คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การตาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668-669/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายและการตายของผู้ถูกทำร้าย
ม. ถูกยิงแล้วตายทันที จำเลยฟัน ม. เมื่อ ม. ตายแล้วไม่มีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา295

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1767/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดเมื่อหุ้นส่วนถึงแก่กรรม และอำนาจฟ้องของผู้ชำระบัญชีเกี่ยวกับหนี้ภาษีของห้าง
ช.เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อ ช.ถึงแก่กรรม ห้างน.ย่อมเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1055(5),1080 เว้นแต่จะมีผู้รับมรดกของ ช.เข้าสวมสิทธิในหุ้นส่วนนั้นดำเนินกิจการต่อไปตามเดิม (เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 539/2518) และเมื่อห้าง น.เลิกกันก็ต้องตั้งผู้ชำระบัญชีสะสางการงานของห้าง (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 351/2507) ในกรณีนี้ผู้ชำระบัญชีมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับกิจการของห้างทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาตามมาตรา 1259(1)
เมื่อ ช.ถึงแก่กรรมและโจทก์ได้เป็นผู้จัดการมรดกของช.ตามคำสั่งของศาลแล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานประเมินจึงได้มีคำสั่งประเมินภาษีเงินได้ของห้างน.สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีก่อน ช.ถึงแก่กรรม แล้วแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช. และผู้ชำระบัญชีของห้าง น.ให้ชำระภาษีเงินได้ของห้างเพิ่มดังนี้ คำสั่งดังกล่าวเป็นการประเมินภาษีเงินได้ของห้าง น.ซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจาก ช. จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. แต่เป็นการโต้แย้งสิทธิของห้าง น. โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งประเมินภาษีอากรของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4
ประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ซึ่งบัญญัติถึงกรณีผู้ต้องเสียภาษีอากรถึงแก่ความตายเสียก่อน ให้แจ้งจำนวนภาษีที่ประเมินไปยังผู้จัดการมรดกหรือทายาท ผู้หรือผู้ครอบครองมรดกนั้นจะนำมาใช้บังคับในกรณีตามวรรคก่อนไม่ได้ เพราะกรณีตามวรรคก่อนห้าง น.เป็นผู้ต้องเสียภาษีอากรหาใช่ ช.ไม่ และแม้จำเลยที่ 1 จะแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินของห้าง น.ไปยังโจทก์ และจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ยอมรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิกองมรดกของ ช. อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว การตายของผู้จัดการมรดกไม่มีผู้สืบสิทธิ
การจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่เป็นมรดก ผู้คัดค้านซึ่งขอเป็นผู้จัดการมรดกตาย จะมีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของผู้เป็นผู้อนุบาลหลังการตายของผู้อนุบาล และผลของสัญญาที่ทำในขณะที่ผู้ทำสัญญาไม่วิกลจริต
โจทก์ฟ้องคดีในฐานะผู้อนุบาล ส. ปรากฏว่า ส.ตายระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ ดังนี้ ความตายของ ส.อันมีผลให้ความเป็นผู้อนุบาลของ ส.สิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1572, 1581 ในเวลาภายหลังย่อมไม่ทำให้สิทธิหน้าที่ของโจทก์ที่ได้มีอยู่ในขณะฟ้องเปลี่ยนแปลงไป โจทก์ในฐานะผู้อนุบาลของ ส.มาแต่เริ่มใช้สิทธิเรียกร้องคดีนี้ จึงยังมีสิทธิและอำนาจที่จะฎีกาหลังการตายของ ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 876/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของผู้อนุบาลหลังการตายของผู้ถูกอนุบาล และผลของการทำสัญญาโดยผู้มีสติสัมปชัญญะ
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในฐานะผู้อนุบาล ส. ปรากฏว่า ส. ตายระหว่างคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลอุทธรณ์ ดังนี้ ความตายของส. อันมีผลให้ความเป็นผู้อนุบาลของ ส. สิ้นสุดลง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1572,1581 ในเวลาภายหลัง ย่อมไม่ทำให้สิทธิหน้าที่ของโจทก์ที่ได้มีอยู่ในขณะฟ้องเปลี่ยนแปลงไป โจทก์ในฐานะผู้อนุบาลของ ส. มาแต่เริ่มใช้สิทธิเรียกร้องคดีนี้ จึงยังมีสิทธิและอำนาจที่จะฎีกาหลังการตายของ ส.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 506-507/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีหุ้นส่วนหลังการตายของหุ้นส่วน และสิทธิในการรับส่วนแบ่งกำไร/เงินปันผล
โจทก์ฝ่ายหนึ่ง จำเลยที่ 1 กับ ส. อีกฝ่ายหนึ่งเข้าหุ้นกันลงทุนซื้อหุ้นบริษัท น. เพื่อแบ่งกำไรหรือเงินปันผลจากการถือหุ้น การที่จำเลยที่ 1 กับ ส. มีชื่อถือหุ้นนั้น ถือได้ว่าเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำนวนหุ้นของบริษัท น. จึงเป็นทรัพย์สินของหุ้นส่วนที่จะต้องนำมาแบ่งตามสัญญาเมื่อเลิกกันไม่ใช่จะแบ่งเฉพาะเงินลงทุนค่าหุ้น ตราบใดที่ยังไม่มีการชำระบัญชี หรือตกลงแบ่งกันโดยวิธีอื่นโจทก์ในฐานะหุ้นส่วนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลในปี 2510 และ ปี ต่อๆ ไป จนกว่าจะชำระบัญชีหรือตกลงแบ่งกันเสร็จ
โจทก์ฟ้องเรียกทุนของหุ้นส่วน ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน และขอแบ่งเงินปันผลในปี 2511 ซึ่งศาลล่างก็รับพิจารณาสืบพยานทั้งสองฝ่ายจนสิ้นกระแสความแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะรื้อฟื้นให้ชำระบัญชีในเรื่องดังกล่าวอีก ศาลย่อมวินิจฉัยถึงจำนวนทุนและพิพากษาให้แบ่งเงินปันผลในปี 2511 ไปทีเดียวได้และการบังคับให้แบ่งกำไรในปี 2511 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการและทายาทผู้รับมรดกของ ส. ต้องรับผิดร่วมกัน
จำเลยมิได้ฟ้องแย้งเรียกเงินภาษีที่อ้างว่าเสียเพิ่มเติมคืนจึงไม่เป็นประเด็นในคดี
เมื่อ พ. ผู้เป็นหุ้นส่วนตาย ห้างย่อมเลิกกันโดยศาลไม่ต้องสั่งอีก และกรณีนี้ศาลไม่ควรพิพากษาให้จำเลยแบ่งเงินปันผลและคืนเงินค่าหุ้นให้โจทก์โดยไม่ตั้งผู้ชำระบัญชี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2091/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความผู้ค้ำประกัน: ฟ้องเกิน 1 ปีหลังทราบการตายลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันยกอายุความได้
เจ้าหนี้โจทก์ฟ้องผู้ค้ำประกันให้ชำระหนี้หลังจากเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการตายของลูกหนี้เกิน 1 ปีแล้ว ฟ้องของโจทก์ขาดอายุความผู้ค้ำประกันย่อมยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754(3) ประกอบมาตรา 694 ขึ้นต่อสู้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1701/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปล้นทรัพย์และการตายของผู้อื่น: จำเลยต้องรับผิดชอบเฉพาะความผิดฐานปล้นทรัพย์เท่านั้น
จำเลยสมควบกับพวกทำการปล้นทรัพย์ เมื่อปล้นทรัพย์แล้ว ระหว่างที่พาเอาทรัพย์หนีไปและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นจากการจับกุมและปกปิดการกระทำของพวกตน พวกของจำเลยคนใดคนหนึ่ง ซึ่งไม่ปรากฏจากข้อเท็จจริงแน่ชัดว่าเป็นคนใด ได้ยิงพวกผู้เสียหายถึงตาย เป็นเรื่องสมคบกันมาปล้นทรัพย์แล้วมีการตายเกิดขึ้น เมื่อโจทก์นำสืบฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนยิงพวกเจ้าทรัพย์ตายหรือจำเลยได้สมคบกับคนร้ายในการปล้นรายนี้ฆ่าพวกของเจ้าทรัพย์หลังจากทำการปล้นทรัพย์แล้ว และระหว่างที่พวกเอาทรัพย์หนีไป ความผิดของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(7)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความหลังการตายของคู่สัญญาเดิม
เดิมสามีจำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทให้โจทก์ยังไม่ทันจดทะเบียนโอนกันสามีจำเลยก็ตายต่อมาโจทก์จำเลยจะพิพาทกันจึงพากันไปอำเภอและทำสัญญาต่อกันไว้ว่าจำเลยจะให้เงินโจทก์ 4,000 บาท โจทก์จะคืนที่สวนแปลงหนึ่งและต่อไปก็จะคืนที่พิพาทให้บุตรจำเลยอีกด้วยสัญญานี้เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาจากการประมาทเลินเล่อ จำเลยต้องกระทำโดยประมาทและเป็นผลโดยตรงต่อการตาย การละเว้นไม่ถือเป็นความผิด
การที่จะเป็นความผิดตามมาตรา 291 ต้องเป็นการกระทำโดยประมาท และการกระทำโดยประมาทนั้นต้องเป็นผลโดยตรงให้เกิดความตาย และการกระทำตามมาตรานี้ไม่รวมถึงการละเว้น เพราะกรณีใดกฎหมายต้องการลงโทษการละเว้น ก็ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ เช่นมาตรา 154,157,162
จำเลยที่ 1 ทำหน้าที่แทนนายสถานี มีอำนาจใช้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการสับเปลี่ยนหัวประแจ เมื่อใช้แล้วจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำอะไรเกี่ยวข้องกับหัวประแจนั้นเลย จำเลยที่ 2 เปลี่ยนแล้วไม่สับกลับคืนรางเดิมเป็นเหตุให้รถชนกันจนมีคนตาย เช่นนี้ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ไปตรวจหัวประแจก่อนที่รถจะมาถึง ก็เป็นเพียงละเว้นไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ เป็นคนละเรื่องกับการกระทำโดยประมาท ผลโดยตรงที่ทำให้รถชนกัน อยู่ที่การเปลี่ยนหัวประแจแล้วไม่สับกลับ ซึ่งเป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิดตามมาตรา 291.
of 5