คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กำไร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 451/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าหุ้นส่วนซื้อขายช้าง สัญญาการกู้เป็นหลักฐานการชำระหนี้หุ้นและกำไร ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่าจำเลยกู้เงินไปจากโจทก์โดยได้ทำสัญญากู้ไว้เป็นหลักฐาน ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นเรื่องที่โจทก์จำเลยเข้าหุ้นส่วนกันซื้อช้างเพื่อขาย โดยทำสัญญากู้กันไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการคืนหุ้นและกำไร ศาลย่อมพิพากษายกฟ้อง ส่วนข้อที่ว่าช้างที่เข้าหุ้นส่วนกันซื้อมาถูกคนร้ายลักเอาไปจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์อย่างไรโจทก์มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเพียงใดหรือไม่เป็นกรณีที่จะต้องว่ากล่าวกันอีกเรื่องหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินโดยไม่มุ่งหากำไร และความผิดพลาดในการกรอกเอกสารภาษี
โจทก์ซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวในปี 2484 ในราคา 12,550 บาท ต่อมาในปี 2505 โจทก์ขายให้แก่ผู้เช่าเพราะเสียอ้อนวอนไม่ได้ในราคา 420,000 บาท เมื่อปรากฏว่าค่าของเงิน 12,550 บาท ในปี 2484 ต่างกับ 420,000 บาท ในปี 2505 ไม่มากนัก ย่อมถือไม่ได้ว่าโจทก์ขายที่ดินโดยมุ่งหากำไรการกรอกรายการขอยกเว้นภาษีจำนวนเงินที่ขายที่ดิน 420,000 บาท ผิดพลาดเป็น 430,000 บาทไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับยกเว้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1120/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขาย: กำไรที่คาดว่าจะได้รับจากการขายต่อ และอำนาจศาลในการกำหนดค่าเสียหาย
จำเลยผิดสัญญาจะขายตึกพร้อมด้วยที่ดินแก่โจทก์ โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายว่า หากจำเลยปฏิบัติตามสัญญาให้โจทก์รับซื้อได้ถ้าโจทก์จะขาย มีผู้มาขอซื้อในราคา 450,000 บาท เพราะหลังจากทำสัญญาแล้ว ตึกแถวพร้อมด้วยที่ดินนี้มีราคาสูงขึ้นตามสภาพเพราะอยู่ริมถนนและเป็นทำเลที่เจริญด้วยการค้า โจทก์ขาดประโยชน์ที่ควรได้เป็นกำไรจากการขายไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท แล้วโจทก์นำสืบว่าโจทก์ซื้อที่ดินและตึกพิพาทไว้เพื่อค้าขายเอง เมื่อรับโอนมาแล้วถ้ามีคนมาซื้อในราคาดีก็จะขาย และว่าตึกแถวนี้อยู่ในทำเลดีมีโรงภาพยนต์และตลาด ราคาจึงสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งถ้าโจทก์จะขายในขณะนี้ จะขายได้ในราคาไม่ต่ำกว่า 450,000 บาท โดยมีผู้มาขอซื้อแล้ว 2 ราย รายละ 450,000 บาท โจทก์ก็ยังไม่ขาย เพราะยังไม่ได้รับโอนและที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวซึ่งอยู่ใกล้ ๆ ก็ขายได้ราคาถึง 550,000 บาท การที่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบดังนี้ก็เพื่อแสดงว่า ที่ดินและตึกพิพาทมีราคาสูงขึ้นตามสภาพของทำเลที่ดีเท่านั้น ข้ออ้างตามคำฟ้องและข้อนำสืบของโจทก์ แสดงว่าโจทก์ยังมิได้มีข้อผูกพันที่จะต้องขายต่อให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด อันจะทำให้โจทก์ได้กำไรเป็นจำนวนเท่าใด หรือว่าถ้าโจทก์โอนขายให้ผู้นั้นไม่ได้โจทก์จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้เป็นจำนวนเท่าใด ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกจากจำเลยจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การที่จำเลยไม่ส่งมอบตึกและที่ดินพิพาทให้โจทก์หาใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษไม่
โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยอ้างว่าโจทก์ขาดประโยชน์เป็นจำนวน100,000 บาท เท่ากำไรที่โจทก์อาจได้จากการขายต่อ แต่เมื่อยังฟังไม่ได้เป็นการแน่นอนว่าโจทก์จะขายได้กำไรเท่านั้นจริง ศาลมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ตามที่เห็นสมควรได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 16/2514)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 556/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนค้าไม้ไผ่: การตกลงแบ่งกำไรและขาดทุน, ความรับผิดชอบในหนี้
โจทก์จำเลยตกลงกันเข้าหุ้นค้าไม้ไผ่ โดยโจทก์ลงทุนเป็นเงิน จำเลยลงแรง จะแบ่งกำไรกันคนละครึ่ง เป็นการเข้าหุ้นส่วนกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1012 แล้ว แม้เรื่องการขาดทุนจะมิได้ตกลงกันไว้ ก็หาเป็นข้อสำคัญไม่
แม้จำเลยจะว่า เมื่อได้กำไร จำเลยจึงจะแบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่ง ทุนจะคืนโจทก์ ถ้าขาดทุนจำเลยก็จะใช้ให้โจทก์จนครบ จะไม่ยอมให้โจทก์ขาดทุน นั้นก็เป็นเพียงแต่คำรับรองต่อโจทก์เท่านั้น มิใช่ว่า กรณีไม่เข้ามาตรา 1025อันโจทก์จะไม่ต้องรับผิดชอบสำหรับหนี้ของหุ้นส่วนต่อบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความแตกต่างระหว่างเจ้าของร่วมกับหุ้นส่วน และผลกระทบต่อการฟ้องแบ่งทรัพย์สิน
"เจ้าของร่วม" กับ "หุ้นส่วน" ต่างกันในข้อสำคัญที่ว่าการเข้าร่วมกันเพื่อกระทำกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้นหรือไม่ ถ้าไม่ประสงค์เช่นนั้นก็ไม่ใช้หุ้นส่วน เป็นแต่เจ้าของร่วมแต่ถ้าประสงค์จะแบ่งปันกำไรเช่นว่านั้น ก็เป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของร่วมด้วยในตัว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินและกิจการของ "แม่น้ำมอเตอร์โบ๊ต" โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของร่วมกันกับจำเลย แต่บรรยายฟ้องมาในในรูปว่า โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในหุ้นส่วน ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อเลิกหุ้นส่วนเสียก่อนโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เลิกหุ้นส่วนศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วม vs. หุ้นส่วน: ความแตกต่างและการฟ้องแบ่งทรัพย์สิน
'เจ้าของร่วม' กับ 'หุ้นส่วน'ต่างกันในข้อสำคัญที่ว่าการเข้าร่วมกันเพื่อกระทำกิจการด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้นหรือไม่ถ้าไม่ประสงค์เช่นนั้นก็ไม่ใช่หุ้นส่วน เป็นแต่เจ้าของร่วมแต่ถ้าประสงค์จะแบ่งปันกำไรเช่นว่านั้น ก็เป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของร่วมด้วยในตัว
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินและกิจการของ'แม่น้ำมอเตอร์โบ๊ต'โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของร่วมกันกับจำเลย แต่บรรยายฟ้องมาในรูปว่า โจทก์จำเลยเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินในหุ้นส่วนซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อเลิกหุ้นส่วนเสียก่อนโจทก์ไม่ได้ฟ้องขอให้เลิกหุ้นส่วนศาลจึงต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1346/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดคลองเพื่อค้ากำไรโดยไม่ได้รับอนุญาตเข้าข่ายผิดพ.ร.บ.ควบคุมกิจการค้าขาย
ทางน้ำที่จำเลยขุดเป็นทางแยกจากคลองบางพระไปสู่แม่น้ำท่าจีน เป็นทางที่กว้างและลึกจนเรือใหญ่น้อยเดินผ่านเข้าออกระหว่างคลองบางพระกับแม่น้ำท่าจีนได้ ทางนี้ย่อมมีสภาพเป็นคลองตามที่เข้าใจทั่วไปแล้ว
จำเลยขุดคลองเพื่อให้เรือเดินและเก็บค่าผ่านคลองซึ่งเป็นเรื่องที่จำเลยลงทุนทำการค้าหากำไรแก่สาธารณชนโดยแท้ จำเลยย่อมมีความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าขายอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุขแห่งสาธารณชนพ.ศ.2471 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากการเลิกสัญญาจ้างทำของ ครอบคลุมถึงกำไรที่ขาดหายไป
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น ย่อมหมายถึงความเสียหายที่ย่อมเกิดขึ้นแต่การเลิกสัญญาหรือการไม่ชำระหนี้ การขาดประโยชน์ที่ตนควรมีควรได้ หากมิได้มีการเลิกสัญญาย่อมเป็นความเสียหายอันหนึ่ง
การจ้างทำของนั้น สินจ้างมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นสิ่งที่ให้ตอบแทนพอดีฉะเพาะแต่ทุนและค่าแรงงานเสมอไป สินจ้างอาจรวมถึงผลประโยชน์ที่นอกเหนือไปจากทุนและแรงงานที่เรียกกันว่ากำไร นั้นก็ได้
ผู้ว่าจ้างเลิกสัญญาจ้างทำของ โดยผู้รับจ้างมิได้ทำผิดสัญญา เป็นเหตุให้ผู้รับจ้างขาดกำไรที่ควรจะได้ ถ้าไม่มีการเลิกสัญญาไปเท่าใด ผู้ว่าจ้างต้องรับสนองชดใช้ให้เป็นค่าสินไหมทดแทน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าสินไหมทดแทนจากการเลิกสัญญาจ้างทำของ ครอบคลุมถึงกำไรที่ขาดไป
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างใดๆ อันเกิดแต่การเลิกสัญญานั้น ย่อมหมายถึงความเสียหายที่ย่อมเกิดขึ้น แต่การเลิกสัญญาหรือการไม่ชำระหนี้ การขาดประโยชน์ที่ตนควรมีควรได้ หากมิได้มีการเลิกสัญญาย่อมเป็นความเสียหายอันหนึ่ง
การจ้างทำของนั้น สินจ้างมิได้จำกัดว่าจะต้องเป็นสิ่งที่ให้ตอบแทนพอดีเฉพาะแต่ทุนและค่าแรงงานเสมอไป สินจ้างอาจรวมถึงผลประโยชน์ที่นอกเหนือไปจากทุนและแรงงานที่เรียกกันว่ากำไรนั้นก็ได้
ผู้ว่าจ้างเลิกสัญญาจ้างทำของ โดยผู้รับจ้างมิได้ทำผิดสัญญาเป็นเหตุให้ผู้รับจ้างขาดกำไรที่ควรจะได้ ถ้าไม่มีการเลิกสัญญาไปเท่าใด ผู้ว่าจ้างต้องรับสนองชดใช้ให้เป็น ค่าสินไหมทดแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2487 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทในส่วนแบ่งกำไรจากหุ้นส่วน: หุ้นส่วนตาย ทายาทมีสิทธิเรียกร้อง
สองคนเข้าหุ้นส่วนกัน เมื่อคน 1 ตายแล้ว ทายาทของผู้ตายมีอำนาจฟ้องเรียกเส่วนแบ่งผลกำไรจากอีกคน 1 ได้
of 4