คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขัดขวางเจ้าพนักงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 223/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขับรถฝ่าด่านตรวจและการขัดขวางเจ้าพนักงาน: การกระทำต้องเกินกว่าการไม่ปฏิบัติตามสัญญาณ จึงจะถือเป็นความผิด
จำเลยขับรถยนต์สิบล้อไปถึงด่านตรวจ ได้รับสัญญาณให้หยุดรถจากเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งยืนอยู่ริมถนนบริเวณด่านตรวจนั้นแล้วไม่ปฏิบัติตามโดยจำเลยขับรถผ่านเลยไป ดังนี้ เมื่อไม่ได้ความว่าจำเลยกระทำการอื่นใดนอกเหนือไปจากนี้ การกระทำของจำเลยจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเฮโรอีนแม้ปริมาณน้อย และการขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลฎีกาพิพากษากลับ
การที่จำเลยมีหลอดฉีดยาและเข็มฉีดยาซึ่งมีเฮโรอีนติดอยู่แม้เฮโรอีนนั้นจะมีจำนวนเล็กน้อยจนชั่งน้ำหนักไม่ได้ ก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง
จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138, 296 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 296 โดยมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 138 ด้วยจึงไม่ถูกต้อง แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาก็ชอบที่จะแก้ให้ถูกต้องโดยลงโทษเท่าเดิมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2163/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองเฮโรอีนปริมาณน้อย และขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ลงโทษ
การที่จำเลยมีหลอดฉีดยาและเข็มฉีดยาซึ่งมีเฮโรอีนติดอยู่แม้เฮโรอีนนั้นจะมีจำนวนเล็กน้อยจนชั่งน้ำหนักไม่ได้ก็ย่อมถือได้ว่าจำเลยมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง
จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138,296 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 296 โดยมิได้วินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดตามมาตรา 138 ด้วยจึงไม่ถูกต้อง แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ศาลฎีกาก็ชอบที่จะแก้ให้ถูกต้องโดยลงโทษเท่าเดิมได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาเรื่องการลงโทษคดีอาวุธปืนและการขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลฎีกายกคำร้องเนื่องจากจำเลยมีสิทธิฎีกาจำกัดตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 1 ปี และปรับ 2,000 บาท ฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะ จำคุก 6 เดือนและปรับ 500 บาท ฐานยิงปืนในหมู่บ้าน ปรับ 250 บาท ฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน จำคุก 2 เดือน และปรับ 500 บาท รวมจำคุก 1 ปี 8 เดือนและปรับ 3,250 บาทและให้รอการลงโทษจำเลยไว้ภายในกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 6 เดือน ฐานพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะจำคุก 3 เดือนฐานยิงปืนในหมู่บ้าน ปรับ 250 บาท ฐานขัดขวางเจ้าพนักงานจำคุก 1 เดือน รวมจำคุก 10 เดือน ปรับ 250 บาทโดยไม่รอการลงโทษ เป็นความผิด 4 กระทง แต่ละกระทง ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินหนึ่งปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท แม้ศาลอุทธรณ์จะแก้เป็นไม่รอการลงโทษ จำเลยก็ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2517 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดขวางเจ้าพนักงานและพยายามทำร้ายร่างกาย: พฤติกรรมไม่ถึงขั้นเป็นความผิด
ตำรวจจับเด็กเที่ยวเร่ร่อนตามหน้าที่ เด็กขอร้องให้จำเลยช่วย จำเลยถามว่าเป็นอะไรมาจับเด็กเมื่อตำรวจแสดงตัวว่าเป็นตำรวจแล้ว จำเลยพูดว่า ขอได้ไหมอย่างจับเด็กนี้เลย ตำรวจจึงอธิบายให้ฟังว่าเป็นหน้าที่ จำเลยก็ยอมให้เอาตัวเด็กไป ดังนี้ การกระทำของจำเลยหาเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่
การที่จำเลยเพียงถือขวดโซดาไว้ในมือ ไม่ได้ใช้ขวดโซดาจะตีหรือหยิบมีดมาจะทำร้าย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิด (ฐานพยายามทำร้ายร่างกายพนักงาน)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือเด็กเร่ร่อนและการกระทำที่ไม่เป็นความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงาน/พยายามทำร้ายร่างกาย
ตำรวจจับเด็กเที่ยวเร่ร่อนตามหน้าที่ เด็กขอร้องให้จำเลยช่วยจำเลยถามว่าเป็นอะไรมาจับเด็กเมื่อตำรวจแสดงตัวว่าเป็นตำรวจแล้วจำเลยพูดว่า ขอได้ไหมอย่าจับเด็กนี้เลย ตำรวจจึงอธิบายให้ฟังว่าเป็นหน้าที่ จำเลยก็ยอมให้เอาตัวเด็กไป ดังนี้การกระทำของจำเลยหาเป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่
การที่จำเลยเพียงถือขวดโซดาไว้ในมือ ไม่ได้ใช้ขวดโซดาจะตีหรือหยิบมีดมาจะทำร้าย ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิด (ฐานพยายามทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 91/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดและขัดขวางเจ้าพนักงาน ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทและกำหนดโทษตามความเหมาะสม
ขณะที่ตำรวจเข้าจับกุมและแย่งปืนกับจำเลยที่ 1 อยู่นั้น จำเลยที่ 2 เข้าช่วยแย่งปืนจากตำรวจ เมื่อตำรวจจับจำเลยที่ 2 ได้จำเลยที่ 2 ได้ร้องบอกให้จำเลยที่ 1 ขว้างระเบิดมือใส่ตำรวจดังนี้ จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานกระทงหนึ่ง และใช้ให้ฆ่าเจ้าพนักงานอีกกระทงหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 บอกให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงาน ก็เท่ากับโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้ให้จำเลยที่ 1 เอาลูกระเบิดมือขว้างเจ้าพนักงานเพื่อจะฆ่าให้ตาย (แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 84 มาในคำขอท้ายฟ้องก็ตาม)ถือได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานเป็นผู้ใช้แล้ว
จำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 1 ฆ่าเจ้าพนักงาน แต่จำเลยที่ 1 ไม่กระทำตามจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 289 ประกอบด้วยมาตรา 84 วรรค 2 ซึ่งต้องระวางโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตกฎหมายไม่ได้บัญญัติโทษ 1 ใน 3 ของโทษประหารชีวิตไว้ จึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 52(1) มาใช้เป็นหลักในการกำหนดโทษ กล่าวคือ ให้ลดโทษประหารชีวิตเสีย 1 ใน 3 ก่อน คงเหลือโทษเพียง 2 ใน 3 โดยให้จำคุกขั้นต่ำ 16 ปี แล้วคำนวณเอาเพียงครึ่งหนึ่งของอัตราโทษ 2 ใน 3 ผลลัพธ์ก็คือ ลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 8 ปี
โจทก์ไม่ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจะพิพากษาเพิ่มโทษจำเลยให้หนักขึ้นหาได้ไม่
ศาลล่างปรับบทกฎหมายไม่ถูกต้อง แม้โจทก์จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมาก็ตามศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 30/2509)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำรับสารภาพชั้นสอบสวนใช้เป็นหลักฐานได้, การขัดขวางเจ้าพนักงาน, การวินิจฉัยนอกคำฟ้อง
คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนไว้โดยชอบ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยได้ และศาลย่อมอาศัยคำรับสารภาพของจำเลยชั้นสอบสวนประกอบคำพยานบุคคลของโจทก์ได้
การกระทำของจำเลยที่ฟังได้ว่าจำเลยใช้ปืนยิงขึ้นฟ้าเพื่อขู่เจ้าพนักงานตำรวจไม่ให้ไล่จับจำเลยต่อไปนั้น เป็นการกระทำส่วนหนึ่งตามฟ้องของโจทก์ที่บรรยายว่า จำเลยบังอาจต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานโดยใช้อาวุธปืนยิง แม้จะยังไม่ถึงขั้นยิงทำร้ายเจ้าพนักงานโดยเจตนาฆ่า ก็หาใช่นอกข้อหาคำฟ้องของโจทก์ไม่ เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษ ยังลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงนั้นได้
การที่จำเลยยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อขู่ตำรวจมิให้ไล่จับกุมจำเลยต่อไปนั้น เป็นการขัดขวางเจ้าพนักงานมิให้จับกุมจำเลย หรือมิให้ปฏิบัติการตามหน้าที่ ตามความหมายในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 บัญญัติเป็นความผิดแล้ว ต้องลงโทษตามมาตรา 140.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 629/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในกรรมเดียว: การกระทำผิดต่อราษฎรและขัดขวางเจ้าพนักงาน แม้ต่างบทลงโทษ ศาลเห็นว่าเป็นการกระทำผิดกรรมเดียว วาระเดียวกัน
จำเลยชกต่อยราษฎรคนหนึ่ง ตำรวจเข้าจับจำเลย จำเลยต่อยตำรวจนั้น 1 ที แล้วจำเลยถูกฟ้องต่อศาลทหารฐานทำร้ายร่างกายราษฎรกับตำรวจผู้นั้น และศาลทหารได้ลงโทษจำเลยแล้วโจทก์จะแยกฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานอีกไม่ได้ เพราะจะทำให้จำเลยต้องรับโทษในกรรมเดียวซ้ำอีกและสิทธิการนำคดีอาญามาฟ้องต่อศาลของโจทก์ก็ระงับไปแล้ว. ฟ้องจึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 618/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่: การรื้อรั้วผิดกฎหมายและการต่อสู้ขัดขวาง
เจ้าพนักงานมีคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ให้จัดการรื้อรั้วไซมานและจ้างคนให้ทำการรื้อโดยอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานโดยใกล้ชิด จำเลยทราบแล้วยังขืนเข้าผลักคนรื้อเพื่อขัดขวางการรื้อ ย่อมมีความผิดฐานขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่
of 5