คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อยกเว้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องคดีแรงงานต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน หากเลยกำหนดและไม่เข้าข้อยกเว้น ศาลไม่อนุญาต
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้อง จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 มาบังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 แต่ในคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วันเว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามบทบัญญัติข้างต้น ปรากฏว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิของตนอันจะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชยค่าจ้างค้างจ่าย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้ว โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังจากที่จำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082-4083/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งที่ดิน: การอุทธรณ์ต้องเป็นไปตามข้อยกเว้นตามกฎหมาย และต้องมีส่วนได้เสียโดยตรง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า การแบ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุแต่เพียงจำนวนเนื้อที่ที่แบ่งให้แก่โจทก์และบุคคลอื่นเป็นการแบ่งอย่างเลื่อนลอยไม่ชัดเจน ไม่อาจทราบได้ว่าที่ดินที่ได้รับแบ่งตั้งอยู่ส่วนใด มีอาณาเขตอย่างไร ผู้ได้รับส่วนแบ่งไม่สามารถแบ่งแยกที่ดินกันได้ถูกต้อง จึงไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ ขอให้ศาลฎีกาส่งเรื่องคืนให้ศาลชั้นต้นทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งแยกที่ดินกันให้มีอาณาเขตแน่นอนว่าส่วนใดเป็นของใครบ้างนั้น ไม่เข้าเหตุหนึ่งเหตุใด ตามข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคสอง ซึ่งโจทก์จะมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาได้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบและโจทก์ไม่อาจจะฎีกาต่อมาได้ตามมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ข้อตกลงแบ่งที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความหากจะทำให้ ฮ. ไม่ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมรดกเลยหรือไม่ก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่ ฮ. จะไปว่ากล่าวเอง โจทก์ไม่มีส่วนได้เสียจากการได้หรือไม่ได้รับมรดกของ ฮ. จึงไม่มีข้ออ้างเป็นเหตุแห่งส่วนได้เสียอันจะอุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ได้ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยในปัญหานี้จึงเป็นการไม่ชอบและโจทก์ไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีป้ายสำหรับโรงเรียนเอกชน ป้ายต้องแสดงชื่อโรงเรียนเป็นอักษรไทยตามกฎหมายเฉพาะ
ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชนฯ มาตรา 46 ป้ายของโรงเรียนเอกชนหมายถึงป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยเท่านั้น เมื่อป้ายพิพาทมิใช่ป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทย จึงมิใช่ป้ายโรงเรียนเอกชนที่จะได้รับยกเว้นภาษีป้ายตามพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ มาตรา 8(9) จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของป้ายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้ายฯ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3855/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีป้ายโรงเรียนเอกชนต้องเป็นป้ายแสดงชื่อโรงเรียนเป็นอักษรไทยตามกฎหมายเฉพาะ
มาตรา 8(9) แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 บัญญัติยกเว้นภาษีป้ายสำหรับป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน การที่จะพิจารณาว่าป้ายใดจะถือเป็นป้ายโรงเรียนเอกชนหรือไม่ จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2525 ซึ่งมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติว่า "ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีป้ายแสดงชื่อโรงเรียนเป็นอักษรไทย ขนาดใหญ่พอเห็นได้ในระยะอันสมควรติดไว้ที่โรงเรียนหรือบริเวณโรงเรียน ณ ที่ซึ่งเห็นได้ง่าย" ดังนั้นป้ายของโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนจึงหมายความถึงป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยตามบทบังคับของมาตรา 46 เท่านั้น ป้ายพิพาทมิใช่ป้ายแสดงชื่อโรงเรียนที่เป็นอักษรไทยตามบทกฎหมายดังกล่าว จึงมิใช่ป้ายของโรงเรียนเอกชนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8(9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2541/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการบังคับคดี: ลูกจ้างการรถไฟฯ ไม่ใช่ลูกจ้างรัฐบาล เงินบำนาญตกเป็นสินทรัพย์บังคับได้
ป.วิ.พ. มาตรา 286 เป็นข้อยกเว้นความรับผิดแห่งการบังคับคดีจะต้องตีความโดยเคร่งครัด การที่การรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งก่อตั้งเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ได้แยกออกจากรัฐบาลเป็นเอกเทศต่างหาก เมื่อจำเลยเป็นลูกจ้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีอำนาจแต่งตั้ง ถอดถอน เลื่อนหรือลดขั้นเงินเดือน และรับรายได้เป็นเดือนจากงบประมาณของการรถไฟแห่งประเทศไทย มิใช่จากเงินจัดสรรงบประมาณเหมือนข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาล จำเลยจึงหาใช่ลูกจ้างของรัฐบาลตามความหมายของป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) ไม่ เมื่อจำเลยมิใช่ลูกจ้างของรัฐบาล สิทธิเรียกร้องในเงินสงเคราะห์รายเดือน (บำนาญ) ของจำเลยที่มีอยู่ต่อการรถไฟแห่งประเทศไทยผู้เป็นนายจ้าง จึงตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามป.วิ.พ. มาตรา 286 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8540/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ยานพาหนะมูลค่าสูง ไม่เข้าข้อยกเว้นโทษตามมาตรา 334
รถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมีราคาถึง 38,000 บาท จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่มีราคาเล็กน้อย ทั้งการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 จะลงโทษตามมาตรา 334 ได้นั้น ต้องปรากฏว่าเป็นการกระทำโดยความจำใจหรือความยากจนเหลือทนทานอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8099/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องหลังสืบพยานฝ่ายจำเลย: ศาลไม่อนุญาตหากเหตุผลไม่สมควรหรือไม่เข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องขอเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงินตามฟ้อง อ้างว่าโจทก์หลงลืมและโจทก์เพิ่งทราบในภายหลังว่าตามกฎหมายสามารถเรียกร้องดอกเบี้ยได้ หลังจากที่ศาลแรงงาน สืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายที่นำพยานเข้าสืบก่อนเสร็จสิ้นแล้ว แต่เหตุที่โจทก์อ้างก็ไม่ปรากฏว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่อาจรู้หรือไม่อาจยื่นคำร้องได้ก่อนนั้น หรือเป็นการขอแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่เข้ากรณีที่โจทก์จะขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของโรงแรมต่อการสูญหายของรถยนต์ที่จอดในลานจอดรถ และข้อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมาย
จำเลยจัดให้ผู้มาพักโรงแรมของจำเลยได้จอดรถในลานจอดรถ น. ซึ่งขับรถมาส่งแขกเข้าพักโรงแรมของจำเลยจึงมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะนำรถยนต์เข้าไปจอดภายในบริเวณลานจอดรถดังกล่าวซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ส่วนการที่จำเลยปิดประกาศไม่รับผิดชอบหากเกิดการสูญหายของทรัพย์สินก็ไม่ปรากฏว่า น. ได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดตามประกาศดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นความรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 677
น. ได้ปิดล็อกประตูรถยนต์ทุกบานแล้วเพราะเป็นระบบเซ็นทรัลล็อก ซึ่งย่อมถือได้ว่า น. มิได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์สูญหาย กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นความรับผิด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 675 วรรคสาม
ความรับผิดของเจ้าสำนักในทรัพย์สินของคนเดินทางที่สูญหายจำกัดไว้เพียงห้าร้อยบาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 675 วรรคสอง หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตร ตั๋วเงิน พันธบัตร ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ ประทวนสินค้า อัญมณีหรือของมีค่าอื่น ๆ รถยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่ว ๆ ไป แม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่ามีลักษณะเป็นของมีค่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 675 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7790/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของโรงแรมต่อการสูญหายของรถยนต์ในลานจอดรถ และข้อยกเว้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ลานจอดรถเป็นของจำเลยจัดให้ผู้มาพักโรงแรมของจำเลยได้จอดรถ น. ซึ่งเป็นคนเดินทางจึงมีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะนำรถยนต์เข้าไปจอดภายในบริเวณลานจอดรถดังกล่าวซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ส่วนที่จำเลยปิดประกาศไม่รับผิดชอบหากเกิดการสูญหายของทรัพย์สิน ก็ไม่ปรากฏว่า น. ได้ตกลงด้วยโดยชัดแจ้งในการยกเว้นความรับผิดตามประกาศดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 677 และในการจอดรถน. ได้ปิดล็อกประตูรถทุกบานแล้วเพราะเป็นระบบเซ็นทรัลล็อก ย่อมถือได้ว่า น. มิได้ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้รถยนต์สูญหาย กรณีไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นความรับผิดตามมาตรา 675 วรรคสาม
รถยนต์เป็นเพียงทรัพย์สินธรรมดาทั่ว ๆ ไป เท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ตาม ยังถือไม่ได้ว่ามีลักษณะเป็นของมีค่าตามมาตรา 675 วรรคสอง น. ไม่จำต้องแจ้งฝากรถยนต์ไว้ต่อจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: การคุ้มครองบุคคลภายนอกและข้อยกเว้นความรับผิดกรณีอู่
โจทก์ทั้งสองบรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 มอบหมายให้ ช.ขับรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 1 ที่เอาประกันภัยไว้ต่อจำเลย ช. ขับไปชนรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 2 จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์ที่ 1 ผู้เอาประกันภัยและโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดยโจทก์ทั้งสองได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายฟ้องซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำฟ้อง ซึ่งระบุว่าจำเลยจะใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 ต้องรับผิดตามกฎหมายเพื่อความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ที่ 1 สภาพแห่งข้อหาในกรณีของโจทก์ที่ 2 คือ จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัยที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในนามของโจทก์ที่ 1 โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ช. ขับรถยนต์กระบะที่โจทก์ที่ 1 ประกันภัยไว้ต่อจำเลยชนรถยนต์กระบะของโจทก์ที่ 2 เสียหายและมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระค่าซ่อมแซมแก่โจทก์ที่ 2 คำฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ร่วมกันฟ้องจำเลยให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสองตามกรมธรรม์ประกันภัยที่โจทก์ที่ 1 ทำไว้ต่อจำเลย โจทก์ทั้งสองจึงมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี กระบวนพิจารณาซึ่งทำโดยโจทก์ที่ 1 ถือว่าได้ทำโดยโจทก์ที่ 2 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1)
คำว่า "อู่" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายว่า "ที่ที่ต่อหรือซ่อมรถหรือเรือ" การที่โจทก์ที่ 1 นำรถยนต์กระบะของตนไปทำการเคลือบสีและพ่นกันสนิมจึงหาเป็นการนำไปให้ซ่อมไม่
of 41