คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กิจการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 65 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5018/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการทรัพย์เพื่อชำระหนี้จากกิจการที่สร้างรายได้ แทนการขายทอดตลาด
รถตัดและเครื่องชั่งที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดนั้นจำเลยใช้ในการประกอบกิจการอุตสาหกรรมของจำเลยซึ่งทำรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงสมควรตั้งผู้จัดการทรัพย์ในการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4272/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเครื่องหมายการค้า: การเลิกกิจการส่วนตัวแล้วเปลี่ยนเป็นบริษัทถือเป็นการสละสิทธิ
การที่บิดาโจทก์เลิกประกอบกิจการส่วนตัวในการค้าขาย ใบชา ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทที่ตนจดทะเบียน ไว้ มา ประกอบกิจการ ค้า ใบชา โดย ใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว ใน รูป ของ บริษัท จำเลยตลอดจน การ ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท กับ ใบชาของ บริษัท จำเลย ใน ลักษณะ ที่ แสดง ว่า บริษัท จำเลยเป็น เจ้าของ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวดังปรากฏ ที่ กล่อง บรรจุ ใบชา นั้น ถือ ได้ ว่า บิดา โจทก์ได้ สละ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท โดย ยอม ให้เป็น ทรัพย์สิน ของ บริษัท จำเลย แล้ว ตั้งแต่ ขณะ บิดา โจทก์เลิก ประกอบการค้า ใบชา เป็น การ ส่วนตัว มา ประกอบการค้าใบชา ใน รูป บริษัท จำเลย โดย มี ตน เป็น กรรมการผู้จัดการแม้ หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้า พิพาทจะ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวโดย บิดา โจทก์ ยัง มิได้ ไป จดทะเบียน โอน สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า นั้น ให้ จำเลย เพื่อ ให้ สมบูรณ์ ตาม มาตรา 33 แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 ซึ่ง ใช้บังคับ อยู่ ใน ขณะนั้น ก็ตาม แต่ ก็ ถือ ไม่ได้ ว่า บิดา โจทก์ ยังคง เป็น เจ้าของสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ต่อไปการ ที่ ปรากฏ ชื่อ บิดา โจทก์ เป็น เจ้าของ เครื่องหมายการค้าพิพาท ตาม หลักฐาน การ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้ามี ผล เพียง เท่ากับ บิดา โจทก์ เป็น ผู้ถือสิทธิ ใน เครื่องหมายการค้าพิพาท ไว้ แทน จำเลย เท่านั้น เมื่อ ต่อมา บิดา โจทก์ถึงแก่กรรม สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท จึงไม่เป็น ทรัพย์ ยืม มรดก ที่ ตกทอด แก่ ทายาท การ ที่ ว.และ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก ไป ขอ จดทะเบียน ต่อ อายุเครื่องหมายการค้า พิพาท จึง มี ผล เป็น เพียง การ ถือ สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ไว้แทน จำเลย เช่นเดียวกันเมื่อ จำเลย เป็น ผู้ มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท และ ใช้ เครื่องหมายการค้า ดังกล่าว กับ สินค้า ใบชาที่ จำเลย ผลิต ออก จำหน่าย ตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ตลอดมาจนถึง ปัจจุบัน ทั้ง ไม่ ปรากฏ ว่า โจทก์ เคย ทำ การค้าขาย ใบชา โดย ใช้ เครื่องหมายการค้า พิพาท แต่อย่างใดจำเลย จึง มี สิทธิ ใน เครื่องหมายการค้า พิพาท ดีกว่าโจทก์ และ ย่อม เป็น ผู้มีส่วนได้ เสีย ที่ จะ ร้อง ขอ ต่อ ศาล ให้ มี คำสั่ง เพิกถอน ทะเบียน เครื่องหมายการค้าพิพาท ที่ โจทก์ ยื่น จดทะเบียน ต่อ อายุ ดังกล่าว ได้ ตามมาตรา 41(1) แห่ง พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองชั่วคราวและการยอมรับข้อเท็จจริงโดยปริยายจากคำคัดค้านของจำเลย
ในชั้นที่โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวขอให้ศาลห้ามจำเลยทั้งสองดำเนินกิจการโรงแรม บ. จำเลยทั้งสองคัดค้านเพียงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่ตั้งกิจการโรงแรม จำเลยเข้าไปดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าวก็เพื่อรักษาราคาที่ดินของจำเลยทั้งสองมิให้ตกต่ำลงเท่านั้น คำคัดค้านของจำเลยทั้งสองเท่ากับยอมรับในตัวว่ากิจการโรงแรม บ. เป็นของโจทก์ แม้การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 254(2) บัญญัติให้ทำเป็นคำขอฝ่ายเดียว แต่ศาลก็มีอำนาจที่จะฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งหรือคู่ความอื่น ๆ ก่อนออกคำสั่งได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(3) และปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองแถลงไม่ติดใจสืบพยานชั้นไต่สวน แสดงว่าศาลให้โอกาสนำพยานเข้าสืบแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ประสงค์จะนำพยานเข้าสืบเอง หาใช่จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบดังจำเลยทั้งสองฎีกาไม่ ในชั้นที่โจทก์และจำเลยทั้งสองพิพาทกันเกี่ยวกับการขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา ศาลชั้นต้นจะมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีเพราะมิใช่ศาลที่ทรัพย์นั้นตั้งอยู่หรือไม่ ย่อมไม่ใช่ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดในชั้นนี้เพราะตราบใดที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้พิพากษาหรือจำหน่ายคดีออกจากสารบบความคู่ความย่อมมีสิทธิขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาได้เสมอ ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงทรัพย์สิน: การชำระค่าตอบแทนการเช่าสถานที่ ไม่เป็นเหตุให้มีสิทธิยึดทรัพย์ที่ใช้ในกิจการ
โจทก์กับ อ.ร่วมกันเปิดศูนย์ภาษาขึ้นที่ตึกแถวของจำเลยโดยตกลงกันว่าโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการทั้งหมด และจะจ่ายผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนให้แก่จำเลยในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างที่ได้รับ โจทก์ได้ซื้อทรัพย์พิพาทมาจากบุคคลภายนอก เพื่อใช้ในการประกอบกิจการของศูนย์ภาษาในตึกแถวดังกล่าวโดยไม่มีหนี้อันเกี่ยวด้วยทรัพย์พิพาทนั้นแต่อย่างใด ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ และค่าผลประโยชน์ที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยอยู่ เป็นหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการของศูนย์ภาษา หาใช่เป็นหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์พิพาทซึ่งจำเลยครองอยู่ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1496/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการรับคืนทรัพย์สินที่ซื้อมาเพื่อใช้ในกิจการเช่า แม้มีหนี้ค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่นจากการดำเนินกิจการ
โจทก์ซื้อทรัพย์พิพาทมาจากบุคคลภายนอกเพื่อนำมาใช้ในกิจการของโจทก์ในอาคารที่เช่าจากจำเลยโดยไม่มีหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์พิพาทระหว่างโจทก์และจำเลย สำหรับค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าค่าโทรศัพท์ และค่าผลประโยชน์ตอบแทนที่จะต้องแบ่งให้จำเลยที่โจทก์ค้างชำระแก่จำเลยอยู่ก็เป็นหนี้ที่เกิดจากการดำเนินกิจการของโจทก์เพื่อประโยชน์ในการจัดการให้บริการแก่ลูกค้าที่มาติดต่อเท่านั้น มิใช่เป็นหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่จำเลยเกี่ยวด้วยทรัพย์พิพาทซึ่งจำเลยครอบครองอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 241 จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์พิพาทไว้ ต้องคืนให้แก่จำเลยผู้เป็นเจ้าของไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าใช้จ่ายสำนักงานใหญ่เฉลี่ยให้สาขา การหักลดหย่อนภาษีต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ
โจทก์นำค่าใช้จ่ายของสำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ ณ เมืองฮ่องกงมาคำนวณเฉลี่ยเป็นรายจ่ายของสาขาทั่วโลก โดยคิดตามส่วนที่สาขาต่าง ๆ มีรายได้ สาขาในประเทศไทยก็นำรายจ่ายเหล่านั้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อคำนวณหากำไรสุทธิในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล เมื่อโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หรือแยกให้เห็นว่ารายจ่ายส่วนใดบ้างที่เป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยโดยเฉพาะ โจทก์จะเหมารายจ่ายเฉลี่ยดังกล่าวเป็นรายจ่ายเพื่อกิจการในประเทศไทยและนำมาหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนรถยนต์เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อกิจการ หักลดหย่อนภาษีได้ หากโจทก์เป็นผู้จ่ายจริง
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนรถยนต์ เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะของโจทก์ ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่เป็นรายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง อันจักต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5454/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน่วยราชการต้องรับผิดค่าสินค้า แม้มิได้ตั้งบัญชีเจ้าหนี้ หากซื้อสินค้าไปใช้ในกิจการ
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเรือนจำซื้อสินค้าจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของเรือนจำแล้วมิได้จัดให้มีการตั้งบัญชีเจ้าหนี้ไว้ตามระเบียบปฏิบัติราชการของกรมราชทัณฑ์จำเลยที่ 2 ที่วางไว้เพื่อให้มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 นั้น เป็นเพียงระเบียบปฏิบัติภายในของจำเลยที่ 2 ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกและไม่ทราบถึงระเบียบดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียนฟ้องบุคคลภายนอก ต้องแสดงชื่อตนในกิจการจึงมีอำนาจฟ้อง
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จะฟ้องบุคคลภายนอกโดยอ้างสิทธิในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนมิได้
โจทก์และ ส. กับพวกนำเงินไปเปิดบัญชีไว้ที่ธนาคารเพื่อดำเนินกิจการร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ส.เอาเงินของห้างหุ้นส่วนจ่ายให้จำเลยเพื่อแลกเช็คพิพาทจากจำเลย แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนี้ แม้การรับแลกเช็คนั้นจะเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วน แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ในกิจการนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนห้างหุ้นส่วนที่ไม่จดทะเบียนฟ้องบุคคลภายนอกไม่ได้หากชื่อไม่ปรากฏในกิจการ
ผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียน จะฟ้องบุคคลภายนอกโดยอ้างสิทธิในกิจการซึ่งไม่ปรากฏชื่อของตนมิได้ โจทก์และ ส. กับพวกนำเงินไปเปิดบัญชีไว้ที่ธนาคารเพื่อดำเนินกิจการร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน ส.เอาเงินของห้างหุ้นส่วนจ่ายให้จำเลยเพื่อแลกเช็คพิพาทจากจำเลยแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนี้ แม้การรับแลกเช็คนั้นจะเป็นกิจการของห้างหุ้นส่วน แต่เมื่อไม่ปรากฏชื่อของโจทก์ในกิจการนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คจากจำเลย
of 7