พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 591/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามสัญญา การส่งมอบสินค้าไม่ครบถ้วน และผลกระทบต่อการผิดสัญญา
โจทก์จำเลย สัญญาตกลงกันว่าจำเลยจะจัดการซ่อมแซมและจัดหาเครื่องจักรให้พร้อมบูรณ์เหมือนเดิม ส่งมอบให้โจทก์ก่อนวันที่ 25 กันยายน แต่โจทก์จะต้องมีกรรมการผู้เป็นกลางไปตรวจรับมอบด้วย 3 คน ครั้นถึงวันที่ 25 กันยายนแม้โจทก์จะมีกรรมการคนเดียวไปรับมอบขาดกรรมการไป 2 คนแต่ปรากฏว่า จำเลยยังจัดการซ่อมแซมเครื่องจักรไม่เสร็จและยังจัดหาเครื่องจักรไม่ครบถ้วนดังนี้ จะถือว่าโจทก์ผิดสัญญายังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2479
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาประกันภัย การแจ้งรายละเอียดความเสียหายเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาที่กำหนด
การแปลสัญญา ในสัญญาประกันอัคคีภัยมีข้อความว่าเมื่อเกิดอัคคีภัยขึ้นให้ผู้เอาประกันภัยส่งคำเรียกร้องเป็นลายลักษณอักษรระบุรายเลอียดทรัพย์ที่เสียหายและราคาของความวินาศไปให้ผู้รับประกันทราบภายใน 15 วัน มิฉะนั้นจะไม่ใช้เงินให้ เมื่อผู้เอาประกันมิได้ปฏิบัติตามสัญญาข้อนี้ ผู้รับประกันภัยปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเบี้ยประกันภัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาแฟรนไชส์ จำเลยต้องปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการผิดสัญญา
เหตุที่โจทก์ที่ 1 เข้าทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิแฟรนไชส์กับจำเลยเป็นเพราะโจทก์ที่ 1 เชื่อในคำโฆษณาของจำเลยว่า โจทก์ที่ 1 จะได้ซื้อสินค้าในราคาถูกกว่าทั่วไปและได้รับการส่งสินค้าตรงเวลา เป็นสินค้าที่เป็นที่นิยม 4 ยี่ห้อ เป็นอะไหล่แท้จากโรงงาน รายได้ของแต่ละสาขาต่อเดือนอยู่ที่จำนวน 500,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท อัตราส่วนกำไรโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้ว และมีการบริหารจัดการแฟรนไชส์ที่ดี แม้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิจะมิได้ระบุข้อตกลงเกี่ยวกับราคาสินค้า ความหลากหลายของสินค้าและการส่งสินค้าให้ถูกต้องก็ตาม แต่การโฆษณาของจำเลยดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ที่ 1 เข้าใจได้ในขณะเข้าทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกับจำเลยว่าจำเลยผู้ให้สิทธิตกลงจะดำเนินการตามคำโฆษณานั้นเพื่อเป็นการตอบแทนที่โจทก์ที่ 1 เข้าทำสัญญาเป็นผู้รับสิทธิจนเป็นมูลเหตุจูงใจให้โจทก์ที่ 1 เข้าทำสัญญากับจำเลย ดังนี้ จึงต้องถือว่าคำโฆษณาดังกล่าวเป็นข้อตกลงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิผูกพันจำเลยให้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำโฆษณานั้นด้วย เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินการตามคำโฆษณาก็ย่อมเป็นฝ่ายผิดสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เมื่อโจทก์ที่ 1 บอกเลิกสัญญาดังกล่าวแล้ว จำเลยก็จำต้องให้โจทก์ที่ 1 คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม และโจทก์ที่ 1 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยในฐานะผิดสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคหนึ่ง และวรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8717/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำวินิจฉัยอนุญาโตตุลาการต้องอยู่ภายในสัญญา การปฏิบัติตามสัญญาและการปรับลดค่าปรับ
คำร้องของผู้ร้องแสดงเหตุอย่างชัดแจ้งว่าคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการไม่อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาหรือเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการอย่างไร และขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดดังกล่าว เป็นคำร้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ร้องนำสืบแต่เพียงลอยๆ ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อธรรมเนียมการก่อสร้าง จึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 34 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 โดยไม่นำสืบว่าธรรมเนียมการก่อสร้างนั้น
ปฏิบัติกันอย่างไร ข้ออ้างของผู้ร้องตามคำแก้อุทธรณ์จึงฟังไม่ขึ้น
สัญญาว่าจ้างข้อที่ 3 ข้อที่ 18 และข้อที่ 20 มีข้อตกลงกล่าวโดยสรุปว่า การขอขยายระยะเวลาทำงานหรือระยะเวลาก่อสร้าง ผู้ร้องจะต้องแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบเพื่อขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นที่อนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า แม้งานบางส่วนมีอุปสรรคเกี่ยวกับการรอแบบและวัสดุที่แก้ไข แต่มีงานหลายอย่างที่ไม่มีปัญหาแต่ผู้ร้องกลับทำไม่แล้วเสร็จ และผู้ร้องไม่ทำหนังสือขอขยายเวลาทำการตามสัญญาข้อที่ 20 ถือว่าผู้ร้องสละสิทธิการขอขยายเวลาและถือว่าผู้ร้องผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงชอบนั้น เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักและเงื่อนไขตามสัญญาว่าจ้างงานภูมิสถาปัตย์แล้ว จึงอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ
การที่ผู้ร้องอ้างเหตุทำนองว่าความล่าช้าของงานเกิดจากความผิดของผู้คัดค้านที่มีส่วนร่วมด้วยหรือผู้คัดค้านทราบเหตุแห่งการล่าช้าทุกครั้งเมื่อไม่มีการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรโดยไม่มีเหตุผล ผู้ร้องมีสิทธิขอขยายระยะเวลาทำงานออกไปได้นั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งการที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกันย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ
การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าผู้ร้องปฏิบัติผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ ผู้ร้องจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามสัญญาข้อที่ 21 แต่เห็นว่าค่าปรับที่ตกลงเป็นค่าเสียหายกรณีปฏิบัติผิดสัญญามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วนจึงปรับลดให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว ไม่ใช่การวินิจฉัยนอกเหนือสัญญาและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงไม่ใช่คำชี้ขาดข้อพิพาทซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และไม่เป็นกรณีที่ว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง (1) (ง), (2) (ข) อันจะเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้
ผู้ร้องนำสืบแต่เพียงลอยๆ ว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการขัดต่อธรรมเนียมการก่อสร้าง จึงขัดต่อบทบัญญัติ มาตรา 34 วรรคสี่ แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 โดยไม่นำสืบว่าธรรมเนียมการก่อสร้างนั้น
ปฏิบัติกันอย่างไร ข้ออ้างของผู้ร้องตามคำแก้อุทธรณ์จึงฟังไม่ขึ้น
สัญญาว่าจ้างข้อที่ 3 ข้อที่ 18 และข้อที่ 20 มีข้อตกลงกล่าวโดยสรุปว่า การขอขยายระยะเวลาทำงานหรือระยะเวลาก่อสร้าง ผู้ร้องจะต้องแจ้งให้ผู้คัดค้านทราบเพื่อขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรหรือทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นที่อนุญาโตตุลาการเสียงข้างมากวินิจฉัยว่า แม้งานบางส่วนมีอุปสรรคเกี่ยวกับการรอแบบและวัสดุที่แก้ไข แต่มีงานหลายอย่างที่ไม่มีปัญหาแต่ผู้ร้องกลับทำไม่แล้วเสร็จ และผู้ร้องไม่ทำหนังสือขอขยายเวลาทำการตามสัญญาข้อที่ 20 ถือว่าผู้ร้องสละสิทธิการขอขยายเวลาและถือว่าผู้ร้องผิดสัญญา การบอกเลิกสัญญาของผู้คัดค้านจึงชอบนั้น เป็นการวินิจฉัยโดยอาศัยหลักและเงื่อนไขตามสัญญาว่าจ้างงานภูมิสถาปัตย์แล้ว จึงอยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ
การที่ผู้ร้องอ้างเหตุทำนองว่าความล่าช้าของงานเกิดจากความผิดของผู้คัดค้านที่มีส่วนร่วมด้วยหรือผู้คัดค้านทราบเหตุแห่งการล่าช้าทุกครั้งเมื่อไม่มีการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรโดยไม่มีเหตุผล ผู้ร้องมีสิทธิขอขยายระยะเวลาทำงานออกไปได้นั้นเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของอนุญาโตตุลาการในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งการที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกันย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้โดยชอบ
การที่อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่าผู้ร้องปฏิบัติผิดสัญญาและผิดนัดชำระหนี้ ผู้ร้องจึงต้องรับผิดชำระเบี้ยปรับตามสัญญาข้อที่ 21 แต่เห็นว่าค่าปรับที่ตกลงเป็นค่าเสียหายกรณีปฏิบัติผิดสัญญามีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินส่วนจึงปรับลดให้นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว ไม่ใช่การวินิจฉัยนอกเหนือสัญญาและขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้นคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงไม่ใช่คำชี้ขาดข้อพิพาทซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และไม่เป็นกรณีที่ว่าการยอมรับหรือการบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง (1) (ง), (2) (ข) อันจะเป็นเหตุให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การแปลงหนี้ใหม่, ฝ่ายผิดสัญญา, และผลของการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนและจำเลยทั้งสองยังมิได้มีการส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครอง โดยมีข้อตกลงโอนกรรมสิทธิ์กันหลังพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน ถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายหรือมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท จึงไม่ตกเป็นโมฆะและสามารถใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าที่ดินที่รับไปจากโจทก์ให้แก่โจทก์