คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การสอบสวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องทุกข์ในคดีฉ้อโกง: การมีส่วนร่วมของผู้เสียหาย และผลต่อการสอบสวน
คดีฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่ออันยอมความได้นั้น แม้ว่าหนังสือร้องทุกข์จะมีข้อความว่า "จึงได้ร่วมกันมาแจ้งความร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี" และผู้เสียหายที่มิได้ลงชื่อในหนังสือร้องทุกข์ได้ให้การในชั้นสอบสวนว่าถูกจำเลยกับพวกหลอกลวงให้หลงเชื่อจึงมอบเงินให้ไปก็ตาม เมื่อปรากฏว่าหนังสือร้องทุกข์นั้นคงมีแต่ลายมือชื่อของ บ.เท่านั้น จะฟังว่าผู้เสียหายอื่นร้องทุกข์ด้วยไม่ได้การสอบสวนต่อมาสำหรับผู้เสียหายที่มิได้ร้องทุกข์จึงไม่ชอบตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2 (7),123 วรรคสาม และ 121 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 929/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำลายหลักฐานการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหา
ป.วิ.อ. มาตรา 139 บัญญัติให้พนักงานสอบสวนบันทึกการสอบสวนตามหลักทั่วไปในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันว่าด้วยการสอบสวนและให้เอาบันทึกเอกสารอื่นซึ่งได้มา อีกทั้งบันทึกและเอกสารทั้งหลายซึ่งเจ้าพนักงานอื่นผู้สอบสวนคดีเดียวกันนั้นส่งมารวมเข้าสำนวนไว้ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนจะอ้างว่าได้ทำบันทึกคำให้การของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาใหม่แล้วของเดิมไม่สำคัญ หรือผู้ให้ถ้อยคำไม่ประสงค์จะใช้ของเดิมจึงไม่นำเข้ารวมสำนวนไว้หาได้ไม่
การที่จำเลยที่ 1 เอาไปเสียซึ่งคำให้การฉบับเดิมของผู้ต้องหาและผู้กล่าวหาซึ่งจำเลยที่ 1 มีหน้าที่ปกครองดูแลรักษาไว้ อันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 158 นั้น ก็โดยเจตนาเพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ต้องโทษ ซึ่งเป็นการกระทำการในตำแหน่งพนักงานสอบสวนโดยมิชอบอันเป็นความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 157,200 วรรคแรกด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5976/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงกระทรวงกลาโหม-มหาดไทย มิใช่กฎหมาย การปฏิบัติผิดข้อตกลงไม่กระทบการสอบสวน
ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหาย หรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ.2498 ข้อ 26 ทวิ มิใช่กฎหมาย แม้มีการปฏิบัติผิดข้อตกลงดังกล่าวก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาฐานหลบหนีการคุมขัง: อำนาจฟ้องของโจทก์และการสอบสวน
จำเลยทั้งสองฎีกาว่า ที่ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานหลบหนีการคุมขังของพนักงานสอบสวนนั้น โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหานี้และพนักงานสอบสวนมิได้สอบสวนจำเลยทั้งสองในข้อหานี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้หยิบยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างวินิจฉัยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะพนักงานสอบสวนมีตลอดเวลา แม้ไม่ได้เข้าเวร การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งที่กฎหมายบัญญัติว่ามีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนย่อมมีฐานะเป็นพนักงานสอบสวนตลอดเวลาที่ยังดำรงตำแหน่งดังกล่าว ส่วนการที่จะต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนในวันเวลาใดเป็นเพียงระเบียบหรือข้อบังคับภายในของหน่วยราชการซึ่งไม่มีผลทำให้เจ้าพนักงานตำรวจในตำแหน่งพนักงานสอบสวน ในขณะที่ไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนไม่มีฐานะเป็นพนักงานสอบสวน ดังนั้น การที่ร้อยตำรวจเอก ป. รับแจ้งความร้องทุกข์จากโจทก์ร่วมในขณะที่ยังไม่ได้เข้าเวรปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวน ก็ต้องถือว่าร้อยตำรวจเอก ป. มีฐานะเป็นพนักงาน-สอบสวนในขณะที่รับแจ้งความร้องทุกข์ การสอบสวนของร้อยตำรวจเอก ป.ย่อมชอบด้วยกฎหมายพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2475/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนโดยชอบและการยืนยันของผู้สอบสวนเป็นปัจจัยสำคัญ
เหตุคดีนี้เกิดที่อำเภอตรวน และพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอตรอนยืนยันว่าเป็นผู้สอบสวน ซึ่งจำเลยที่ 2 มิได้ซักค้านในข้อนี้เพื่อให้เห็นว่าการสอบสวนไม่ชอบแต่อย่างใด จึงฟังได้ว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2405/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนทหารต้องมีฝ่ายทหารร่วมด้วย หากแก้ไขการสอบสวนให้ถูกต้องแล้ว ถือว่าการสอบสวนชอบด้วยกฎหมาย
พนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นทหารประจำการที่ร่วมกระทำผิดกับพลเรือน จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ หลังจากวันนั้นพันโทส.นายทหารพระธรรมนูญ ได้เข้าฟังการสอบสวนพนักงานสอบสวนจึงได้สอบสวนจำเลยที่ 1 เพิ่มเติมต่อหน้าพันโทส.จำเลยที่ 1 ได้ให้การปฏิเสธ ส่วนการสอบสวนพยานอื่นพันโทส.ได้เข้าฟังการสอบสวนพยาน โดยพนักงานสอบสวนได้สอบสวนพยานและได้อ่านสำนวนการสอบสวนทั้งหมดให้พันโทส.ฟังแล้วพันโทส.คงติดใจประเด็นการสอบสวนบางประเด็นจะได้ทำบันทึกให้พนักงานสอบสวนในภายหลัง ส่วนการสอบสวนพยานเพิ่มเติมต่อไปนั้นพันโทส.ไม่ติดใจฟังการสอบสวน จึงฟังได้ว่าการที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนจำเลยที่ 1 โดยไม่มีฝ่ายทหารเข้าร่วมในการสอบสวนนั้น ได้มีการแก้ไขให้ถูกต้องแล้ว การสอบสวนจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของบันทึกคำให้การและการยื่นคำร้องฝากขังที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ไม่กระทบความชอบด้วยกฎหมายของการสอบสวน
แม้บันทึกคำให้การของพยานในชั้นสอบสวนจะลง วัน เดือน ปีไม่ตรงกับวันที่ทำการสอบสวนตามความเป็นจริง หรือมีการเติมข้อความว่าพยานที่ถูกสอบปากคำเป็นพยานคนที่เท่าไร หรือไม่มีคำว่าสอบปากคำพยานต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไร หรือเติมข้อความว่าสอบปากคำต่อหน้านายตำรวจชื่ออะไรก็ตาม แต่ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงรายละเอียดในการสอบสวนเท่านั้น หากไม่มีข้อความดังกล่าวก็ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไปเนื่องจากไม่มีกฎหมายบัญญัติให้พนักงานสอบสวนบันทึกรายละเอียดดังกล่าวลงไปในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของพยานเมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีลงโทษต่อไปแล้ว ถือได้ว่าพนักงานสอบสวนทำการสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องต่อศาลขอฝากขังจำเลยต่อ โดยอ้างว่ายังเหลือพยานที่จะสอบอีกหลายปาก แต่ความจริงพนักงานสอบสวนสอบปากคำไปหมดแล้วก็เป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น การยื่นคำร้องที่ไม่ตรงต่อความจริงเช่นนี้ หาทำให้การสอบสวนของพนักงานสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการสอบสวนของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
กรณีที่มีการฝ่าฝืนมาตรา 121 มาตรา 122 หรือมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นคำร้องกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามมาตรา124 แล้ว การที่จะวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 41(4) และมาตรา 125 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์เพื่อหาข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นในเรื่องที่ได้รับมอบหมายตามมาตรา 42 รวมทั้งมีอำนาจดำเนินการในการสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามที่ระบุไว้ในมาตรา 43และมาตรา 44 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติว่าต้องส่งสำเนาคำร้องกล่าวหาให้แก่ผู้ฝ่าฝืน และต้องให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่จะเข้าฟังและซักถามพยานของอีกฝ่ายหนึ่งดังเช่นการพิจารณาคดีของศาล ดังนั้นการสอบสวนหาข้อเท็จจริงก่อนวินิจฉัยชี้ขาดจึงเป็นอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่จะใช้ดุลพินิจดำเนินการไปตามที่เห็นสมควรโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความเป็นธรรมแก่คู่กรณี การที่จำเลยที่ 14 ขอเพิ่มเติมข้อกล่าวหาว่า โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ โดยจำเลยที่ 14 เป็นกรรมการสหภาพแรงงานสหโมเสคสระบุรี ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง แล้วคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมให้โจทก์ทราบโดยไม่ส่งสำเนาให้นั้น เป็นการเหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว.ส่วนกรณีที่คณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่อนุญาตให้โจทก์เข้าฟังการสอบสวนพยานของจำเลยที่ 14 ก็เป็นการใช้อำนาจโดยชอบของคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จะถือว่าคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์หรือคณะอนุกรรมการแรงงานสัมพันธ์ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
กรณีที่โจทก์ได้ลงโทษภาคทัณฑ์จำเลยที่ 14 มาก่อนแล้ว โจทก์จะนำความผิดที่เคยลงโทษแล้วนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างจำเลยที่ 14 โดยไม่ได้กระทำความผิดขึ้นใหม่อีกหาได้ไม่ และแม้โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 14 โดยไม่ได้มีการกลั่นแกล้ง ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เป็นการเลิกจ้างที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ล่ามในการให้การสอบสวนของผู้เสียหาย ไม่ขัดต่อกฎหมาย
แม้คำร้องทุกข์และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายคนหนึ่งจะมีผู้เสียหายอีกคนหนึ่งเป็นล่ามแปล ก็เป็นคำร้องทุกข์และคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนใช้ผู้เสียหายเป็นล่าม
of 8