พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำบัญชีทรัพย์มรดกต่อหน้าพยาน: การไม่ลงชื่อรับรองเนื่องจากข้อเรียกร้องอื่นไม่กระทบความสมบูรณ์ของบัญชี
ผู้จัดการมรดกได้จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกเสนอให้ผู้ร้องและผู้ร้องสอด ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกตรวจดูแล้ว แต่ผู้ร้องและผู้ร้องสอดไม่ยอมลงชื่อรับรอง เนื่องจากผู้จัดการมรดกไม่ยอมลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ผู้ร้องและผู้ร้องสอดเสนอไป ถือได้ว่าการทำบัญชีทรัพย์มรดกดังกล่าวเป็นการทำบัญชีต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1729 วรรคสอง แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจรจาต่อรองของสหภาพแรงงาน: มติอนุมัติข้อเรียกร้องครอบคลุมการทำข้อตกลงสภาพการจ้าง
เมื่อข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานและรายชื่อผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาได้กระทำขึ้นโดยได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกของสหภาพแรงงานแล้ว ผู้แทนลูกจ้างในการเจรจาดังกล่าวย่อมมีอำนาจบริบูรณ์ในการเจรจาและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับนายจ้างได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่นั้นอีก มติของที่ประชุมใหญ่เช่นนี้ย่อมมีผลเป็นการอนุมัติให้สหภาพแรงงานรับข้อเรียกร้องและทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดจากการแจ้งข้อเรียกร้องนั้นได้ด้วย ดังนั้น เมื่อต่อมาผู้แทนลูกจ้างได้เจรจาตกลงกับนายจ้าง และมีการทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันขึ้น กรณีย่อมถือได้ว่าผู้แทนลูกจ้างได้กระทำภายในขอบเขตอำนาจที่ได้รับอนุมัติจากมติของที่ประชุมใหญ่นั้นแล้วหาจำเป็นจะต้องได้รับอนุมัติเป็นการเฉพาะอีกไม่ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำขึ้นดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับได้ ไม่ตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 103(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 552/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันระงับข้อเรียกร้องทั้งหมด
โจทก์ฟ้องและจำเลยฟ้องแย้งเรียกร้องให้อีกฝ่ายหนึ่งชำระเงินแก่ตน ครั้นถึงวันนัดสืบพยาน คู่ความยอมตกลงกันตามที่ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ย ศาลแรงงานกลางจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความและได้มีคำพิพากษาตามยอม ในวันนั้นตามข้อ 2 แห่งสัญญาประนีประนอมยอมความได้ระบุไว้ว่า โจทก์จำเลยต่างไม่ติดใจเรียกร้องอื่นใดกันอีก ซึ่งหมายความว่า จำเลยได้สละข้อเรียกร้องของตนตามฟ้องแย้งแล้ว ถือว่าข้อเรียกร้องตามฟ้องแย้งของจำเลยได้ระงับสิ้นไปด้วยผลของสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 และคำพิพากษาตามยอมของศาลแรงงานกลาง ได้พิพากษารวมถึงข้อเรียกร้องตามฟ้องแย้งของจำเลยด้วยแล้ว ศาลแรงงานกลางจึงไม่จำต้องมีคำพิพากษาหรือคำสั่งในส่วนที่เกี่ยวกับฟ้องแย้งของจำเลยอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพการจ้างอาจเกิดได้โดยปริยาย แม้ไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ หากลูกจ้างยอมรับโดยไม่มีการโต้แย้ง
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอันเป็นส่วนหนึ่งของของสัญญาจ้างแรงงานนั้นนอกจากจะเกิดขึ้นได้โดยการตกลงกันโดยชัดแจ้งจากการแจ้งข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518มาตรา 13 แล้ว ยังอาจเกิดขึ้นได้โดยปริยายอีกด้วย เมื่อธนาคารนายจ้างออกข้อบังคับเกี่ยวกับเงินเดือนและการแต่งตั้งพนักงานใช้บังคับอยู่แล้วและภายหลังลูกจ้างผู้นั้นเข้ามาเป็นพนักงานก็ได้มีคำสั่งแก้ไขข้อบังคับนั้นในเวลาต่อมา โดยแก้บัญชีอัตราเงินเดือนให้มีขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นและแก้ไขให้ผู้จัดการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานไปดำรงตำแหน่งอื่นในระดับที่ต่ำกว่าเดิมได้ พนักงานทุกคนก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านและยอมรับเอาผลจากการแก้ไขข้อบังคับด้วยดีตลอดมา ทั้งสัญญาจ้างแรงงานก็เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ ข้อบังคับที่แก้ไขแล้วดังกล่าวจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ใช้บังคับแก่ลูกจ้างผู้นั้นด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2630/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ต้องแจ้งต่อนายจ้างโดยตรง การร้องเรียนต่อหน่วยงานอื่นไม่ถือเป็นข้อเรียกร้อง
โจทก์เป็นตัวแทนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยมีหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะที่จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดอยู่ แม้ต่อมาจะได้มีการเจรจาระหว่างโจทก์กับพวกฝ่ายหนึ่งกับจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่จะแสวงหาข้อยุติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามที่โจทก์กับพวกได้ร้องเรียนเท่านั้น มิใช่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในเวลาต่อมาจึงมิใช่การเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อเรียกร้องของโจทก์ยังมีผลบังคับตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2630/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเรียกร้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ต้องแจ้งนายจ้างโดยตรง สัญญาจ้างหมดอายุ นายจ้างเลิกจ้างได้
โจทก์เป็นตัวแทนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยมีหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะที่จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดอยู่แม้ต่อมาจะได้มีการเจรจาระหว่างโจทก์กับพวกฝ่ายหนึ่งกับจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่จะแสวงหาข้อยุติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามที่โจทก์กับพวกได้ร้องเรียนเท่านั้น มิใช่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในเวลาต่อมาจึงมิใช่การเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อเรียกร้องของโจทก์ยังมีผลบังคับตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2630/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเรียกร้องทางแรงงานต้องแจ้งนายจ้างโดยตรง การร้องเรียนรัฐมนตรีไม่ถือเป็นข้อเรียกร้องตามกฎหมาย
โจทก์เป็นตัวแทนพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยมีหนังสือร้องเรียนขอความเป็นธรรมจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะที่จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดอยู่ แม้ต่อมาจะได้มีการเจรจาระหว่างโจทก์กับพวกฝ่ายหนึ่งกับจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง ก็เป็นเรื่องที่จะแสวงหาข้อยุติเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามที่โจทก์กับพวกได้ร้องเรียนเท่านั้นมิใช่เป็นการแจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13 วรรคแรก ดังนั้นเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในเวลาต่อมาจึงมิใช่การเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อเรียกร้องของโจทก์ยังมีผลบังคับตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 31.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการยื่นข้อเรียกร้องและหน้าที่ในการเจรจาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ การปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตาม
การยื่นข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 13 อาจเป็นการขอให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเดิมไม่มีอยู่หรือขอให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างที่มีและใช้บังคับอยู่เสียหรืออาจเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคือเพิ่มหรือ ลด ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลย โดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยัง คงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลย โดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยัง คงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยื่นข้อเรียกร้องและหน้าที่เจรจาตามกฎหมายแรงงาน การปิดงานชอบด้วยกฎหมายเมื่อไม่ปฏิบัติตาม
การยื่นข้อเรียกร้องต่ออีกฝ่ายหนึ่งตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 13 อาจเป็นการขอให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งเดิมไม่มีอยู่หรือขอให้ยกเลิกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีและใช้บังคับอยู่เสียหรืออาจเรียกร้องให้แก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคือเพิ่มหรือลดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นก็ได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลยโดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยังคงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้
สหภาพแรงงานโจทก์ได้รับข้อเรียกร้องของบริษัทจำเลยแล้วจะต้องแจ้งชื่อโจทก์หรือผู้แทนเป็นหนังสือให้จำเลยโดยมิชักช้าและจะต้องเริ่มเจรจากันภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้องตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 16 แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว จนจำเลยแจ้งข้อพิพาทแรงงานต่อพนักงานประนอมข้อพิพาทโจทก์ก็ยังคงไม่ยอมเข้าเจรจาด้วยจำเลยจึงมีสิทธิปิดงานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนข้อเรียกร้องบางส่วน และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ยกเลิกผลัดการทำงาน
กฎหมายไม่ได้บังคับว่าฝ่ายที่ยื่นข้อเรียกร้องจะถอนข้อเรียกร้องทั้งหมดหรือข้อหนึ่งข้อใดไม่ได้ เมื่อสหภาพแรงงานพนักงานยาสูบ ผู้ยื่นข้อเรียกร้องได้ขอถอนข้อเรียกร้องข้อ 10 ที่ขอเปลี่ยนเวลาทำงาน แล้วนำคดีไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลางในระหว่างไกล่เกลี่ยของพนักงานประนอมข้อพิพาทข้อเรียกร้องดังกล่าวจึงไม่มีอยู่และพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานไม่อาจดำเนินการไกล่เกลี่ยต่อไป โจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 13,21 และ 22 จึงฟ้องคดีต่อศาลแรงงานกลางได้ กรณีไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 8 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522
โจทก์เป็นพนักงานควบคุมหม้อไอน้ำและเครื่องปรับอากาศ ยื่นข้อเรียกร้องขอให้จำเลยแก้ไขสภาพการจ้างโจทก์จากพนักงานประจำรายชั่วโมงเป็นพนักงานประจำรายเดือน แต่ยังคงยืนยันขอให้จำเลยแบ่งพนักงานเข้าทำงานเป็น 2 ผลัด โดยกำหนดเวลาทำงานของแต่ละผลัดไว้ จำเลยยินยอมตามข้อเรียกร้องนี้โจทก์จึงเป็นพนักงานประจำรายเดือนที่ต้องปฏิบัติงานเป็นผลัดต่อไปตามสภาพการจ้างเดิมการที่ต่อมาโรงงานยาสูบได้มีคำสั่งที่ ท.352/2522 ให้ลดเวลาทำงานของพนักงานยาสูบลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมงโดยให้บังคับแก่โจทก์ด้วยนั้น มิได้เป็นการยกเลิกการปฏิบัติงานเป็นผลัดของโจทก์ด้วย กำหนดเวลาปฏิบัติงานตามคำสั่งนี้ซึ่งกำหนดเวลาทำงานตั้งแต่ 8.00 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา เวลาพักระหว่าง 12.00 นาฬิกา ถึง 13.00 นาฬิกา จำเลยมุ่งประสงค์จะให้ใช้บังคับแก่พนักงานประจำรายเดือนทั่ว ๆ ไปเท่านั้น และโจทก์ก็ได้ปฏิบัติงานเป็นผลัดดังกล่าวตลอดมาโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านโจทก์จะเรียกร้องขอปฏิบัติงานตามกำหนดเวลาในคำสั่งที่ ท.352/2522ไม่ได้.
โจทก์เป็นพนักงานควบคุมหม้อไอน้ำและเครื่องปรับอากาศ ยื่นข้อเรียกร้องขอให้จำเลยแก้ไขสภาพการจ้างโจทก์จากพนักงานประจำรายชั่วโมงเป็นพนักงานประจำรายเดือน แต่ยังคงยืนยันขอให้จำเลยแบ่งพนักงานเข้าทำงานเป็น 2 ผลัด โดยกำหนดเวลาทำงานของแต่ละผลัดไว้ จำเลยยินยอมตามข้อเรียกร้องนี้โจทก์จึงเป็นพนักงานประจำรายเดือนที่ต้องปฏิบัติงานเป็นผลัดต่อไปตามสภาพการจ้างเดิมการที่ต่อมาโรงงานยาสูบได้มีคำสั่งที่ ท.352/2522 ให้ลดเวลาทำงานของพนักงานยาสูบลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมงโดยให้บังคับแก่โจทก์ด้วยนั้น มิได้เป็นการยกเลิกการปฏิบัติงานเป็นผลัดของโจทก์ด้วย กำหนดเวลาปฏิบัติงานตามคำสั่งนี้ซึ่งกำหนดเวลาทำงานตั้งแต่ 8.00 นาฬิกา ถึง 17.00 นาฬิกา เวลาพักระหว่าง 12.00 นาฬิกา ถึง 13.00 นาฬิกา จำเลยมุ่งประสงค์จะให้ใช้บังคับแก่พนักงานประจำรายเดือนทั่ว ๆ ไปเท่านั้น และโจทก์ก็ได้ปฏิบัติงานเป็นผลัดดังกล่าวตลอดมาโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านโจทก์จะเรียกร้องขอปฏิบัติงานตามกำหนดเวลาในคำสั่งที่ ท.352/2522ไม่ได้.