คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขาดงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างต้องพิจารณาเหตุผลความจำเป็น หากลูกจ้างมีเหตุผลอันสมควร แม้ขาดงาน ก็ไม่ถือเป็นการละทิ้งหน้าที่
โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเป็นเวลา 3 วันติดต่อกันเนื่องจากถูกวันแรกบุตรของโจทก์ป่วยมากจำเป็นที่โจทก์ต้องคอยดูแลส่วนอีกสองวันต่อมานั้นปรากฏว่าฝนตกมาก น้ำท่วมถนนสายที่โจทก์จะต้องเดินทางไปทำงานและโทรศัพท์เสียหายมาก โจทก์อยู่ไกลจากสถานที่ทำงาน ไม่สามารถเดินทางไปทำงานและแจ้งให้จำเลยทราบทางโทรศัพท์ได้ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ได้ไปทำงานตามปกติเนื่องจากมีเหตุจำเป็น ถือได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันสมควรมิใช่การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.
เมื่อโจทก์มาทำงานแล้วได้ทราบว่า ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีคำสั่งให้โจทก์ไปพบ แต่โจทก์ไม่ยอมไปพบนั้น แม้จะเป็นการขัดคำสั่งของนายจ้างก็ตาม แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่ร้ายแรง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยตักเตือนโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชยหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนเก่าขาดอายุความ ไม่เป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แม้ขาดงานเล็กน้อย
คำเตือนเรื่องขาดงานที่นายจ้างเคยตักเตือนลูกจ้างก่อนการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งเกิดเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างนานเกือบ 4 ปี ถือว่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรและสิ้นผลแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากขาดงานซ้ำหลังได้รับการตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร สิทธิในการได้รับค่าชดเชย
เอกสารมีข้อความว่า '......เรียนนายบุญมีเนื่องด้วยท่านได้ประพฤติผิดระเบียบของห้างดังนี้......16 ขาดงานบ่อยไม่ตั้งใจทำงาน......ถือว่าเป็นการกระทำผิดระเบียบของห้าง ฯ จึงขอแจ้งให้ท่านทราบไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้เพื่อท่านจะได้แก้ไขปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมต่อไป โดยการลงโทษดังนี้เตือนด้วยวาจา......' ท้ายเอกสารนี้โจทก์ได้ลงลายมือชื่อรับทราบต่อท้ายลายมือชื่อผู้ตักเตือนไว้ เอกสารดังกล่าวมีข้อความที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบถึงความผิดที่กระทำ และให้โจทก์แก้ไขปรับปรุงตนเองให้เหมาะสมต่อไป จึงมีลักษณะเป็นการตักเตือนโจทก์ในความผิดนั้นแล้ว หาใช่เป็นเพียงบันทึกการเตือนด้วยวาจาไม่ เมื่อโจทก์ขาดงานเป็นการละทิ้งหน้าที่ซ้ำอีก จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดงานเนื่องจากน้ำท่วมไม่ถือเป็นเหตุสมควรหรือไม่ฉุกเฉิน แม้ขอลาแล้วก็ต้องปฏิบัติตามระเบียบ
เหตุน้ำท่วมจะถือเป็นข้อที่ขาดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรหาได้ไม่ และไม่ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน แม้ผู้คัดค้านจะหยุดงานเพราะเหตุดังกล่าว คัดค้านก็ยังต้องขอลาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานก่อน ผู้คัดค้านไม่อาจหยุดได้โดยพลการ เมื่อผู้คัดค้านจำเป็นต้องขอลาดังกล่าวแล้ว เมื่อมีเหตุการณ์อย่างเดียวกันเกิดขึ้นอีก จึงไม่เป็นกรณีฉุกเฉินทำให้ผู้คัดค้านมีสิทธิหยุดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรและไม่ต้องลา
ผู้คัดค้านถูกตักเตือนเป็นหนังสือฐานหยุดงานโดยไม่มีเหตุผลมาแล้ว เมื่อผู้คัดค้านขาดงานอีก 2 ครั้ง ผู้ร้องจึงขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1139/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ น้ำท่วมไม่ใช่เหตุสมควรในการขาดงาน เลิกจ้างได้หากเตือนแล้วขาดงานซ้ำ
เหตุน้ำท่วมจะถือเป็นข้อที่ขาดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรหาได้ไม่ และไม่ถือว่าเป็นเหตุฉุกเฉิน แม้ผู้คัดค้านจะหยุดงานเพราะเหตุดังกล่าว คัดค้านก็ยังต้องขอลาตามระเบียบข้อบังคับการทำงานก่อน ผู้คัดค้าน ไม่อาจหยุดได้โดยพลการ เมื่อผู้คัดค้านจำเป็นต้องขอลาดังกล่าว แล้ว เมื่อมีเหตุการณ์อย่างเดียวกันเกิดขึ้นอีก จึงไม่เป็นกรณีฉุกเฉินทำให้ผู้คัดค้าน มีสิทธิหยุดงานได้โดยมีเหตุผลอันสมควรและไม่ต้องลา
ผู้คัดค้านถูกตักเตือนเป็นหนังสือฐานหยุดงานโดยไม่มีเหตุผลมาแล้ว เมื่อผู้คัดค้านขาดงานอีก 2 ครั้ง ผู้ร้องจึงขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ขาดงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และการพิสูจน์หน้าที่ของลูกจ้าง
การจ้างแรงงานคือสัญญาซึ่งลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้หน้าที่สำคัญของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานคือต้องทำงานให้แก่นายจ้าง การลงเวลามาทำงานไม่ใช่สาระสำคัญของการจ้างแรงงาน เพราะเป็นเพียงพยานหลักฐานเบื้องต้นที่แสดงว่าลูกจ้างจะเข้าทำงานให้แก่นายจ้างในวันนั้นเท่านั้น การที่โจทก์มาเซ็นชื่อในสมุดลงเวลา มาทำงานของจำเลยแล้วกลับไปโดยมิได้ปฏิบัติงานใด ๆให้แก่นายจ้าง จึงถือว่าโจทก์ขาดงานในวันนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อโจทก์ขาดงานก่อนหน้าวันดังกล่าวมาแล้วสองวันโดยมิได้ลาตามระเบียบ และไม่ปรากฏเหตุจำเป็น ซึ่งถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสองวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรมาแล้ว จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร กรณีต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่โดยเจตนา และขาดงานต่อเนื่อง โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การจ้างแรงงานคือสัญญาซึ่งลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้หน้าที่สำคัญ ของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานคือต้องทำงานให้ แก่นายจ้าง การลงเวลามาทำงานไม่ใช่สาระสำคัญของการ จ้างแรงงาน เพราะเป็นเพียงพยานหลักฐานเบื้องต้นที่แสดงว่าลูกจ้างจะเข้าทำงาน ให้แก่นายจ้างในวันนั้นเท่านั้น การที่โจทก์มาเซ็นชื่อในสมุดลงเวลา มาทำงานของจำเลยแล้วกลับไปโดยมิได้ปฏิบัติงานใดๆให้แก่นายจ้าง จึงถือว่า โจทก์ขาดงานในวันนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อโจทก์ ขาดงานก่อนหน้าวันดังกล่าวมาแล้วสองวันโดยมิได้ลาตามระเบียบ และไม่ปรากฏเหตุจำเป็น ซึ่งถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา สองวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรมาแล้วจึงเป็น การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร กรณีต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมจากพฤติการณ์ขาดงานและการเล่นการพนอกสถานที่ มิใช่ละทิ้งหน้าที่
กำหนดเวลาทำงานของโจทก์ซึ่งเป็นยามรักษาการณ์นั้น หัวหน้างานได้จัดทำตารางการเข้าทำงานล่วงหน้าไว้เป็นรายวันประจำเดือนเพื่อให้บรรดายามรักษาการณ์ได้รู้กำหนดเวลาที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ และเพื่อความสะดวกของผู้บังคับบัญชาเองที่ไม่ต้องกำหนดเวลาอย่างกะทันหันโดยที่โจทก์และยามรักษาการณ์ไม่อาจทราบได้ทันกำหนดเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการที่สั่งให้โจทก์กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามเป็นการขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาพฤติการณ์ของโจทก์ที่ไม่ไปเข้าเวรยามตามกำหนดเวลาเป็นเพียงการขาดงานเท่านั้น ทั้งจำเลยเองได้แทงในบัญชีพนักงานลงชื่อและเวลาทำงานว่าโจทก์ขาดงาน จึงมิใช่เป็นเรื่องโจทก์ละทิ้งหน้าที่ไปเล่นการพนันในเวลาปฏิบัติหน้าที่อันเป็นการผิดระเบียบการทำงานของจำเลย ส่วนการที่โจทก์เล่นการพนันนอกสถานที่ทำการของจำเลย มิใช่เป็นการเล่นในเวลาปฏิบัติหน้าที่ ไม่ทำให้จำเลยเสียหาย ลักษณะการกระทำของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง การกระทำของโจทก์ยังไม่เป็นความผิดตามข้อบังคับหรือคำสั่งของจำเลย อันจะเป็นเหตุให้จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานได้
ข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางพิจารณาคำเบิกความของพยานรวบรัดเกินไป เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลางเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีการับวินิจฉัยให้ไม่ได้
การวินิจฉัยและพิพากษาคดีแรงงานนั้น มิได้มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจำต้องอ้างกฎหมายที่ยกขึ้นเป็นหลักในการวินิจฉัยและพิพากษาคดีอย่างชัดแจ้ง เมื่อศาลเห็นว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิตามที่เรียกร้องและขอให้ศาลบังคับเอาแก่จำเลยได้ไม่ว่าด้วยเหตุถูกละเมิด มีสิทธิตามสัญญา หรือกฎหมาย ศาลย่อมวินิจฉัยและพิพากษาให้จำเลยปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของโจทก์ได้ โดยเพียงแต่กล่าวว่าโจทก์มีสิทธิอย่างไรอันมีผลเป็นการผูกพันให้จำเลยต้องปฏิบัติตามที่โจทก์เรียกร้องเท่านั้น หาจำเป็นต้องอ้างตัวบทกฎหมายที่เป็นกำเนิดแห่งสิทธิของโจทก์ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินประกันของลูกจ้างที่ขาดงานเกิน 10 วันโดยไม่มีเหตุอันสมควร ถือเป็นค่าเสียหายต่อองค์กร
การที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันเกิน 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควร ถือได้ว่าโจทก์ทำความเสียหายให้แก่จำเลยอยู่ในตัว จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินประกันแทนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินประกันของลูกจ้างกรณีขาดงานเกิน 10 วันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือเป็นความเสียหายต่อองค์กร
การที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันเกิน 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรถือได้ว่าโจทก์ทำความเสียหายให้แก่จำเลยอยู่ในตัว จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินประกันแทนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดงานได้
of 4