คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อโต้แย้ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 76 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3109/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับคดี ณ ที่ตั้งสำนักงานจดทะเบียน แม้เป็นสถานที่ร้าง ถือเป็นการส่งโดยชอบ หากไม่มีข้อโต้แย้งในชั้นศาล
หนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของจำเลยระบุว่าจำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่เลขที่ 34/5 ซอยสุวิทย์ 2 ถนนเพชรเกษม แขวงหนองค้างพลูเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานของจำเลยหรือแจ้งย้ายที่อยู่ใหม่แต่อย่างใด จึงต้องถือว่าจำเลยมีภูมิลำเนาตามหนังสือรับรองจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนของจำเลย ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานศาลได้ส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีให้แก่จำเลย ณ สถานที่ซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนดังกล่าว โดยวิธีปิดคำบังคับและปิดหมายบังคับคดีไว้ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น แม้สถานที่นั้นจะเป็นบ้านร้างไม่มีคนอยู่ก็ตาม ก็ถือได้ว่ามีการส่งคำบังคับและหมายบังคับคดีให้แก่จำเลยโดยชอบแล้ว
จำเลยฎีกาว่า ในการส่งคำบังคับ หมายบังคับคดีและประกาศต่าง ๆ ให้จำเลย เจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้ประกาศหนังสือพิมพ์แต่อย่างใด จึงเป็นการบังคับคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ได้ใช้วิธีการโดยสมควรพอที่จะให้จำเลยทราบได้นั้น จำเลยไม่ได้กล่าวอ้างไว้ในคำร้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7367/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีโมฆะสมรส: ทายาทไม่มีสิทธิฟ้องแทน หากไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิ
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้มีการตั้งเป็นประเด็นแห่งคดีไว้ ศาลชั้นต้นและศาล-อุทธรณ์ภาค 2 ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามนัย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
บิดาโจทก์ถึงแก่ความตายไปแล้วก่อนโจทก์ฟ้อง การสมรสระหว่างบิดาโจทก์กับจำเลยได้ขาดจากกันเพราะเหตุบิดาโจทก์ถึงแก่ความตายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1501 แล้ว การสมรสนั้นจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของบิดาคู่สมรสเดิมอันจะก่อให้เกิดสิทธิหรืออำนาจที่จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าเป็นโมฆะ ทั้งตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวแสดงว่าจำเลยได้กระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ เช่น สิทธิในครอบครัว สิทธิในมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตาย หรือสิทธิอื่นใด ซึ่งจะเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยตามป.วิ.พ. มาตรา 55 ถือว่าตามคำฟ้องไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกไม่จำเป็นต้องแบ่งทรัพย์มรดก หากมีข้อโต้แย้งเรื่องสิทธิในทรัพย์สิน
ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านกับพวกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายไปพบผู้ร้องเพื่อให้แบ่งที่ดินมรดก แต่ผู้ร้องไม่ยอมแบ่งให้โดยอ้างว่าผู้ตายยกที่ดินดังกล่าวให้ผู้ร้องก่อนแล้ว ดังนี้ เป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว หาใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1487/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การยื่นฎีกาโดยไม่ระบุข้อโต้แย้ง
จำเลยที่ 2 กล่าวในฎีกาว่า "ขอยื่นฎีกาต่อศาล เนื่องจากจำเลยมิได้กระทำผิดในคดีนี้แต่ประการใด ถึงแม้ในการต่อสู้คดีของจำเลยนั้น พยานและคำให้การของจำเลยไม่สามารถหักล้างพยานโจทก์ได้ก็ตาม แต่จำเลยก็ขอยืนยันคำให้การเดิมที่ได้ให้การไว้ในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์" โดยจำเลยที่ 2 ไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จำเลยที่ 2 ประสงค์จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาแต่อย่างใด ทั้งมิได้กล่าว-อ้างว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีนี้ไม่ถูกต้องในข้อใดอย่างไร ฎีกาของจำเลยที่ 2 เช่นนี้ไม่เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และ มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่หลังขาดนัด - เหตุป่วยไข้และข้อโต้แย้งนอกเหนือจากชั้นอุทธรณ์
จำเลยร้องขอให้พิจารณาใหม่โดยระบุในคำขอว่า ในวันนัดจำเลยป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ มีอาการปวดศีรษะมากจนไม่สามารถลุกเดินไปไหนได้สะดวก คำพิพากษาคลาดเคลื่อน เพราะโจทก์ทั้งสองและจำเลยไม่เคยร่วมกันเป็นนายหน้าซื้อขายที่ดินตามฟ้องหากจำเลยได้มีโอกาสต่อสู้คดีแล้วย่อมมีโอกาสชนะคดีอันจะทำให้ผลของคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปดังนี้ พอถือได้ว่า คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้ง ซึ่งเหตุที่จำเลยได้ขาดนัดและข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสองแล้ว ปัญหาว่าจำเลยป่วยจริงหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยป่วยจริง โจทก์ทั้งสองมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นโต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์ จึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้เพราะเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่จะนำมาประกอบการวินิจฉัยว่ามีเหตุสมควรอนุญาตให้พิจารณาใหม่หรือไม่นั้น จะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก่อนหรือในขณะที่ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จะนำข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งดังกล่าวแล้วมาพิจารณาหาได้ไม่ฎีกาของโจทก์ที่ว่า จำเลยไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าหลังจากหายป่วยแล้วจำเลยได้พยายามแจ้งเหตุให้ศาลทราบนั้น เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้ว จึงเป็นฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องฎีกาต้องแสดงข้อโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ มิใช่เพียงคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (13) จึงต้องแสดงให้แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา โดยต้องมีข้อโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อฎีกาโจทก์บรรยายเพียงว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาอย่างไรแต่มิได้บรรยายว่าคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอย่างไร กรณีจึงไม่อาจทราบได้ว่าข้อที่โจทก์ยกขึ้นฎีกาได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์หรือไม่ ทั้งฎีกาโจทก์มีข้อความว่า "ด้วยความเคารพต่อศาลชั้นต้น โจทก์เห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังคลาดเคลื่อน... โจทก์ขอประทานกราบเรียนศาลที่เคารพโปรดพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น..." ดังนี้ฎีกาโจทก์มิได้เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ หากแต่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฟ้องฎีกาโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 ประกอบมาตรา 246,247 และ พ.ร.บ.ล้มละลาย มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1107/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อโต้แย้งสิทธิเครื่องหมายการค้า: อำนาจฟ้องและการจดทะเบียน
การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า แจ้งให้โจทก์ทราบเป็นหนังสือว่าไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ได้เนื่องจากเครื่องหมายการค้าคำว่า "JUNIORGAULTIER" ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน เหมือนหรือเกือบเหมือนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า "JeanPaulGAULTIER" และคำว่า "J.P.GAULTIER" ซึ่งจำเลยนำมายื่นคำขอจดทะเบียนไว้ กรณีจึงถือได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้วว่า โจทก์หรือจำเลยมีสิทธิที่จะได้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของตน โจทก์จึงมีอำนาจที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474มาตรา 17 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังคู่ความอีกฝ่ายหมดพยาน ถือเป็นข้อโต้แย้งที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมหลังจากเสร็จการสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนโดยมิได้อ้างเหตุตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88ศาลชั้นต้น (ศาลแรงงานกลาง) มีคำสั่งอนุญาต สำเนาให้จำเลย และทนายจำเลยได้รับสำเนาแล้ว คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จึงยกขึ้นอุทธรณ์คัดค้านไม่ได้ ต้องห้าม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่สมบูรณ์ ขาดรายละเอียดข้อโต้แย้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยมีใจความสำคัญสรุปได้เพียงว่า จำเลยไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยยังขาดเอกสารสำคัญเกี่ยวกับคดีได้ติดต่อไปยังทนายจำเลยแล้วแต่ยังไม่ได้รับคำตอบ เกรงว่าอายุฎีกาจะสิ้นสุดลงจึงได้ยื่นฎีกาไว้ก่อน ส่วนข้อโต้แย้งคัดค้านอันเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในฎีกานั้นจำเลยจะยื่นรายละเอียดอีกในภายหลัง จำเลยมิได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้นมิได้ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกอ้างอิงไว้เลยว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคดีไม่ชอบหรือขัดต่อกฎหมายอย่างไร รายละเอียดที่จำเลยอ้างว่าจะยื่นเข้ามาในภายหลังก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ยื่นเข้ามาภายในอายุฎีกาและมิได้ขอขยายเวลายื่นฎีกาแต่อย่างใด ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นฎีกาที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และมาตรา 216ศาลฎีกาย่อมไม่รับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4612/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเกินกำหนดอายุความและข้อโต้แย้งเรื่องที่มาของทรัพย์สินเพิ่มพูน
ก. ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีสำหรับปี 2518-2520 ขณะ ที่มีชีวิตอยู่ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2521 เจ้าพนักงานประเมินได้ออกหมายเรียกเพื่อไต่สวนการเสียภาษีของ ก. ไปยังทายาทของก. เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2527 จึงเกินกำหนดห้าปีนับแต่วันที่มีการยื่นแบบแสดงรายการสำหรับภาษีปี 2518-2520 การออกหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบด้วยมาตรา 19 แห่ง ป.รัษฎากร เจ้าพนักงานประเมินจึงไม่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีในปี ดังกล่าว การกำหนดเงินได้สุทธิตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร เท่านั้น ที่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีก่อน ส่วนการออกหมายเรียกไต่สวน เพื่อกำหนดเงินได้สุทธิเป็นกรณีเจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจตาม มาตรา 19หรือมาตรา 23 ซึ่งในบทมาตราดังกล่าวหาได้บัญญัติไว้ว่า จะต้องได้ รับอนุมัติจากอธิบดีก่อนไม่ โจทก์อ้างว่าการที่เจ้าพนักงานประเมินนำหุ้นของ ก. ที่เพิ่มขึ้นในปี 2521 หรือ 2522 มาถือเป็นเงินได้ของปี 2521 และ 2522ไม่ชอบ เพราะหุ้นที่เพิ่มขึ้นนั้น ก. ได้นำเงินที่ได้รับคืนจากการทดรองจ่ายให้บริษัทโรงงานน้ำตาลซื้อมา จึงเป็นทรัพย์สิน ที่มีอยู่เดิมแต่เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง การที่เจ้าพนักงานประเมินถือเอาหุ้นที่เพิ่มขึ้นเป็น เงินได้พึงประเมิน จึงชอบด้วยกฎหมาย.
of 8