คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อพิพาท

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีอนุญาโตตุลาการ: ศาลต้องไต่สวนสัญญาเลิกสัญญาก่อนมีคำสั่ง
จำเลยที่ 2 ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าคดีนี้เป็นข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาเข้าร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 3 กันยายน 2535 สัญญาดังกล่าวข้อ 37 ได้ระบุให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ โจทก์คัดค้านว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอาศัยสิทธิตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 สัญญาดังกล่าวได้ยกเลิกข้อกำหนดเดิมเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการ ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 ว่า มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่ ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสามรับกันแต่เพียงว่า ประเด็นข้อพิพาทเฉพาะเรื่องค่าภาษีเท่านั้นที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการซึ่งโจทก์สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการแล้ว คดีมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอื่นอีกจึงมีความจำเป็นที่จะต้องไต่สวนให้ได้ความดังกล่าว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อนนั้น จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3993/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ: ผลของการแก้ไขสัญญาเดิมด้วยสัญญาใหม่
จำเลยที่ 2 ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีโดยอ้างว่าคดีนี้เป็นข้อพิพาทอันเกิดจากสัญญาเข้าร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 3 กันยายน 2535 สัญญาดังกล่าวข้อ 37 ได้ระบุให้มีการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ โจทก์คัดค้านว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามโดยอาศัยสิทธิตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 สัญญาดังกล่าวได้ยกเลิกข้อกำหนดเดิมเรื่องการตั้งอนุญาโตตุลาการ ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบถามคู่ความทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการเลิกสัญญาร่วมลงทุนในการเดินรถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กในเขตเมืองเพื่อบริการในเขตธุรกิจ ฉบับลงวันที่ 20พฤศจิกายน 2539 ว่า มีการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวหรือไม่ ทั้งโจทก์และจำเลยทั้งสามรับกันแต่เพียงว่า ประเด็นข้อพิพาทเฉพาะเรื่องค่าภาษีเท่านั้นที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการซึ่งโจทก์สมัครใจเข้าร่วมกระบวนการแล้ว คดีมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอื่นอีกจึงมีความจำเป็นที่จะต้องไต่สวนให้ได้ความดังกล่าว ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530มาตรา 10 โดยไม่ทำการไต่สวนก่อนนั้น จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2695/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากทุนทรัพย์ข้อพิพาทในชั้นฎีกาเกิน 200,000 บาท และประเด็นบางส่วนมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์
ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกามีเพียงค่าขาดประโยชน์รถยนต์ที่เช่าซื้อซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 กำหนดเพิ่มให้ แก่โจทก์เป็นเงิน 112,200 บาท เท่านั้น เมื่อไม่เกิน 200,000 บาท จึงห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1433/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทภาษีป้าย: การประเมินภาษีป้ายที่ไม่ถูกต้อง การขอคืนภาษี และข้อยกเว้นการยื่นคำร้องคืนภายในกำหนด
คำว่า "ป้าย" ตามพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ มาตรา 6 หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น แต่ป้ายที่มีข้อความว่า "กรมสรรพากรเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากมิเตอร์หัวจ่ายดีเซล ซูพรีม92ซูพรีม 97"เป็นป้ายที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจัดทำตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 54) ป้ายดังกล่าวจึงมิใช่ป้ายตามความหมายข้างต้น โจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายนี้
ส่วนป้ายที่มีข้อความว่า "ดีเซล" แม้จะเป็นชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่มีลักษณะทั่วไป แต่ก็ยังคงอยู่ในความหมายของคำว่า "ป้าย" เมื่อป้ายนี้อยู่ในอาคารที่ประกอบกิจการการค้าและมีขนาดพื้นที่ป้ายเกินกว่าหนึ่งตารางเมตร โจทก์จึงต้องเสียภาษีป้ายดังกล่าวแต่ป้าย "ดีเซลและซูพรีม 97" เป็นป้ายที่มีพื้นที่ไม่เกินหนึ่งตารางเมตร จึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีป้าย
สำหรับป้าย "เอสโซ่Essoและเครื่องหมายลูกศร" เป็นป้ายที่อยู่โครงป้ายเดียวกันและไม่สามารถแยกจากกันได้กับข้อความ "ยินดีรับบัตร SYNERGYESSO" เครื่องหมายลูกศรอยู่ใต้ข้อความดังกล่าว จึงเป็นชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าของโจทก์อันมีลักษณะเชิญชวนให้ลูกค้าที่เป็นสมาชิกบัตรดังกล่าวเข้าใช้บริการของโจทก์ซึ่งตรงตามคำนิยามของคำว่า "ป้าย" แล้ว เมื่อป้ายดังกล่าวมีขนาดพื้นที่เกินหนึ่งตารางเมตรโจทก์จึงต้องเสียภาษีป้ายดังกล่าว
ป้ายมีข้อความว่า "เอสโซ่ Esso รูปเสือ WelcometotigerMart ล้าง-อัดฉีดห้องน้ำสะอาด" เป็นป้ายประเภท 2 ที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและเครื่องหมายซึ่งอยู่ในโครงป้ายเดียวกันทั้งหมดไม่อาจแยกจากกันได้และมีขนาดพื้นที่เกินกว่าหนึ่งตารางเมตร โจทก์ต้องเสียภาษีป้ายในส่วนนี้ด้วย
การขอคืนค่าภาษีป้ายตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ ต้องเป็นการขอคืนต่อผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เสียภาษีป้าย และต้องเป็นกรณีที่ผู้เสียภาษีป้ายเสียภาษีไปโดยไม่มีหน้าที่หรือเสียเกินกว่าที่ควรต้องเสีย แต่การที่โจทก์เห็นว่าการประเมินภาษีป้ายไม่ถูกต้อง และยื่นอุทธรณ์การประเมินภาษีดังกล่าวตามมาตรา 30 โดยจำเลยทั้งสองวินิจฉัยยืนตามการแจ้งประเมิน โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนหรือแก้ไขการประเมินและคำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสองพร้อมทั้งขอคืนค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มที่ประเมินเกินไปคืนนั้น มิใช่กรณีตามพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ มาตรา 24 โจทก์จึงมีอำนาจขอค่าภาษีป้ายและเงินเพิ่มคืนจากจำเลยที่ 1 ได้แม้ว่าจะเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันเสียภาษีป้ายก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 958/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ: จำเป็นต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้องคดี ศาลต้องจำหน่ายคดีหากไม่ปฏิบัติตาม
โจทก์ฟ้องคดีโดยมิได้นำข้อโต้แย้งเสนอต่อสภาอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเพื่อตัดสินชี้ขาดก่อน เป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขของข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ จำเลยย่อมมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำสั่งตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การที่จำเลยยื่นคำให้การโต้แย้งว่าโจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องเนื่องจากไม่ได้เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก่อน ถือได้ว่าจำเลยประสงค์จะขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี ทั้งในวันชี้สองสถานศาลก็ได้สอบถามคู่ความเกี่ยวกับเรื่องข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ อันถือได้ว่าเป็นการไต่สวนแล้ว ศาลจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีได้
ที่จำเลยฟ้องแย้งก็สืบเนื่องมาจากโจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ทำให้เกิดความจำเป็นที่หากจำเลยจะฟ้องแย้งก็ต้องยื่นเข้ามาในคำให้การเพื่อรักษาสิทธิของจำเลยเสียก่อนเท่านั้น เพราะขณะยื่นคำให้การและฟ้องแย้งยังไม่แน่ว่าศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยได้สละเงื่อนไขตามข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ เมื่อโจทก์ไม่ได้ปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการก่อน ศาลจึงต้องมีคำสั่งจำหน่ายคดี ซึ่งมีผลให้ไม่มีคดีตามคำฟ้องของโจทก์ให้ต้องพิจารณาต่อไป ฟ้องแย้งของจำเลยจึงตกไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8391/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความบุกรุกที่ดินโดยสุจริต ไม่เป็นความผิดแจ้งความเท็จ แม้มีข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2539 ซึ่งแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ได้ความตามทางพิจารณาว่า จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกที่ดินของจำเลยเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 เวลากลางวัน แต่ตามทางพิจารณาจำเลยเบิกความรับว่า จำเลยได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกที่ดินพิพาทของจำเลย โดยมิได้นำสืบต่อสู้เกี่ยวกับวันเวลาที่จำเลยไปแจ้งความ กรณีที่ข้อแตกต่างเป็นเพียงรายละเอียด เช่น เกี่ยวกับเวลา มิให้ถือว่าต่างกันในข้อสาระสำคัญ และการที่โจทก์ฟ้องผิดไปนั้น มิได้เป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ ดังนั้นหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดจริงตามฟ้อง ศาลก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสาม
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ โดยแกล้งกล่าวข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาให้ผิดไปจากความจริง เมื่อโจทก์และจำเลยต่างเข้าใจว่าตนมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทการที่จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ในข้อหาบุกรุก เป็นกรณีที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนในทำนองเล่าเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งมีเหตุการณ์ทำให้จำเลยเข้าใจว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทตามพินัยกรรมของบิดา และโจทก์ได้บุกรุกเข้าไปทำนาในที่ดินของจำเลยโดยมิชอบด้วยกฎหมายนอกจากนี้เมื่อพนักงานสอบสวนปากคำจำเลย จำเลยก็ให้การรับว่าที่ดินของจำเลยดังกล่าวยังมีข้อพิพาทฟ้องร้องทางแพ่ง โต้เถียงกรรมสิทธิ์กันอยู่ระหว่างโจทก์กับจำเลย พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า จำเลยมิได้มีเจตนาแกล้งเอาความเท็จไปกล่าวหาโจทก์ส่วนฝ่ายใดจะมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่ากัน เป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยจะต้องไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งต่อไป การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมในคดีฟ้องร้องหนี้สิน เนื่องจากพยานที่เสนอไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อพิพาท
ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยมิได้มีส่วนใดเกี่ยวพันไปถึงงานในหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ถูกปิดกิจการและกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการของโจทก์ ในช่วงนี้หากจะมีการโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ให้แก่กองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กรณีดังกล่าวก็เป็นเพียงขั้นตอนและวิธีการในการเข้าควบคุมกิจการของโจทก์ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้มีธุรกรรมกับโจทก์โดยทั่วไป จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การต่อสู้คดีว่าตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมสามารถขอตรวจพิสูจน์ความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวได้อยู่แล้ว หามีความจำเป็นต้องขอหมายเรียกผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาเป็นพยานไม่
การทำสัญญาผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่สินเชื่อกับจำเลยทั้งสาม ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ได้นำเจ้าหน้าที่สินเชื่อผู้มีหน้าที่และรู้เห็นในการทำสัญญากับจำเลยทั้งสามมาเบิกความเป็นพยานแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมสามารถซักค้านได้อย่างเต็มที่ผู้จัดการเฉพาะกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน) เพิ่งได้รับแต่งตั้งหลังจากทางราชการได้เข้าควบคุมกิจการของโจทก์ และเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อ้างว่าจำเป็นต้องขอระบุพยานเพิ่มเติม เพราะศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ขอหมายเรียกผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาเป็นพยานนั้น ผู้จัดการเฉพาะกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน) และผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีอำนาจและบทบาทในแต่ละองค์กรแยกต่างหากจากกัน หน้าที่ของแต่ละคนคงมีอยู่เฉพาะในองค์กรที่ตนรับผิดชอบเท่านั้น กรณีดังกล่าวย่อมไม่สามารถนำคำเบิกความของแต่ละคนมาทดแทนกันได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ระบุพยานเพิ่มเติมชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 530/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่จำเป็น: เช็คพิพาทชำระหนี้แล้ว ไม่ก่อให้เกิดข้อพิพาทใหม่
ปัญหาตามที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องแย้งของจำเลยเกี่ยวกับฟ้องเดิมเพราะเป็นมูลหนี้ที่เกิดจากการเป็นหนี้กันตามเช็คพิพาทและโจทก์ต้องคืนเช็คให้จำเลยนั้นศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยไว้ครบถ้วนชัดแจ้งแล้วว่า หากทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้โจทก์แล้ว เช็คพิพาทไม่มีผลบังคับให้จำเลยต้องชำระเงินตามเช็คอีกจึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่จำเป็น ดังนั้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยจึงเป็น ปัญหาอันไม่ควรได้รับการวินิจฉัยจากศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและการยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้อง กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับหนี้ค่าสินค้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระเงิน 5,575,551.53 บาทจากโจทก์ โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์ยังเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าอยู่แก่จำเลย 5,575,551.53 บาท แต่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ 6,565,377.55 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่แตกต่างกันมากจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิสูจน์ยอดหนี้ จึงเป็นกรณีที่มีปัญหาโต้แย้งกันอยู่ว่าโจทก์ยังติดค้างหนี้อยู่แก่จำเลยจำนวนเท่าใด แต่ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเพียงทำให้การชำระหนี้ของโจทก์ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิได้แน่นอนว่าจะชำระหนี้เป็นจำนวนใด อันทำให้โจทก์สามารถใช้สิทธิวางทรัพย์ด้วยการชำระหนี้ตามจำนวนที่โจทก์เห็นว่าถูกต้องณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งหากเป็นจำนวนที่ถูกต้องโจทก์ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 331เมื่อโจทก์มีทางเลือกที่จะปฏิบัติได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การตรวจคำฟ้องศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่าให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ ตามมาตรา 151

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 291/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาเงินกู้และตั๋วสัญญาใช้เงิน การผิดสัญญาและดอกเบี้ยทบต้น
++ เรื่อง ยืม ค้ำประกัน จำนอง ตั๋วเงิน ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
จำเลยเป็นลูกหนี้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมเงิน ยังมิได้ชำระหนี้การที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกันให้แปลงหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวนหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินจึงเป็นหนี้ใหม่ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในสัญญาขายลดและในตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ไม่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย
of 49