คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อเท็จจริง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,082 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5118/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ล่าช้าเกิน 8 วัน นับแต่ทราบข้อเท็จจริง
คำร้องของผู้ร้องที่กล่าวอ้างว่าการส่งหมายนัดไต่สวนคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างพฤติการณ์การไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่ว่าด้วยการส่งคำคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ซึ่งผู้ร้องชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวได้ แม้เป็นระยะเวลาภายหลังจากศาลมีคำสั่งแล้ว แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่ผู้ร้องได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น แต่ตามคำร้องของผู้ร้องยอมรับว่า ได้ทราบว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 การที่ผู้ร้องเพิ่งมายื่นคำร้องเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 เกินกว่า 8 วัน จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248: การยกข้อเท็จจริงใหม่เพื่อวินิจฉัยอายุความ ถือเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยซื้อสินค้าจากโจทก์ไปใช้ในกิจการของจำเลย มีอายุความ 5 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 ตอนท้ายฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจการค้าหรือประกอบธุรกิจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ ที่โจทก์ขายแบตเตอรี่แก่จำเลย สินค้าเป็นประเภทใช้แล้วสิ้นเปลืองหมดไปและสามารถส่งให้แก่จำเลยได้เป็นคราว ๆ ไปไม่เกี่ยวข้องกันโดยในใบส่งของโจทก์ได้กำหนดเวลาชำระหนี้ 90 วัน นับแต่วันส่งสินค้า จึงมีอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนต้น เป็นฎีกาที่ยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่นอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่าสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีกำหนดอายุความ 2 ปี หรือ 5 ปี จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์สัญญาณโทรศัพท์: ศาลวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงและนิยามจากแหล่งอ้างอิงที่วิญญูชนทั่วไปทราบได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยพยานหลักฐานของโจทก์แล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยใช้โทรศัพท์ซึ่งมีสายไฟสองสายต่อพ่วงเข้ากับโทรศัพท์ในตู้โทรศัพท์สาธารณะของผู้เสียหายแล้วโทรศัพท์ออกไป หลังจากนั้นศาลจึงนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยความหมายของคำว่า "โทรศัพท์" ตามที่สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เล่ม 7 ให้ความหมายไว้ว่า โทรศัพท์เป็นวิธีแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วส่งกระแสไฟฟ้านั้นไปในลวดไปเข้าเครื่องรับปลายทาง ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลับเป็นเสียงพูดอีกครั้งหนึ่ง สัญญาณโทรศัพท์จึงเป็นกระแสไฟฟ้าที่แปลงมาจากเสียงพูดเคลื่อนที่ไปตามสายลวดตัวนำจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งแล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยลอบใช้สัญญาณโทรศัพท์ของผู้เสียหายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ การวินิจฉัยของศาลจึงเป็นการสืบค้นจากหนังสืออ้างอิงที่วิญญูชนทั่วไปก็สามารถทราบได้เมื่อเปิดดูจากหนังสือดังกล่าว โดยอาศัยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปที่ศาลสามารถวินิจฉัยได้เอง กรณีมิใช่เป็นการรับฟังและวินิจฉัยข้อเท็จจริงนอกสำนวน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องโดยปริยายจากการแถลงยอมรับข้อเท็จจริงและขอเลื่อนนัดเพื่อเจรจา
จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ไว้ 4 ประเด็นคือ ข้อ 1. เรื่องอำนาจฟ้อง ข้อ 2. จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีให้แก่โจทก์จำนวนเท่าใด ข้อ 3. ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ และข้อ 4. การบอกกล่าวบังคับจำนองของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งทนายจำเลยทั้งสองได้แถลงสละประเด็นในข้อ 4. ต่อมาคู่ความแถลงรับข้อเท็จจริงร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วันที่จำเลยที่ 1 ผ่อนชำระหนี้ครั้งสุดท้ายและถอนเงินครั้งสุดท้าย กับจำนวนต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระขณะนั้น แล้วจำเลยที่ 1 แถลงไม่ติดใจประเด็นเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุม ทนายโจทก์ไม่ติดใจสืบพยานบุคคลเพียงขออ้างส่งพยานเอกสาร ส่วนทนายจำเลยทั้งสองก็ไม่ติดใจสืบพยาน นอกจากนี้คู่ความยังแถลงขอให้ศาลชั้นต้นกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษาให้เนิ่นนานออกไป เพื่อขอเวลาในการเจรจากันอีกครั้งเนื่องจากคดีอาจมีทางตกลงกันได้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยทั้งสองสละประเด็นในเรื่องอำนาจฟ้องด้วยโดยปริยาย จึงคงเหลือแต่เพียงประเด็นข้อ 2. ที่ว่า จำเลยที่ 1 จะต้องชำระหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีให้แก่โจทก์จำนวนเท่าใด ซึ่งคู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยตามพยานเอกสารที่โจทก์อ้างส่งและตามข้อเท็จจริงที่คู่ความแถลงรับ ศาลจึงไม่ต้องวินิจฉัยในเรื่องอำนาจฟ้องอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4854/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีพิพาททรัพย์สิน: ทุนทรัพย์และปัญหาข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสอง จำเลยทั้งสองให้การว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์ทั้งสอง แต่เป็นที่สาธารณประโยชน์โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้ใหญ่บ้านได้รับมอบอำนาจจากองค์การบริหารส่วนตำบลให้ร้องทุกข์ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองในข้อหาบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์ และโต้แย้งคัดค้านการที่โจทก์ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้เป็นการพิพาทกันในตัวทรัพย์คือที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือเป็นที่สาธารณประโยชน์ จึงเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้
โจทก์ระบุไว้ในคำฟ้องว่า ที่ดินที่พิพาทมีราคาไม่น้อยกว่า 100,000 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษากลับให้โจทก์ชนะคดี จำเลยทั้งสองฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ทุนทรัพย์แห่งคดีในชั้นฎีกาจึงมีจำนวน 100,000 บาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4825/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยความผิดเดิมที่ศาลชั้นต้นยกฟ้อง และฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมาย
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ไม่อุทธรณ์ ความผิดฐานดังกล่าว จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่มีอำนาจยกความผิดฐานดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยกความผิดฐานดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยแล้วพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานดังกล่าวด้วยแม้จะไม่ได้กำหนดโทษ ก็เป็นการไม่ชอบ ส่วนความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลย จำคุก 4 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้เป็นคนร้ายคดีนี้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานพาอาวุธปืน เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 465/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้าม และการนำสืบพยานบุคคลเพื่อยืนยันตัวบุคคลผู้ทำสัญญา
ฎีกาของจำเลยที่ว่า ข้อเท็จจริงจากการสืบพยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่อาจรับฟังได้เป็นยุติว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน จึงเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยซึ่งต้องตีความและวินิจฉัยไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 นั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญากู้เงิน ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยอ้าง ผลเท่ากับเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248
การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้เงินเป็นลายมือชื่อของจำเลย แม้ชื่อตามลายมือนั้นจะไม่ตรงกับชื่อที่ถูกต้องแท้จริงของจำเลย แต่เป็นการนำสืบถึงตัวบุคคลผู้ทำสัญญาว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้กู้ตามที่ปรากฏในสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้กู้เงินไปจากโจทก์และทำสัญญากู้เงินให้โจทก์ไว้ตามที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้อง การนำสืบของโจทก์มิได้มีผลกระทบถึงข้อความหรือข้อตกลงในสัญญากู้เงิน จึงมิใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันจะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อุทธรณ์เรื่องอายุเยาวชนขัดคำให้การเดิม และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า ขณะกระทำความผิดตนมีอายุเพียง 16 ปีเศษ ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 โอนคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ไปยังแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเพื่อพิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 15 และลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่งตาม ป.อ.มาตรา 75 เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ซึ่งขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 และมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 การที่จำเลยที่ 2 ยังคงยกปัญหาข้อเดียวกันนั้นขึ้นฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้วินิจฉัยปัญหานั้น จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4033/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อหาพาอาวุธและประเด็นข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถรับฟังได้ในคดีทำร้ายร่างกาย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันควร ตาม ป.อ. มาตรา 371 ลงโทษปรับ 100 บาท ความผิดฐานนี้จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ (4) จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าไม่ได้ร่วมกระทำความผิด ขอให้พิพากษายกฟ้อง จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาดังกล่าว ต้องห้ามตามบทกฎหมายข้างต้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกข้อหานี้ขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริง เหตุทุนทรัพย์เกินและข้อพิพาทเป็นเรื่องสัญญาหมั้นสินสอด
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนของหมั้นสร้อยคอทองคำหนัก 5 บาท ราคา 32,500 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสอง และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันหรือแทนกันคืนเงินสินสอดจำนวน 130,000 บาท แก่โจทก์ทั้งสอง หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนแก่โจทก์ทั้งสอง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงมีเพียง 32,500 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ปัญหาในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาหมั้น เนื่องจากจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนาที่จะจดทะเบียนสมรสกันนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ในปัญหานี้ให้เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกาในปัญหาดังกล่าว
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 4 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรับฟังว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นฝ่ายผิดสัญญา ต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่โจทก์รวมเป็นเงิน 162,500 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 และที่ 3 โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลล่างทั้งสอง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
of 309