พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ทหารกองประจำการ' ไม่เป็น 'ข้าราชการ' จึงไม่ถูกลงโทษตามอัตราโทษทวีคูณในคดีจำหน่ายยาเสพติด
"ข้าราชการ" หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการ โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ข้าราชการทหารจึงเป็นข้าราชการ
ตำแหน่งใดเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น
ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (8) ให้ความหมายว่า หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย "ทหารกองประจำการ" ว่าหมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (3) "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด ฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหาร และไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการ จึงไม่เป็นข้าราชการ ระวางโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงใช้กับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ตำแหน่งใดเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และ พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น
ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พ.ร.บ.รับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (8) ให้ความหมายว่า หมายถึง ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย "ทหารกองประจำการ" ว่าหมายถึง ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (3) "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด ฉะนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหาร และไม่ได้เป็นข้าราชการตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521
จำเลยที่ 2 เป็นทหารกองประจำการ จึงไม่เป็นข้าราชการ ระวางโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 ในความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษจึงใช้กับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1111/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะ 'ข้าราชการ' ของทหารกองประจำการ และผลต่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
"ข้าราชการ" หมายถึง บุคคลซึ่งรับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ข้าราชการทหารจึงเป็นข้าราชการด้วย อย่างไรเป็นข้าราชการทหารต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 เท่านั้น ซึ่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารประจำการ" พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4(8) ให้ความหมายว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ให้ความหมาย"ทหารกองประจำการ" ว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารและพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 มาตรา 4(3)"ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลดทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ทหารประจำการ ไม่ใช่ข้าราชการทหารและไม่ได้เป็นข้าราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 ดังนั้น ทหารกองประจำการจึงไม่ใช่ข้าราชการตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522มาตรา 100
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินเดือนและบำเหน็จข้าราชการ: การคุ้มครองสิทธิในการเลี้ยงชีพและการพิจารณาคดีอุทธรณ์
บทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 286(2) ซึ่งมีผลทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีสิทธิขออายัดเงินเช่นว่านั้นเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาก็โดยมีเจตนารมณ์จะให้ข้าราชการและลูกจ้างของรัฐบาลทั้งที่ยังรับราชการอยู่และพ้นจากราชการไปแล้ว ตลอดจนคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ของบุคคลเหล่านี้ที่ตามกฎหมายมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์หรือบำนาญได้มีเงินเลี้ยงชีพ การที่นำเงินเช่นว่านั้นมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาจึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของบทมาตราดังกล่าว
เงินที่โจทก์นำยึดเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จของจำเลยซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22และมาตรา 121 โดยที่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปะปนกับเงินจำนวนอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกว่าเงินส่วนไหนเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จเงินจำนวนดังกล่าวที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้จึงยังคงเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) อันโจทก์จะยึดมาชำระหนี้ไม่ได้อยู่นั่นเอง การอายัดเงินดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ทำให้เงินดังกล่าวแปรสภาพไปจนไม่อาจได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) ไม่
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นก็หามีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้วได้ไม่ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยนั้น ก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดี หรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย
เงินที่โจทก์นำยึดเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จของจำเลยซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22และมาตรา 121 โดยที่ไม่ปรากฏว่าได้มีการนำเงินจำนวนดังกล่าวไปปะปนกับเงินจำนวนอื่นของจำเลยจนแยกไม่ออกว่าเงินส่วนไหนเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จเงินจำนวนดังกล่าวที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อายัดไว้จึงยังคงเป็นเงินเดือนและเงินบำเหน็จ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) อันโจทก์จะยึดมาชำระหนี้ไม่ได้อยู่นั่นเอง การอายัดเงินดังกล่าวของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หาได้ทำให้เงินดังกล่าวแปรสภาพไปจนไม่อาจได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) ไม่
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์สำเนาให้โจทก์และเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยให้จำเลยนำส่งสำเนาอุทธรณ์ภายใน15 วัน มิฉะนั้นถือว่าทิ้งอุทธรณ์ แม้จำเลยมิได้นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งของศาลชั้นต้นอันถือว่าเป็นการทิ้งอุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นก็หามีอำนาจที่จะสั่งจำหน่ายคดีที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ไว้แล้วได้ไม่ เพราะเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะที่จะสั่งจำหน่ายคดีหรือไม่ ส่วนการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยนั้น ก็เป็นดุลพินิจที่ศาลอุทธรณ์กระทำได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีบทกฎหมายใดบังคับว่าศาลอุทธรณ์จะต้องจำหน่ายคดี หรือไม่มีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตข้าราชการ ไม่ตกเป็นทรัพย์สินที่บังคับคดีได้
เงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตหรือเกษียณอายุก่อนกำหนด แม้จะเรียกว่าเป็นเงินช่วยเหลือแต่ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับเงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และเบี้ยหวัดของข้าราชการที่รัฐบาลได้จ่ายให้แก่ข้าราชการที่พ้นจากราชการไปแล้ว ตลอดจนคู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ของบุคคลนั้นซึ่งตามกฎหมายมีสิทธิได้รับเงินจำนวนนี้เพื่อเลี้ยงชีพ ย่อมไม่ตกอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การติดตามทรัพย์สินคืนจากข้าราชการที่เบิกจ่ายเงินโดยมิชอบ ไม่ถือเป็นการละเมิด และไม่ขาดอายุความ
จำเลยซึ่งเป็นข้าราชการของโจทก์ทำเอกสารเท็จเบิกเงินจากโจทก์ไปโดยมิชอบต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ การที่โจทก์ขอบังคับให้จำเลยคืนเงินเป็นเรื่องเจ้าของทรัพย์สินติดตามเอาทรัพย์ของตนคืน มิใช่เป็น การละเมิดที่จำเลยจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ขึ้นมาบอกปัดการชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 283/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าอาวุธปืนเพื่อจำหน่ายข้าราชการ ไม่ถือเป็นยุทธภัณฑ์ที่ได้รับการยกเว้นอากร
การที่กองทัพอากาศจำเลยได้ทำการจัดซื้ออาวุธปืนพกและนำเข้ามาในราชอาณาจักรตามความต้องการของข้าราชการในสังกัด โดยใช้เงินที่ได้มาจากข้าราชการที่ต้องการจะมีอาวุธปืนดังกล่าวไว้ใช้ ซึ่งจำเลยจะหักเงินเดือนของข้าราชการผู้นั้นใช้หนี้จนครบ และมีข้อกำหนดว่าเมื่อครบกำหนด 5 ปี ข้าราชการผู้ซื้ออาวุธปืนดังกล่าวจะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ การกระทำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายให้แก่ข้าราชการของจำเลยเป็นการส่วนตัว ไม่เกี่ยวกับส่วนราชการ ถือไม่ได้ว่าเป็นยุทธภัณฑ์ที่ใช้ในราชการอันอยู่ในข่ายที่จะได้รับการยกเว้นอากรตาม พ.ร.ก.พิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ภาค 4 ประเภท 13 จำเลยจึงต้องรับผิดเสียภาษีอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษสามเท่าสำหรับข้าราชการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: การตีความบทบัญญัติและหลักกฎหมายที่ใช้
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีอีเฟดรีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2จำนวน 40,000 เม็ด น้ำหนักสุทธิรวม 3,584 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนักรวม45.2 กรัม อันเป็นจำนวนเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันขายอีเฟดรีนดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อ โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวข้องเป็นตัวการในการขายวัตถุออกฤทธิ์ครั้งนี้ โดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นตัวการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ในกรณีที่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมายถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นบทกำหนดโทษ หาใช่เป็นบทเพิ่มโทษไม่การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนและให้เพิ่มโทษเป็นสามเท่าตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา6 (7 ทวิ), 13 ทวิ วรรคหนึ่ง, 62 วรรคหนึ่ง, 89, 106 ทวิ, 116 พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา10 ป.อ.มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนตาม ป.อ.มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษข้าราชการในคดียาเสพติด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามบทกำหนดโทษ ไม่ใช่บทเพิ่มโทษ
จำเลยทั้งสองร่วมกันมีอีเฟดรีน อันเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 จำนวน40,000 เม็ด น้ำหนักสุทธิรวม 3,584 กรัม คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนักรวม 45.2 กรัมอันเป็นจำนวนเกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดไว้ในครอบครองเพื่อขายโดยไม่ได้รับอนุญาต และจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันขายอีเฟดรีนดังกล่าวให้แก่ผู้ล่อซื้อ โดยจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวข้องเป็นตัวการในการขายวัตถุออกฤทธิ์ครั้งนี้ โดยมีจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นตัวการกระทำความผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย ในกรณีที่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมายถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นบทกำหนดโทษ หาใช่เป็นบทเพิ่มโทษไม่ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในข้อหาความผิดฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนและให้เพิ่มโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 มาตรา 6(7 ทวิ),13 ทวิวรรคหนึ่ง,62 วรรคหนึ่ง,89,106 ทวิ,116 พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทซึ่งแต่ละบทมีระวางโทษเท่ากัน ให้ลงโทษฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการ/พนักงานท้องถิ่นกระทำผิดยาเสพติด: การเพิ่มโทษสามเท่าเป็นบทกำหนดโทษ ไม่ใช่เพิ่มโทษ
ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น หมายถึงอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นบทกำหนดโทษ หาใช่เป็นบทเพิ่มโทษไม่ ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานร่วมกันขายอีเฟดรีนและให้เพิ่มโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯมาตรา 10 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 408/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไล่ออกข้าราชการ – การโต้แย้งสิทธิ – ผลกระทบต่อสถานภาพ – เหตุผลไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยเพิกถอนคำสั่งและมีคำสั่งใหม่ให้โจทก์เข้ารับราชการเหมือนเดิม และให้มีคำสั่งให้โจทก์ได้รับเงินเดือนย้อนหลังหากจำเลยไม่ปฏิบัติตามขอให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยโดยโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญาข้อหามีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต พาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะหรือหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร ยิงปืนในหมู่บ้านโดยไม่มีเหตุอันสมควร เมาสุราทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย และถูกพักราชการระหว่างรอฟังผลคดีอาญา ต่อมาศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ กองบัญชาการตำรวจภูธร 1 มีคำสั่งให้โจทก์กลับเข้ารับราชการและลงโทษกักขังโจทก์มีกำหนด 60 วัน ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาเสพสุราจนมีอาการมึนเมาและเสียกริยาในที่สาธารณะ ต่อมาจำเลยมีคำสั่งไล่โจทก์ออกจากราชการ ซึ่งตามคำสั่งดังกล่าวระบุว่าเป็นการลงโทษข้อหาละทิ้งหน้าที่เสพสุรามึนเมาอาละวาดทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และยิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรคำสั่งของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ยุติธรรม และขัดต่อคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้ว ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยดังกล่าวได้อ้างข้อหาเมาสุราซึ่งโจทก์ถูกลงโทษกักขัง 60 วันไปแล้ว และมีข้อหายิงปืนโดยไม่มีเหตุอันสมควรซึ่งศาลพิพากษายกฟ้องถึงที่สุดไปแล้ว กับมีข้อหาละทิ้งหน้าที่เพิ่มขึ้นอีก จึงอาจเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่โจทก์อ้าง และคำสั่งไล่ออกก็เป็นคำสั่งที่มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ คำฟ้องของโจทก์ถือได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยไม่ฟังข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของโจทก์เสียก่อนจึงไม่ชอบ