พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2259/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาอุทธรณ์เพื่อแก้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ส่งผลให้การพิจารณาคดีไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดฐานละเมิดเนื่องจากจำเลยที่ 1 ผู้เยาว์ขับรถบรรทุกโดยประมาทเลินเล่อชนรถโจทก์เสียหาย โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบิดามารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง ส่วนจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นนายจ้างจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งห้าให้การต่อสู้และขอให้เรียกจำเลยร่วมทั้งสองเข้ามาเป็นคู่ความอ้างว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยร่วมที่ 2 และเมื่อศาลอนุญาตแล้วจำเลยร่วมที่ 2 ให้การว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1แต่เพียงผู้เดียว ทั้งให้การต่อสู้โจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งห้าอุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยทั้งห้าไม่ต้องรับผิด ส่วนจำเลยร่วมที่ 2 อุทธรณ์ว่า เหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยร่วมที่ 2ไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย อุทธรณ์ดังกล่าวนอกจากจะโต้แย้งโจทก์แล้วยังโต้แย้งและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกันด้วย การที่ศาลชั้นต้นไม่สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อแก้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 235เป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการพิจารณาศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แล้วย้อนสำนวนให้ดำเนินการใหม่เสียให้ถูกต้องตามมาตรา 243(2),247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1378/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน การจับกุมไม่ชอบไม่กระทบการสอบสวนและอำนาจฟ้อง
การจับกุมกับการสอบสวนเป็นวิธีการทางกฎหมายคนละขั้นตอนกัน โดยการจับกุมจะชอบหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งอันเพื่อให้ได้ตัวมาเพื่อการฟ้องศาลตามที่สอบสวนไว้แล้วหรือที่จะทำการสอบสวนต่อไปเท่านั้น ไม่มีผลเกี่ยวข้องกับการสอบสวนไม่เหมือนกับการร้องทุกข์หรือการชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 129ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวน เมื่อมีการสอบสวนจำเลยโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7175/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการแต่งทนายความ ทำให้ฎีกาไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำฟ้องฎีกาของจำเลยมี ส.ทนายความ เป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกา ผู้เรียงและผู้พิมพ์ โดย ส.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยโดยมิได้มีคำสั่งให้ ส.ยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาให้ถูกต้องเสียก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 232 และมาตรา 18 กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา เมื่อปรากฏว่าจำเลยทิ้งฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174จึงเป็นการล่วงเลยเวลา ที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาดังกล่าว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5877/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด หากไม่ดำเนินการตามกำหนดเวลา แม้จะมีเหตุผล ก็ไม่สามารถขยายเวลาอุทธรณ์ได้
คดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นไม่รับรองให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยอธิบดีผู้พิพากษาภาคผู้มีอำนาจมิได้เป็นคณะในคำสั่งนั้นหากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต่อไป จำเลยชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลถึงอธิบดีผู้พิพากษานั้น ภายใน 7 วันเพื่อให้มีคำสั่งยืนตามหรือกลับคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรา 230 วรรคสาม แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ กลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้วโดยอ้างเหตุว่าจะได้มีเวลาขอให้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นอีกคนหนึ่งรับรองให้อุทธรณ์ จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยและไม่มีพฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4882/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งเอกสารพยานหลักฐาน และผลกระทบต่ออายุความคดีละเมิด
โจทก์มิได้ยื่นบัญชีระบุพยานและมิได้ส่งสำเนาของหนังสือรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 และ 90 ซึ่งศาลมีอำนาจรับฟังได้ตามมาตรา 87 แต่ข้อเท็จจริงที่โจทก์มิได้อ้างส่งในขณะสืบพยานโจทก์ กลับนำมาอ้างส่งในขณะถามค้านพยานจำเลยทั้งสองปากสุดท้ายหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว ทั้ง ๆ ที่เอกสารดังกล่าวอยู่ที่โจทก์ เป็นการเอาเปรียบกันในเชิงคดีไม่ให้จำเลยมีโอกาสต่อสู้คดีเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว ฉะนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงไม่สมควรรับฟังหนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวเป็นพยาน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตอกเสาเข็มเป็นการละเมิดโจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ละเมิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความแม้จำเลยจะเบิกความตอบคำถามค้านว่าเคยมีหนังสือรับสภาพหนี้ถึงโจทก์ แต่เมื่อไม่รับฟังเอกสารดังกล่าว จึงเท่ากับไม่มีหนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตอกเสาเข็มเป็นการละเมิดโจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ละเมิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความแม้จำเลยจะเบิกความตอบคำถามค้านว่าเคยมีหนังสือรับสภาพหนี้ถึงโจทก์ แต่เมื่อไม่รับฟังเอกสารดังกล่าว จึงเท่ากับไม่มีหนังสือรับสภาพหนี้อันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นจับกุมกับการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน แม้การตรวจค้นไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การตรวจค้นจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกัน แม้การตรวจค้นจับกุมอาจมิชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หามีผลทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีการสอบสวนแล้ว จำเลยมิได้ฎีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะเหตุผลอื่น ๆ เพียงแต่อ้างว่าการตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นเป็นการไม่ชอบ การจับกุมการสอบสวนย่อมไม่ชอบ จึงต้องถือว่าการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่า การตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นย่อมเป็นการค้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจับกุมย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยหากมีการสอบสวนพยานโจทก์ย่อมจะรับฟังไม่ได้ หากรับฟังย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีการสอบสวนแล้ว จำเลยมิได้ฎีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะเหตุผลอื่น ๆ เพียงแต่อ้างว่าการตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นเป็นการไม่ชอบ การจับกุมการสอบสวนย่อมไม่ชอบ จึงต้องถือว่าการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่า การตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้นย่อมเป็นการค้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจับกุมย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วยหากมีการสอบสวนพยานโจทก์ย่อมจะรับฟังไม่ได้ หากรับฟังย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3099/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจค้นจับกุมและการสอบสวนเป็นคนละขั้นตอน แม้การตรวจค้นมิชอบ ก็ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การตรวจค้นจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละขั้นตอนกัน แม้การตรวจค้นจับกุมอาจมิชอบด้วยกฎหมายก็เป็นเรื่องที่จะไปว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หามีผลทำให้การสอบสวนไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยไม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีการสอบสวนแล้ว จำเลยมิได้ฎีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะเหตุผลอื่น ๆ เพียงแต่อ้างว่าการตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้น เป็นการไม่ชอบ การจับกุมการสอบสวนย่อมไม่ชอบ จึงต้องถือว่าการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่า การตรวจค้นโดย ไม่มีหมายค้นย่อมเป็นการค้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจับกุมย่อม ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย หากมีการสอบสวนพยานโจทก์ย่อมจะรับฟังไม่ได้ หากรับฟังย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควร ได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีการสอบสวนแล้ว จำเลยมิได้ฎีกาว่าการสอบสวนไม่ชอบเพราะเหตุผลอื่น ๆ เพียงแต่อ้างว่าการตรวจค้นโดยไม่มีหมายค้น เป็นการไม่ชอบ การจับกุมการสอบสวนย่อมไม่ชอบ จึงต้องถือว่าการสอบสวนในความผิดที่กล่าวหาตามฟ้องชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาว่า การตรวจค้นโดย ไม่มีหมายค้นย่อมเป็นการค้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย การจับกุมย่อม ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย หากมีการสอบสวนพยานโจทก์ย่อมจะรับฟังไม่ได้ หากรับฟังย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควร ได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2824/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับฟ้องคดีเยาวชนและครอบครัวเนื่องจากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการผัดฟ้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า ไม่มีการผัดฟ้องต่อหรือขออนุญาตจากอัยการสูงสุดคดีโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 53 จึงมีคำสั่งไม่รับฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ.มาตรา 220 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2686/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ และการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการส่งสำเนาคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และอนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แต่อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้อง ไม่ฟังข้อเท็จจริงตามที่ควรจะฟัง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จำเลยจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงและคดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงโดยมิได้ส่งสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์แก่โจทก์เพื่อให้โจทก์มีโอกาสคัดค้านก่อน เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้ายจึงไม่เป็นประโยชน์ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยและที่อนุญาตให้จำเลยยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา และให้ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของจำเลยใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องข้ามขั้นตอนในคดีแพ่ง: ผลกระทบต่อการพิจารณาคดีและการอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาแล้วสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนเสร็จ จำเลยจึงมาศาลและยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ขณะอยู่ระหว่างนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งก็คืออยู่ระหว่างพิจารณาคดีฝ่ายเดียวจึงล่วงเลยขั้นตอนที่จำเลยจะยื่นคำร้องเช่นนั้นได้ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 199แล้ว สิ่งที่จำเลยพึงกระทำในตอนนั้น คือการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ตามป.วิ.พ.มาตรา 205 วรรคสอง แล้วจึงจะเชื่อมโยงไปบังคับเรื่องขออนุญาตยื่นคำให้การ ตามมาตรา 199 ต่อไป จริงอยู่การที่จำเลยไม่ทราบว่าศาลสืบพยานโจทก์ในการพิจารณาคดีฝ่ายเดียวเสร็จไปแล้ว จำเลยจึงยื่นคำร้องผิดขั้นตอน เป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นได้สั่งคำร้องนั้นชัดเจนว่า ศาลสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและพิจารณาคดีฝ่ายเดียวไปจนเสร็จสิ้นแล้วพร้อมทั้งมีคำพิพากษา คำสั่งศาลเช่นนี้ย่อมช่วยให้จำเลยทราบขั้นตอนของกระบวนพิจารณาที่ผ่านไปแล้ว และจำเลยสามารถที่จะยื่นคำร้องขอเสียใหม่ให้ตรงตามเรื่อง แต่จำเลยหาได้กระทำไม่ จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์ฎีกายืนยันให้รับคำร้องที่ข้ามขั้นตอนนั้นไว้พิจารณาเมื่อคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยเป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยขั้นตอน ศาลจึงไม่อาจรับไว้พิจารณาได้