พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสเป็นสิทธิส่วนบุคคล ศาลไม่อาจบังคับให้มีการสมรส แม้มีการตกลงคืนดีหลังหย่า
การสมรสเป็นสิทธิเฉพาะตัวโดยความสมัครใจยินยอมของชายและหญิงทั้งสองฝ่าย ในอันที่จะทำการสมรสกันภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการนั้น ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้อำนาจศาลที่จะบังคับให้มีการสมรส ศาลจึงไม่อาจพิพากษาให้โจทก์จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเป็นสามีภรรยากันตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยอันมิชอบด้วยกฎหมายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2330/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสก่อน-หลัง บรรพ 5, การหย่า, อายุความมรดก: การแบ่งสินสมรสต้องเป็นไปตามกฎหมายก่อน/หลังใช้ บรรพ 5, การหย่าโดยไม่ได้จดทะเบียน, และอายุความมรดก
ผู้ร้องสอดกับ ล. สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ดังนั้น หากมีข้อกล่าวอ้างถึงความสมบูรณ์ในเรื่องการสมรสหรือการหย่าขึ้นหลังจากได้มีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับแล้ว การสมรสหรือการหย่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ปฏิบัติการให้เป็นไปตามบทกฎหมายขณะที่ใช้อยู่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องสอดกับ ล. มิได้จดทะเบียนหย่าให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1499 ข้ออ้างการหย่าที่จำเลยยกขึ้นอ้างจึงไม่มีผลตามกฎหมาย แม้จะได้ความว่าคู่สมรสจะได้เลิกร้างแยกกันอยู่ ก็หาทำให้การเป็นสามีภรรยาของคู่สมรสขาดจากกันไม่
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล. ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตาย ความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมาย บรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียว ล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล. ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ
ที่ดินโฉนดพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องสอดกับ ล. ที่ไม่ได้มีการแบ่งแยกกันมาก่อน ต่อมา ล. ถึงแก่ความตาย ความเป็นสามีภรรยาระหว่างคนทั้งสองย่อมขาดจากกันนับแต่วันที่ ล. ตาย สินสมรสจึงต้องแยกจากกันและการแบ่งสินสมรสสำหรับบุคคลทั้งสอง แม้จะเป็นกรณีพิพาทกันหลังจากมีพระราชบัญญัติให้ใช้บัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนกับการสมรสและความสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแก่การสมรสนั้นๆ ซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมาย บรรพนี้ ตามมาตรา 4(1) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว การแบ่งสินสมรสของคนทั้งสองจึงต้องเป็นไปตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องสอดเป็นฝ่ายที่มีสินเดิมมาฝ่ายเดียว ล. ไม่มีสินเดิมที่ดินตามโฉนดพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสจึงตกได้แก่ผู้ร้องสอดผู้เป็นสามีแต่ฝ่ายเดียวไม่เหลือตกเป็นมรดกของ ล. ผู้ตายไว้เลย ด้วยเหตุนี้ผู้ร้องสอดจึงไม่อยู่ในข่ายการนับอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 คดีของผู้ร้องสอดจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 154/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์สินจากสามีที่หย่าแล้ว: บ้านพิพาทเป็นสินเดิมของผู้ร้อง การยกให้บุตรไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
บ้านพิพาทผู้ร้องเอาเงินที่ได้จากการขายบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องซื้อมา บ้านพิพาทจึงเป็นสินเดิมของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465 (เดิม) ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติให้ใช้บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 7 ได้บัญญัติให้สินเดิมดังกล่าวเป็นสินส่วนตัว บ้านพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2 ว่า ทรัพย์สิ้นทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าววเพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง
ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้หย่าและตกลงกันเรื่องทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ร.2 ว่า ทรัพย์สิ้นทั้งหมดซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องมาก่อนหรือเป็นสินสมรสระหว่างเป็นสามีภรรยายกให้บุตรทั้งสี่คนก็ตาม แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเฉพาะบ้านพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์และเป็นสินเดิมของผู้ร้อง แต่การยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยกให้ไม่มีผลสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 บ้านพิพาทยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 2 ตามคำพิพากษาจึงไม่มีสิทธินำยึด
ประเด็นว่าบ้านพิพาทเป็นของผู้ร้องหรือไม่ปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่ว่า การที่ผู้ร้องยกบ้านพิพาทให้บุตรเป็นการสมบูรณ์หรือไม่จึงเป็นปัญหาหรือข้อเท็จจริงที่รวมอยู่ในประเด็นดังกล่าววเพราะหากฟังว่าการยกให้มีผลสมบูรณ์บ้านพิพาทก็ไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้ร้อง แต่ถ้าการยกให้ไม่สมบูรณ์บ้านพิพาทก็ยังคงเป็นของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1919/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า สามารถขอแก้ไขได้หากพฤติการณ์ทางการเงินของคู่กรณีเปลี่ยนแปลง
การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรกันเองในการยอมความโดยศาลมิได้เกี่ยวข้องด้วยนั้น หากต่อมาปรากฏว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้เปลี่ยนแปลงไปก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1596 ได้ (อ้างฎีกาที่ 293/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2512/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายที่อยู่ของสามีและการเลี้ยงดูบุตร ไม่ถือเป็นการทิ้งร้าง หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยา
การที่จำเลย(สามี) ต้องไปอยู่ต่างจังหวัดเพราะถูกทางราชการย้ายไป และโจทก์(ภรรยา) มิได้ตามไปอยู่ด้วยเพราะมีภาระที่จะต้องดูแลบุตร บ้าน และทำการค้าขาย จะถือว่าจำเลยจงใจจะทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้ และแม้หากจะฟังว่าจำเลยไม่เสียกับหญิงอื่น และได้พาหญิงอื่นไปไหว้มารดาจำเลยซึ่งอยู่บ้านเดียวกันกับโจทก์ ก็ยังไม่เป็นพฤติการณ์เพียงพอที่จะถือว่าจำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุหย่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 334/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีหน้าที่ชำระหนี้กองมรดก แม้การหย่าไม่เป็นไปตามรูปแบบกฎหมาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจำเลยตายก่อนได้รับคำบังคับ โจทก์ขอให้ส่งคำบังคับแก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นภรรยาจำเลยแทนได้ และการที่ศาลพิพากษาให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของจำเลย เอาทรัพย์สินจากกองมรดกของจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับชำระหนี้และการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์สินหลังการหย่า ศาลมีอำนาจวินิจฉัยสิทธิในทรัพย์สินที่ถูกยึดได้
โจทก์ยึดทรัพย์อ้างว่าเป็นของสามีซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา ภรรยาร้องขัดทรัพย์อ้างว่าหย่าขาดจากสามีและแบ่งทรัพย์ที่ถูกยึดนั้นแล้ว โดยทรัพย์นั้นเป็นของภรรยาและบุตรเช่นนี้ ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่าการหย่าการแบ่งทรัพย์เช่นว่านี้เป็นการยินยอมเพื่อให้ทรัพย์ที่ยึดหลุดพ้นจากการถูกบังคับชำระหนี้ได้ โดยมิต้องให้โจทก์ไปฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการหย่าแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงปิดคดีหน้าศาลมีผลผูกพัน, การหย่า, และการสันนิษฐานเรื่องสินสมรส
วันนัดพิจารณาคู่ความโต้เถียง+ หน้าที่นำสืบแล้ว ต่างแถลง+ ว่าต่างฝ่ายไม่ติดใจสืบพยาน + ขอให้ศาลสินิจฉัยคดีตลอด + จะขอแถลงการ์ประกอบภายใน 7 วัน ถ้าถึงกำหนดไม่ + ขอให้ถือว่าไม่ติดใจแถลง+ ถือว่าคู่ความขอปิดคดีของตน+แล้ว ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแถลง+พยายในภายหลัง ศาลก็ไม่มี +ใดจะอนุญาตได้ + เลยรับว่าเป็นสามีภรรยากับ + แต่หย่ากันแล้ว จึงเป็นหน้าที่ของจำเลย +สืบ ว่าหย่ากันแล้ว เมื่อจำเลย+ ก็ต้องถือตามคำฟ้องของโจทก์ว่า +จำเลยเป็นสามีภรรยากัน + เหตุที่โจทก์จะหย่าขาดจากจำเลยได้ + ไม่นั้น โจทก์มีหน้าที่นำสืบ แต่จำเลย +ได้หย่าขาดกับโจทก์ 5 ปี และจำเลยแต่งงานกับหญิงอื่น เป็นการกระทำอัน+ปฎิปักษ์ต่อโจทก์ และทอดทิ้งขาดการ+ต่อโจทก์ ถึง 5 ปี ทั้งจำเลย+ว่าได้หย่าขาดจากโจทก์แล้วดังนี้ +มีเหตุอันควรหย่าได้ตาม ป.พ.พ.+00(3)
ต่างฝ่ายต่างอ้างว่า ตนมีสินเดิมอีกฝ่าย+ไม่มี แต่ต่างฝ่ายก็ไม่สืบพยายตามข้ออ้าง ต้องถือว่าไม่มีสินเดิมทั้ง 2 ฝ่าย โจทก์ว่านาเป็นสินสมรส จำเลยว่าเป็น+ ของจำเลย โจทก์ว่าสวนยางเป็นสินสมรส
จำเลยไม่ให้การถึงเลย ดังนี้ต้องสันนิษฐานว่า นาและสวนยางเป็นสินสมรสตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา1466 วรรค 2
ต่างฝ่ายต่างอ้างว่า ตนมีสินเดิมอีกฝ่าย+ไม่มี แต่ต่างฝ่ายก็ไม่สืบพยายตามข้ออ้าง ต้องถือว่าไม่มีสินเดิมทั้ง 2 ฝ่าย โจทก์ว่านาเป็นสินสมรส จำเลยว่าเป็น+ ของจำเลย โจทก์ว่าสวนยางเป็นสินสมรส
จำเลยไม่ให้การถึงเลย ดังนี้ต้องสันนิษฐานว่า นาและสวนยางเป็นสินสมรสตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา1466 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1140/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเก็บค่าเช่าหลังหย่า: สัญญาที่ทำโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของสินสมรสเป็นโมฆะ
โจทก์ที่ 1 กับ อ. จดทะเบียนการหย่าโดยชอบด้วยกฎหมาย และมีการทำบันทึกแบ่งสินสมรส ให้ อ. ดำเนินการเกี่ยวกับสินสมรสและภาระหนี้สินที่มีอยู่ทั้งหมดให้เสร็จสิ้นโดยไม่ชักช้า หากยังมีเหลืออยู่เท่าใด อ. จะยกให้แก่บุตรทั้งสอง อ. ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิการเก็บค่าเช่ากับจำเลยที่ 2 ซึ่งตามสัญญา ในข้อ 1 ระบุว่าผู้โอนสิทธิเป็นผู้มีสิทธิในการเก็บค่าเช่าห้องพักบนที่ดิน เมื่อที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดินตามบันทึกแบ่งสินสมรส ซึ่ง อ. ทราบอยู่แล้วว่าเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์ที่ 1 กับ อ. การที่ อ. ทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาโอนสิทธิการเก็บค่าเช่า โดยโจทก์ที่ 1 ไม่ทราบเรื่องและไม่ให้ความยินยอมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสและหนี้ร่วมหลังหย่า การหักหนี้ออกจากสินสมรสต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย
จำเลยให้การและฟ้องแย้งโดยมิได้ขอให้ศาลพิพากษาแสดงว่าหนี้ที่จำเลยกู้เงินจากบิดามานั้นเป็นหนี้ร่วมที่โจทก์จำเลยต้องรับผิดคนละกึ่งหนึ่ง หรือขอให้แบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสโดยให้หักใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวก่อน การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้แบ่งบ้านอันเป็นสินสมรสโดยหักใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวก่อนจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในฟ้องแย้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
การที่สามีภริยาต้องรับผิดในหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 และมาตรา 1490 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใดก็มีสิทธิเรียกร้องอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ให้ มิใช่ว่าหากสามีหรือภริยาหย่าและแบ่งสินสมรสกันแล้วจะต้องนำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงจะแบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน เพราะหากไม่นำเงินที่หักไว้ไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจเรียกให้อีกฝ่ายรับผิดชำระหนี้เงินกู้เต็มจำนวนได้อยู่
การที่สามีภริยาต้องรับผิดในหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 และมาตรา 1490 นั้น จะต้องรับผิดต่อเมื่อสามีหรือภริยาชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปแล้ว หากฝ่ายที่ชำระหนี้ร่วมให้แก่เจ้าหนี้ไปเกินส่วนที่ตนได้สินสมรสไปเท่าใดก็มีสิทธิเรียกร้องอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ให้ มิใช่ว่าหากสามีหรือภริยาหย่าและแบ่งสินสมรสกันแล้วจะต้องนำหนี้ร่วมมาหักออกจากสินสมรสให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเก็บรักษาไว้เพื่อชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ก่อนแล้วจึงจะแบ่งสินสมรสส่วนที่เหลือกัน เพราะหากไม่นำเงินที่หักไว้ไปชำระให้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้อาจเรียกให้อีกฝ่ายรับผิดชำระหนี้เงินกู้เต็มจำนวนได้อยู่