พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ยึดของกลางในคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าพนักงานสอบสวนเป็นผู้มีอำนาจยึดของกลาง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
แม้ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 64จะบัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 ไว้ว่าในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ที่เกี่ยวกับความผิดอาญาให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ก็ย่อมมีความหมายว่าเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวนตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ก่อนมีการสอบสวนเท่านั้นแต่เมื่อไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวน แต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้น
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132(2) และ (3)เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสามที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดเมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่าเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้วย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ) ต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไปและถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวนดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้วก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ (เดิม)กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกันและสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูลจึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255
สิ่งของใดที่สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดและรวบรวมเก็บรักษาไว้ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131มิได้หมายความว่าพนักงานสอบสวนจะยึดได้เฉพาะสิ่งของที่ได้มาด้วยการค้นหรือหมายเรียกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 132(2) และ (3)เท่านั้น
บทบัญญัติที่ให้อำนาจเจ้าพนักงานผู้จับกุมยึดสิ่งของต่าง ๆได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสามที่ว่าสิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดเมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่นซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น นั้น หาได้หมายความว่าเจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือของหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดไม่
ขั้นตอนในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้วย่อมจะต้องไปร้องทุกข์ (กล่าวโทษ) ต่อพนักงานสอบสวนพนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือตรวจค้นยึดได้นั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ พนักงานสอบสวนก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไปและถ้าหากว่าพนักงานสอบสวนเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ใช่พยานหลักฐานอันจำเป็นในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดก็อาจไม่สั่งยึดสิ่งของนั้นไว้เป็นของกลางก็ได้ ในกรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้
การมีไม้สักท่อนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งเป็นความผิดอาญาตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ไม้ของกลางย่อมเป็นหลักฐานสำคัญแห่งองค์ความผิดที่จะทำให้ทราบข้อเท็จจริงตลอดจนพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาและเพื่อที่จะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดเมื่อพนักงานสอบสวนรับคำร้องทุกข์จากกรมป่าไม้จำเลยที่ 2 และมีคำสั่งให้ยึดไม้สักท่อนจำนวนดังกล่าวเป็นของกลางในการสอบสวนคดีอาญาแล้วก็ถือได้ว่าไม้สักท่อนของกลางดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานที่พนักงานสอบสวนรวบรวมไว้เพื่อดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำผิดข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจ (เดิม)กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้จำเลยที่ 2เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับป่าไม้และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลางที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืนต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและดำเนินการนั้น ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกันและสอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ แม้กฎหมายและระเบียบที่ออกมาจะกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2 ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดีซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนจึงเป็นการกระทำการแทนพนักงานสอบสวน
เมื่อกรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูลจึงไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 255
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2311/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่การยึดของกลางในคดีอาญา: อำนาจอยู่ที่พนักงานสอบสวน ไม่ใช่เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
แม้พระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 64 บัญญัติให้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ไว้ให้ถือว่าพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาย่อมมีความหมายว่า เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 มีอำนาจสืบสวน ตรวจค้น จับกุมและยึดสิ่งของใดที่มีไว้ ได้มา ได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ก่อนมี การสอบสวนเท่านั้นไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน ด้วย จึงไม่ใช่พนักงานสอบสวนแต่เป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ในเขตท้องที่ที่มีการกระทำผิดเกิดขึ้นและตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 85 วรรคสาม มิได้หมายความว่า เจ้าพนักงานหรือเจ้าหน้าที่คนใดหรือหน่วยงานใดเป็นผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ตั้งแต่แรกจะต้องเป็นผู้ยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดด้วยไม่ โดยขั้นตอนต่อไปในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำหลังจากมีการยึดสิ่งของที่สงสัยว่าได้มาหรือมีไว้โดยผิดกฎหมายแล้ว ย่อมต้องไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนก็จะมีอำนาจหน้าที่ ทำการสอบสวนคดีที่ได้ร้องทุกข์ไว้และถ้าเห็นว่าสิ่งของที่ผู้จับกุมหรือ ตรวจค้นยึดได้นั้น อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดได้ ก็จะสั่งยึดเป็นของกลางในคดีนั้นต่อไป กรณีเช่นนี้เจ้าพนักงานผู้ยึดสิ่งของนั้นไว้ในชั้นตรวจค้นหรือจับกุมก็ไม่มีอำนาจใดที่จะยึดสิ่งของนั้นไว้อีกได้ ส่วนข้อตกลงระหว่างกระทรวงมหาดไทยผู้ดูแลราชการกรมตำรวจในขณะนั้นกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผู้ดูแลราชการกรมป่าไม้ เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ และระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่าด้วยการปฏิบัติเกี่ยวกับของกลางในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้พ.ศ. 2533 ที่ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลรักษาและจัดการตามระเบียบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สำหรับ ของกลางที่ตรวจยึดได้ในคดีความผิดเกี่ยวกับการป่าไม้ทุกชนิด ยกเว้นของกลาง ที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน ต้องมอบให้พนักงานสอบสวนเก็บรักษาและ ดำเนินการ ไม่ใช่กฎหมายเป็นเพียงข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเพื่อความสะดวกในการ ปฏิบัติงานระหว่างหน่วยราชการซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องต่อกันและ สอดคล้องกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่แม้กฎหมายและระเบียบกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ในการคืนของกลางให้แก่เจ้าของเมื่อพนักงานอัยการ มีคำสั่งไม่ฟ้อง หรือให้จำเลยที่ 2ดำเนินการกับของกลางในส่วนที่ศาล มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ริบหรือไม่ริบของกลางก็เป็นกระบวนการในการบังคับคดี ไม่เกี่ยวกับการยึดของกลางไว้ในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาของศาล การที่จำเลยที่ 2 ดูแลรักษาไม้ของกลางในระหว่างการสอบสวน จึงเป็น การกระทำการแทนพนักงานสอบสวน กรณียังไม่เป็นที่พอใจว่าคำฟ้องโจทก์ ที่ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 เพิกถอนคำสั่งยึดหรืออายัดไม้สักของกลางมีมูล ไม่อาจอนุญาตให้นำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาตามที่โจทก์ ขอมาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2249/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ม.218 กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเฉพาะของกลาง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลย 3 เดือน และปรับ 6,000 บาทแต่ไม่ริบรถยนต์บรรทุกของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะของกลางเป็นให้ริบ เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง จำเลยฎีกาขอไม่ให้ริบของกลางเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาล เป็นฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนทรัพย์สินของกลาง: ต้องมีคำสั่งริบก่อน จึงมีคำสั่งคืนได้ ศาลต้องรอผลคำพิพากษาลงโทษและริบทรัพย์สินก่อน
กรณีขอคืนทรัพย์สินตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36 ศาลต้องมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินก่อน จึงจะมีคำสั่งในเรื่องของกลางได้
ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งให้ริบรถยนต์ของกลางแล้ว ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและมีคำสั่งคำร้องขอคืนของกลาง จึงไม่ชอบ ศาลชั้นต้นต้องรอฟังผลคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยและขอให้ริบของกลางก่อน
ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองและมีคำสั่งให้ริบรถยนต์ของกลางแล้ว ดังนี้การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้พิจารณาและมีคำสั่งคำร้องขอคืนของกลาง จึงไม่ชอบ ศาลชั้นต้นต้องรอฟังผลคำพิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยและขอให้ริบของกลางก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยของกลางหลังศาลยกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์ต้องมีคำวินิจฉัยเรื่องของกลางตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมกับยึดรถจักรยานยนต์ แว่นตา กับหมวกไหมพรมเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษจำเลยตามป.อ. และ พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ กับมีคำขอให้ริบของกลางดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่และพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางนั้นตามป.วิ.อ.มาตรา 186 (9) การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ให้คืนรถจักรยานยนต์ แว่นตา และหมวกไหมพรมของกลางแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษายกฟ้องและการจัดการของกลาง ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คืนของกลางแก่เจ้าของ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมกับยึดรถจักรยานยนต์ แว่นตา กับหมวกไหมพรมเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯกับมีคำขอให้ริบของกลางดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่า พยานหลักฐานของโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) ด้วยการที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นให้คืนรถจักรยานยนต์ แว่นตา และหมวกไหมพรมของกลางแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5373/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษายกฟ้องและการวินิจฉัยเรื่องของกลาง ศาลฎีกาแก้ไขให้คืนของกลางแก่เจ้าของ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้พร้อมกับยึดรถจักรยานยนต์ แว่นตา กับหมวกไหมพรมเป็นของกลาง ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ กับมีคำขอให้ริบของกลางดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์เห็นว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีเหตุสงสัยตามสมควรว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่และพิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลอุทธรณ์ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางนั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 186(9) การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า ให้คืนรถจักรยานยนต์ แว่นตา และหมวกไหมพรมของกลางแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4220/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตให้แก้ฟ้องคดีอาญา: เหตุผลความจำเป็น, รายละเอียดของกลาง, และผลกระทบต่อจำเลย
คำร้องขอแก้ฟ้องโจทก์ อ้างเหตุว่า คำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่องคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับน้ำหนักเฮโรอีนของกลาง ขอแก้ไขน้ำหนักเฮโรอีนของกลางจาก 1.52 กรัม เป็น0.05 กรัม เนื่องจากพนักงานสอบสวนส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางมาให้ผิดพลาด ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักเฮโรอีนของกลางให้ลดลงจากเดิมเป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158จึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 164 ทั้งคดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอย แม้โจทก์จะระบุน้ำหนักเฮโรอีนในฟ้องผิด แต่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับของกลาง คือบรรยายว่า ของกลางที่ยึดได้เป็นเฮโรอีน ทั้งการขอแก้ฟ้องได้กระทำก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จและจำเลยยังมิได้สืบพยาน จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่ จำเลยไม่มีทางหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดไปนี้ได้ จึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4220/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตแก้ฟ้องคดีอาญา: เหตุผลความคลาดเคลื่อนของน้ำหนักของกลางไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
คำร้องขอแก้ฟ้อง โจทก์อ้างเหตุว่า คำฟ้องของโจทก์มีข้อบกพร่องคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับน้ำหนักเฮโรอีนของกลาง ขอแก้ไขน้ำหนักเฮโรอีนของกลางจาก 1.52 กรัม เป็น 0.05 กรัม เนื่องจากพนักงานสอบสวนส่งรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลางมาให้ผิดพลาด ถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ และการที่โจทก์ขอแก้ฟ้องเกี่ยวกับจำนวนน้ำหนักเฮโรอีนของกลางให้ลดลงจากเดิม เป็นการแก้ไขรายละเอียดเรื่องของกลางซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 จึงไม่ถือว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 164 ทั้งคดีนี้จำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอย แม้โจทก์จะระบุน้ำหนักเฮโรอีนในฟ้องผิดแต่โจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับของกลาง คือ บรรยายว่า ของกลางที่ยึดได้เป็นเฮโรอีน ทั้งการขอแก้ฟ้องได้กระทำก่อนสืบพยานโจทก์เสร็จและจำเลยยังมิได้สืบพยาน จำเลยย่อมมีโอกาสต่อสู้คดีได้เต็มที่ จำเลยไม่มีทางหลงต่อสู้ในข้อที่ผิดไปนี้ได้ จึงชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3317/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเจ้าพนักงาน: การเสนอสินบนเพื่อขอคืนของกลาง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า จำเลยเสนอจะให้เงินแก่ ม. และ ว. ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเสนอจะให้เงินแก่ ก. แต่ ม. กับ ว. ก็เป็นผู้ร่วมยึดสินค้าของกลางกับ ก. ข้อแตกต่างจึงไม่ใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยนำสืบปฏิเสธว่ามิได้เสนอจะให้เงินแก่ผู้ใดทั้งสิ้น จึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง