คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การเปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2501

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังการร้าง และการเปลี่ยนแปลงทรัพย์สินระหว่างการร้าง โดยใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5
สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ขณะจะขาดจากการสมรสใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว เหตุที่จะขาดจากการสมรสต้องใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 บังคับ และการที่สามีภริยามาร้างกันระหว่างใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 สามีขายทรัพย์สินสมรสไปแล้วซื้อทรัพย์อื่นมาแทนทรัพย์นั้นก็ต้องเป็นสินสมรส แต่ทรัพย์ที่สามีหาได้มาระหว่างร้างกันไม่เป็นสินสมรส
ในชั้นฎีกา ผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นฎีกา ถ้าทรัพย์ที่เรียกร้องมีหลายอย่างตีราคารวมกันมา แต่ผู้ฎีกาฎีกาเฉพาะทรัพย์บางอย่างการคำนวณค่าขึ้นศาลศาลควรจัดการตีราคาทรัพย์แยกจากกันก่อนแล้วจึงเรียกค่าขึ้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าห้องเพื่ออยู่อาศัยและการคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า แม้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
เช่าห้องอยู่อาศัยมาเป็นเวลาช้านาน แม้จะรับรักษาตาด้วยก็ปรากฎว่าทำเพียงเล็กน้อยตามความจำเป็นแก่การครองชีพเท่านั้น แม้ในภายหลังตำบลที่ห้องพิพาทตั้งอยู่จะกลายเป็นทำเลการค้าขึ้น จำเลยก็ยังคงทำการรักษาตาหาเลี้ยงชีพอยู่เพียงเล็กน้อยตามเดิมเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าจำเลยเช่าห้องพิพาทอยู่อาศัย ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า ฯลฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีศุลกากรตามพิกัดอัตรา ณ เวลาออกใบขนสินค้า และผลของการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราในภายหลัง
เมื่อผู้ส่งของออกนอกราชอาณาจักรได้ยื่นใบส่งสินค้าโดยถูกต้อง และได้เสียค่าภาษีศุลกากรตามพิกัดอัตราในเวลาออกใบขนสินค้านั้นเสร็จแล้ว หากเรือบันทุกของยังไม่ได้ออกเดินทางได้มีการประกาศใช้พิกัดอัตราศุลกากรใหม่ พนักงานเจ้าหน้าที่หามีอำนาจที่จะเพิกถอนใบขนสินค้าที่ออกไปโดยครบถ้วนถูกต้องแล้วนั้นไม่ เมื่อใบขนสินค้ายังคงใช้ได้อยู่ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่มีทางเรียกเก็บค่าภาษีใหม่ได้แต่ประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 920/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงอาคารรุกล้ำทางหลวงไม่ถือเป็นการปลูกสร้างใหม่ หากไม่เพิ่มการกีดขวาง
รื้อหลังคาแล้วทำหลังคาไหม่ และทำฝาเพิ่มขึ้น กับ+เสาที่ชุดไนโรงเรือนที่ปลูกกีดขวางทางหลวงนั้น ไม่ถือว่าการกะทำตอนหลังนี้เปนการกะทำกีดขวางทางหลวงอันเปนผิดตามมาตรา 336(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิในที่ดิน: การเซาะพังของดินโดยน้ำ ไม่ทำให้กรรมสิทธิสิ้นสุด หากไม่เป็นลำคลองสาธารณะ
ที่ ๆ ถูกทางน้ำเซาะ ดินพังแต่ไม่ปรากฎว่าเป็นลำคลองสาธารณะเจ้าของที่ยังมีกรรมสิทธิอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8596/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงอำนาจปกครองบุตรหลังหย่า และการเพิกถอนข้อตกลงค่าเลี้ยงชีพโดยพิจารณาประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฎีกาประเด็นขอให้เพิกถอนข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าเรื่องที่โจทก์ตกลงจะให้ค่าเลี้ยงชีพแก่จำเลยจำนวน 200,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นสั่งในฎีกาของโจทก์ว่า คำฟ้องในเรื่องค่าเลี้ยงชีพเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งมีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 และไม่รับวินิจฉัยนั้น เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ เพราะประเด็นค่าเลี้ยงชีพ เป็นการฟ้องตั้งสิทธิ อันเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องในครอบครัวระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากัน จึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว ซึ่งโจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง และ 248 วรรคสอง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) และ 247
ประเด็นขอเพิกถอนอำนาจปกครองของจำเลยนั้น โจทก์อ้างว่า หากผู้เยาว์อยู่กับโจทก์ จะได้ประโยชน์และความผาสุกดีกว่าอยู่กับจำเลย เหตุที่อ้างไม่ถือเป็นการใช้อำนาจปกครองโดยมิชอบ หรือประพฤติชั่วร้ายอันเป็นเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองจำเลยได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1582 วรรคหนึ่ง แต่การที่ผู้เยาว์พักอาศัย เรียนหนังสือ และอยู่ในความดูแลของโจทก์ และผู้เยาว์ทำคำแถลงต่อศาลว่า ประสงค์จะอยู่กับโจทก์ อยู่กับจำเลยและบิดาเลี้ยงไม่มีความสุข ผู้เยาว์อายุ 10 ปีแล้วถือได้ว่ามีความรู้สึกนึกคิดได้โดยตนเอง สาเหตุที่ไม่อยากอยู่กับจำเลยสามารถบอกเหตุผลได้ มิได้กล่าวอ้างลอยๆ ประกอบกับฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองของจำเลยฝ่ายเดียวตามที่ตกลงในบันทึกท้ายทะเบียนหย่า แต่คำบรรยายฟ้องและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นกรณีที่โจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามที่ตกลงกันไว้กับจำเลย ถือว่าโจทก์ประสงค์ที่จะใช้อำนาจปกครอง เมื่อพฤติการณ์แห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพื่อประโยชน์ความผาสุกของผู้เยาว์ อาศัยอำนาจตาม ป.พ.พ. มาตรา 1520,1521 สมควรให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองร่วมกับจำเลย โดยให้โจทก์มีอำนาจกำหนดที่อยู่ผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13924/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
โจทก์ฟ้องอ้างว่าในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ผู้จัดการส่วนจะต้องกำหนดเป้าหมายของการทำงาน (KPI) และจะต้องให้พนักงานลงลายมือชื่อรับทราบตลอดจนมีโอกาสโต้แย้งดุลพินิจในการประเมิน อ. ผู้จัดการส่วนซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ไม่ได้กำหนดเป้าหมายการทำงาน ให้พนักงานรับทราบ ไม่ทำการประเมินตามระเบียบหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ใช้อำนาจประเมินตามอำเภอใจ ทำให้โจทก์ได้รับการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี 2548 ไม่ถึง 1 ขั้น เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามความสามารถที่แท้จริง ขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ ให้จำเลยมีคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์ใหม่ และให้จำเลยจ่ายเงินส่วนต่างพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยประเมินผลการปฏิบัติงานของโจทก์ประจำปี 2548 ไม่ถูกต้องตามระเบียบและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มิใช่โจทก์เรียกร้องให้มีการกำหนดหรือแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จะต้องไปดำเนินการให้สหภาพแรงงานยื่นข้อเรียกร้องต่อจำเลยดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 ทั้งไม่มีบทกฎหมายใดกำหนดให้โจทก์ต้องไปดำเนินการอย่างใดก่อน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่า จำเลยประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี 2548 ของโจทก์ถูกต้องหรือไม่ และจำเลยต้องประเมินผลการปฏิบัติงานให้แก่โจทก์ใหม่หรือไม่เท่านั้น การที่โจทก์ยกเหตุที่ไม่อยู่ในประเด็นแห่งคดีขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
of 3