โดยเฉพาะแล้ว ศาลจึงนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17,74,75 มาใช้บังคับโดยพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กมีกำหนด 1 ปีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำท้าต่อการดำเนินคดี: ศาลต้องให้ปฏิบัติตามคำท้าก่อนพิจารณาประเด็นอื่น หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นเหตุแพ้คดี
คู่ความทั้งสองฝ่ายท้ากันให้ไปดื่มน้ำสาบาน โดยโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จะต้องสาบานตัวทุกคนตามที่กำหนด หากเป็นไปดังคำท้าทั้งสองฝ่ายจะแบ่งที่ดิน น.ส. 3 ที่พิพาทกันฝ่ายละกึ่งหนึ่งไม่ติดใจเรียกร้องอะไรกันอีก แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่กล้าสาบานหรือสาบานตัวไม่ครบทุกคน ถือว่า ฝ่ายนั้นแพ้คดี ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องอะไรในที่พิพาทอีก ในวันนัดพร้อมเพื่อไปสาบานตัว โจทก์ทั้งสองและทนายกับจำเลยทั้งสี่และทนายมาศาล จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4แถลงว่าวันที่ตกลงท้ากันตนไม่ได้มาศาลมิได้ยินยอมด้วย ขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เป็นกระบวนพิจารณาที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 กระทำต่อศาล หาใช่กรณีจำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 4 ตกลงขอยกเลิกคำท้าต่อโจทก์ทั้งสองเปลี่ยนเป็นให้ดำเนินกระบวนพิจารณาอย่างธรรมดาไม่ การที่ทนายโจทก์แถลงไม่คัดค้านคำแถลงของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ก็เนื่องจากข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ที่ 2ที่ 4 แถลงเป็นความจริง ไม่มีอะไรจะต้องคัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำท้าไม่มีผลบังคับจึงให้ดำเนินกระบวนพิจารณานัดสืบพยานโจทก์ต่อไป ไม่ได้ให้คู่ความปฏิบัติตามคำท้า เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้อง การที่ฝ่ายโจทก์ไม่คัดค้านจะถือว่าตกลงยินยอมยกเลิกคำท้ากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 หาได้ไม่คำท้ายังมีผลผูกพันคู่ความอยู่ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าคู่ความยังมิได้ปฏิบัติตามคำท้า สมควรที่จะต้องยกคำพิพากษาและคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แล้วกำหนดให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้เป็นไปตามคำท้า และพิพากษาคดีไปตามนั้น ที่จำเลยทั้งสี่ฎีกาว่า จำเลยทั้งสี่มิได้คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นไว้ในระยะเวลาอันสมควรจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกานั้นเมื่อจำเลยทั้งสี่มิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างไว้ในคำแก้อุทธรณ์ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2529/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งนัดพยานที่ไม่ชอบด้วยวิธี การขาดนัดพิจารณา และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำให้การจำเลยและสั่งให้ออกหมายกำหนดวันนัดสืบพยานส่งให้โจทก์ทราบเพียงฝ่ายเดียว ส่วนบันทึกกำหนดวันสืบพยานที่เจ้าหน้าที่ศาลได้ ลงไว้ท้ายคำให้การก็ปรากฏหลักฐานลายเซ็นของทนายโจทก์รับทราบกำหนดนัดสืบพยานแต่ เพียงฝ่ายเดียวไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้ ลงชื่อรับทราบกำหนดวันนัดสืบพยานดังกล่าวด้วย และลายเซ็นทนายจำเลยที่ลงไว้ข้างท้ายหมายเหตุคำให้การที่มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้า ไม่รอให้ถือ ว่าทราบแล้วก็คงถือ เป็นเพียงหลักฐานการรับทราบคำสั่งศาลในการพิจารณาสั่งเกี่ยวกับคำให้การจำเลยที่ยื่นต่อ ศาลเท่านั้น ทั้งในการสั่งรับคำให้การของจำเลย ศาลก็มิได้ระบุวันนัดสืบพยานโจทก์ไว้ประการใด กรณีเป็นไปได้ ว่าเจ้าหน้าที่ศาลอาจลงกำหนดวันนัดสืบพยานหลังจากได้ รับเอกสารคำให้การจากทนายจำเลยไว้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นมิได้ออกหมายกำหนดวันสืบพยานสั่งให้จำเลยทราบ และมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาโดย ให้ดำเนิน คดีโจทก์ไปฝ่ายเดียวจึงเป็นการดำเนิน กระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 184,202.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิการเป็นผู้แทนเฉพาะคดีเมื่อผู้เสียหายเสียชีวิตก่อนศาลมีคำสั่ง
การตั้งผู้แทนเฉพาะคดีก็เพื่อดำเนินคดีแทนผู้เสียหายที่เป็นผู้เยาว์หรือผู้วิกลจริตที่ไม่มีผู้ดำเนินคดีแทน เมื่อผู้เสียหายถึงแก่ความตายไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดี ย่อมไม่มีเหตุที่จะตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อมาดำเนินคดีแทนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อีกต่อไป ทั้งกรณีไม่ใช่ผู้เสียหายถึงแก่ความตายหลังจากที่ศาลตั้งโจทก์เป็นผู้แทนเฉพาะคดีและได้ยื่นฟ้องแทนไว้แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 29 วรรคสอง ดังนี้ ต้องยกคำร้องของผู้ร้อง.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3196/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม และผลของการรับทายาทเป็นหุ้นส่วนแทน
เมื่อหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดตาย ห้างหุ้นส่วนจำกัดย่อมเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055(5)1080แต่หุ้นส่วนที่ยังคงอยู่อาจตกลงให้ห้างยังคงอยู่ต่อไป โดยรับทายาทของหุ้นส่วนที่ตายเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทนได้ เมื่อปรากฏว่า บ. หุ้นส่วนผู้จัดการห้างโจทก์ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาหุ้นส่วนอื่นได้รับ ช. ซึ่งเป็นทายาทผู้รับมรดกให้เข้าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทน บ. ห้างโจทก์จึงคงอยู่ต่อมาและเมื่อศาลอนุญาตให้ ช. เข้าเป็นผู้แทนโจทก์แทน บ. แล้ว ห้างโจทก์จึงมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย.
of 9