คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขนส่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 215 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6589/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลเมื่อสินค้าเสียหาย
เมื่อสินค้าที่ขนส่งเสียหายและเหตุแห่งการเสียหายของสินค้าดังกล่าวได้เกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดเพื่อความเสียหายนั้นต่อผู้ส่งสินค้าดังกล่าวตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 วรรคหนึ่ง ผู้ขนส่งจะไม่ต้องรับผิดก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลจากความผิดของผู้ส่งของหรือผู้รับตราส่ง เช่น การบรรจุหีบห่อไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่เหมาะสมกับสภาพแห่งของ หรือการเสียหายนั้นเกิดจากสภาพแห่งของนั้นเอง ตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 52 (9) และ (10)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และการยกเว้นความรับผิดของผู้ขนส่งเมื่อไม่มีหลักฐานสินค้าสูญหายระหว่างขนส่ง
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งอื่นซึ่งตกลงรับขนสินค้าแบบ CY/CY เมื่อโจทก์ไม่นำสืบว่าสินค้าได้สูญหายระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ส่งมอบตู้สินค้าพิพาทให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยโดยที่ ตู้สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย แสดงให้เห็นว่า สินค้าในตู้สินค้า ไม่มีโอกาสสูญหายระหว่างจำเลยที่ 2 ทำการขนส่ง จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 39 ประกอบมาตรา 44 การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า สินค้าที่พิพาทได้สูญหายไประหว่างการขนส่งที่อยู่ ในความดูแล ของจำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำนวน 75,703.73 บาทนั้น เป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจ ในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเพื่อนำไปสู่ปัญหา ข้อกฎหมาย จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ ในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนมติคณะกรรมการและคำสั่งเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบการขนส่ง
การประกอบการขนส่งทางบกมีบทกฎหมายแยกแยะประเภทของการขนส่ง การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตประกอบการขนส่ง การอนุมัติเงื่อนไขในการประกอบการขนส่งที่ต้องระบุในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไว้ตามลำดับความสำคัญ กล่าวคือ ถ้าเป็นการประกอบการขนส่งในกรุงเทพมหานคร หรือการขนส่งระหว่างจังหวัดหรือเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ เป็นอำนาจของนายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตตามมาตรา 30ส่วนการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในแต่ละจังหวัดรวมทั้งการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กนั้นเป็นอำนาจของนายทะเบียนประจำจังหวัดนั้น ๆ ตามมาตรา 30 โดยให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 33เว้นแต่การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางเท่านั้นที่นอกจากจะให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 31 แล้ว ยังต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการดังกล่าวตามมาตรา 30 วรรคสอง อีกด้วย เมื่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช พิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์และของผู้ยื่นคำขอรายอื่นที่ยื่นไว้ภายในกำหนดทุกรายแล้วเห็นว่า โจทก์เป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและตามหลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่กรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนดไว้ จึงเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แล้วนำเรื่องการขออนุญาตพร้อมความเห็นที่ควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่ออนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522มาตรา 33 คณะกรรมการดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 ประกอบด้วยมาตรา 33 เฉพาะที่เกี่ยวกับการขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กย่อมมีอำนาจเพียงเฉพาะอนุมัติเงื่อนไขที่เกี่ยวกับจำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถเครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง ฯลฯ ไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 33 เท่านั้นหามีอำนาจที่จะลงมติออกใบอนุญาตหรือไม่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือลงมติยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 5ได้พิจารณาและลงความเห็นว่าสมควรออกใบอนุญาตให้แก่โจทก์ผู้ยื่นคำขอจนเสร็จไปแล้ว หรือลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าสมควรที่จะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรายใดอันเป็นการขัดต่อบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจไว้หาได้ไม่ เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชมีมติให้ยกเลิกมติที่ประชุมที่ได้ลงผิดไปเกี่ยวกับการยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ โดยให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ยังคงมีผลในการพิจารณาต่อไปจึงเท่ากับว่าคำขออนุญาตของโจทก์และความเห็นของจำเลยที่ 5ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์นั้น ยังคงมีผลอยู่ตามเดิม จึงชอบที่จำเลยทั้งห้าในฐานะคณะกรรมการดังกล่าวจำต้องปฏิบัติตามต่อไปด้วย พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 33หรือหากเห็นว่า ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่จะใช้ในการกำหนดเงื่อนไขไม่พอเพียงก็ชอบที่จะเลื่อนการพิจารณากำหนดเงื่อนไขออกไปเพื่อให้จำเลยที่ 5 หามาเพิ่มเติมได้และเมื่อมีการอนุมัติเงื่อนไขแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ซึ่งหากได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องขวนขวายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ถ้าโจทก์ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้องจำเลยที่ 5 โดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ได้ตามมาตรา 46 การที่จำเลยทั้งห้าอ้างว่าคำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์มีรถซ้ำซ้อนคันกัน ไม่แน่ว่าโจทก์จะรวมรถได้จริงทั้ง ๆ ที่ในประกาศรับคำขอก็มิได้กำหนดจำนวนที่จะมีใช้ในการประกอบการขนส่งว่าจะต้องใช้รถทั้งหมดกี่คันและคำขอทุกรายก็มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับรถซ้อนคันกันเช่นเดียวกันแล้วด่วนยกขึ้นเป็นสาเหตุลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปทบทวนความเห็นที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เสียใหม่ โดยที่ยังไม่มีการกำหนดจำนวนรถเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตให้โจทก์จำต้องปฏิบัติตาม จึงนอกจากจะไม่เป็นสาระสำคัญในชั้นพิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งเพราะอาจจะกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตดังกล่าวแล้วยังเป็นการก้าวล่วงเข้าไปชี้นำการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งเป็นอำนาจของจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดโดยตรงตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 30และมาตรา 33 อันเป็นการกระทำที่เกินขอบอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดที่บัญญัติให้อำนาจไว้ในมาตรา 20 และมาตรา 33 อีกด้วย มติที่ประชุมของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่กำหนดเงื่อนไขในการที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แต่มีมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขออนุญาตรายใด จึงเป็นมติที่ไม่ชอบ การที่จำเลยที่ 5 กลับความเห็นเดิมแล้วมีความเห็นใหม่กลายเป็นว่าไม่สมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์เพราะผลของการประชุมของคณะกรรมการที่พยายามจะให้จำเลยที่ 5 ยกเลิกหรือทบทวนความเห็นเกี่ยวกับคำขอของโจทก์เป็นความเห็นและคำสั่งที่ปราศจากหลักเกณฑ์และเหตุผล ไม่มีกฎหมายให้อำนาจจำเลยที่ 5 ทำให้ถึงเพียงนั้น เป็นการไม่ให้ความคุ้มครองและไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ควรเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดีกว่าบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือที่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งภายในเวลาที่ทางราชการประกาศกำหนด และแม้จะยังไม่ได้ชื่อว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยสมบูรณ์ แต่โจทก์ผู้มีสิทธิดีกว่าผู้อื่นย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ลงมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจารณาทบทวนความเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขอรายใด และย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 5 ที่ให้ยกเลิกคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์โดยไม่ชอบนั้นเสียได้ และมีผลทำให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์พร้อมด้วยความเห็นของจำเลยที่ 5 ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ยังมีผลอยู่ตามเดิม เป็นอำนาจหน้าที่ของขนส่งจังหวัดในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดจะพิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 33 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7161/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตประกอบการขนส่งใหม่ แม้ทับซ้อนเส้นทางเดิม ไม่ถือเป็นการละเมิด หากมีเหตุผลทางธุรกิจและปฏิบัติตามกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 420ป.วิ.พ. ตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ค่าทนายความพ.ร.บ. การขนส่งทางบก พ.ศ.2522พ.ร.บ. ควบคุมการขนส่งทางบก พ.ศ.2522
แม้โจทก์ได้รับอนุญาตให้ประกอบการขนส่งเส้นทางสายที่พิพาทเป็นเวลาถึง 30 ปี และกรมการขนส่งทางบกเคยกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการให้สัมปทานเดินรถประจำทางว่า จำนวนผู้ประกอบการเดินรถสายหนึ่งไม่ควรให้เกิน1 ราย เพื่อมิให้เกิดการแย่งผู้โดยสารกัน และในการประชุมสัมมนาผู้ประกอบการขนส่งทั่วประเทศของกรมการขนส่งทางบกมีมติว่า ถ้าเส้นทางเดินรถทับซ้อนกันเกินกว่าร้อยละ30 ขึ้นไป ต้องให้ผู้ประกอบการขนส่งคนเดิมเป็นผู้ได้รับอนุญาตก็ตาม แต่นโยบายของกรมการขนส่งดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางที่กำหนดขึ้นจากการสัมมนาของผู้ประกอบการขนส่งตามกฎหมายเก่าคือ พ.ร.บ.การขนส่ง พ.ศ.2497 ซึ่งถูกยกเลิกแล้ว โดยพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ทั้งมิใช่นโยบายของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลาง และมิใช่ระเบียบปฏิบัติซึ่งออกใช้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งมีแนวทางกำหนดไว้ใหม่แล้ว จำเลยทั้งแปดจึงไม่จำต้องถือตามนโยบายเดิมอีกต่อไป และเหตุที่จำเลยทั้งแปดพิจารณาไม่ให้โจทก์ได้รับใบอนุญาตเดินรถในเส้นทางที่กำหนดขึ้นใหม่ เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนหลายรายว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการเดินรถหลายประการ คณะกรรมการจึงเห็นควรให้ผู้ประกอบการขนส่งรายใหม่ได้รับใบอนุญาตเพื่อให้เกิดการแข่งขันในด้านบริการซึ่งจะทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการได้รับประโยชน์ จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยทั้งแปดได้ปฏิบัติฝ่าฝืนระเบียบและขัดนโยบายต่อโจทก์
รายงานการประชุมครั้งที่ 2/2533 และครั้งที่ 3/2533 ของคณะกรรมการชุดจำเลยทั้งแปดเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2533 และวันที่ 26 กันยายน2533 ซึ่งลงมติให้ ส. ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง เป็นรายงานการประชุมที่ถูกต้องตามมติที่ประชุมของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดและการรับรองรายงานการประชุมเป็นวิธีปฏิบัติซึ่งกำหนดให้ทำเพื่อให้สามารถใช้บันทึกรายงานการประชุมดังกล่าวมาเป็นหลักฐานอ้างอิงว่าคณะกรรมการได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื่องใด มีความเห็นหรือมีมติว่าอย่างไร ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด อ.มีมติในการประชุมให้ ส.ได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการขนส่งในเส้นทางสายใหม่แล้ว แม้จำเลยที่ 8 จะออกใบอนุญาตไปก่อนจะมีการรับรองรายงานการประชุมครั้งดังกล่าว แต่ก็เป็นการปฏิบัติตรงตามมติของคณะกรรมการในรายงานการประชุมดังกล่าว จึงไม่เป็นการผิดกฎหมาย การที่จำเลยทั้งแปดในฐานะคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด อ.มีมติให้ ส.ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่งในเส้นทางสายใหม่ และจำเลยที่ 8 ในฐานะนายทะเบียนได้ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งตามมติดังกล่าว จึงเป็นการปฏิบัติงานไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ แม้จะทับเส้นทางเดินรถที่โจทก์ได้รับอนุญาตอยู่เดิม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 3 ดำเนินคดีด้วยตนเองตลอดมา มิได้แต่งทนายความแม้จำเลยที่ 3 จะเป็นพนักงานอัยการและเป็นทนายความแก้ต่างให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ถึงที่ 8 ก็ไม่มีค่าทนายความที่โจทก์ควรจะใช้แทนจำเลยที่ 3 การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ แทนจำเลยทั้งแปดจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนขนส่งในความเสียหายของสินค้า การพิสูจน์ความรับผิดและค่าเสียหาย
จำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 1 ในราชอาณาจักรจึงถือได้ว่าภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ใช้ในการติดต่อดังกล่าวเป็นภูมิลำเนาของจำเลยที่ 1 ด้วยโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาล แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคสองจะบัญญัติว่า "รับขนของทางทะเลท่านให้บังคับตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น" ก็ตาม แต่เนื่องจากคดีนี้ทั้ง วันที่มีการออกใบตราส่งฉบับแรกและวันที่มีการส่งมอบ และตรวจรับสินค้าพิพาทเป็นวันก่อนที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ใช้บังคับ จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มูลคดีเกิดขึ้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาใช้บังคับ ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสองมิใช่ถือเอาวันที่โจทก์ทั้งสองฟ้อง จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับสินค้าจากผู้ส่งและเป็นผู้ติดต่อเรือให้ ขนสินค้าโดยเป็นผู้ออกใบตราส่งให้แก่ผู้ส่ง จึงมีฐานะเป็น ผู้ขนส่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 616 จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับติดต่อกับผู้รับสินค้าในการส่งมอบสินค้า เมื่อได้รับชำระค่าระวางเรือก็จะแจ้งให้จำเลยที่ 4ออกใบปล่อยสินค้า ใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่ผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้ผู้รับตราส่งติดต่อจำเลยที่ 2 ในการขอรับสินค้าทั้งใบตราส่งที่จำเลยที่ 3 ออกให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานตัวแทนของผู้ส่งสินค้าก็ระบุให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้รับตราส่งพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นการดำเนิน งานขนส่งสินค้าร่วมกับจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิด ในการสูญหายของสินค้าด้วย จำเลยที่ 4 เป็นผู้ทำการขนถ่ายสินค้าที่บรรทุกมากับเรือและนำสินค้าดังกล่าวไปมอบให้แก่การท่าเรือสัตหีบ พฤติการณ์ของจำเลยที่ 4 ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ร่วมทำการขนส่งสินค้าพิพาทด้วย จึงต้องร่วมรับผิดในความสูญหายของสินค้า พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534มีผลใช้บังคับในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ภายหลังจากมูลคดีได้เกิดขึ้น จึงไม่อาจนำการจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5457/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ: การกระทำไม่เข้าข่ายความผิดตาม ป.อ.มาตรา 336 ทวิ หากยานพาหนะนั้นมีไว้เพื่อขนส่งทรัพย์สินแต่แรก
ฉ.ได้ขับรถบรรทุกลากจูงรถพ่วงบรรทุกม้วนกระดาษดราฟท์เพื่อไปส่งให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อไปถึงสถานที่จะขนถ่ายม้วนกระดาษดราฟท์ที่บรรทุกมาทั้งหมดลง จำเลยและ ฉ.กลับร่วมกันนำม้วนกระดาษดราฟท์ที่บรรทุกอยู่ในรถพ่วงไปขายให้ผู้อื่น เมื่อกระดาษดราฟท์ที่จำเลยกับพวกลักทรัพย์นั้นได้บรรทุกอยู่บนรถพ่วงซึ่งถูกลากจูงโดยรถบรรทุกเพื่อขนส่งไปยังสถานที่ขนถ่ายอยู่ก่อนแล้ว การที่จำเลยกับ ฉ.ร่วมกันลักกระดาษดราฟท์โดยใช้รถข้างต้นซึ่งบรรทุกกระดาษดราฟท์มาแต่แรก และ ฉ.เป็นลูกจ้างผู้มีหน้าที่ขับรถคันดังกล่าวแล้ว ดังนี้ การกระทำของจำเลยกับ ฉ.จึงมิใช่เป็นการลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไปกรณีไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 336 ทวิ
แม้จำเลยกับ ฉ.เคยถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน แต่ ฉ.ให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ฉ.กระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 วรรคสาม,336 ทวิ ส่วนจำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาคดีนี้ การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 336 ทวิ ศาลก็ลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวไม่ได้ หาใช่ว่าเป็นเหตุในลักษณะคดีที่จำเลยต้องรับโทษเช่นเดียวกับ ฉ.ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5457/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่การกระทำผิด ต้องพิจารณาว่ายานพาหนะถูกใช้เพื่อการขนส่งทรัพย์สินก่อนกระทำความผิดหรือไม่
ฉ. ได้ขับรถบรรทุกลากจูงรถพ่วงบรรทุกม้วนกระดาษดราฟท์ เพื่อไปส่งให้แก่ผู้เสียหาย แต่เมื่อไปถึงสถานที่จะขนถ่าย ม้วนกระดาษดราฟท์ ที่บรรทุกมาทั้งหมดลง จำเลยและ ฉ. กลับร่วมกันนำม้วนกระดาษดราฟท์ ที่บรรทุกอยู่ในรถพ่วงไปขายให้ผู้อื่น เมื่อกระดาษดราฟท์ ที่จำเลยกับพวกลักทรัพย์นั้นได้บรรทุกอยู่บนรถพ่วงซึ่งถูกลากจูงโดยรถบรรทุกเพื่อขนส่ง ไปยังสถานที่ขนถ่ายอยู่ก่อนแล้ว การที่จำเลยกับ ฉ.ร่วมกันลักกระดาษดราฟท์ โดยใช้รถข้างต้นซึ่งบรรทุก กระดาษดราฟท์มาแต่แรกและฉ.เป็นลูกจ้างผู้มีหน้าที่ขับรถคันดังกล่าวแล้ว ดังนี้ การกระทำของจำเลยกับ ฉ. จึงมิใช่เป็นการลักทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะเพื่อสะดวกแก่ การกระทำผิดหรือการพาทรัพย์นั้นไป กรณีไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ แม้จำเลยกับ ฉ. เคยถูกฟ้องเป็นคดีเดียวกัน แต่ ฉ.ให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาว่าฉ.กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 วรรคสาม,336 ทวิส่วนจำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้แยกฟ้องจำเลยเป็นอีกคดีหนึ่งและโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาคดีนี้ การกระทำของ จำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ศาลก็ลงโทษ จำเลยตามบทมาตราดังกล่าวไม่ได้ หาใช่ว่าเป็นเหตุ ในลักษณะคดีที่จำเลยต้องรับโทษเช่นเดียวกับ ฉ. ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีความเสียหายจากการขนถ่ายสินค้า
ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้รับประกันภัยชำระแก่องค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศจำนวน 2,916,850.29 บาทสำหรับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกน้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตัน เป็นค่าเสียหายเฉพาะความเสียหายกรณีปูนซีเมนต์ที่ถุงแตกจำนวน 41,574 ถุง น้ำหนัก1,769.30 เมตริกตัน โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิจากองค์การคลังสินค้าเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกจำนวน 41,574 ถุง เท่านั้น โจทก์หาได้รับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายสำหรับกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวจำนวน 1,372 ถุง และปูนซีเมนต์ขาดหายอีก 16 ถุง มาด้วยดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับหนี้ความเสียหายตามฟ้องในกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวและขาดหายจำนวนดังกล่าว ซึ่งปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246และ 247
ปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 3ผู้ขนส่งทำหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์จากเรือ ช.ไปยังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้าจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากการกระทำของตนดังกล่าว
ปัญหาที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าจากองค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีผลผูกพันถึงการขนส่งของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นการขนส่งภายในประเทศนั้น จำเลยที่ 3ไม่ได้ให้การต่อสู้ในปัญหานี้ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
แม้ตามปกติผู้ขนส่งต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญารับขนปูนซีเมนต์พิพาทหากปูนซีเมนต์ดังกล่าวสูญหายหรือบุบสลายในระหว่างการขนส่งจนกว่าปูนซีเมนต์จะได้ส่งถึงกรุงเทพมหานครเมืองท่าปลายทาง โดยผู้ขนส่งต้องมีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับตราส่งก็ตาม แต่ก็อาจมีการตกลงในสัญญารับขนเป็นประการอื่น กล่าวคือ ตกลงให้ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือดังกล่าวก็ได้เมื่อปรากฏว่าสัญญารับขนปูนซีเมนต์รายพิพาทนี้มีข้อตกลงกันด้วยว่าให้ผู้รับตราส่งคือองค์การคลังสินค้าเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ และโจทก์กล่าวอ้างว่าความเสียหายตามฟ้องในส่วนปูนซีเมนต์ถุงแตกเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 3ในการขนถ่ายปูนซีเมนต์ จึงเป็นกรณีที่ความเสียหายเพราะปูนซีเมนต์ถุงแตกนี้เกิดขึ้นในระหว่างการทำหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้าเองตามที่มีการตกลงกันไว้ในสัญญารับขนว่าให้องค์การคลังสินค้าผู้รับตราส่งเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในหน้าที่และความรับผิดชอบของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญารับขนดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดต่อองค์การคลังสินค้าในความเสียหายนี้ไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งปูนซีเมนต์รายพิพาทจากองค์การคลังสินค้าเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีความเสียหายปูนซีเมนต์จากการขนถ่ายสินค้า
ค่าเสียหายที่โจทก์ผู้รับประกันภัยชำระแก่องค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศจำนวน 2,916,850.29 บาท สำหรับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกน้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตันเป็นค่าเสียหายเฉพาะความเสียหายกรณีปูนซีเมนต์ที่ถุงแตกจำนวน 41,574 ถุง น้ำหนัก 1,769.30 เมตริกตัน โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิจากองค์การคลังสินค้าเฉพาะในส่วน ที่เกี่ยวกับปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกจำนวน41,574 ถุง เท่านั้น โจทก์หาได้รับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากความเสียหายสำหรับกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวจำนวน 1,372 ถุง และปูนซีเมนต์ขาดหายอีก 16 ถุง มาด้วย ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับหนี้ความเสียหายตามฟ้องในกรณีปูนซีเมนต์แปรสภาพแข็งตัวและขาดหายจำนวนดังกล่าว ซึ่งปัญหาในเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 ปูนซีเมนต์ที่เสียหายเพราะถุงแตกเกิดขึ้นระหว่างที่จำเลยที่ 3 ผู้ขนส่งทำหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์จากเรือช.ไปยังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้าจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชำระค่าเสียหายจากการกระทำของตนดังกล่าว ปัญหาที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าจากองค์การคลังสินค้าตามสัญญาประกันภัยทางทะเลในการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีผลผูกพันถึงการขนส่งของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นการขนส่งภายในประเทศนั้นจำเลยที่ 3 ไม่ได้ให้การต่อสู้ในปัญหานี้ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาท ฎีกาของจำเลยที่ 3 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ แม้ตามปกติผู้ขนส่งต้องผูกพันและรับผิดตามสัญญารับขน ปูนซีเมนต์พิพาทหากปูนซีเมนต์ดังกล่าวสูญหายหรือบุบสลาย ในระหว่างการขนส่งจนกว่าปูนซีเมนต์จะได้ส่งถึง กรุงเทพมหานครเมืองท่าปลายทาง โดยผู้ขนส่งต้องมีหน้าที่ ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้รับขนส่ง ก็ ตาม แต่ก็อาจมีการตกลงในสัญญารับขนเป็นประการอื่น กล่าวคือ ตกลงให้ผู้รับตราส่งมีหน้าที่ขนถ่ายสินค้าขึ้น จากเรือดังกล่าวก็ได้เมื่อปรากฏว่าสัญญารับขนปูนซีเมนต์ รายพิพาทนี้มีข้อตกลงกันด้วยว่าให้ผู้รับตราส่งคือ องค์การคลังสินค้าเป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ ขึ้นจากเรือ และโจทก์กล่าวอ้างว่าความเสียหายตามฟ้องในส่วนปูนซีเมนต์ถุงแตกเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 3 ในการขนถ่ายปูนซีเมนต์ จึงเป็นกรณี ที่ความเสียหายเพราะปูนซีเมนต์ถุงแตกนี้เกิดขึ้น ในระหว่างการทำหน้าที่ของจำเลยที่ 3 อันอยู่ในความรับผิดชอบขององค์การคลังสินค้าเองตามที่มีการตกลงกันไว้ในสัญญารับขนว่าให้องค์การคลังสินค้าผู้รับตราส่ง เป็นผู้มีหน้าที่ขนถ่ายปูนซีเมนต์ขึ้นจากเรือ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นในระหว่างที่อยู่ในหน้าที่และความรับผิด ชอบ ของจำเลยที่ 2 แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ขนส่งตามสัญญา รับขนดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็หาต้องรับผิดต่อ องค์การคลังสินค้าในความเสียหายนี้ไม่ จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งปูนซีเมนต์รายพิพาทจากองค์การคลังสินค้าเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมของเจ้าของรถและผู้ประกอบการขนส่งต่อละเมิดจากคนขับรถ
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์เป็นเงิน และจำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 กับยอมให้จำเลยที่ 3 พ่นสีตัวถังตราของจำเลยที่ 3 หมายเลขประจำรถชื่อเส้นทางก่อนส่งมอบรถให้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ประกอบกิจการรับขนคนโดยสารร่วมกันในลักษณะที่แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของ จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ในผล แห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย เอกสารที่แสดงให้เห็นถึงข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 2และที่ 3 ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ประสงค์จะอ้างอิงและไม่ยอมเสียค่าอ้าง ทำให้ไม่สามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารของจำเลยที่ 3 ได้ และเมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยที่ 3 เห็นว่าข้อความในเอกสารจะเป็นโทษแก่ฝ่ายตนเอง จึงกลับใจไม่เสียค่าอ้างเอกสารเพื่อไม่ให้ศาลรับฟังข้อความในเอกสารนั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลจำต้องใช้เอกสารนั้นวินิจฉัยประเด็นสำคัญแห่งคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารนั้นได้
of 22