พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเบี้ยประกันภัย และดอกเบี้ยเกินสิทธิในสัญญากู้
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ปี 2547 หลังจากฟ้องคดีแล้วนั้น เป็นการฟ้องขอให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยที่จำเลยยังไม่มีหนี้ที่ต้องชำระ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะได้ระบุจำนวนเบี้ยประกันภัยขอให้จำเลยชำระ ก็เป็นจำนวนที่โจทก์กำหนดขึ้นเองโดยยังมิได้มีการชำระแทนจำเลยไปจริง จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจบังคับให้ได้
ตามสัญญากู้เงินระบุว่า "ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี โดยยอมชำระนับแต่วันได้รับเงินกู้ไป? ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่ผู้ให้กู้จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดไว้ข้างต้นได้ตามที่เห็นสมควรเมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้า" ความในสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้ตลอดไป แต่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ตามหนังสือสัญญากู้ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญา การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเบี้ยปรับ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่โจทก์ต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราสูงขึ้นเกินกว่าร้อยละ 16 ต่อปี ตามที่ระบุในสัญญาไม่ได้
ศาลไม่มีหน้าที่ต้องคิดดอกเบี้ยและยอดเงินที่ถูกต้องให้โจทก์ เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เมื่อโจทก์มิได้คิดมา ศาลก็ชอบที่จะยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่
ตามสัญญากู้เงินระบุว่า "ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี โดยยอมชำระนับแต่วันได้รับเงินกู้ไป? ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่ผู้ให้กู้จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดไว้ข้างต้นได้ตามที่เห็นสมควรเมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้า" ความในสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้ตลอดไป แต่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ตามหนังสือสัญญากู้ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญา การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเบี้ยปรับ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่โจทก์ต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราสูงขึ้นเกินกว่าร้อยละ 16 ต่อปี ตามที่ระบุในสัญญาไม่ได้
ศาลไม่มีหน้าที่ต้องคิดดอกเบี้ยและยอดเงินที่ถูกต้องให้โจทก์ เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เมื่อโจทก์มิได้คิดมา ศาลก็ชอบที่จะยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1593/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีขับไล่: ปัญหาบริวารและการโต้แย้งกรรมสิทธิ์ที่ดิน
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยเป็นที่สุดว่าที่ดินเป็นของโจทก์และมีคำพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาท การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องว่าผู้ร้องมิใช่บริวารจำเลย แต่เป็นผู้มีอำนาจพิเศษที่จะอยู่ในที่ดินได้ เป็นปัญหาในชั้นบังคับคดีว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการบังคับวงศ์ญาติและบริวารจำเลยที่ถูกฟ้องขับไล่ ที่ดินพิพาทมีราคา 97,950 บาท และอาจให้เช่าได้เดือนละ 2,500 บาท โจทก์และจำเลยจึงห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นบริวารจำเลยและยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน ที่ผู้ร้องฎีกาว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องโดยซื้อที่ดินมาจากโจทก์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ฎีกาของผู้ร้องจึงต้องห้ามตามมาตรา 248 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาลิสซิ่งไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อ ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จำเลยฎีกาเกี่ยวกับค่าเสียหายเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ส่วนฎีกาในข้อกฎหมายที่ว่า หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ไม่ครบตามประมวลรัษฎากรฯ จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานไม่ได้นั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง แม้จะมีข้อตกลงให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่าเมื่อสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งสิ้นสุดลงแล้ว ก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่า ถ้าผู้เช่าไม่ใช้สิทธิก็ต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้เช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่ได้ตกเป็นของผู้เช่าทันทีจึงแตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อในสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ซึ่งหากผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งจึงเป็นสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรฯ มิได้กำหนดไว้ว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์
สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง แม้จะมีข้อตกลงให้ผู้เช่ามีสิทธิซื้อทรัพย์สินที่เช่าเมื่อสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งสิ้นสุดลงแล้ว ก็เป็นเพียงคำมั่นจะขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้เช่า ถ้าผู้เช่าไม่ใช้สิทธิก็ต้องคืนทรัพย์สินให้แก่ผู้ให้เช่า กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่ได้ตกเป็นของผู้เช่าทันทีจึงแตกต่างจากสัญญาเช่าซื้อในสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ซึ่งหากผู้เช่าชำระค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมตกเป็นของผู้เช่าซื้อทันที สัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่งจึงเป็นสัญญาเช่าสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามประมวลรัษฎากรฯ มิได้กำหนดไว้ว่าจะต้องปิดอากรแสตมป์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3879/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม, การอุทธรณ์นอกเหนือฟ้อง, ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงที่ไม่เคยยกขึ้น
ข้อเท็จจริงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยเพียงแต่ใช้กำลังทำร้ายเตะและต่อยผู้ตายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย ส่วนบาดแผลที่เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายมิได้เกิดจากการกระทำของจำเลย จึงมิใช่กรณีที่ผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ โจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุพการีของผู้ตายจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) โจทก์ร่วมไม่มีสิทธิอุทธรณ์ว่าจำเลยกระทำโดยทารุณโหดร้ายและให้ลงโทษจำเลยสถานหนัก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5147/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรอการลงโทษและการบำบัดยาเสพติด
ศาลจะกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยโดยให้ไปรับการบำบัดรักษาการติดยาเสพติดให้โทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56(4) ได้ ก็ต่อเมื่อศาลรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ซึ่งเป็นดุลพินิจในการลงโทษของศาล ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และการฎีกาข้อเท็จจริง
คดีนี้เป็นคดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง และข้อห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวต้องใช้บังคับแก่การฎีกาทั้งในประเด็นแห่งคดีตลอดจนในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นสาขาของคดีด้วย ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ซึ่งพอแปลได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และขอบเขตของข้อห้าม
ข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ต้องใช้บังคับแก่การฎีกาทั้งในประเด็นแห่งคดีตลอดจนในเรื่องอื่น ๆ อันเป็นสาขาของคดีด้วย ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิยื่นคำให้การภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ซึ่งพอแปลได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082-4083/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับข้อจำกัดในการอุทธรณ์ฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นที่ไม่ชอบ และประเด็นส่วนได้เสีย
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์สินกันต่อหน้าศาล แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ฮ. ทายาทผู้หนึ่งไม่ได้รับส่วนแบ่งเลย ในขณะที่ทายาทอื่นได้รับส่วนแบ่งกันทุกคนก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์, การยกประเด็นนอกคำให้การ, และค่าทนายความ
แม้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อรวมต้นเงินและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องสำหรับโจทก์ที่ 2 แล้วไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า หนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้งหรือไม่ ปัญหานี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟัง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 และถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้เงินจำนวนไม่เท่ากัน ค่าขึ้นศาลและค่าทนายความจึงต้องใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า หนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้งหรือไม่ ปัญหานี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟัง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 และถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้เงินจำนวนไม่เท่ากัน ค่าขึ้นศาลและค่าทนายความจึงต้องใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท แม้เป็นฎีกาคัดค้านการใช้ดุลพินิจ
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง แม้ฎีกาของจำเลยจะไม่ใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดี เป็นฎีกาคัดค้านเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 248 เช่นเดียวกัน