พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2776/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การยึดทรัพย์สินลูกหนี้ และข้อสันนิษฐานเรื่องหนี้สินล้นพ้นตัว
การที่จำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี และจำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้นั้นเข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 8(5) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวที่จำเลยนำสืบว่า ปัจจุบันห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งจำเลยค้ำประกันหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ยังประกอบกิจการค้ามีทรัพย์สินมูลค่าประมาณ 40,000,000บาท มาเป็นเหตุผลประกอบพยานหลักฐานอื่นของจำเลยว่าจำเลยอยู่ในฐานะที่สามารถขวนขวายและมีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายก็ตาม แต่ที่จำเลยอยู่ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. นั้น โจทก์ก็มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดแก่โจทก์โดยสิ้นเชิงโดยไม่ต้องคำนึงว่าหากลูกหนี้ร่วมคนอื่นชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยจะสามารถชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งหมดหรือไม่ เพราะการพิจารณาว่าลูกหนี้ร่วมคนใดมีหนี้สินล้นพ้นตัวไม่สามารถชำระหนี้ได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเฉพาะตัวของลูกหนี้ร่วมแต่ละคน จึงต้องพิจารณาเฉพาะตัวลูกหนี้ร่วมผู้นั้นว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกหนี้ร่วมคนอื่นดังนั้น แม้โจทก์จะไม่ใช้สิทธิบังคับเอาแก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ก็มิได้เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใด จึงนำมาเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายหาได้ไม่เมื่อจำเลยได้รับเงินเดือนจากบริษัท 3 แห่ง แห่งละ 6,000 บาท แต่เงินเดือนดังกล่าวก็นำมาเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวของจำเลยเดือนละ 3,000 บาท ส่วนที่เหลือให้แก่ภริยาและบุตร จึงไม่มีเงินเดือนเหลือชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ ศาลชอบที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีล้มละลายต้องพิจารณาฐานะหนี้สินที่แท้จริงของผู้ล้มละลาย ไม่เพียงแค่ข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4)ข และ (5) เป็นแต่เพียงเหตุบางประการที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายตามฟ้องของโจทก์นั้นมาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่า จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงเพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้น ย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องคดีนี้รวมเป็นเงิน 174,733.68 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย แต่ก็ปรากฏว่ามูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลในทางแพ่งนั้นเป็นมูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนปี 2519 ซึ่งมียอดหนี้ที่จำเลยกับพวกรวม4 คน จะต้องรับผิดเพียง 46,262.43 บาท เท่านั้นแต่โจทก์ก็ไม่ขวยขวายดำเนินการฟ้อง จำเลยกับพวกคงปล่อยปละละเลยนานเกือบ 10 ปี จึงได้มีการฟ้องให้จำเลยรับผิด เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยกับพวกชำระหนี้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม2529 โจทก์ก็มิได้ดำเนินการสืบหาเพื่อยึดทรัพย์ของจำเลยกับพวกแต่อย่างใด รอจนกระทั่งปี 2538 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลายพฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดมีการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2529 ทำให้รวมทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง 174,733.68 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยอื่น มิได้กระทำต่อจำเลยนี้โดยตรง ผู้ที่ทำรายงานผลการสืบหาทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์ก็มิได้นำตัวมาสืบสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่า ไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดอันถือได้ว่าจำเลยตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดจึงยังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่โจทก์ฟ้อง ดังนี้ศาลต้องยกฟ้องตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1149/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลอื่นประกอบข้อสันนิษฐานเรื่องทรัพย์สิน เพื่อยืนยันฐานะหนี้สินล้นพ้นตัว
ข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา8(5)ที่ว่าลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้เป็นแต่เพียงเหตุที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้นส่วนการพิจารณาคดีล้มละลายมาตรา14ในศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9หรือมาตรา10และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดล้มละลายก็ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียวแต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นมาประกอบที่พอแสดงให้เห็นได้ว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้นย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรงจึงต้องเป็นไปโดยมีเหตุผลสมควรจริงไม่ใช่ให้ใช้กฎหมายล้มละลายเป็นเครื่องมือบีบคั้นลูกหนี้เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์74,826.66บาทซึ่งเป็นจำนวนไม่มากนักลำพังแต่ทางนำสืบของโจทก์ซึ่งได้ความว่าได้สืบหาทรัพย์สินของจำเลยแล้วไม่ปรากฎว่าจำเลยมีทรัพย์สินใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้อันเป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายเพียงอย่างเดียวโดยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงอื่นมาสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่าตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดรูปคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ข้อสันนิษฐานตาม น.ส.3 และภาระการพิสูจน์ของผู้ครอบครอง
การที่โจทก์มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีรายชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองจำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยซื้อที่ดินมาจากถ. เจ้าของที่ดินเดิมและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาจำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความจริงว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ แม้มีข้อสันนิษฐานตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติญญัติล้มละลายฯมาตรา14ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา9หรือมาตรา10เมื่อปรากฎข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่1เป็นหนี้โจทก์เพียง84,568.29บาทและยังประกอบกิจการมีรายได้อีกทั้งไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1เป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีกจำเลยที่1จึงอยู่ในฐานะที่สามารถชำระหนี้ให้โจทก์ได้ดังนั้นลำพังแต่ทางนำสืบของโจทก์ซึ่งได้ความตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยที่1ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากโจทก์แล้วรวม2ครั้งและจำเลยที่1เปลี่ยนชื่อสกุลย้ายที่อยู่โดยไม่ปรากฎข้อเท็จจริงอื่นสนับสนุนแสดงให้เห็นถึงฐานะของจำเลยที่1ว่าตกอยู่ในสภาพมีหนี้สินล้นพ้นตัวอย่างใดรูปคดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่1เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวพระราชบัญญัติญญัติล้มละลายฯเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้ศาลมีหน้าที่พิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่การที่จำเลยที่1เสนอพยานเอกสารต่อศาลเพื่อให้ปรากฎความจริงดังกล่าวแม้ไม่ได้ส่งสำเนาให้แก่โจทก์ก่อนสืบพยานตามกฎหมายก็ไม่เป็นการตัดรอนศาลมิให้รับฟังพยานหลักฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การหักล้างข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวด้วยทรัพย์สินที่มีอยู่
พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้แต่เพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาและพฤติการณ์ของจำเลยทั้งสามเข้าข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา8ว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้นปัญหาว่าความจริงจำเลยทั้งสามมีทรัพย์สินพอชำระหนี้ได้หรือไม่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่อาจนำสืบหักล้างประโยชน์ที่โจทก์ได้รับจากข้อสันนิษฐานแห่งกฎหมายได้พยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบปรากฎชัดว่าจำเลยที่2และที่3มีทรัพย์สินคือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่บริษัทไทยประเมินราคา จำกัดได้ประเมินราคาไว้สูงถึง36,775,820บาทแม้จะเป็นการประเมินราคาของเอกชนแต่ก็เป็นการประเมินเพื่อประโยชน์ในการขอกู้เงินจากธนาคารและต่อมาธนาคารได้รับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้ในวงเงิน13,000,000บาทแสดงถึงความเชื่อถือของธนาคารและจำเลยที่2และที่3มีหนังสือสัญญาขายที่ดินนำสืบว่ามีราคาเกือบ2,000,000บาทแม้หนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นสำเนาเอกสารแต่ก็รับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ว่าเป็นภาพถ่ายจากเอกสารต้นฉบับที่ถูกต้องแล้วจึงรับฟังได้ข้อนำสืบของจำเลยที่2และที่3มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายได้ส่วนจำเลยที่1แม้ไม่ปรากฎว่ามีทรัพย์สินที่โจทก์จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้แต่เมื่อหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์เป็นหนี้ร่วมที่จำเลยทั้งสามต้องรับผิดต่อโจทก์และจำเลยที่2และที่3มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้แก่โจทก์ได้คดีมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่1ล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3565/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3ก. และข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1373
ที่พิพาทซึ่งจำเลยครอบครองอยู่เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินตามน.ส.3ก.ที่โจทก์มีชื่อเป็นผู้มีสิทธิครอบครองต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373ว่าโจทก์ซึ่งมีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ข้อสันนิษฐานตามบทบัญญัติดังกล่าวรวมถึงที่ดินที่มีน.ส.3หรือน.ส.3ก.ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2139/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: ข้อสันนิษฐานตามทะเบียนที่ดินและการหักล้างข้อสันนิษฐาน
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373มีความหมายว่าบุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ฝ่ายที่อ้างว่ามิได้เป็นเช่นนี้จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน คู่ความมีสิทธิพิสูจน์ส่วนแบ่งที่แตกต่างได้
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ที่ว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดคู่ความมีสิทธิที่จะนำสืบให้รับฟังเป็นอย่างอื่นและสามารถนำพยานบุคคลมานำสืบหักล้างพยานเอกสารสัญญาจำนองและสัญญาซื้อขายที่ดินที่แสดงการเป็นเจ้าของรวมนั้นได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7001/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: การไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(5) ได้แบ่งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็น 2 กรณีคือ ลูกหนี้ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี และลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ เพียงกรณีใดกรณีหนึ่งก็เข้าข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว การที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลยทั้งสามแล้ว แต่จำเลยทั้งสามไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดพึงยึดมาชำระหนี้โจทก์ได้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามนำพยานหลักฐานเข้ามาสืบว่าจำเลยทั้งสามมีทรัพย์สินดังกล่าวเพียงพอแก่การชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ จึงไม่อาจหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้