คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การนำสืบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 160 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องสัญญากู้และการนำสืบหลักฐานหนี้ การชำระหนี้เกินจำนวน และการนำไปชำระหนี้อื่น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ โจทก์นำสืบมูลที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ว่าเดิมมีอยู่อย่างไร และเหตุใดจึงมีจำนวนหนี้ดังกล่าวตามที่จำเลยขีดฆ่าและลงชื่อกำกับไว้ก่อนที่จะมีการแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นมีความเป็นมาอย่างไรมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน
จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวน และได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่ง จึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2257/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานที่เป็นสำเนาเอกสารจากไมโครฟิล์ม ต้องมีต้นฉบับประกอบและพิสูจน์ได้ว่าต้นฉบับไม่อยู่ในความครอบครอง
บันทึกรายการขายและใบแจ้งยอดหนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิตของธนาคารโจทก์เป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารจากไมโครฟิล์ม ซึ่งต้นฉบับอยู่ที่โจทก์และไม่ปรากฏว่าต้นฉบับเอกสารได้สูญหาย ถูกทำลายโดยเหตุสุดวิสัยหรือไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น จึงต้องห้ามมิให้รับฟังเอกสารดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7302/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยเงินกู้: โจทก์ต้องนำสืบประกาศกระทรวงการคลังเพื่ออ้างสิทธิ
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2524ข้อ 3 ที่ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ยืมได้ไม่เกินร้อยละ 19 ต่อปีนั้น แม้จะออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 3 (4) และมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2523 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ก็ตาม ก็มิใช่เป็นข้อกฎหมายอันถือเป็นเรื่องที่ศาลจะรับรู้ได้เอง คงถือได้แต่เพียงเป็นประกาศที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ เมื่อโจทก์มิได้นำสืบถึงประกาศดังกล่าวโจทก์จะอ้างว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16 และ 19 ต่อปี โดยอาศัยประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวหาได้ไม่
ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ว่าจำเลยทั้งสองไม่แก้อุทธรณ์จึงไม่กำหนดค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ให้ 2,000 บาท นั้นเห็นได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย ซึ่งน่าจะเกิดจากการพิมพ์คำพิพากษาผิดพลาด ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขข้อผิดผลาดหรือข้อผิดหลงดังกล่าวตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7169/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ: ประเด็นการนำสืบพยานและข้อจำกัดในการฎีกา
ที่จำเลยฎีกาว่า ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ยอมรับว่าต.ครอบครองที่ดินพิพาทเมื่อประมาณ 20 ปีมาแล้ว ต้องฟังว่า ต.ครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปีแล้วนั้น ตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้ความเพียงแต่ว่าเมื่อ 20 ปีมาแล้ว ต.เคยมาขออนุญาตมารดาโจทก์ปลูกตะไคร้ กล้วย เท่านั้นซึ่งเท่ากับว่า ต.เคยครอบครองที่ดินพิพาทในนามของมารดาโจทก์เท่านั้น ไม่ใช่ครอบครองเพื่อตนเองเกินกว่า 1 ปี
ที่จำเลยฎีกาว่าควรนำข้อเท็จจริงที่โจทก์ยอมรับว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว ตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีที่จำเลยขอให้ศาลมีคำสั่งเรียกมาวินิจฉัยด้วยนั้น แม้จะมีการส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยก็มิได้นำสืบอ้างถึงเพื่อให้เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล อีกทั้งจำเลยมิได้เสียค่าอ้างเอกสารดังกล่าวด้วย จึงไม่อาจนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยได้
จำเลยให้การว่าเดิมที่ดินพิพาทเป็นของบิดามารดาจำเลยเมื่อบิดามารดาตาย จำเลยก็ได้ครอบครองต่อมาโดยมิได้ให้การต่อสู้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4863/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, ฟ้องเคลือบคลุม, อายุความ, การนำสืบ และประเด็นข้อพิพาทในคดีเรียกทรัพย์สินคืน
จำเลยให้การเพียงว่า เช็คพิพาทเป็นเช็คที่โจทก์สั่งจ่ายชำระหนี้ที่จำเลยทดรองจ่ายค่าโฆษณาแทนโจทก์ไปก่อน จำเลยจึงนำเช็คพิพาทเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินจากโจทก์ การที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยจ่ายเงินค่าสินค้าและของแถมเกินกว่าโจทก์เป็นเงิน 1,000,000 บาทเศษ จึงเป็นคนละเรื่องกับที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยนำเช็คของโจทก์ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลจังหวัดชลบุรี มูลคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลจังหวัดชลบุรีด้วย พยานหลักฐานคือเช็คทั้งหมดก็อยู่ที่ธนาคาร การพิจารณาคดีที่ศาลจังหวัดชลบุรีจึงเป็นการสะดวก ศาลจังหวัดชลบุรีจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้โจทก์ยื่นฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) เดิม
อุทธรณ์ของจำเลยได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่บรรยายว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาและโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใคร มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ที่กล่าวไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเพราะเหตุที่จำเลยทั้งสองกล่าวไว้ข้างต้น หาใช่เป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งอันจะไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งไม่
โจทก์ได้บรรยายฟ้องแล้วว่า โจทก์ได้ทำสัญญาแต่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าตามสัญญาแต่งตั้งผู้จัดจำหน่าย ซึ่งกำหนดให้จำเลยเป็นผู้จัดให้มีการโฆษณาโดยโจทก์และจำเลยร่วมกันจ่ายค่าโฆษณาคนละครึ่ง และโจทก์บรรยายในฟ้องด้วยว่า จำเลยเอาความเท็จมาอ้างกับโจทก์ให้โจทก์จ่ายเงิน 4,068,734 บาทแก่จำเลยโดยอ้างว่าจะนำเงินไปชำระค่าโฆษณา ฟ้องของโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วข้อที่จำเลยอ้างในอุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่บรรยายฟ้องว่าใครเป็นคู่สัญญากับบริษัทโฆษณาโจทก์กับจำเลยจะต้องชำระหนี้ค่าโฆษณาให้ใคร มีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ บริษัทโฆษณาได้รับค่าโฆษณาของโจทก์หรือไม่ และโจทก์ได้ชำระหนี้ซ้ำหรือไม่นั้น โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ศาลชั้นต้นจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้อกฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับฟ้องเคลือบคลุมเพราะไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองโดยรอไว้วินิจฉัยรวมในคำพิพากษาได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์ออกเช็คแล้ว นำไปเรียกเก็บเงินเป็นของจำเลยโดยมิชอบ จึงเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้กระทำมิชอบต่อโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ เว้นแต่จะถูกจำกัดด้วยอายุความได้สิทธิ ฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความฟ้องโจทก์ในกรณีเช่นนี้หาใช่เป็นฟ้องฐานลาภมิควรได้ไม่
โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินตามเช็คของโจทก์ที่ 1 ที่จำเลยที่ 1นำไปเรียกเก็บเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 คืน การที่โจทก์ที่ 2 ลงชื่อในเช็คดังกล่าวก็เป็นการกระทำในฐานะกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ฟ้องเรียกคืน จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง แม้จำเลยทั้งสองมิได้ให้การปฏิเสธแต่อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยได้หลอกลวงให้โจทก์จ่ายเช็คเป็นการชำระค่าโฆษณา แต่จำเลยไม่นำเช็คดังกล่าวไปชำระค่าโฆษณา กลับนำไปเข้าบัญชีเรียกเก็บเงินเองเป็นส่วนตัว และศาลชั้นต้นกำหนดประะเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยหลอกให้โจทก์สั่งจ่ายเช็ค แล้วนำไปเรียกเก็บเงินมาเป็นของจำเลยโดยมิชอบหรือไม่ เช่นนี้ การที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์ได้จ่ายเงินค่าโฆษณาและค่าของแถมเป็นเงิน 14 ล้านบาทเศษ ส่วนจำเลยชำระค่าโฆษณา และค่าของแถมเป็นเงินเพียง 8 ล้านบาทเศษ โจทก์จึงจ่ายเงินค่าโฆษณาและของแถมเกินกว่าที่จำเลยชำระ 4 ล้านบาทเศษ เป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าโจทก์ทราบว่าจำเลยหลอกลวงให้โจทก์สั่งจ่ายเช็คได้อย่างไร อันเป็นการนำสืบข้อเท็จจริงแวดล้อมกรณี หาเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์เอกสารปลอม แม้ไม่ได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นแรก ก็ทำได้หากมีเหตุตามฟ้อง
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าโจทก์ที่2ไม่ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันทำสัญญา ซื้อขาย ที่ดิน และไม่ทราบว่าเพราะเหตุใดจึงมีลายมือชื่อโจทก์ที่2ปรากฏอยู่ในหนังสือ สัญญาซื้อขายที่ดินที่ระบุว่า จ. กับโจทก์ที่2และจำเลยร่วมกันเป็นผู้ซื้อนั้นเป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่าเอกสารนั้นเป็น เอกสารปลอม จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้เช่นนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคสอง โจทก์ทั้งสี่เพียงแต่ บรรยายฟ้องว่าโจทก์ที่2ในฐานะส่วนตัวมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์กับเจ้ามรดกและจำเลยโดยมิได้บรรยายฟ้องเกี่ยวกับหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินเมื่อจำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเจ้าของผู้มี สิทธิครอบครองที่ดินจึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะต้องให้การถึงหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวฉะนั้นเมื่อต่อมาโจทก์นำหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินนั้นมาสืบจำเลยย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่าเป็นเอกสารปลอมเพื่อสนับสนุนข้อเถียงของจำเลยที่ได้ให้การว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินได้ไม่เป็นการสืบนอกคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้าง การใช้หนังสือมอบอำนาจเพื่ออธิบายสัญญาเช่า ไม่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
จำเลยใช้หนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารประกอบในการถามค้านที่โจทก์เบิกความว่า ล.เจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกแถวที่ให้เช่าไม่ได้มอบอำนาจให้ ย.บิดาของ ล.ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกับจำเลย พยานเอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของจำเลย ซึ่งจะต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนของกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ระบุเอกสารดังกล่าวในบัญชีระบุพยานและส่งสำเนาให้แก่โจทก์ก็ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟัง เพราะกรณีดังกล่าวไม่อยู่ในบังคับแห่งบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 88 และ 90
เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ไว้ว่า เจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวพิพาทคือล. มอบอำนาจให้ ย. ทำสัญญาเช่ากับจำเลยแล้ว จำเลยย่อมนำสืบโดยอ้างหนังสือมอบอำนาจเพื่ออธิบายให้เห็นว่าที่มีชื่อ ย.เป็นผู้ให้เช่าในสัญญาเช่านั้น เพราะ ล.ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตึกแถวมอบอำนาจให้ทำสัญญาเช่าได้ การนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมในที่ดิน กรณีซื้อร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส การนำสืบเปลี่ยนแปลงเอกสาร
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์และม.ซื้อที่ดินมีโฉนดขณะที่โจทก์และม.อยู่กินฉันสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสในการโอนทางทะเบียนโจทก์ให้ม. ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนโจทก์ด้วยตามฟ้องของโจทก์ไม่ใช่เป็นการฟ้องบังคับระหว่างคู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายแต่เป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่ามีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินโจทก์จึงมีสิทธินำสืบได้ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1016/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางสัญญาแลกเปลี่ยนที่ดิน แม้มีสัญญาให้ที่ดินเป็นหลักฐาน โจทก์นำสืบได้ว่าเป็นการแลกเปลี่ยน
แม้นิติกรรมที่โจทก์ทำกับจำเลยระบุว่าเป็นสัญญาให้โจทก์ก็นำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าความจริงเป็นการแลกเปลี่ยนที่ดินกันไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94เพราะเป็นการนำสืบว่าสัญญาให้นั้นเป็นนิติกรรมอำพรางต้องบังคับตามสัญญาที่แท้จริงคือสัญญาแลกเปลี่ยนเมื่อโจทก์โอนที่ดินของโจทก์ให้แก่จำเลยแล้วจำเลยต้องโอนที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหลักฐานสัญญาซื้อขายที่ดินที่ไม่เกี่ยวข้องกับโจทก์
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่าง บ.กับ อ.ที่จำเลยนำมาสืบเป็นหลักฐานประกอบพยานจำเลย เอกสารฉบับนี้โจทก์มิได้เป็นผู้เก็บรักษาและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการซื้อที่พิพาทระหว่าง บ.กับ อ. กรณีเช่นนี้จำเลยจึงชอบที่จะนำสืบได้โดยไม่จำต้องถามค้านโจทก์ซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนไว้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 89
of 16