พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4059/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินบำเหน็จพิเศษที่จ่ายให้พนักงานไม่มีสิทธิถอนจนกว่าออกจากงาน และอาจถูกหักเป็นค่าเสียหาย ไม่ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
โจทก์จ่ายเงินเข้าบัญชีให้พนักงาน พนักงานมีหน้าที่จะต้องรำเงินที่จ่ายให้ส่งเป็นเงินประกันตัวและเมื่อส่งเป็นเงินประกันตัวแล้ว โจทก์จะนำเข้าฝากในบัญชีประจำของพนักงานพนักงานไม่มีสิทธิถอนเงินจำนวนนี้จนกว่าจะออกจากงานและถ้าออกโดยทำความเสียหายให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะหักเป็นค่าเสียหาย จึงถือไม่ได้ว่าเงินดังกล่าวตกเป็นกรรมสิทธิ์ของพนักงานโดยเด็ดขาด มีลักษณะเป็นการตั้งบัญชีสำรองจ่ายเงินบำเหน็จพิเศษไว้โดยมิได้มีการจ่ายจริง จึงเป็นเงินสำรองตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ตรี(1) จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3070/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ: เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจถัวเฉลี่ยกำไรได้
แม้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องจัดเก็บจากกำไรสุทธิที่คำนวณได้จากรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีและต้องเป็นรายได้ที่นิติบุคคลนั้นได้รับจริง ๆก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่ากำไรของนิติบุคคลนั้นมีหลายจำนวนแตกต่างกันเจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจถัวเฉลี่ยกำไรที่โจทก์ได้รับ นำมาเป็นเกณฑ์ในการคำนวณกำไรสุทธิได้ โจทก์มีกำไรจากการขายเบียร์และโซดาลังละ 3 บาทขึ้นไปถึง10 บาท เจ้าพนักงานประเมินจึงใช้อัตราถัวเฉลี่ยที่โจทก์มีกำไรลังละ 3 บาท ซึ่งเป็นกำไรต่ำสุดเป็นเกณฑ์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและการรวมเป็นกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิตโจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วยถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(3) หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา65 ทวิ(3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิ ของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ใน งบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นและการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีบริษัทประกันภัยลงทุนในหุ้น
โจทก์ประกอบกิจการรับประกันวินาศภัยและประกันชีวิต โจทก์ได้นำเงินที่กันไว้ไปลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทอื่นด้วย ถือได้ว่าหุ้นเหล่านั้นเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของโจทก์ โจทก์ไม่ได้ขายหุ้นแต่ปรากฏในบัญชีงบดุลในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ว่าโจทก์ได้เพิ่มราคาหุ้นตามมูลค่าที่ควรจะเป็นไว้การกระทำดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการตีราคาเพิ่มขึ้นตามนัยแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3)
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย.
หุ้นมิใช่สินค้าคงเหลือ ราคาหุ้นโจทก์จึงต้องถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินได้ตามปกติ เมื่อโจทก์ประกอบกิจการมีกำไรสุทธิจึงไม่ต้องห้ามมิให้ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (3) โจทก์จะตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นหรือไม่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือก เมื่อโจทก์ตีราคาหุ้นเพิ่มขึ้นและนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ โจทก์จึงต้องนำราคาหุ้นส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1681/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษี เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตรวจสอบบัญชีแม้กำไรสุทธิลดลง การเก็บรักษาบัญชีต้องเป็นไปตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานประเมินวิเคราะห์แบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีของโจทก์แล้ว ปรากฏว่ากำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นทุกปีแต่กำไรสุทธิกลับลดลง เพียงเท่านี้ก็พอมีเหตุสมควรที่จะให้เจ้าพนักงานประเมินเชื่อว่าการยื่นแบบแสดงรายการของโจทก์น่าจะไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจหมายเรียกโจทก์มาทำการตรวจสอบไต่สวนดังที่มาตรา 19 ประมวลรัษฎากรบัญญัติไว้ได้ ส่วนโจทก์จะมีรายจ่ายที่จะนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิจริงหรือไม่ เป็นเรื่องในชั้นไต่สวนตรวจสอบคนละขั้นตอนกับในขั้นหมายเรียกมาทำการไต่สวนตรวจสอบตามมาตรา 19 จึงไม่ทำให้อำนาจการออกหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินเสียไปแต่ประการใดและการที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกในกรณีนี้ แม้เจ้าพนักงานประเมินได้ระบุมาตรา 19, 23 มาด้วยกันในหมายเรียกก็หาเป็นเรื่องที่ขัดกันไม่ แต่เป็นการอ้างมาตรา 23 เกินเลยมาเท่านั้น ไม่ทำให้หมายเรียกที่มีเหตุที่จะเรียกได้ตามมาตรา 19 ตามที่กล่าวแล้ว ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ประกอบกิจการนำสินค้าประเภทกระติกน้ำและเครื่องแก้วเข้ามาจำหน่าย อันเป็นธุรกิจที่จะต้องจัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 เรื่องการบัญชี โจทก์ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจึงต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนั้น จะเก็บรักษา ณ สถานที่อื่น โจทก์ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังที่กำหนดไว้ในข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนั้น มิฉะนั้นมีความผิดต้องรับโทษตามข้อ 23 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับเดียวกัน การที่อธิบดีกรมการค้ายังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ก็มีผลเท่ากับว่า ในขณะนั้นยังไม่อนุญาตให้เก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น นอกสถานที่ประกอบธุรกิจ การที่โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่อื่น จึงเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่นำไปเก็บไว้ถูกไฟไหม้ไปด้วย โจทก์จะอ้างเอาเหตุนั้นอันเนื่องจากการฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์มาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง กรณีเช่นนี้พนักงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 ที่มีอำนาจดำเนินคดีในศาลให้แก่ผู้อื่น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งในคำพิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีชดใช้ค่าทนายความแทนจำเลยตามที่เห็นสมควรดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติไว้ได้
โจทก์ประกอบกิจการนำสินค้าประเภทกระติกน้ำและเครื่องแก้วเข้ามาจำหน่าย อันเป็นธุรกิจที่จะต้องจัดทำบัญชีตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 285 เรื่องการบัญชี โจทก์ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจึงต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ประกอบธุรกิจนั้น จะเก็บรักษา ณ สถานที่อื่น โจทก์ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะต้องขออนุญาตต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาดังที่กำหนดไว้ในข้อ 13 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนั้น มิฉะนั้นมีความผิดต้องรับโทษตามข้อ 23 ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับเดียวกัน การที่อธิบดีกรมการค้ายังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ก็มีผลเท่ากับว่า ในขณะนั้นยังไม่อนุญาตให้เก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น นอกสถานที่ประกอบธุรกิจ การที่โจทก์นำบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไปเก็บรักษาไว้ ณ สถานที่อื่น จึงเป็นเรื่องที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว เมื่อเกิดเพลิงไหม้เป็นเหตุให้บัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีที่นำไปเก็บไว้ถูกไฟไหม้ไปด้วย โจทก์จะอ้างเอาเหตุนั้นอันเนื่องจากการฝ่าฝืนกฎหมายของโจทก์มาเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจส่งบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีให้เจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบตามหมายเรียกหาได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง กรณีเช่นนี้พนักงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 ที่มีอำนาจดำเนินคดีในศาลให้แก่ผู้อื่น จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งในคำพิพากษาให้โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีชดใช้ค่าทนายความแทนจำเลยตามที่เห็นสมควรดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 บัญญัติไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3348/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณกำไรสุทธิภาษีเงินได้นิติบุคคล: สิทธิในการเลือกใช้เกณฑ์สิทธิ์หรือเงินสด แม้จะยังไม่ได้รับเงิน
การคำนวณกำไรสุทธิในการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี ปี พ.ศ. 2519 ถึงปี พ.ศ. 2521 ต้องเป็นไปตามมาตรา 65 แห่ง ป.รัษฎากรในขณะพิพาท ซึ่งบัญญัติว่า "เงินได้ที่ต้องเสียภาษีตามความในส่วนนี้คือ กำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี ฯลฯ" กิจการในที่นี้จึงหมายถึงกิจการที่กระทำจนได้เงินมาเป็นเงินได้แล้ว ฉะนั้นการที่โจทก์มีสิทธิเพียงแต่จะได้รับดอกเบี้ย แต่ยังไม่ได้รับมาจริงจึงยังไม่ใช่รายรับอันจะนำมาคำนวณเป็นกำไรสุทธิ แม้โจทก์จะปฏิบัติทางบัญชีโดยลงบัญชีรายรับค่าดอกเบี้ยค้างรับในระบบเกณฑ์สิทธิ์ตลอดมาก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะไม่นำดอกเบี้ยที่ยังไม่ได้รับจริงมาคำนวณเป็นกำไรสุทธิได้ เพราะกฎหมายในเรื่องนี้ขณะพิพาทไม่ได้บัญญัติทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในเรื่องภาษีการค้าตามมาตรา 79 จัตวา และเมื่อโจทก์มีสิทธิจะใช้เกณฑ์สิทธิ์หรือเกณฑ์เงินสดได้อยู่แล้ว จึงไม่มีปัญหาเรื่องหนี้สูญ และความจำเป็นในการบัญญัติมาตรา 65 ทวิ (9).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินทุนเลี้ยงชีพต้องจ่ายให้ลูกจ้างเป็นกรรมสิทธิ์โดยเด็ดขาด จึงจะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
เงินทุนสำรองเลี้ยงชีพของลูกจ้างที่จะได้รับยกเว้นให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ตาม ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี (2) จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีที่จ่ายแก่ลูกจ้างโดยเด็ดขาด มิใช่เป็นแต่เพียงวิธีการจ่ายทางบัญชีและยังคงอยู่ในความควบคุมของโจทก์ โดยพนักงานเจ้าของเงินไม่มีสิทธิใช้เงินทุนในบัญชีเงินทุนเลี้ยงชีพของตนเองเลยจะได้รับเงินก็ต่อเมื่อออกจากงานแล้ว แต่โจทก์กลับมีสิทธิใช้โดยนำเงินดังกล่าวไปซื้อหุ้นของธนาคารโจทก์ได้ จึงถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิไม่ได้ กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 65 ตรี (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3853/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นปันผลเป็นรายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิ การลงทุนซื้อหุ้นเดิมไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนได้
หุ้นเป็นสิ่งซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ จึงต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
โจทก์ได้หุ้นมา ต้องถือว่าเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินซึ่งจะต้องนำมารวมเป็นรายได้ของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิโดยตีราคาหุ้นนั้นตามราคาที่พึงซื้อได้ตามปกติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(3)
การที่โจทก์จ่ายเงินซื้อหุ้นเดิมนั้นเป็นรายจ่ายที่บังเกิดผลเป็นการเพิ่มเติมทรัพย์สินของโจทก์ขึ้นมา ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งจะนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(1) และ 65ตรี(5) และหุ้นเดิมของโจทก์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์อยู่ตามเดิม ไม่ได้สูญหายไปไหน เจ้าพนักงานประเมินนำทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่โจทก์ได้รับเพิ่มเติมมาคือหุ้นปันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์เท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร จำเลยให้การต่อสู้ว่าชอบแล้ว ศาลย่อมมีหน้าที่ยกบทกฎหมายมาปรับแก่คดีว่า การประเมินของจำเลยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่ ไม่ใช่วินิจฉัยนอกคำให้การ
โจทก์ได้หุ้นมา ต้องถือว่าเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินซึ่งจะต้องนำมารวมเป็นรายได้ของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิโดยตีราคาหุ้นนั้นตามราคาที่พึงซื้อได้ตามปกติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(3)
การที่โจทก์จ่ายเงินซื้อหุ้นเดิมนั้นเป็นรายจ่ายที่บังเกิดผลเป็นการเพิ่มเติมทรัพย์สินของโจทก์ขึ้นมา ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งจะนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ(1) และ 65ตรี(5) และหุ้นเดิมของโจทก์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์อยู่ตามเดิม ไม่ได้สูญหายไปไหน เจ้าพนักงานประเมินนำทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่โจทก์ได้รับเพิ่มเติมมาคือหุ้นปันผลมารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์เท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร จำเลยให้การต่อสู้ว่าชอบแล้ว ศาลย่อมมีหน้าที่ยกบทกฎหมายมาปรับแก่คดีว่า การประเมินของจำเลยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่ ไม่ใช่วินิจฉัยนอกคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3853/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีจากหุ้นปันผล: หุ้นปันผลเป็นรายได้ที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิ
หุ้นเป็นสิ่งซึ่งอาจมีราคาและถือเอาได้ จึงต้องถือว่าเป็นทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 99
โจทก์ได้หุ้นมา ต้องถือว่าเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินซึ่งจะต้องนำมารวมเป็นรายได้ของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิโดยตีราคาหุ้นนั้นตามราคาที่พึงซื้อได้ตามปกติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ทวิ(3)
การที่โจทก์จ่ายเงินซื้อหุ้นเดิมนั้นเป็นรายจ่ายที่บังเกิดผลเป็นการเพิ่มเติมทรัพย์สินของโจทก์ขึ้นมา ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งจะนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ทวิ(1) และ 65ตรี(5) และหุ้นเดิมของโจทก์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์อยู่ตามเดิม ไม่ได้สูญหายไปไหน เจ้าพนักงานประเมินนำทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่โจทก์ได้รับเพิ่มเติมมาคือหุ้นปันผล มารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์เท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร จำเลยให้การต่อสู้ว่าชอบแล้ว ศาลย่อมมีหน้าที่ยกบทกฎหมายมาปรับแก่คดีว่า การประเมินของจำเลยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่ ไม่ใช่วินิจฉัยนอกคำให้การ
โจทก์ได้หุ้นมา ต้องถือว่าเป็นการได้มาซึ่งทรัพย์สินซึ่งจะต้องนำมารวมเป็นรายได้ของโจทก์ในการคำนวณกำไรสุทธิโดยตีราคาหุ้นนั้นตามราคาที่พึงซื้อได้ตามปกติตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ทวิ(3)
การที่โจทก์จ่ายเงินซื้อหุ้นเดิมนั้นเป็นรายจ่ายที่บังเกิดผลเป็นการเพิ่มเติมทรัพย์สินของโจทก์ขึ้นมา ถือได้ว่าเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุนซึ่งจะนำมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ไม่ได้ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65ทวิ(1) และ 65ตรี(5) และหุ้นเดิมของโจทก์นั้นก็ยังคงเป็นทรัพย์สินของโจทก์อยู่ตามเดิม ไม่ได้สูญหายไปไหน เจ้าพนักงานประเมินนำทรัพย์สินเฉพาะส่วนที่โจทก์ได้รับเพิ่มเติมมาคือหุ้นปันผล มารวมเป็นรายได้ในการคำนวณหากำไรสุทธิของโจทก์เท่านั้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าการประเมินภาษีของจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลรัษฎากร จำเลยให้การต่อสู้ว่าชอบแล้ว ศาลย่อมมีหน้าที่ยกบทกฎหมายมาปรับแก่คดีว่า การประเมินของจำเลยชอบด้วยประมวลรัษฎากรหรือไม่ ไม่ใช่วินิจฉัยนอกคำให้การ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล: หลักเกณฑ์และข้อยกเว้นตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ
ปัญหาเรื่องการหักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ไม่ใช่เหตุที่ ประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ทวิ (3) บัญญัติห้ามมิให้ตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น ในกรณีที่กิจการขาดทุนหรือไม่มีกำไร
เมื่อโจทก์ตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ จึงจำเป็นต้องนำราคาทรัพย์สินส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นนั้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
เมื่อโจทก์ตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้น และนำลงไว้ในงบดุลซึ่งยื่นประกอบรายการเสียภาษีอย่างเป็นทางการ จึงจำเป็นต้องนำราคาทรัพย์สินส่วนที่โจทก์ตีราคาเพิ่มขึ้นนั้นมารวมคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์ เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย