พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1069/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในรถเช่าซื้อ: ผู้ชำระค่างวดไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน ผู้มีสิทธิขอคืนทรัพย์สินที่ถูกริบ
การที่ ส. บุตรผู้ร้องได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ของกลางโดยผู้ร้องเป็นผู้ชำระราคาค่าเช่าซื้อจนครบถ้วน และผู้ให้เช่าซื้อได้มอบทะเบียนรถยนต์ของกลางให้ผู้ร้องแล้วแต่ยังไม่ได้โอนทะเบียนเป็นของผู้ร้องนั้น ไม่มีผลทำให้ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของรถยนต์ของกลางกรรมสิทธิ์ตกเป็นของ ส. ผู้เช่าซื้อนับแต่มีการชำระเงินเสร็จตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 การที่ผู้ร้องชำระเงินค่าเช่าซื้อถือว่าเป็นการชำระแทน ส. ผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์อันแท้จริงในรถยนต์ของกลาง จึงไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนรถยนต์ของกลางซึ่งถูกริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1865/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบของกลางจากการเล่นการพนันและการขอคืนของกลางของผู้รับสารภาพ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันเล่นการพนัน เจ้าพนักงานจับจำเลยได้พร้อมด้วยเงินอันเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการเล่นการพนันจากวงการเล่นเป็นของกลาง จำเลยให้การรับว่าการกระทำความผิดตามฟ้องจริง แปลได้ว่ารับสารภาพตามฟ้องทุกประการ เมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าเงินของกลางเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการเล่นการพนัน จึงต้องริบตามพระราชบัญญัติการพนัน ถ้าจำเลยเห็นว่าเงินนั้นส่วนหนึ่งเป็นของตนซึ่งมิได้เอาออกพนัน ก็ชอบที่จะให้การต่อสู้ไว้ และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาให้ริบของกลางจนคดีนี้ถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ที่จำเลยจะมีสิทธิยื่นคำร้องขอเงินของกลางคืนได้
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีในชั้นขอให้คืนของกลาง แล้วสั่งคืนให้ผู้ร้องประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ มิได้ห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้
ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีในชั้นขอให้คืนของกลาง แล้วสั่งคืนให้ผู้ร้องประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ มิได้ห้ามโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 816/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดศุลกากร หากไม่ยื่นคำร้องภายในกำหนดจะถือเป็นของไม่มีเจ้าของและตกเป็นของแผ่นดิน
การขอคืนทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดศุลกากร ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องแปลว่าเมื่อเจ้าของไม่มาติดตามและร้องขอคืนภายในกำหนดก็หมดสิทธิเพราะกฎหมายให้ถือว่าพ้นกำหนดแล้วเท่ากับเป็นของไม่มีเจ้าของ ให้ตกเป็นของแผ่นดินไป
เรือยนต์ที่ให้เช่าไปแล้วผู้เช่าเอาไปใช้หลบหนีภาษีจนศาลสั่งริบ แม้เจ้าของผู้ให้เช่าจะไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ก็ต้องมายื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ยึด(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2504)
เรือยนต์ที่ให้เช่าไปแล้วผู้เช่าเอาไปใช้หลบหนีภาษีจนศาลสั่งริบ แม้เจ้าของผู้ให้เช่าจะไม่ได้รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิด ก็ต้องมายื่นคำร้องขอคืนภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ยึด(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2504)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 797/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รถยนต์ตกเป็นของผู้อื่นก่อนถูกใช้ในความผิด ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอคืน
คดีหลักโจทก์บรรยายฟ้องว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามกฎหมาย รถยนต์ของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด คดีนี้จึงมิใช่คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดอันอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 15 ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา แต่เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่จะพิจารณาพิพากษาคดี การที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดียาเสพติดพิจารณาพิพากษาคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแล้ว เพื่อมิให้คดีล่าช้าศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยคดีไปเสียทีเดียวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยก่อน
เมื่อผู้ร้องและ ว. ตกลงซื้อขายรถยนต์ของกลาง โดย ว. ชำระราคารถยนต์ของกลางครบถ้วนและได้รับมอบรถยนต์ของกลางแล้วก่อนวันที่จำเลยนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด จึงเป็นการซื้อขายกันเสร็จเด็ดขาด ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 458 กรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางตกไปเป็นของ ว. แล้ว นับแต่วันที่ผู้ร้องและ ว. ตกลงซื้อขายรถยนต์ของกลางกัน แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนจากชื่อผู้ร้องเป็นชื่อ ว. การซื้อขายก็สมบูรณ์เพราะรายการจดทะเบียนมิใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ดังนี้ขณะเกิดเหตุผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
เมื่อผู้ร้องและ ว. ตกลงซื้อขายรถยนต์ของกลาง โดย ว. ชำระราคารถยนต์ของกลางครบถ้วนและได้รับมอบรถยนต์ของกลางแล้วก่อนวันที่จำเลยนำรถยนต์ของกลางไปใช้ในการกระทำความผิด จึงเป็นการซื้อขายกันเสร็จเด็ดขาด ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 458 กรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลางตกไปเป็นของ ว. แล้ว นับแต่วันที่ผู้ร้องและ ว. ตกลงซื้อขายรถยนต์ของกลางกัน แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนจากชื่อผู้ร้องเป็นชื่อ ว. การซื้อขายก็สมบูรณ์เพราะรายการจดทะเบียนมิใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ดังนี้ขณะเกิดเหตุผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ของกลาง ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 232/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอคืนทรัพย์สิน (รถยนต์) ที่ถูกใช้ในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ขึ้นอยู่กับกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30 วรรคสอง บัญญัติว่า "ให้พนักงานอัยการยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีนั้นเพื่อขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง และเมื่อศาลสั่งรับคำร้องแล้วให้ศาลสั่งให้ประกาศในหนังสือพิมพ์ที่มีจำหน่ายแพร่หลายในท้องถิ่นสองวันติดต่อกันเพื่อให้บุคคลซึ่งอาจอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินมายื่นคำร้องขอเข้ามาในคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง..." เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากบริษัทสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ขณะจำเลยใช้รถยนต์คันนี้กระทำความผิดผู้ร้องยังผ่อนชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบถ้วน กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ ผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 3 ณ - 2576 กรุงเทพมหานคร จึงไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิขอคืนรถยนต์ของกลางตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 30 วรรคสอง เมื่อผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถยนต์ของกลาง กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้องในประเด็นอื่นอีกเพราะไม่มีผลที่เปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11277/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ถูกริบตกเป็นของแผ่นดิน ผู้เช่าซื้อหลังการกระทำผิดจึงไม่มีสิทธิขอคืน
ผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริงที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนของกลางตาม ป.อ. มาตรา 36 หมายถึง เจ้าของทรัพย์สินขณะที่มีการกระทำความผิด มิใช่เจ้าของทรัพย์สินหลังการกระทำความผิด คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ร้องเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากผู้ให้เช่าซื้อตั้งแต่ก่อนศาลชั้นต้นสั่งริบรถจักรยานยนต์ของกลาง แต่ผู้ร้องรับโอนกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์ของกลางภายหลังเวลาที่จำเลยกระทำความผิดและศาลชั้นต้นพิพากษาให้ริบรถจักรยานยนต์ของกลางให้ตกเป็นของแผ่นดินแล้ว โดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกา คำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นอันถึงที่สุด และกรรมสิทธิ์ในรถจักรยานยนต์ของกลางตกเป็นของแผ่นดินแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง