พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลิตภัณฑ์ชงดื่มและข้อยกเว้นภาษีการค้า: การประเมินลักษณะผลิตภัณฑ์และวัตถุประสงค์ในการผลิต
ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้แก่องค์การคลังสินค้า จัดทำผ่านกรรมวิธีมาแล้วหลายขั้นตอนจนสามารถชงดื่มได้ ถือได้ว่าใบชาและชาผงดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ชงดื่มตามบัญชี 1 หมวด 1(3) ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 43) พ.ศ. 2516 แม้ใบชาและชาผงของบริษัทโจทก์จะไม่เป็นที่นิยม เพราะไม่ได้ปรุงแต่รสกลิ่นและความสะอาดไม่ดีนัก ก็ไม่ทำให้ใบชาและชาผงนั้นไม่เป็นปลิตภัณฑ์ชงดื่มส่วนที่พ่อค้าซื้อใบชาและชาผงของบริษัท โจทก์ไปจากองค์การคลังสินค้าแล้วนำไปผ่านกรรมวิธีอีกครั้งหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่ พ่อค้าประสงค์จะให้ใบชาและชาผงนั้นมีคุณภาพและรสดีเป็นที่นิยมของผู้บริโภคเท่านั้น
การขนส่งใบชาและชาผงจากโรงงานของบริษัทโจทก์ที่เชียงใหม่ ถึงองค์การ คลังสินค้าที่กรุงเทพใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน แต่ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นแรมปี เห็นได้ว่าบริษัทโจทก์ประสงค์จะให้ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตโดยผ่านกรรมวิธีดังกล่าวนั้นมีสภาพคงอยู่ถาวรเพื่อมิให้เสียง่าย มิใช่จัดทำเพียงเพื่อรักษามิให้ใบชาและชาผงเสียเป็นการชั่วคราวระหว่างขนส่งใบชาและชาผง ที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าจึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ทวิ(2)(ด)แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 มาตรา 4 แต่ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(3) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
การขนส่งใบชาและชาผงจากโรงงานของบริษัทโจทก์ที่เชียงใหม่ ถึงองค์การ คลังสินค้าที่กรุงเทพใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน แต่ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าสามารถเก็บไว้ได้นานเป็นแรมปี เห็นได้ว่าบริษัทโจทก์ประสงค์จะให้ใบชาและชาผงที่บริษัทโจทก์ผลิตโดยผ่านกรรมวิธีดังกล่าวนั้นมีสภาพคงอยู่ถาวรเพื่อมิให้เสียง่าย มิใช่จัดทำเพียงเพื่อรักษามิให้ใบชาและชาผงเสียเป็นการชั่วคราวระหว่างขนส่งใบชาและชาผง ที่บริษัทโจทก์ผลิตแล้วขายให้องค์การคลังสินค้าจึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามประมวลรัษฎากร มาตรา 78 ทวิ(2)(ด)แก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 มาตรา 4 แต่ต้องเสียภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 ของรายรับ ประเภทการค้า 1 การขายของชนิด 1(3) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าส่วนประกอบเครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 79 ตรี (11) แห่งประมวลรัษฎากร
บริษัทต่างประเทศได้ส่งเครื่องกรองฝุ่นมาให้โจทก์ตามที่โจทก์สั่ง และโจทก์ได้นำมาใช้ประจำหม้อเผาซิเมนต์ของโรงงานโจทก์แล้ว แต่บริษัทต่างประเทศส่งสินค้าซึ่งเป็นส่วนประกอบของเครื่องกรองฝุ่นมาให้ขาดไป จึงได้ส่งเพิ่มเติมมาภายหลังคือสินค้าตามฟ้อง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์มิได้ส่งสินค้าตามฟ้องเข้ามาไว้ใช้แทนส่วนที่ชำรุด แต่บริษัทต่างประเทศที่ส่งเครื่องกรองฝุ่นมาให้โจทก์ได้ส่งสินค้าตามฟ้องมาเพิ่มเติมเพราะส่งขาดไปเมื่อสินค้าดังกล่าวเป็นส่วนประกอบของเครื่องกรองฝุ่นที่ใช้ประจำหม้อเผาซิเมนต์ของโรงงานโจทก์จึงเป็นการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้าที่เป็นส่วนประกอบและอุปกรณ์เครื่องจักรเพื่อใช้ในการผลิตของตนเอง ได้รับยกเว้นภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล ตามมาตรา 79 ตรี (11) แห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2350/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ต้องเสียภาษีและการเรียกคืนเงินกรณีสั่งซื้อเครื่องจักรเพื่อการผลิต ไม่ใช่ทดแทน
โจทก์สั่งเครื่องตักฝุ่นและแผงสวิทซ์ไฟฟ้าเข้ามาใช้ในการผลิต ไม่ใช่สั่งเข้ามาภายหลังแทนของเดิม โจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์เรียกคืนได้ ไม่ใช่เงินที่โจทก์ชำระหนี้ไปตามอำเภอใจหรือชำระหนี้ที่ผิดกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าชิ้นส่วนประกอบรถยนต์เพื่อผลิต ไม่ใช่ขาย เป็นอะไหล่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้า
โจทก์นำชิ้นส่วนเข้ามาเป็นวัตถุดิบประกอบรถยนต์ มิได้ขายเป็นอะไหล่ ประมวลรัษฎากร มาตรา 78 วรรคสอง ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีการค้า (ฉบับที่ 2) ถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า ซึ่งกฎหมายในขณะนั้นยกเว้นตามมาตรา 79 ทวิ (1) จำเลยรับชำระภาษีโดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ว่าโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าตาม ประมวลรัษฎากรจึงมิใช่ลาภมิควรได้ ไม่อยู่ในอายุความตาม มาตรา 419
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1983-1989/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุใบชาจากต่างประเทศ ไม่ถือเป็นการผลิต ต้องเสียภาษีนำเข้าเท่านั้น
โจทก์สั่งใบชาจากต่างประเทศแล้วมาแบ่งบรรจุกระป๋อง กล่อง และห่อ ที่มีเครื่องหมายการค้าและตรายี่ห้อของโจทก์ประทับอยู่ และจำหน่ายตามชนิดที่ได้แยกและนำใบชาที่ลูกค้าเอามาคืนไปอบไล่กลิ่นออกแล้วผสมกับใบขาชนิดเดียวกัน กับเอาใบชาที่ขายไม่ออกผสมกับใบชาชนิดเดียวกันที่สั่งเข้ามาใหม่ บรรจุภาชนะขาย นั้น มิได้แปรรูปหรือเปลี่ยนสภาพเป็นสินค้าชนิดใหม่ และหาใช่เป็นการประกอบหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีขึ้นซึ่งสินค้าไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ ไม่ จึงไม่ใช่การผลิต ไม่ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิตตามประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 941/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า: การใช้ชื่อยาเป็นส่วนผสม ไม่เป็นการละเมิด
บทบัญญัติมาตรา 272(1) เป็นบทบังคับในเรื่องเครื่องหมายของสินค้าอันเป็นที่สังเกตว่าเป็นสินค้าของใครเท่านั้น มิใช่ห้ามการผลิตสินค้าโดยใช้วัตถุในการผลิตหรือวิธีการผลิตเหมือนกับของผู้อื่น เช่นการปรุงยาโดยใช้ส่วนผสมซึ่งมีตัวยาบางอย่างเหมือนกันหรือใช้ตำรับเดียวกันอันเป็นสูตรหรือวิธีการผลิต ซึ่งยังไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายไทยก่อตั้งสิทธิประเภทนี้และให้ความคุ้มครองไว้ การใช้ชื่อหรือข้อความในการประกอบการค้าตามมาตรา 272(1)จึงไม่แปลไปถึงการใช้ชื่อหรือข้อความนั้นในสูตรหรือวิธีการผลิตด้วย. ฉะนั้น แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยนำชื่อยาของโจทก์ร่วม ซึ่งจะเป็นชื่อเฉพาะหรือไม่ก็ตามมาแสดงว่าจำเลยได้เอายาของโจทก์ร่วมทำเป็นส่วนผสมในการปรุงยาของจำเลย ก็ไม่เป็นความผิดตามมาตรา 272(1) ดังกล่าว เพราะเป็นการแสดงถึงส่วนผสมอันเป็นสูตรหรือวิธีการผลิตเท่านั้น ทั้งการกระทำดังว่านี้ยังแสดงอยู่ว่ายานั้นเป็นยาที่จำเลยปรุงขึ้น และถึงแม้ว่าจะทำให้เข้าใจไปได้ว่ายาของจำเลยมีคุณภาพและมาตรฐานเหมือนยาของโจทก์ร่วมก็ไม่เป็นการแสดงว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมอยู่นั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3878/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดสิทธิบัตร: โจทก์ต้องพิสูจน์การใช้ความคิดในการประดิษฐ์ตามสิทธิบัตรของผู้ละเมิด
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ประดิษฐ์การประดิษฐ์ตู้บรรทุกขยะแบบอัด ซึ่งได้ยื่นขอรับสิทธิบัตรแล้ว แต่โจทก์ทั้งสองอ้างในคำฟ้องและนำสืบว่า โจทก์ที่ 2 ได้โอนสิทธิบัตรดังกล่าวให้แก่โจทก์ที่ 1 แล้ว ซึ่งการโอนสิทธิบัตรตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 41 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ไม่ปรากฏตามสิทธิบัตรดังกล่าวว่ามีรายการที่โจทก์ที่ 2 จดทะเบียนโอนสิทธิบัตรดังกล่าวให้โจทก์ที่ 1 แล้ว ทั้งไม่ปรากฏจากทางนำสืบของโจทก์ทั้งสองว่าโจทก์ที่ 2 โอนสิทธิบัตรให้แก่โจทก์ที่ 1 เมื่อใด จึงฟังไม่ได้ว่า โจทก์ที่ 2 โอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์ตู้บรรทุกขยะแบบอัดดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 2 จึงยังคงเป็นผู้ทรงสิทธิบัตรการประดิษฐ์ดังกล่าว ซึ่งมีอำนาจฟ้องว่าจำเลยทั้งสองละเมิดสิทธิบัตรดังกล่าวของโจทก์ที่ 2 แต่โจทก์ที่ 1 ไม่ใช่ผู้ทรงสสิทธิบัตรที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองละเมิดสิทธิบัตรดังกล่าว
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผลิตตู้บรรทุกขยะแบบอัดท้ายชนิดสามารเปิด-ปิด และปรับระดับที่รองรับขยะได้ โดยลอกเลียนหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองและร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตู้บรรทุกขยะดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสอง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ผลิตตู้บรรทุกขยะโดยใช้ความคิดในการประดิษฐ์ที่อยู่ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ที่ 2 และจำเลยทั้งสองร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตู้บรรทุกขยะตามสิทธิบัตรดังกล่าวให้รับฟังได้ตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่โจทก์ที่ 2 เบิกความว่า คำกล่าวอ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่า จำเลยทั้งสองผลิตตามแบบของตนเองไม่ได้ลอกเลียนแบบการประดิษฐ์ของผู้ใดเป็นเท็จ เพราะถ้าเป็นแบบของตนเอง รูปแบบสินค้าที่นำมาเสนอขายควรเป็นแบบหรือภาพถ่ายสินค้าของตนเอง ไม่ควรนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง โจทก์ทั้งสองจึงมั่นใจว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองโดยการคัดลอกแบบแปลนและผลิตออกจำหน่ายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล ค. โดยมิได้นำสืบว่า รถยนต์บรรทุกที่อ้างว่า จำเลยทั้งสองผลิตและขายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล ค. นั้นมีลักษณะอย่างไร มีกระบวนการการทำงานอย่างไร ตรงกับข้อถือสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองในสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองผลิตตู้บรรทุกขยะแบบอัดท้ายชนิดสามารถเปิด-ปิด และปรับระดับที่รองรับขยะได้โดยใช้ความคิดในการประดิษฐ์ที่มีรายละเอียดตรงหรือสอดคล้องกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ตู้บรรทุกขยะดังกล่าวของโจทก์ที่ 2 แม้ผู้รับมอบอำนาจจำเลยทั้งสองจะตอบทนายโจทก์ทั้งสองถามค้านว่า จำเลยที่ 1 ได้ผลิตรถขนขยะตามแบบที่เสนอตามสเป็กที่กำหนดต่อองค์การบริหารส่วนตำบล ค. และส่งมอบเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ว่ารถยนต์บรรทุกขยะที่จำเลยทั้งสองผลิตและส่งมอบดังกล่าวนั้นมีส่วนใดบ้างที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ความคิดในการประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 พยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองนำสืบบ่งชี้ไปในทางที่ว่า จำเลยทั้งสองนำภาพถ่ายรถต้นแบบและแค็ตตาล็อกของโจทก์ทั้งสองไปใช้ในการเสนอราคาต่อองค์การบริหารส่วนตำบล ค. ซึ่งไม่ใช่การที่จำเลยทั้งสองผลิตออกขายซึ่งตู้บรรทุกขยะโดยใช้การประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองรับผลิตออกขายซึ่งตู้บรรทุกขยะโดยใช้การประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรดังกล่าวของโจทก์ที่ 2 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงสิทธิบัตร ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 36 วรรคหนึ่ง (1)
คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสองผลิตตู้บรรทุกขยะแบบอัดท้ายชนิดสามารเปิด-ปิด และปรับระดับที่รองรับขยะได้ โดยลอกเลียนหรือใช้กรรมวิธีตามสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองและร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตู้บรรทุกขยะดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์ทั้งสอง เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ผลิตตู้บรรทุกขยะโดยใช้ความคิดในการประดิษฐ์ที่อยู่ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ที่ 2 และจำเลยทั้งสองร่วมกันขายหรือมีไว้เพื่อขายซึ่งผลิตภัณฑ์ตู้บรรทุกขยะตามสิทธิบัตรดังกล่าวให้รับฟังได้ตามที่กล่าวอ้างในคำฟ้อง แต่โจทก์ที่ 2 เบิกความว่า คำกล่าวอ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่า จำเลยทั้งสองผลิตตามแบบของตนเองไม่ได้ลอกเลียนแบบการประดิษฐ์ของผู้ใดเป็นเท็จ เพราะถ้าเป็นแบบของตนเอง รูปแบบสินค้าที่นำมาเสนอขายควรเป็นแบบหรือภาพถ่ายสินค้าของตนเอง ไม่ควรนำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นของตนเอง โจทก์ทั้งสองจึงมั่นใจว่าจำเลยทั้งสองมีเจตนาละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ทั้งสองโดยการคัดลอกแบบแปลนและผลิตออกจำหน่ายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล ค. โดยมิได้นำสืบว่า รถยนต์บรรทุกที่อ้างว่า จำเลยทั้งสองผลิตและขายให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล ค. นั้นมีลักษณะอย่างไร มีกระบวนการการทำงานอย่างไร ตรงกับข้อถือสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองในสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 หรือไม่ เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองผลิตตู้บรรทุกขยะแบบอัดท้ายชนิดสามารถเปิด-ปิด และปรับระดับที่รองรับขยะได้โดยใช้ความคิดในการประดิษฐ์ที่มีรายละเอียดตรงหรือสอดคล้องกับข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ตู้บรรทุกขยะดังกล่าวของโจทก์ที่ 2 แม้ผู้รับมอบอำนาจจำเลยทั้งสองจะตอบทนายโจทก์ทั้งสองถามค้านว่า จำเลยที่ 1 ได้ผลิตรถขนขยะตามแบบที่เสนอตามสเป็กที่กำหนดต่อองค์การบริหารส่วนตำบล ค. และส่งมอบเรียบร้อยแล้ว แต่ก็ยังไม่อาจรับฟังได้ว่ารถยนต์บรรทุกขยะที่จำเลยทั้งสองผลิตและส่งมอบดังกล่าวนั้นมีส่วนใดบ้างที่จำเลยทั้งสองได้ใช้ความคิดในการประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรการประดิษฐ์ของโจทก์ที่ 2 อันเป็นการละเมิดสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 พยานหลักฐานที่โจทก์ทั้งสองนำสืบบ่งชี้ไปในทางที่ว่า จำเลยทั้งสองนำภาพถ่ายรถต้นแบบและแค็ตตาล็อกของโจทก์ทั้งสองไปใช้ในการเสนอราคาต่อองค์การบริหารส่วนตำบล ค. ซึ่งไม่ใช่การที่จำเลยทั้งสองผลิตออกขายซึ่งตู้บรรทุกขยะโดยใช้การประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรของโจทก์ที่ 2 จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองรับผลิตออกขายซึ่งตู้บรรทุกขยะโดยใช้การประดิษฐ์ในข้อถือสิทธิตามสิทธิบัตรดังกล่าวของโจทก์ที่ 2 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้ทรงสิทธิบัตร ตาม พ.ร.บ.สิทธิบัตร พ.ศ.2522 มาตรา 36 วรรคหนึ่ง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7896-8256/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะผู้รับเหมาชั้นต้นและการร่วมรับผิดในค่าชดเชยกรณีการผลิตตามคำสั่ง
การที่บริษัท น. กำหนดรายชื่อผู้ขายวัตถุดิบและรายชื่อผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำที่โรงงานของจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพและรูปแบบการผลิตรองเท้าของจำเลยที่ 2 เป็นกรณีที่บริษัท น. สอดแทรกเข้าไปในกระบวนการผลิตรองเท้าตั้งแต่กำหนดตัวผู้จำหน่ายวัตถุดิบ กำหนดตัวผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า จำเลยที่ 2 ไม่มีอิสระในการเลือกซื้อวัตถุดิบและเลือกจ้างผู้ผลิตชิ้นส่วนรองเท้า จนถึงในกรณีการผลิตไม่ได้คุณภาพหรือรูปแบบตามความประสงค์ของบริษัท น. เจ้าหน้าที่ของบริษัท น. ที่ประจำอยู่ที่โรงงานก็แจ้งให้จำเลยที่ 2 แก้ไขในส่วนโรงงานผลิตได้อีกด้วย ดังนั้นทุกขั้นตอนการผลิตของจำเลยที่ 2 จึงอยู่ในการควบคุมของบริษัท น. ทั้งนี้ก็เพื่อให้จำเลยที่ 2 ผลิตรองเท้าที่มีคุณภาพวัตถุดิบและคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐานเดียวกับรองเท้าของบริษัท น. ทั่วโลก อันเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญที่จำเลยที่ 2 ต้องทำให้สำเร็จประโยชน์ของบริษัท น. สัญญาระหว่างจำเลยที่ 2 กับบริษัท น. จึงไม่ใช่สัญญาอันมีวัตถุประสงค์ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในรองเท้าแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 ตกลงรับผลิตรองเท้าจนสำเร็จประโยชน์ในการให้คุณภาพของรองเท้าที่จำเลยที่ 2 ผลิตมีมาตรฐานเดียวกับรองเท้าของบริษัท น. ทั่วโลก จำเลยที่ 2 จึงเป็นผู้รับเหมาชั้นต้นของบริษัท น. ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างผลิตรองเท้าตามความหมายของคำว่า "ผู้รับเหมาชั้นต้น" ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5