คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำหนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 66 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการคัดค้านคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์: การหมดสิทธิเนื่องจากไม่ยื่นคำคัดค้านตามกำหนด
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทศาลชั้นต้นประกาศนัดไต่สวนคำร้องโดยระบุว่าผู้ใดประสงค์จะคัดค้านให้ยื่นคำร้องคัดค้านก่อนวันนัดไต่สวน ผู้คัดค้านไม่ยื่นคำร้องคัดค้านภายในกำหนด จึงไม่มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องคัดค้าน เพราะล่วงเลยเวลาที่จะยื่นคำร้องคัดค้าน ทั้งมิใช่กรณีคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208 อันจะขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3597/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คเกินกำหนด 1 เดือน: สิทธิไล่เบี้ยผู้สลักหลังเป็นอันสิ้นสุด
เช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกันกับที่ออกเช็ค แต่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงยื่นเช็คต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินเกินกำหนด 1 เดือน นับแต่วันออกเช็ค ตามมาตรา 990 แห่ง ป.พ.พ. ดังนี้ โจทก์สิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ผู้สลักหลัง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2526/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทิ้งฟ้องเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในการส่งสำเนาฎีกาภายในกำหนด
จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2533 เสมียนทนายจำเลยลงชื่อในตรายางซึ่งประทับในฎีกามีความว่า "ให้มาทราบคำสั่งในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว"เมื่อศาลชั้นต้นสั่งฎีกาของจำเลยและกำหนดเวลาให้จำเลยส่งสำเนาฎีกาให้อีกฝ่ายหนึ่งภายใน 7 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง ในวันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยยื่นฎีกา 1 วัน ถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยยอมรับว่าจะมาฟังคำสั่งในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 ถ้าไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว ฉะนั้น แม้จำเลยจะมิได้มาฟังคำสั่ง ก็ถือว่าคำสั่งศาลนั้นได้ส่งให้จำเลยโดยชอบ และจำเลยทราบคำสั่งนั้นแล้วตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2533 ระยะเวลาสิ้นสุดที่จำเลยจะต้องนำส่งสำเนาฎีกาตามคำสั่งศาลชั้นต้นคือวันที่ 7 ธันวาคม 2533 แต่ปรากฏตามรายงานเจ้าหน้าที่ฉบับลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2534ว่าจำเลยมิได้จัดการนำส่งสำเนาฎีกาในกำหนดนั้น จึงเป็นการทิ้งฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์เกินกำหนด: เหตุผลความพลั้งเผลอของทนายความไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไม่ทันกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์เพราะความพลั้งเผลอของทนายความ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อากรแสตมป์ขีดฆ่าก่อนมีคำพิพากษาใช้ได้ ไม่ต้องลงวันที่ และการฟ้องคดีเมื่อถึงกำหนดชำระหนี้
การระบุวันเดือนปีพร้อมกับขีดฆ่าอากรแสตมป์นั้น เพียงมุ่งหมายให้ทราบว่าได้มีการปิดและขีดฆ่าเมื่อใดเท่านั้น เมื่อเอกสารได้มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์ก่อนมีคำพิพากษาแล้ว แม้จะไม่ได้ลงวันที่ที่ขีดฆ่าก็รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 การซื้อขายได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ 60 วัน นับแต่วันที่ส่งมอบสินค้า เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ตามกำหนดย่อมได้ชื่อว่าผิดนัดแล้ว ไม่จำต้องทวงถามก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาวางค่าฤชาธรรมเนียม: เหตุสุดวิสัยต้องเกิดขึ้นก่อนครบกำหนด และอาการป่วยเล็กน้อยไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้ แทนโจทก์มาวางศาลภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยต่อ มาจำเลยยื่นคำร้องขอนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวาง คำร้องดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งจำเลยจะต้องมีคำร้องขอเสียก่อนครบกำหนด มิฉะนั้นจะขอขยายระยะเวลาอีกไม่ได้ เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่จำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ก็ดีและหาเงินได้ไม่ทันก็ดี ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่มีสิทธินำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางตามคำร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3139/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอขยายระยะเวลาวางค่าฤชาธรรมเนียมเกินกำหนด และเหตุสุดวิสัยที่ไม่ครอบคลุมอาการป่วยไข้หวัดใหญ่
จำเลยไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้ แทนโจทก์มาวางศาลภายในกำหนดที่ศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาให้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยต่อ มาจำเลยยื่นคำร้องขอนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวาง คำร้องดังกล่าวเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่ง จำเลยจะต้องมีคำร้องขอเสียก่อนครบกำหนด มิฉะนั้นจะขอขยายระยะเวลาอีกไม่ได้เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย การที่จำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ก็ดีและหาเงินได้ไม่ทันก็ดีถือ ไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงไม่มีสิทธินำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาวางตาม คำร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4729/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากลาป่วยเกินกำหนด และการจ่ายค่าชดเชย กรณีเจ็บป่วยเรื้อรัง
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยการลากำหนดให้พนักงานที่ลาป่วยครบกำหนดโดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนแล้วจำเป็นต้องรักษาตัวต่อไปมีสิทธิลาต่อได้ไม่เกิน120วันโดยไม่ได้รับเงินเดือนแต่หากยังลาต่อไปอีกจำเลยปลดออกจากงานได้ดังนี้เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานจำเลยได้ลาป่วยโดยได้รับเงินเดือนจนครบกำหนดแล้วและหยุดงานเกินกว่า120วันต่อมาอีกจำเลยให้โจทก์ออกจากงานระบุว่าโจทก์ป่วยเป็นโรคประสาทเรื้อรังจึงไม่ถือว่าโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกรณีไม่ใช่ให้โจทก์ออกจากงานเนื่องจากขาดงานเป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันที่ศาลแรงงานกลางอ้างเหตุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องจากโจทก์ขาดงานดังกล่าวจึงเป็นเรื่องนอกเหนือไปจากคำสั่งเลิกจ้างทั้งการที่โจทก์ไม่ยื่นใบลาหลังครบกำหนดลาป่วยแล้วก็มิใช่กรณีที่โจทก์ทำผิดอันต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โจทก์ลาป่วยครั้งสุดท้ายแล้วไม่ได้ยื่นใบลาป่วยต่อจำเลยอีกและโจทก์ไม่ได้มาทำงานอีกเลยจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์การไม่มาทำงานเป็นเวลานานดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์กระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3610/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาขาดอายุการยื่น เนื่องจากยื่นเกินกำหนดหลังฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
คู่ความฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2528 ครบกำหนดยื่นฎีกา วันที่ 4 มีนาคม 2528 เมื่อโจทก์ยื่นฎีกาวันที่ 6 มีนาคม 2528 จึงขาดอายุฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาฎีกา: เริ่มนับในวันรุ่งขึ้นของวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำให้การยื่นฎีกาภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือน คู่ความย่อมฎีกาได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2526 เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158 เริ่มนับอายุฎีกา 1 ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งเป็น วันต้นของเดือน และครบ 1 เดือนตามปฏิทินในวันที่ 31 มีนาคมจำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 29 มีนาคม 2526 จึงอยู่ภายในกำหนด1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247
(อ้างคำสั่งคำร้องของศาลฎีกา ที่ 37/2484)
of 7