คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การทำงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝึกซ้อมกีฬาของลูกจ้างถือเป็นการทำงาน หากประสบอันตรายระหว่างนั้น นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทน
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อประจำสาขาจังหวัดชุมพร เมื่อผู้จัดการสาขาชุมพร อนุญาตให้พนักงานธนาคารฝึกซ้อมกีฬาโดยถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร และตามระเบียบของธนาคารฉบับที่ 21 ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคารยังกำหนดว่าการฝึกซ้อมกีฬาและการแข่งขันกีฬาให้ถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร โจทก์ประสบอันตรายขณะฝึกซ้อมกีฬา จึงถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์
การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2 ) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2517เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาล โจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดเแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงาน-กลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝึกซ้อมกีฬาของลูกจ้างถือเป็นงาน ย่อมได้รับเงินทดแทนหากประสบอันตราย และค่าพาหนะเดินทางเป็นค่ารักษาพยาบาล
โจทก์เป็นลูกจ้างของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรทำหน้าที่เป็นพนักงานสินเชื่อประจำสาขาจังหวัดชุมพรเมื่อผู้จัดการสาขาชุมพร อนุญาตให้พนักงานธนาคารฝึกซ้อมกีฬาโดยถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร และตามระเบียบของธนาคารฉบับที่ 21ว่าด้วยการแข่งขันกีฬาของธนาคารยังกำหนดว่าการฝึกซ้อมกีฬาและการแข่งขันกีฬาให้ถือเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร โจทก์ประสบอันตรายขณะฝึกซ้อมกีฬา จึงถือเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนให้โจทก์ การกำหนดประเภทกิจการของนายจ้างก็เพื่อประโยชน์ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่20 พฤศจิกายน 2517 เท่านั้น หาใช่เป็นการจำกัดว่าลูกจ้างจะต้องประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานตามประเภทของกิจการของนายจ้างจึงจะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนไม่ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้พอให้เข้าใจแล้วว่า ค่าพาหนะเดินทางจากโรงพยาบาลวิรัชศิลป์ไปโรงพยาบาลมิชชั่นที่โจทก์ต้องเสียไปคือค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการตรวจ การรักษา การพยาบาลและการอื่นที่จำเป็นอันเป็นค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมายแล้ว เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การปฏิเสธว่าค่าพาหนะตามที่โจทก์ฟ้องไม่ใช่ค่ารักษาพยาบาลโจทก์ไม่ต้องใช้รถพยาบาล ค่าพาหนะตามคำฟ้องจึงเป็นค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินทดแทนที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องจ่ายให้โจทก์ ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าพาหนะจากการว่าจ้างรถพยาบาลเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประสบอันตรายจากการทำงาน: การพักผ่อนบนขบวนรถไฟถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติหน้าที่
ส. เป็นลูกจ้างของโจทก์มีตำแหน่งเป็นคนการ มีหน้าที่ทำความสะอาดพื้นรถ ห้องน้ำและห้องส้วมบนขบวนรถไฟสายหนองคาย-กรุงเทพ ตั้งแต่รถไฟออกจากสถานีหนองคาย ในเวลา19 นาฬิกา ถึงเวลา 23 นาฬิกา หลังจากนั้นจนถึงเวลา 4.30 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นเป็นเวลาพักผ่อน ส. จะนอนที่รถทำการพนักงานรักษารถ และเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ 4.30 นาฬิกา จนถึงเวลาที่รถไฟถึงสถานีปลายทาง การที่ ส. ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงต้องเดินทางไปกับขบวนรถไฟ การพักผ่อนบนขบวนรถไฟก็เพื่อให้ส.ได้ปฏิบัติงานต่อหลังจากพักผ่อนแล้วจึงเป็นหน้าที่ของส.ที่จะต้องอยู่พักผ่อนในขบวนรถไฟ ฉะนั้น การที่ ส. พลัดตกจากขบวนรถไฟจนถึงแก่ความตายในช่วงเวลาที่พักผ่อนบนรถไฟ จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ตามความหมายของคำว่า "ประสบอันตราย" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของกองทุนเงินทดแทน: การบาดเจ็บจากการฝึกซ้อมกีฬาถือเป็นการทำงาน
อำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและผู้เป็นเจ้าของกองทุนเงินทดแทนคือกรมแรงงาน
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของกรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของกรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องกรมแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบ การจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตามวัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วย เมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอล เพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่งระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีค่าทดแทน – กรมแรงงานมีหน้าที่จ่ายแม้จ่ายเงินสมทบไม่ตรงประเภท – การฝึกซ้อมกีฬาถือเป็นการทำงาน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้มีกองทุนเงินทดแทนขึ้นในกรมแรงงาน กำหนดให้เงินสมทบที่นายจ้างจ่ายและเงินอื่น ๆ ที่ประกอบเป็นกองทุนเงินทดแทนตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมแรงงาน กรณีที่ นายจ้างไม่ยอมจ่ายเงินสมทบหรือจ่ายไม่ครบ ก็ให้อธิบดีกรมแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของนายจ้างได้ และตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับเดียวกันดังกล่าวก็บัญญัติให้มีสำนักงานกองทุนเงินทดแทนในกรมแรงงาน เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนเงินทดแทนและให้มีคณะกรรมการเรียกว่าคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ดังนี้ สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็คือหน่วยงานหนึ่งของกรมแรงงานจำเลยนั้นเอง การปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน จึงถือว่าเป็น การกระทำของจำเลย ฉะนั้นการที่คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการกระทำของจำเลย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนและขอให้จำเลยจ่ายค่าทดแทนได้ โจทก์เป็นพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและได้รับคำสั่งจากนายจ้างให้เป็นนักฟุตบอลเพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคาร โดยมีระเบียบของนายจ้างว่าการแข่งขันกีฬาและการฝึกซ้อมกีฬาของพนักงานเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร จึงถือได้ว่าการฝึกซ้อมเพื่อแข่งขันกีฬาของโจทก์เป็นการทำงานให้นายจ้างตามคำสั่งของนายจ้าง เพราะการเล่นกีฬาย่อมก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่พนักงานและมีพลานามัย แข็งแรงเป็นประโยชน์แก่การทำงานให้แก่นายจ้าง การที่โจทก์ประสบอันตรายในการฝึกซ้อมฟุตบอลจึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง แม้นายจ้างของโจทก์ได้จ่ายเงินสมทบกองทุนทดแทนประเภทกิจการสถาบันทางการเงินไม่ได้จ่ายตามประเภทกิจการบันเทิงและการกีฬาก็ตาม จำเลยก็ไม่หลุดพ้น จากความรับผิดในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2326/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของกองทุนเงินทดแทน กรณีลูกจ้างประสบอันตรายจากการฝึกซ้อมกีฬาเพื่อการทำงาน
อำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนและผู้เป็นเจ้าของกองทุนเงินทดแทนคือกรมแรงงาน สำนักงานกองทุนเงินทดแทน คือหน่วยงานหนึ่งของ กรมแรงงานการปฏิบัติหน้าที่ของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กับของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนถือเป็นการกระทำของ กรมแรงงาน เมื่อโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง กรมแรงงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์(ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2527 ที่กำหนดให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบตามอัตราเงินสมทบในตารางที่ 1 ท้ายประกาศ โดยกำหนดประเภทกิจการเป็นรหัส และอัตราเงินสมทบแตกต่างกัน ก็เพื่อจะเรียกเก็บเงินสมทบมากน้อยตามประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงไม่เท่ากันในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน มิใช่เป็นการจำกัดความรับผิดว่า ถ้าลูกจ้างไม่ได้ประสบอันตรายเพราะการทำงานปกติหรือตาม วัตถุประสงค์ของนายจ้างแล้ว สำนักงานกองทุนเงินทดแทนก็ไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน เพราะประเภทกิจการอย่างหนึ่งของนายจ้างอาจมีงานอื่น ๆ นอกเหนือจากสภาพการทำงานปกติของลูกจ้างรวมอยู่ด้วยเมื่อนายจ้างของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นนักกีฬาฟุตบอลเพื่อแข่งขันกีฬาระหว่างธนาคารซึ่ง ระเบียบของนายจ้างถือว่าการแข่งขันและการฝึกซ้อมกีฬาเป็นการปฏิบัติงานของธนาคาร การที่โจทก์ประสบอันตรายในขณะฝึกซ้อมฟุตบอล จึงเป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง จำเลยต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบาดเจ็บจากการแข่งขันกีฬาตามคำสั่งนายจ้าง ถือเป็นการประสบอันตรายจากการทำงาน
เมื่อการแข่งขันกีฬาอยู่ในขอบเขตวัตถุประสงค์ของนายจ้างการที่ลูกจ้างไปแข่งขันกีฬาฟุตบอลตาม คำสั่งนายจ้างแล้วประสบอันตรายในขณะแข่งขัน ดังนี้เป็นการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง โจทก์จึงมีสิทธิได้ รับค่าทดแทนจากกองทุนเงินทดแทนพร้อมด้วย ดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2199/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตายจากการทำงาน: รัฐวิสาหกิจมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนแม้กิจการไม่เกี่ยวกับกีฬาโดยตรง
วัตถุประสงค์ของ รัฐวิสาหกิจซึ่งระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้งนั้นเป็นเพียงการกำหนดประเภทของกิจการซึ่งรัฐวิสาหกิจจะดำเนินกิจการเท่านั้น งานของ รัฐวิสาหกิจมิได้จำกัดอยู่แต่ในเฉพาะขอบเขตที่ระบุเป็นวัตถุประสงค์ไว้ในกฎหมายจัดตั้ง แม้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การฟอกหนัง พ.ศ. 2498 มิได้กำหนดให้องค์การฟอกหนังมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการกีฬาไว้ก็ตาม แต่กรณีที่ผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังมีนโยบายที่จะเชื่อมความสามัคคีระหว่างองค์การฟอกหนังกับรัฐวิสาหกิจอื่นโดยยอมรับการแข่งขันกีฬาเป็นสื่อสัมพันธ์การกีฬาย่อมเป็นงานอย่างหนึ่งขององค์การฟอกหนัง เมื่อผู้อำนวยการองค์การฟอกหนังได้แต่งตั้งให้ผู้ตายเป็นนักกีฬาตัวแทนขององค์การฟอกหนัง โดยให้มีสิทธิฝึกซ้อมวันเวลาใดก็ได้ในช่วงก่อนการแข่งขัน จึงเป็นกรณีที่ผู้ตายได้รับมอบหมายให้ทำงานให้แก่องค์การฟอกหนัง เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายในขณะฝึกซ้อมตามที่ได้รับอนุญาต และสาเหตุแห่งการตายเนื่องจากออกกำลังกายเกินควรต้องถือว่าผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างทายาทของผู้ตายย่อมมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 54วรรคสามที่กำหนดการจ่ายค่าทดแทนต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละหนึ่งพันบาทและไม่เกินกว่าเดือนละหกพันบาทนั้น มีสภาพใช้บังคับอย่างกฎหมายซึ่งศาลต้องรู้เอง แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลก็ไม่มีอำนาจพิพากษาให้นายจ้างรับผิดเกินกว่าบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2043/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตายจากโรคหัวใจวายหลังเลิกงาน: ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลกับงานที่ทำ
ลูกจ้างถึงแก่ความตายด้วยโรคหัวใจวายหลังจากเลิกสัมมนาอันถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติงานให้แก่นายจ้างแล้วเป็นเวลาถึงประมาณ 10 ชั่วโมง เช่นนี้จึงไม่อาจถือได้ว่าลูกจ้างนั้นถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากค่าชดเชยการทำงาน: ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ตรงกับคำขอท้ายฟ้อง
จำเลยประสบอุบัติเหตุขณะทำงาน นายจ้างปลดจำเลยออกจากงาน จำเลยได้รับเงินค่าชดเชยและผลประโยชน์ตามสิทธิที่จำเลยพึงได้ตามกฎหมายซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายแก่จำเลยผู้เป็นลูกจ้างโดยเกิดสิทธิขึ้นจากผลของกฎหมายหาใช่เพราะนายจ้างจ่ายให้จำเลยโดยเสน่หาไม่ เมื่อจำเลยซึ่งเป็นคู่สมรสของโจทก์ได้เงินดังกล่าวมาระหว่างสมรส จึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1474 (1) อันโจทก์มีสิทธิขอแบ่งจากจำเลยเมื่อหย่ากัน
จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อจำเลยได้รับเงินค่าชดเชยต่าง ๆ มาแล้วต้องใช้จ่ายเกี่ยวกับสุขภาพร่างกายและอื่น ๆ คงมีอยู่เท่าที่เหลือฝากธนาคารไว้ 100,000 บาท เท่านั้น ถือได้ว่าจำเลยอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่าจำเลยรับเงินค่าชดเชยและอื่น ๆ ตามฟ้องเมื่อชดใช้หนี้และใช้อย่างอื่นแล้วยังเหลืออยู่ 242,150.87 บาท ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
of 8