พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าสูญหาย: ต้องพิสูจน์การทุจริตของผู้ขนส่ง
โจทก์มิได้กล่าวอ้างในฟ้องและนำสืบให้เห็นว่าจำเลยผู้ขนส่งกระทำการทุจริตอย่างไรอันเป็นเหตุให้สินค้าสูญหายในระหว่างการขนส่งการฟ้องคดีของโจทก์จึงอยู่ในบังคับอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายขนส่งสินค้า: การพิสูจน์การทุจริตของผู้ขนส่งเป็นข้อยกเว้น
ผู้รับตราส่งรับสินค้าไปเมื่อวันที่29มิถุนายน2533โจทก์รับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. ผู้ส่งสินค้ามาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของสินค้าตามฟ้องเมื่อวันที่2กรกฎาคม2534ซึ่งพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่วันส่งมอบสินค้าคดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624 ตามทางนำสืบของโจทก์ปรากฏแต่เพียงว่าสินค้าที่สูญหายน่าจะถูกขโมยก่อนออกจากต้นทางเท่านั้นโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าสินค้าดังกล่าวสูญหายไปเพราะจำเลยผู้ขนส่งกระทำการทุจริตอย่างไรอันเป็นเหตุให้สินค้าสูญหายในระหว่างการขนส่งของจำเลยทั้งโจทก์ก็มิได้กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าสินค้าสูญหายไปเพราะจำเลยกระทำการทุจริตการฟ้องคดีของโจทก์จึงอยู่ในบังคับอายุความ1ปีตามมาตรา624ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6808/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้า กรณีจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้ขนส่งหลายทอด
องค์การคลังสินค้าได้สั่งซื้อสินค้าปูนซีเมนต์จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้ขายได้ว่าจ้างบริษัท ซ.เป็นผู้ขนส่งสินค้ามายังประเทศไทยโดยเรือเดินทะเล เมื่อเรือบรรทุกสินค้าปูนซีเมนต์มาถึงท่าเรือกรุงเทพ และจอดเรือรอขนถ่ายปลดเปลื้องสินค้า องค์การคลังสินค้าได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ขนถ่ายสินค้าโดยเรือฉลอมจากเรือเดินทะเลมายังคลังสินค้าขององค์การคลังสินค้า บริษัท ซ.ไม่ใช่ผู้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ขนถ่ายสินค้า จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้ขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล แต่จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อองค์การคลังสินค้าตามสัญญาว่าจ้างที่ทำไว้กับองค์การคลังสินค้า เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยการขนส่งสินค้าได้ชำระค่าเสียหายให้แก่องค์การคลังสินค้าแล้ว โจทก์จึงรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5809/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิทางกฎหมายในสัญญาขนส่งสินค้าทางทะเล และการใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ
พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เพิ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2535 แต่การว่าจ้างขนส่งสินค้าพิพาททำสัญญากันก่อนวันที่พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 มีผลใช้บังคับ ดังนั้นในการฟ้องเรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับสินค้าพิพาทจึงต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 616 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นอันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 4 จะนำเอา พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534มาปรับใช้แก่คดีนี้หาได้ไม่
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าพิพาท เมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งโจทก์มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา877 และผลแห่งการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นนั้นทำให้โจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทได้ในนามของโจทก์เองตาม มาตรา 880 วรรคหนึ่ง
การรับช่วงสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมายตามมาตรา 880 วรรคหนึ่ง หาใช่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาไม่ ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันภัยกับจำเลยหรือผู้ส่งสินค้ากับจำเลยที่ตกลงกันให้นำข้อพิพาทอันเกิดจากใบตราส่งไปฟ้องต่อศาลของเมืองโคเปนเฮเกนและให้ใช้กฎหมายประเทศเดนมาร์กบังคับ จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าพิพาท เมื่อสินค้าพิพาทได้รับความเสียหายในระหว่างการขนส่งโจทก์มีหน้าที่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา877 และผลแห่งการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นนั้นทำให้โจทก์อยู่ในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าพิพาทได้ในนามของโจทก์เองตาม มาตรา 880 วรรคหนึ่ง
การรับช่วงสิทธิของโจทก์ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยอำนาจแห่งกฎหมายตามมาตรา 880 วรรคหนึ่ง หาใช่เกิดจากข้อตกลงในสัญญาไม่ ดังนั้น ข้อตกลงระหว่างผู้เอาประกันภัยกับจำเลยหรือผู้ส่งสินค้ากับจำเลยที่ตกลงกันให้นำข้อพิพาทอันเกิดจากใบตราส่งไปฟ้องต่อศาลของเมืองโคเปนเฮเกนและให้ใช้กฎหมายประเทศเดนมาร์กบังคับ จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5005/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งสินค้าต่อเนื่องหลายทอด: ความรับผิดของผู้ขนส่ง
จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนเรือต่างประเทศ เป็นผู้ติดต่อการท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อนำเรือดังกล่าวเข้าเทียบท่าเรือที่เกาะสีชัง เมื่อเรือดังกล่าวเดินทางถึง จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าทราบและติดต่อว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้นำเรือลำเลียง 2 ลำ ไปขนถ่ายสินค้าจากเรือต่างประเทศ โดยมีเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ไปดูแล เมื่อเรือลำเลียงถึงท่าเรือกรุงเทพ ฯ จำเลยที่ 1ต้องจ้างคนงานพร้อมด้วยอุปกรณ์ในการขนส่งสินค้าไปเก็บที่โกดังของการท่าเรือแห่งประเทศไทยแล้วออกใบปล่อยสินค้าเพื่อให้โจทก์หรือตัวแทนไปรับสินค้า พฤติการณ์ถือได้ว่าเป็นการขนส่งสินค้าของผู้ขนส่งสินค้าของผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดตาม ป.พ.พ.มาตรา 618 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าในกรณีขนส่งหลายทอดและการจำกัดความรับผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองเป็นตัวแทนผู้ขนส่งสินค้าพิพาทของโจทก์ซึ่งอยู่ต่างประเทศ และในระหว่างที่จำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือขึ้นรถบรรทุกเพื่อนำไปเก็บในคลังสินค้า ลูกจ้างของจำเลยทั้งสองได้กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้สินค้าพิพาทตกจากรถเสียหาย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยทั้งสองไม่ได้เป็นผู้ขนส่งแต่เป็นเพียงตัวแทนเรือและจำเลยทั้งสองมิได้เกี่ยวข้องกับการขนถ่ายสินค้าพิพาทจากเรือไปเก็บในคลังสินค้าศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในข้อ 3 ว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาทหรือไม่ เช่นนี้ การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันขนถ่ายสินค้าพิพาท แล้ววินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ร่วมขนส่งในการขนส่งหลายทอดโดยเป็นผู้รับขนทอดสุดท้าย จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่เกี่ยวเนื่องกับประเด็นในคำฟ้องและคำให้การซึ่งรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทข้อนี้นั่นเอง หาได้วินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่
ผู้ขนส่งสินค้าของโจทก์มีหน้าที่ในการนำสินค้าจากเรือขึ้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนส่งมอบให้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบ ออกใบปล่อยสินค้าให้แก่โจทก์ เรียกเก็บเงินค่าเปิดตู้จากโจทก์ไปจ่ายให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้าจากคลังสินค้า รับมอบสินค้าจากเรือปิยะภูมิเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ และมีหน้าที่แจ้งความเสียหายของสินค้าแก่โจทก์และบริษัท ส. ผู้ขนส่งทอดแรก ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเรือเข้าเทียบท่าคือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมศุลกากรกรมเจ้าท่าและกองตรวจคนเข้าเมือง และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้างให้บริษัท อ. ดำเนินการดังกล่าว จึงถือได้ว่ากรณีเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และ 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
แม้ที่ด้านหลังใบตราส่งจะมีลายเซ็นพร้อมตราประทับของบริษัท จ.ผู้ขนส่งลงไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อไว้ลอย ๆ หาได้มีข้อความใดระบุลงไว้ให้ชัดแจ้งว่าผู้ส่งทราบและยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่ปรากฏในใบตราส่ง การลงชื่อสลักหลังดังกล่าวน่าจะเป็นเพียงเพื่อโอนใบตราส่งให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการรับสินค้า จึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดดังกล่าว ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1 อ้างจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
ผู้ขนส่งสินค้าของโจทก์มีหน้าที่ในการนำสินค้าจากเรือขึ้นไปเก็บไว้ในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยก่อนส่งมอบให้แก่โจทก์จำเลยที่ 1 เป็นผู้แจ้งการมาถึงของเรือให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับตราส่งทราบ ออกใบปล่อยสินค้าให้แก่โจทก์ เรียกเก็บเงินค่าเปิดตู้จากโจทก์ไปจ่ายให้แก่การท่าเรือแห่งประเทศไทยเพื่อรับสินค้าจากคลังสินค้า รับมอบสินค้าจากเรือปิยะภูมิเพื่อส่งมอบให้แก่โจทก์ และมีหน้าที่แจ้งความเสียหายของสินค้าแก่โจทก์และบริษัท ส. ผู้ขนส่งทอดแรก ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ติดต่อทำพิธีการต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเรือเข้าเทียบท่าคือ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรมศุลกากรกรมเจ้าท่าและกองตรวจคนเข้าเมือง และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนถ่ายสินค้าจากเรือนำเข้าเก็บในคลังสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้างให้บริษัท อ. ดำเนินการดังกล่าว จึงถือได้ว่ากรณีเป็นการขนส่งหลายทอดตามวิธีการขนส่งทางทะเล โดยจำเลยทั้งสองต่างมีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการขนส่งทอดสุดท้ายเพื่อให้สินค้าพิพาทได้ขนส่งถึงมือผู้ซื้อ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ขนส่งทอดสุดท้ายร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 608 และ 618 ซึ่งเป็นบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งกับกฎหมายว่าด้วยการรับขนทางทะเล
แม้ที่ด้านหลังใบตราส่งจะมีลายเซ็นพร้อมตราประทับของบริษัท จ.ผู้ขนส่งลงไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการลงชื่อไว้ลอย ๆ หาได้มีข้อความใดระบุลงไว้ให้ชัดแจ้งว่าผู้ส่งทราบและยอมรับข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่ปรากฏในใบตราส่ง การลงชื่อสลักหลังดังกล่าวน่าจะเป็นเพียงเพื่อโอนใบตราส่งให้แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์นำใบตราส่งไปเป็นหลักฐานในการรับสินค้า จึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงโดยชัดแจ้งในการจำกัดความรับผิดดังกล่าว ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามที่จำเลยที่ 1 อ้างจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 625
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับขนส่งสินค้าทางทะเลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่ง
จำเลยมีวัตถุประสงค์รับขนส่งสินค้าทางทะเลและลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่าจำเลยเป็นตัวแทนเรือของบริษัท ซ. ซึ่งเป็นบริษัทขนส่งสินค้าต่างประเทศที่ไม่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เป็นผู้แจ้งต่อกรมเจ้าท่าให้จัดส่งเรือนำร่องลากจูงเรือเดินทะเลเข้ามายังท่าเรือคลองเตย ติดต่อกับกองตรวจคนเข้าเมืองให้จัดส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบรายชื่อของลูกเรือ ติดต่อกับการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือ ติดต่อกับกรมศุลกากรเพื่อขออนุญาตเปิดระวางเรือ แจ้งให้โจทก์ผู้ขายสินค้าจัดส่งสินค้ามามอบให้กัปตันเรือเดินทะเล และออกใบตราส่งให้โจทก์ในนามของบริษัท ซ. จำเลยได้ค่าตอบแทน 1 เปอร์เซ็นต์ของค่าระวางขนส่ง พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับการขนส่งสินค้าดังกล่าว การเกี่ยวข้องของจำเลยหาใช่เพียงเป็นตัวแทนของบริษัท ซ.ไม่ แต่เป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าหรือผู้ขนส่งหลายทอดตาม ป.พ.พ. มาตรา618 อันเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งที่จะยกมาปรับแก่คดีรับขนของทางทะเลในขณะเกิดข้อพิพาทนี้ซึ่งยังไม่มีบทกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น
ป.พ.พ. มาตรา 615 บัญญัติว่า "ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร" การที่ผู้ขนส่งมอบสินค้ารายพิพาทให้แก่ผู้ที่มิใช่ผู้รับตราส่งหรือผู้ทรงใบตราส่ง จึงเป็นการส่งโดยมิชอบ
ป.พ.พ. มาตรา 615 บัญญัติว่า "ถ้าได้ทำใบตราส่งให้แก่กันท่านว่าของนั้นจะรับมอบเอาไปได้ต่อเมื่อเวนคืนใบตราส่งหรือเมื่อผู้รับตราส่งให้ประกันตามควร" การที่ผู้ขนส่งมอบสินค้ารายพิพาทให้แก่ผู้ที่มิใช่ผู้รับตราส่งหรือผู้ทรงใบตราส่ง จึงเป็นการส่งโดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจากการขนส่งสินค้า: เริ่มนับเมื่อส่งมอบสินค้าแล้วเสร็จ, ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่ง
การที่จำเลยที่1ออกใบสั่งปล่อยสินค้าให้แก่บริษัทก.เป็นเพียงหลักฐานเพื่อให้บริษัทดังกล่าวนำไปขอรับสินค้าจากเรือได้เท่านั้นแต่ถ้ายังมิได้มีการขนถ่ายสินค้าก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่1ได้ส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทก. แล้วเพราะสินค้ายังอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่1เมื่อเริ่มมีการขนถ่ายสินค้าในวันที่4มิถุนายน2533ก็ต้องถือว่าจำเลยที่1เริ่มส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทก. แต่เมื่อการขนถ่ายสินค้าไม่แล้วเสร็จในวันนั้นและได้มีการขนถ่ายสินค้าต่อมาทุกวันจนแล้วเสร็จในวันที่9เดือนเดียวกันก็ต้องถือว่าจำเลยที่1ได้ทยอยส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทดังกล่าวตลอดมาจนส่งมอบเสร็จสิ้นในวันที่9มิถุนายน2533การนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624จึงต้องนับตั้งแต่วันที่ส่งมอบสินค้าแล้วเสร็จคือวันที่9มิถุนายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่5มิถุนายน2534ยังไม่พ้นกำหนด1ปีนับแต่วันส่งมอบสินค้าจึงไม่ขาดอายุความ ใบตราส่งมีเงื่อนไขจำกัดความรับผิดของจำเลยที่1ผู้ขนส่งไว้แต่เมื่อทางนำสืบของจำเลยที่1ไม่ปรากฎว่าผู้ส่งสินค้าได้แสดงความตกลงด้วยในการจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งสินค้าตกลงโดยชัดแจ้งให้จำเลยที่1จำกัดความรับผิดดังกล่าวข้อจำกัดความรับผิดจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา625
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7042/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจขนส่งสินค้าและการรับผิดชอบความเสียหาย: การที่จำเลยที่ 1 มิได้ร่วมขนส่งโดยตรง จึงไม่ต้องรับผิดชอบ
สำหรับเรื่องการมอบอำนาจแม้จำเลยที่ 1 จะให้การสู้คดีไว้แต่ในชั้นอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ส่วนในเรื่องใบรับรองกรมธรรม์เปิดทางทะเลศาลอุทธรณ์ก็ได้วินิจฉัยไว้โดยละเอียดแล้ว แต่ฎีกาของจำเลยดังกล่าวหาได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไรไม่ จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ฎีกาจำเลยที่ 1 ทั้งสองประเด็นดังกล่าวไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ใบตราส่งเป็นแบบฟูลไลเนอร์ เทอม ซึ่งหมายความว่า หน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเอง จำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่ และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วย ส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้า รวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจ-คนเข้าเมืองนั้น กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเอง การที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือ ยังไม่พอถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 2 และเรือใหญ่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ 283,734.40 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 7,092.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 359,497.31 บาท ด้วย และให้จำเลยที่ 1เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,987.50 บาท จำเลยที่ 1 จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,895 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่ 1
ใบตราส่งเป็นแบบฟูลไลเนอร์ เทอม ซึ่งหมายความว่า หน้าที่ในการขนถ่ายสินค้าจากเรือใหญ่ลงสู่เรือฉลอมเป็นหน้าที่ของเจ้าของเรือใหญ่ซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้า ในการควบคุมการขนส่งสินค้าจากท่าเรือเกาะสีชังมายังท่าเรือกรุงเทพพนักงานของเรือใหญ่เป็นผู้ควบคุมมาเอง จำเลยที่ 1 ไม่ได้เข้าร่วมทำการขนส่งสินค้ารายนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งได้ทำการขนส่งมาโดยเรือใหญ่ และไม่ได้มีส่วนเข้าร่วมในการขนถ่ายสินค้าด้วย ส่วนการแจ้งกำหนดเวลาที่เรือมาถึงให้ผู้ซื้อสินค้าส่งมาทราบการติดต่อเพื่อขอนำเรือเข้าเทียบท่าและให้ไปตรวจสินค้า รวมทั้งแจ้งต่อกองตรวจ-คนเข้าเมืองนั้น กิจการเหล่านี้เป็นกิจการที่จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งและเจ้าของเรือใหญ่จะต้องกระทำด้วยตนเอง การที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำกิจการเหล่านั้นแทนผู้ขนส่งและเจ้าของเรือ ยังไม่พอถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เข้าร่วมขนส่งกับจำเลยที่ 2 และเรือใหญ่ด้วย จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดสำหรับความเสียหายของสินค้าที่ขนส่ง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คือ 283,734.40 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 7,092.50 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1ยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน 359,497.31 บาท ด้วย และให้จำเลยที่ 1เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 8,987.50 บาท จำเลยที่ 1 จึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,895 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6727/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันภัยทางอากาศ, ฟ้องเคลือบคลุม, และความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าหลายทอด
วัตถุประสงค์ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองระบุว่า "(1) เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิดเช่น ประกันอัคคีภัย ประกันภัยทางน้ำ ประกันภัยทางอุบัติเหตุประกันภัยทางชีวิต ประกันภัยสงคราม และประกันภัยวินาศกรรมอื่น ๆ" ดังนี้ แม้หนังสือรับรองดังกล่าวจะมิได้กล่าวถึงการประกันภัยทางอากาศไว้ แต่ประกันภัยทางอากาศย่อมรวมอยู่ในวัตถุประสงค์ที่กล่าวว่า "เพื่อประกอบกิจการประกันภัยทุกชนิด" เพราะการประกันภัยทางอากาศเป็นการประกันภัยชนิดหนึ่ง ดังนั้น โจทก์จึงมีวัตถุประสงค์ในการประกันภัยทางอากาศและมีอำนาจฟ้องคดีนี้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าสินค้าสูญหายไปเมื่อใด และจำเลยไม่ได้ใช้ความระมัดระวังในการดูแลสินค้าอย่างไร โจทก์อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ไม่จำต้องบรรยายในฟ้อง คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยเป็นผู้รับขนส่งของเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติของจำเลย จำเลยได้มอบสินค้าที่รับขนส่งให้บริษัทการบินไทยจำกัด เก็บไว้ในคลังสินค้าเพื่อรอส่งขึ้นเครื่องบินไปยังต่างประเทศอันเป็นจุดหมายปลายทางต่อไป ดังนี้ จึงเป็นกรณีที่สินค้าได้ส่งไปโดยมีผู้ขนส่งหลายคนหลายทอดจำเลยผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดในการที่สินค้านั้นสูญหายอันเกิดแต่ความผิดของผู้ขนส่งคนอื่นหรือบุคคลอื่น ซึ่งจำเลยได้มอบหมายสินค้านั้นไปอีกทอดหนึ่งและต้องรับผิดร่วมกันกับผู้ขนส่งรายอื่นด้วย ทั้งนี้ตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 617 และ 618 คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินค่าเสียหายจำนวน 238,433.30 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้องดังนี้ คดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับจำนวนทุนทรัพย์ตามคำฟ้องคือ 238,433.30 บาท ซึ่งจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 5,960 บาท แต่ศาลชั้นต้นคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาโดยรวมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยยื่นฎีกาเข้าเป็นทุนทรัพย์จำนวน298,531.50 บาท ด้วย และให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเป็นเงิน 7,462.50 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเกินมาจำนวน 1,502.50 บาท ศาลฎีกาชอบที่จะสั่งให้คืนเงิน ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาที่ชำระเกินมาแก่จำเลย