พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ขัดคำสั่งโยกย้าย และขอบเขตโทษทางวินัยตามระเบียบข้อบังคับ
ข้อบังคับการทำงานของจำเลยกำหนดโทษทางวินัยไว้2สถานคือสถานเบาและสถานหนักข้อ18ก.เป็นโทษสถานเบาซึ่งกำหนดข้อห้ามในเรื่องไม่มีความสำคัญข้อ18ก.23กำหนดว่าละเลยไม่เอาใจใส่ต่อประกาศและคำสั่งต่างๆของโรงแรมจึงหมายความว่าเป็นเรื่องที่จำเลยออกประกาศหรือคำสั่งใดๆที่กำหนดถึงการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องที่ไม่มีความสำคัญนักจำเลยมีคำสั่งย้ายโจทก์ไปปฏิบัติหน้าที่พนักงานขายจัดเลี้ยงการที่โจทก์ขัดขืนไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อจำเลยได้ซึ่งมิใช่เป็นความผิดเล็กน้อยอันจะพึงได้รับโทษสถานเบาเมื่อระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยมิได้กำหนดความผิดในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะกรณีต้องปรับด้วยบทกฎหมายที่มีอยู่คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583เมื่อโจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยผู้เป็นนายจ้างจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกล่าวล่วงหน้า. คำว่าค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานหมายความรวมถึงค่าทนายความด้วยคู่ความจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3261/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างจงใจขัดคำสั่งนายจ้างที่ชอบด้วยกฎหมายจนนายจ้างได้รับความเสียหาย
จำเลยให้โจทก์ลูกจ้างติดต่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของจำเลยทางโทรทัศน์ โดยกำหนดงบประมาณค่าโฆษณาไว้เป็นเงิน 4 ล้านบาทต่อปี โจทก์ติดต่อให้บริษัท อ. โฆษณาผลิตภัณฑ์ ของจำเลยและได้มีการจ่ายค่าโฆษณาไปแล้วเกือบ 3 ล้านบาท คงเหลือเพียง 1 ล้านบาทเศษ แต่เหลือเวลาที่จะต้อง โฆษณาอีก 7 เดือน ประกอบกับสินค้าของจำเลยขายไม่ ค่อยดี จำเลยจึงสั่งให้โจทก์ลดค่าโฆษณาลงโจทก์ ขัดคำสั่งของจำเลยโดยมิได้สั่งให้บริษัท อ. ลดการโฆษณาลงถือว่าเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรงแล้วกรณีจึงต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47 (3) ที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอ้างเหตุขัดคำสั่งและเหตุสมัครใจออกจากงาน ประเด็นการต่อสู้คดีและค่าชดเชย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์มิได้กระทำผิดจำเลยให้การว่าโจทก์ออกจากงานด้วยความสมัครใจเอง มิได้ต่อสู้ว่าเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์กระทำผิดคดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์กระทำผิดอันจะเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และปัญหาข้อนี้มิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3301/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย แม้ลูกจ้างขัดคำสั่งเนื่องจากเหตุผลส่วนตัวอันสมควร
โจทก์เป็นลูกจ้างที่นายจ้างยอมให้ทำงานอยู่ในกรุงเทพมหานครตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานตลอดมาเป็นเวลา 3 ปีเศษ เหตุที่โจทก์ไม่สามารถไปทำงานต่างจังหวัดเพราะต้องดูแลบุตรซึ่งยังเล็กและป่วยเป็นโรคหัวใจพิการ ต่อมาจำเลยผู้เป็นนายจ้างสั่งให้โจทก์ไปทำงานต่างจังหวัดโดยไม่ได้ให้โอกาสและเวลาแก่โจทก์ในการปรับตัวและหาทางแก้ไขข้อขัดข้องดังกล่าวบ้างตามสมควร โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง ดังนี้ ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโดยมิได้ตักเตือนเป็นหนังสือก่อนจึงต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ขัดคำสั่งและประเด็นค่าชดเชยที่ศาลสั่งเกินคำขอ
กรรมการลูกจ้างขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา ลูกจ้างเคยทำผิดขัดคำสั่งมาแล้ว และได้ตักเตือนเป็นหนังสือ ถูกลงโทษพักงานและละทิ้งหน้าที่ นายจ้างร้องต่อศาลแรงงานขอเลิกจ้างได้ ลูกจ้างไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 123
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าผู้ร้องไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมิใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ อันศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งเกินคำขอได้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 ศาลฎีกายกคำสั่งศาลแรงงานกลางในข้อนี้
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าผู้ร้องไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยมิใช่กรณีเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ อันศาลแรงงานจะมีอำนาจสั่งเกินคำขอได้ตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 52 ศาลฎีกายกคำสั่งศาลแรงงานกลางในข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขัดคำสั่งและขาดงาน แม้ขาดงานเพียงวันเดียว ก็ชอบด้วยกฎหมาย หากเคยตักเตือนแล้ว
ประมวลการลงโทษผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ฯ อันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัย ซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจัดให้มีการประกาศกระทรางมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้ว่า กรณีลูกจ้างขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานมีโทษให้ไล่ออกจากงาน ข้อนี้มิได้ระบุว่าต้องขาดงานกี่วันจึงจะมีความผิด ดังนั้น หากโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานแม้เพียง 1 วัน ก็มีความผิดและถูกลงโทษให้ออกจากงานได้ กรณีนี้เป็นเรื่องที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานฯ ตามข้อ 47 (3) แห่งประกาศดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามข้อ 47 (4) ฉะนั้น ประมวลการลงโทษฯ จึงหาได้ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่กำหนดว่าลูกจ้างต้องขาดงานติดต่อกัน 3 วันไม่
โจทก์เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนแล้ว 3 ครั้ง ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบ ซึ่งตามคำสั่งลงโทษมีข้อความอันถือได้ว่าได้มาตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เมื่อโจทก์มากระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบอีก และได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ กรณีหาใช่วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนำความผิดที่ลงโทษเสร็จสิ้นไปแล้วมาลงโทษอีกไม่
โจทก์เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนแล้ว 3 ครั้ง ฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบ ซึ่งตามคำสั่งลงโทษมีข้อความอันถือได้ว่าได้มาตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เมื่อโจทก์มากระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบอีก และได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ กรณีหาใช่วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนำความผิดที่ลงโทษเสร็จสิ้นไปแล้วมาลงโทษอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2265/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานขัดคำสั่งและขาดงาน แม้ขาดงานเพียง 1 วัน ก็มีสิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หากเคยตักเตือนแล้ว
ประมวลการลงโทษผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยฯ อันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยซึ่งจำเลยผู้เป็นนายจ้างต้องจัดให้มีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน กำหนดไว้ว่า กรณีลูกจ้างขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานมีโทษให้ไล่ออกจากงาน ข้อนี้มิได้ระบุว่าต้องขาดงานกี่วันจึงจะมีความผิด ดังนั้น หากโจทก์ขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาไม่ไปปฏิบัติงานและขาดงานแม้เพียง1 วัน ก็มีความผิดและถูกลงโทษให้ออกจากงานได้กรณีนี้เป็นเรื่องที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานฯ ตามข้อ 47(3) แห่งประกาศดังกล่าว มิใช่เป็นเรื่องนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามข้อ 47(4)ฉะนั้น ประมวลการลงโทษฯ จึงหาได้ขัดต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่กำหนดว่าลูกจ้างต้องขาดงานติดต่อกัน 3 วันไม่
โจทก์เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนมาแล้ว 3 ครั้งฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบ ซึ่งตามคำสั่งลงโทษมีข้อความอันถือได้ว่าได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อโจทก์มากระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบอีก และได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ กรณีหาใช่วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนำความผิดที่ลงโทษเสร็จสิ้นไปแล้วมาลงโทษอีกไม่
โจทก์เคยถูกลงโทษภาคทัณฑ์และตัดเงินเดือนมาแล้ว 3 ครั้งฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบ ซึ่งตามคำสั่งลงโทษมีข้อความอันถือได้ว่าได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้วเมื่อโจทก์มากระทำผิดฐานขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่สั่งโดยชอบอีก และได้เคยตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์ออกจากงานอันเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ กรณีหาใช่วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนำความผิดที่ลงโทษเสร็จสิ้นไปแล้วมาลงโทษอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดคำสั่งและค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง: การพิจารณาความชอบธรรมในการเลิกจ้างและการจ่ายค่าล่วงเวลา
ผู้แทนโจทก์สั่งให้ลูกจ้างไปซ่อมรถบดถนนที่เสีย ลูกจ้างได้เดินทางไปทันทีและโดยดี แต่รถยนต์ที่ใช้เดินทางไปเกิดเสีย ลูกจ้างช่วยแก้ไขอยู่จนกระทั่งเวลา 16 น. เศษ จึงใช้การได้ ที่ลูกจ้างไม่เดินทางต่อไปเพื่อซ่อมรถบดถนนก็เพราะเห็นว่าจวนจะหมดเวลาทำงานตามปกติ (17 น.) แล้ว ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าลูกจ้างขัดคำสั่งโจทก์ โจทก์ให้ลูกจ้างออกจากงาน (เมื่อพ.ศ.2513) จึงต้องจ่ายเงินชดเชยแก่ลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯซึ่งกำหนดว่าถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามประเพณีนิยม หรือในวันหยุดงานพักผ่อนประจำปีนายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ตามอัตราที่กำหนดนั้น มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างในเรื่องค่าแรงงาน ซึ่งกำหนดอัตราค่าแรงงานไว้ไม่ให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง ถือว่าข้อกำหนดดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นบทบัญญัติเด็ดขาดซึ่งจะตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้น การที่โจทก์กับลูกจ้างตกลงกันไม่คิดค่าล่วงเวลาเพราะลูกจ้างขอทำงานในวันหยุดชดใช้วันทำงานปกติที่ขาดงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ใช้บังคับไม่ได้โจทก์ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ลูกจ้าง
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดเวลาทำงานฯซึ่งกำหนดว่าถ้านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามประเพณีนิยม หรือในวันหยุดงานพักผ่อนประจำปีนายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ตามอัตราที่กำหนดนั้น มีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างในเรื่องค่าแรงงาน ซึ่งกำหนดอัตราค่าแรงงานไว้ไม่ให้นายจ้างเอาเปรียบลูกจ้าง ถือว่าข้อกำหนดดังกล่าวเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นบทบัญญัติเด็ดขาดซึ่งจะตกลงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ ดังนั้น การที่โจทก์กับลูกจ้างตกลงกันไม่คิดค่าล่วงเวลาเพราะลูกจ้างขอทำงานในวันหยุดชดใช้วันทำงานปกติที่ขาดงาน ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ใช้บังคับไม่ได้โจทก์ต้องจ่ายค่าล่วงเวลาให้ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378-379/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานในการรักษาความปลอดภัยทางบกและการขัดคำสั่งโดยเจตนา
นายอำเภอมีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 118 ประกอบกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรค 3ที่จะต้องตรวจตราและจัดการรักษาทางบกทางน้ำให้ไปมาโดยสะดวกตามที่จะเป็นไปได้ตามฤดูกาล ในการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ทางจังหวัดจึงประกาศห้ามรถยนต์รับส่งผู้โดยสารวิ่งในทางหลวงชนบทสายที่เป็นมูลเหตุ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตทั้งนี้ เพื่อตรวจตราและจัดการรักษาทางบกสายนี้ให้ไปมาได้ทุกฤดูกาลแม้จะยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อป้องกันอันตรายอันจะเกิดแก่ผู้โดยสาร อำนวยความสะดวกในการก่อสร้างให้เสร็จโดยเร็ว และเป็นการชั่วคราวจนกว่ากรมการขนส่งทางบกจะประกาศเป็นเส้นทางเพื่อดำเนินการตามกฎหมายขนส่งต่อไปเท่านั้น จำเลยที่ 1 และบริษัท น. ขออนุญาตคณะกรรมการที่จังหวัดแต่งตั้งขึ้นอนุญาตให้บริษัท น. เดินรับส่งคนโดยสารได้แต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่เชื่อฟัง นายอำเภอจึงมีคำสั่งห้ามรถจำเลย จำเลยก็ยังฝ่าฝืน จึงเป็นการจงใจขัดคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลแสดงเจตนาออกโดย ส. จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการ และ ท. กับ ด. จำเลย ซึ่งเป็นคนขับผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของ ส. จำเลย ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันกระทำผิด
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลแสดงเจตนาออกโดย ส. จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการ และ ท. กับ ด. จำเลย ซึ่งเป็นคนขับผู้ปฏิบัติตามคำสั่งของ ส. จำเลย ถือได้ว่าเป็นการร่วมกันกระทำผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1289/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่อเนื่องกับการกระทำต่างกรรมต่างวาระ: ยึดครองที่สาธารณะ vs. ขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
ความผิดฐานเข้าไปยึดถือครอบครอง ก่นสร้างบุกเบิก แผ้วถาง ที่ดินอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินโดยไม่ไดรับอนุญาต ย่อมมีขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้ายึดถือครอบครอง และยงคงมีอยู่ตลอดระยะเวลาที่จำเลยครอบครองที่ดินแปลงนี้ ส่วนความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อพ้นกำหนดหลังจากวันที่เจ้าพนักงานสั่งให้จำเลยออกไปจากที่ดิน ความผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานจึงต่างกรรมต่างวาระกับความผิดฐานเข้ายึดถือครอบครอง หาใช่เป็นกรรมเดียวกันไม่