คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขัดแย้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 115 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: พยานหลักฐานโจทก์ขัดแย้ง ไม่สามารถพิสูจน์การกระทำผิดของจำเลยได้
จากการนำสืบของโจทก์ได้ความจากคำเบิกความของอ.ว่าอ. ได้ลักรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุมาให้จำเลยช่วยขายให้เพราะเคยรู้จักกันมาก่อนจำเลยไม่ยอมช่วยขายแต่บอกว่าท. เพื่อนของจำเลยต้องการจะได้อ. จึงตกลงขายให้ท.ในราคา1,500บาทและมอบรถจักรยานยนต์ให้แก่ท. ไปดังนี้อ. มิได้ยืนยันว่าจำเลยเป็นคนซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากอ. โดยจำเลยทราบว่ารถของกลางถูกลักมาแต่กลับได้ความว่าจำเลยไม่รับซื้อท. ซึ่งอยู่กับจำเลยด้วยในขณะนั้นจึงรับซื้อจากอ. โดยได้ขอยืมเงินจากจำเลยไปอีก800บาทการที่จำเลยให้ท. ยืมเงินไป800บาทนั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการช่วยจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของกลางแต่อย่างใดเพราะท. ตกลงซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางจากอ. เองอยู่แล้วโดยไม่ต้องให้จำเลยช่วยขายนอกจากนี้ยังได้ความจากคำเบิกความของผู้เสียหายกับต. และบ. ในทำนองเดียวกันอีกว่าเมื่อผู้เสียหายนำสิบตำรวจโทพ. ไปจับอ. ได้นั้นในตอนแรกอ. ได้บอกแก่สิบตำรวจโทพ. ทันทีว่าได้ลักรถจักรยานยนต์ของกลางไปขายเพียงคนเดียวและนำไปขายที่อำเภอท่ามะกาโดยไม่ได้ระบุว่าขายให้แก่ผู้ใดหากขายให้แก่จำเลยก็น่าจะระบุชื่อจำเลยทันทีเพราะรู้จักกันโดยไม่มีเหตุผลอันใดที่จะต้องปิดบังไว้ประการสำคัญได้ความจากคำเบิกความของนายต. ว่าที่สถานีตำรวจจำเลยบอกว่าจำเลยไม่ได้ซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางแต่คนอื่นซื้อซึ่งเงินไม่พอต้องขอยืมจำเลยไปอีก800บาทตรงกับที่จำเลยนำสืบต่อสู้แม้โจทก์มีพนักงานสอบสวนเป็นพยานเบิกความประกอบบันทึกคำให้การของอ. ว่าอ. นำรถจักรยานยนต์ของกลางไปขายให้แก่จำเลยก็ตามแต่คำให้การของอ. เป็นเพียงพยานบอกเล่ามิได้ทำต่อหน้าจำเลยซึ่งจำเลยไม่มีโอกาสถามค้านทั้งยังขัดแย้งกับคำเบิกความของอ. เองที่เบิกความว่าอ.ได้ขายรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่ท. เช่นนี้คำเบิกความของพนักงานสอบสวนจึงไม่มีน้ำหนักคดีนี้จำเลยให้การปฏิเสธมาตั้งแต่ต้นและพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมาไม่สอดคล้องต้องกันจึงไม่มีน้ำหนักพอฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้น: สิทธิในการเรียกค่าเช่าและคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระจากจำเลย จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและฟ้องแย้งเรียกค่าเช่าล่วงหน้าคืน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้าง เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าตามฟ้องและไม่มีสิทธิรับเงินค่าเช่าล่วงหน้าของจำเลย เงินค่าเช่าล่วงหน้าดังกล่าวจำเลยได้ฟ้องแย้งเรียกคืนจากโจทก์และได้ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาในส่วนฟ้องแย้งจึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาของสองศาลขัดกัน ต้องถือผลตามคำพิพากษาของศาลฎีกาโจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลย ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์คืนเงินค่าเช่าดังกล่าวแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 979/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยานหลักฐานไม่เพียงพอและขัดแย้งกัน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ยกฟ้องคดีจำหน่ายกัญชา
คดีนี้โจทก์ไม่ได้นำตัวสายสืบที่ทำการล่อซื้อกัญชาของกลางมาเป็นพยานคงมีแต่พยานผู้จับกุมจำนวน2ปากแต่พยานทั้งสองปากนี้เบิกความเป็นพิรุธขัดต่อเหตุผลแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญแม้จำเลยรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนไว้ก็ตามอีกทั้งจำเลยยังบอกถึงที่ซ่อนของกัญชาอีกส่วนหนึ่งถ้ากัญชาดังกล่าวเป็นของจำเลยจริงจำเลยก็คงไม่บอกให้พยานโจทก์ทราบเพราะเป็นการผิดวิสัยของผู้กระทำผิดทั่วไปประกอบกับกัญชาอยู่ห่างกระท่อมของจำเลยถึง500เมตรจึงเป็นเหตุพิรุธสงสัยไม่น่าเชื่อว่าจำเลยให้การรับสารภาพโดยสมัครใจส่วนกัญชาที่ค้นพบก็ยังมีเหตุสงสัยไม่น่าเชื่อเช่นกันว่าเป็นของจำเลยต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา227วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7948/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดแย้งในคำให้การของผู้สลักหลังเช็ค และผลต่อความรับผิดตามเช็ค
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท จำเลยที่ 3 ยื่นคำให้การปฏิเสธในข้อ 1ว่า ไม่เคยลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาท ลายมือชื่อดังกล่าวเป็นลายมือชื่อปลอม แต่ในข้อ 2 กลับปฏิเสธว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในเช็คพิพาทซึ่งเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญโดยไม่มีการแจ้งให้จำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลังเช็คก่อน เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่ให้ความยินยอมด้วยจำเลยที่ 3 จึงหลุดพ้นความรับผิด ดังนี้เป็นการยอมรับว่าจำเลยที่ 3 เป็นคู่สัญญาในเช็คพิพาทฐานะผู้สลักหลัง และคำให้การของจำเลยที่ 3 ในข้อ 1 และข้อ 2 จึงขัดแย้งกันไม่ทราบว่าจำเลยที่ 3 ปฏิเสธหรือรับตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์โดยชัดแจ้ง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง จึงไม่มีประเด็นนำสืบตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 3 แต่คำให้การของจำเลยที่ 3 เป็นที่เข้าใจได้ว่าจำเลยที่ 3 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงยังมีประเด็นข้อพิพาท ที่โจทก์ยังต้องนำสืบให้ได้ความตามฟ้องจึงจะชนะคดีได้ จำเลยที่ 3 ได้ทราบหรือยินยอมในการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงวันที่สั่งจ่ายในขณะลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทแล้วเช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้กับจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้สลักหลัง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้สลักหลังเช็คผู้ถือ ต้องร่วมกับผู้สั่งจ่ายรับผิดต่อโจทก์ผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 921,967 ประกอบมาตรา 989

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3323/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีทายาทขัดแย้ง: ผู้จัดการมรดกคนเดียวตามเจตนารมณ์ผู้ตาย & เงื่อนไขคุ้มครองทายาท
เมื่อผู้ร้องและผู้คัดค้านซึ่งเป็น ทายาทด้วยกันมีพฤติการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายอำนาจของผู้จัดการมรดกในกรณีที่มีสองคนในการรวบรวมทรัพย์มรดกเพื่อแบ่งปันให้ทายาทก็ไม่อาจจะหา เสียงข้างมากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1726ได้และคนใดคนหนึ่งก็ไม่อาจจัดการได้ข้อขัดข้องในการจัดการแบ่งปันมรดกก็คงมีอยู่ต่อไปฉะนั้นเมื่อผู้ตายไว้วางใจผู้ร้องมากถึงกับต้องการจะยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องเพียงผู้เดียวจึงสมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกเพียงผู้เดียวแต่วางเงื่อนไขว่ากรณีที่ผู้ร้องจะจัดการมรดกไปในทางจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกที่มีหลักฐานทางทะเบียนให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความเห็นชอบจากทายาททุกคนนั้นจะต้อง ขออนุญาตจากศาลก่อนเพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่ผู้คัดค้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2597/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีขององค์คณะศาลที่ขัดแย้งตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่บ. ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมาแล้วมาเป็นองค์คณะลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อีกเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา11(5)ศาลฎีกาเห็นว่ามีเหตุอันสมควรให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบด้วยมาตรา243(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกจำกัดด้วยคำพิพากษาฎีกาเดิม ห้ามฟ้องคดีใหม่ที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิม
ในคดีที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์กับ จ.เป็นหนี้สมยอมกัน ทำขึ้นโดยมิได้เป็นหนี้กันจริง เพื่อช่วยเหลือมิให้โจทก์และเจ้าหนี้อื่นบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของ จ. ถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จ. ซึ่งตรงกับประเด็นพิพาทในคดีนี้ คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนจึงผูกพันโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคแรก โจทก์จะฟ้องเป็นคดีใหม่อ้างการได้มาซึ่งที่ดินตามฟ้องโดยอาศัยสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีดังกล่าวของศาลชั้นต้น อันเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีไม่จำต้องสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1550/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินพิรุธ พยานหลักฐานโจทก์ขัดแย้งกันเอง ศาลไม่รับฟังว่ามีการกู้ยืมจริง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันถึงกำหนดแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้คืนโจทก์ ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระพร้อมดอกเบี้ย หากจำเลยที่ 1ไม่ชำระ ให้จำเลยที่ 2 ชำระแทน จำเลยที่ 1มิได้ยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 2 ก็ให้การเพียงว่าสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาปลอมจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าสัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ ปัญหาว่าสัญญากู้เงินเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น คดีแพ่งที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาศาลจะวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะได้ต่อเมื่อข้ออ้างของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย ปัญหาว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้หรือไม่ว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 80,000 บาท ตามสัญญากู้เงินตามฟ้องหรือไม่นั้นเมื่อพยานหลักฐานโจทก์มีข้อพิรุธหลายประการไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 80,000 บาทและทำสัญญากู้เงินซึ่งมีข้อความครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามสัญญากู้เงินดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้กู้ไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่าสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาปลอมหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อเติมรั้วแนวเขตโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการขัดสิทธิเจ้าของร่วม
ที่ดินโจทก์ติดกับที่ดินของจำเลยที่ 1 รั้วพิพาทเป็นรั้วกั้นแนวเขตระหว่างที่ดินของบุคคลทั้งสอง โดยโจทก์และจำเลยที่ 1ซื้อที่ดินและทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 3 ซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้สร้างขายพร้อมกับทำรั้วกั้นแนวเขตให้เช่นเดียวกับทาวน์เฮาส์หลังอื่น ๆที่อยู่ในแนวเดียวกัน ดังนั้นโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของรั้วพิพาทรวมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1344 การที่ฝ่ายจำเลยต่อเติมรั้วพิพาทเป็นกำแพงหรือผนังของอาคารทำให้รั้วหมดสภาพไปย่อมเป็นการขัดต่อสิทธิของโจทก์ นอกจากนั้นตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 ข้อ 27 ก็ได้กำหนดไว้ว่า รั้วหรือกำแพงกั้นเขตให้ทำได้สูงเหนือระดับถนนสาธารณะไม่เกิน 3 เมตร ฝ่ายจำเลยได้ต่อเติมกำแพงรั้วสูงจากระดับรั้วเดิมมากอันเป็นการผิดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าว จำเลยที่ 1 จะอ้างว่ารั้วพิพาทนอกจากใช้เพื่อเป็นแนวเขตแล้วยังสามารถใช้เป็นกำแพงหรือผนังอาคารได้ด้วยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมขัดแย้งกัน: เพิกถอนพินัยกรรมเก่าด้วยพินัยกรรมใหม่เฉพาะส่วนทรัพย์มรดกและการจัดการมรดก
พินัยกรรมฉบับก่อนเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์ 10 ไร่ส่วนพินัยกรรมฉบับหลังเจ้ามรดกยกที่ดินนาให้โจทก์จำเลยและบุตรคนอื่น ๆ รวม 7 คน คนละ 3 ไร่ ส่วนที่เหลือยังเป็นส่วนของเจ้ามรดกอยู่ โดยมิได้กล่าวถึงที่ดินนา 10 ไร่ ที่เคยทำพินัยกรรมยกให้โจทก์ก่อนเลย ทั้งพินัยกรรมฉบับแรกตั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกแต่พินัยกรรมฉบับหลังตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดก พินัยกรรมทั้งสองฉบับในส่วนเกี่ยวกับทรัพย์มรดกและการตั้งผู้จัดการมรดกจึงขัดกัน และเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลังเฉพาะเกี่ยวกับการยกทรัพย์มรดกให้ทายาทและเกี่ยวกับการตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697
of 12