คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การตีความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความบทลงโทษหนักขึ้นตามมาตรา 340 ตรี ต้องพิจารณาเฉพาะตัวผู้กระทำความผิดโดยตรง
มาตรา 340 ตรี เป็นบทลงโทษผู้กระทำความผิดตามมาตรา 339, 339 ทวิ, 340 หรือ 340 ทวิ หนักขึ้น จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด คือ หมายความเฉพาะตัวผู้กระทำตามที่ระบุไว้ในมาตรา 340 ตรีเท่านั้น การที่พวกของจำเลย 2 คนกระทำผิดโดยใช้รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะ แต่จำเลยไม่ได้ใช้ยานพาหนะในการกระทำความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 340 ตรี คงมีความผิดตามมาตรา 340 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกต่อเนื่องจากผู้จัดการมรดกคนเดิม, การตีความพินัยกรรม, และสิทธิของผู้รับพินัยกรรม
ป.เป็นผู้จัดการมรดกของ ฉ.ตามคำสั่งศาล จึงเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนผู้รับพินัยกรรม ป.ตายขณะที่ยังไม่ได้แบ่งทรัพย์มรดก จำเลยเข้าเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.ตามคำสั่งศาลโดยระบุรายการทรัพย์สินต่าง ๆ ของ ป.ไว้เป็นอย่างเดียวกับทรัพย์มรดกตามพินัยกรรมของ ฉ. จึงถือว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดกของ ฉ. สืบต่อจาก ป. และตามคำฟ้องแสดงว่าโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวด้วย มิใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกของ ป.แต่ประการเดียว ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิตามพินัยกรรมของ ฉ.ด้วยผู้หนึ่ง ได้ทวงถามจำเลยให้แบ่งปันทรัพย์มรดกแล้ว จำเลยปฏิเสธ สิทธิของโจทก์จึงถูกโต้แย้ง โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลย
พินัยกรรมข้อ 4 ระบุว่า ป.ผู้เดียวมีสิทธิในทรัพย์สินของผู้ทำพินัยกรรมแต่ให้บุตรคนอื่น ๆ ถือประโยชน์ได้บ้าง และเมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงให้จัดการแบ่งทรัพย์สินดังต่อไปนี้ เว้นแต่ข้อ 4.10 ให้จัดการทันที และความในข้อต่อๆ ไปกล่าวถึงการยกทรัพย์สินให้บุคคลอื่น ๆ แต่ละคนไว้อย่างละเอียดรวมทั้งการยกให้แก่ ป.ด้วย และความในข้อ 4.10 กล่าวถึงการแบ่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลต่างๆ ไว้ยกเว้น ป. ดังนี้หากผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้ ป. แต่ผู้เดียวก็ไม่จำเป็นต้องระบุข้อความดังกล่าวซ้ำอีก พินัยกรรมดังกล่าวตีความได้ว่า เมื่อ ป.ถึงแก่กรรมลงจึงให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาททั้งหลาย ระหว่างที่ ป.ยังมีชีวิตอยู่ ให้ทรัพย์มรดกยังคงรวมกันอยู่เท่านั้น หาใช่มีความหมายเลยไปถึงขนาดที่ว่าให้ทรัพย์มรดกทั้งหมดตกได้แก่ ป.แต่ผู้เดียวไม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรม 2 รายการ แต่ทรัพย์ 2 รายการนี้ไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์ท้ายคำร้องขอจัดการมรดกของจำเลย และจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าไม่ใช่เป็นของผู้ทำพินัยกรรม ดังนี้ ปัญหาว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าเป็นมรดก โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบ.
ศาลพิพากษาให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ประเภทที่มิใช่ตัวเงิน ความรับผิดของจำเลยมีเพียงหนี้ที่จะต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่มิใช่หนี้เงิน จำเลยจึงไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความข้อตกลงโบนัสและการหักผลขาดทุนทางภาษี: ศาลยืนตามสิทธิจำเลยในการหักผลขาดทุนตามกฎหมาย
แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยจะกำหนดว่าเมื่อโจทก์จำเลยไม่อาจตกลงกันในปัญหาการตีความข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ทั้งสองฝ่ายตกลงเสนอให้กรมแรงงานเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัยคำวินิจฉัยให้เป็นที่สุดก็ตาม ก็มีความหมายแต่เพียงว่าคู่กรณีไม่อาจนำปัญหาดังกล่าวไปขอให้กรมแรงงานวินิจฉัยได้อีก ไม่มีความหมายถึงกับว่าหากคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คู่กรณีจะไม่มีสิทธิฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีเพื่อให้ศาลวินิจฉัยปัญหาข้อนี้ได้ เพราะคำวินิจฉัยของกรมแรงงานไม่ใช่กฎหมาย
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี (12) จำเลยมีสิทธินำผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี ก่อนรอบระยะบัญชีปีปัจจุบันมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีข้อตกลงชัดแจ้งไม่ให้จำเลยหักผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน จำเลยย่อมมีสิทธิหักผลขาดทุนสุทธิดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความระเบียบการบัญชีหนี้สูญ: สิทธิและความรับผิดของพนักงานขาย
ระเบียบของบริษัทโจทก์กำหนดว่า ให้นำหนี้สูญครึ่งหนึ่งมาเข้าบัญชีเงินประกันของพนักงานขายมิได้กำหนดว่าถ้าหักบัญชีกันแล้วเงินไม่พอชำระหนี้สูญได้หมดพนักงานขายจะต้องรับผิดชอบชดใช้ส่วนที่ขาดเป็นส่วนตัว จึงนำเอาวิธีปฏิบัติหรือการแปลความหมายทางการบัญชีมาใช้บังคับให้จำเลยรับผิดในหนี้สูญไม่ได้ เพราะจะเป็นการตีความในทางเป็นผลร้ายแก่จำเลยผู้ต้องเสียในมูลหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความพินัยกรรม: การยกบ้านและที่ดิน vs. การยกเฉพาะวัสดุ
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองยกที่ 2 แปลงให้บุคคลหลายคนโดยให้แบ่งแปลงแรกไว้เป็นถนนทางเข้าออกก่อน ส่วนที่เหลือยกให้บุคคล 3 คนโดยวัดยาวจากถนน 16 เมตรครึ่งบ้านพัก 3 ห้องซึ่งอยู่ในที่แปลงแรกยกให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ส่วนที่เหลือนอกจากที่กล่าวทั้งหมดยกให้จำเลยดังนี้ ถ้าจะยกเฉพาะวัสดุที่ปลูกสร้างให้รื้อเอาไป คำสั่งในพินัยกรรมน่าจะกล่าวให้ชัดเจนเช่นนั้น เมื่อพินัยกรรมระบุว่ายกบ้านให้ ถ้าเพียงแต่ให้เฉพาะไม้ที่สร้างบ้านเห็นได้ว่าไม่สมกับคำสั่ง เพราะบ้านทั้ง 3 ห้องปลูกลักษณะเป็นเพิงหมาแหงนมีหน้าถังและเป็นห้องๆซึ่งน่าจะเป็นห้องแถว ถ้ารื้อออกขายจะได้เงินประมาณเพียง 1,500 บาทเท่านั้น ลักษณะของบ้านปลูกมาถึงประมาณ 20 ปีเศษ ประตูบางประตูทำด้วยไม้ไผ่สาน จึงไม่น่าจะยกให้เฉพาะวัสดุที่สร้างบ้านแก่คนถึง 2 คน ตามพินัยกรรมดังกล่าวเชื่อว่าเจ้ามรดกประสงค์จะยกบ้านพร้อมทั้งที่ดินที่ปลูกบ้านให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1431/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำว่า 'ไม้ยาง' และ 'ไม้ยางนา' ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ และการกำหนดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.
พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2503 มาตรา 5 บัญญัติว่า ไม่สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักร ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใด เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.ไม้อื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใดให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกาเมื่อไม้ยางนาถูกกำหนดให้เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. โดยพระราชบกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ. 2505 ไม้ยางนาจึงเป็นไม้อื่นตามพระราชบัญญัติป่าไม้พ.ศ. 2484 มาตรา 7 ที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งกายด้วยเครื่องแบบทหารบางส่วนไม่ถือเป็นความผิดฐานแต่งเครื่องแบบทหาร
จำเลยแต่งกายด้วยกางเกงขายาวสีกากีแกมเขียวรองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำเข็มขัดผ้าสีกากีแกมเขียว มีหัวเข็มขัดโลหะทองเหลืองเครื่องหมายกองทัพบกซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเครื่องแบบทหารตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พ.ศ.2477มาตรา 4 ยังไม่เรียกว่า แต่งเครื่องแบบทหารตามความหมายในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร (ฉบับที่ 3)พ.ศ.2485 ที่ยกเลิกแก้ไขมาตรา 6 เดิม จำเลยจึงยังไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 121/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความคำฟ้องคดีฆ่าสัตว์: การระบุประเภทสัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์ป่าในคำฟ้อง
คำฟ้องที่บรรยายว่า จำเลยกับพวกได้ร่วมกันฆ่ากระบือโดยมิได้รับอนุญาตและมิได้เสียอากรฆ่าสัตว์ตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2502 มาตรา 6, 18 นั้น ย่อมเป็นการแสดงว่ามุ่งหมายถึงสัตว์ซึ่งมิใช่สัตว์ป่าอยู่ในตัว ไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าเป็นสัตว์บ้านหรือสัตว์เลี้ยงแต่อย่างใด จึงถือว่าฟ้องของโจทก์ไม่เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1200/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาในราชอาณาจักรโดยต่างด้าวที่ต้องห้ามและการตีความหนังสือขอความร่วมมือของเจ้าหน้าที่
พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2493 มาตรา 15(7) บัญญัติถึงลักษณะคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรว่า 'มีพฤติการณ์เป็นที่น่าเชื่อว่าเป็นคนอันธพาลหรือเป็นคนที่น่าจะก่อเหตุร้าย. หรืออันตรายต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือราชอาณาจักร'. แต่โจทก์มิได้บรรยายข้อเท็จจริงในคำฟ้องให้เห็นว่า ผู้โดยสารที่จำเลยนำมากับเครื่องบินเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะเช่นนั้น. โจทก์กล่าวหาในฟ้องแต่ประการเดียวว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่ต้องห้ามเข้ามาในราชอาณาจักร. เพราะมีเชื้อชาติรูเมเนียในเครือของประเทศคอมมิวนิสต์. ซึ่งไม่มีสัมพันธ์ไมตรีทางการทูตกับประเทศไทย. ข้อกล่าวหาของโจทก์จึงมิได้แสดงว่า ผู้โดยสารคนนั้นเป็นคนต่างด้าวที่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 15(7)แต่อย่างใด.
หนังสือของกองตรวจคนเข้าเมืองถึงบริษัทการบินทุกบริษัทมีความว่า. ขอมิให้รับบุคคลสัญชาติของประเทศที่ไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยหรือคนของประเทศค่ายคอมมิวนิสต์. และไม่มีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทยเข้ามาในราชอาณาจักร. หรือเดินทางต่อไปประเทศอื่น. เป็นเพียงการขอความร่วมมือ. ดังนั้น การที่บุคคลดังกล่าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนหนังสือฉบับนี้. หรือการที่จำเลยรับบุคคลดังกล่าวนี้มากับเครื่องบินของจำเลยมาลงที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ เพื่อบินต่อไปยังประเทศออสเตรเลีย. โดยไม่ต้องด้วยหนังสือขอความร่วมมือ. จึงหาเป็นความผิดตามกฎหมายอย่างใดไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างบทกฎหมายผิดทั้งฉบับขัดต่อหลักประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 และการตีความข้อยกเว้น
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 3 วิเคราะห์ศัพท์คำว่า "พนักงาน"ไว้ให้หมายถึง บุคคลต่างๆตามที่ระบุไว้ ทั้งนี้นอกจากผู้เป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมาย และพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ.2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา ฉะนั้น จึงนำพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาใช้บังคับลงโทษจำเลยซึ่งเป็นพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ ทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังนี้ ไม่ใช่เป็นเพียงอ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192 วรรคสี่ แต่เป็นการอ้างกฎหมายผิดทั้งฉบับ จึงลงโทษจำเลยไม่ได้ตามมาตรา 192 วรรคต้น
of 5