คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีระหว่างพิจารณา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายยกเว้นโทษต่อคดีอาวุธปืนที่อยู่ระหว่างพิจารณา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยฐานมีอาวุธปืนซึ่งมีหมายเลขทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต แต่ไม่ริบปืนของกลาง อัยการโจทก์จึงอุทธรณ์ขอให้ริบปืนของกลาง ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2501 ออกใช้บังคับโดยมีมาตรา 9 วรรค 1 เปิดโอกาสให้ผู้มีอาวุธปืนฯ มาขออนุญาตต่อนายทะเบียนในกำหนด 90 วันโดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ดังนี้+ แม้คดีอยู่ในะหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในระหว่างใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษายกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2504

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลกระทบของกฎหมายใหม่ต่อคดีอาวุธปืนระหว่างพิจารณา: การยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษปรับจำเลยฐานมีอาวุธปืน ซึ่งมีหมายเลขทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครอง โดยมิได้รับอนุญาต แต่ไม่ริบปืนของกลาง อัยการโจทก์จึงอุทธรณ์ ขอให้ริบปืนของกลาง ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2501ออกใช้บังคับโดยมี มาตรา 9 วรรคหนึ่ง เปิดโอกาสให้ผู้มีอาวุธปืนฯมาขออนุญาตต่อนายทะเบียนในกำหนด 90 วัน โดยผู้นั้นไม่มีโทษ ดังนี้ต้องถือว่าในระหว่างนั้น กฎหมายยกเว้นโทษแก่ผู้มีอาวุธปืน โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในระหว่างใช้ พระราชบัญญัตดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมพิพากษายกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายยกเว้นโทษอาวุธปืนใหม่มีผลถึงคดีระหว่างพิจารณา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องจำเลยทั้งหมด
คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2501 มาตรา 9 บัญญัติให้ผู้มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต นำปืนไปขอรับอนุญาตภายใน 90 วัน โดยผู้นั้นไม่ต้องรับโทษดังนี้ จึงต้องถือว่า ในระหว่างนั้นกฎหมายยกเว้นโทษแก่ผู้มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ในระหว่างใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ย่อมยกฟ้องได้ และแม้จะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภายหลังระยะเวลา 90 วัน ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็หาทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 766/2490) (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 10/2503)
จำเลยที่ต้องโทษไม่ได้อุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่ามีพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ออกใหม่บัญญัติว่า การกระทำของจำเลยไม่ต้องรับโทษ นับว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 766/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กฎหมายยกเว้นโทษอาวุธปืน: ผู้มีปืนเถื่อนก่อนกฎหมายใหม่มีสิทธิจดทะเบียนเพื่อหลีกเลี่ยงโทษ แม้คดีอยู่ในระหว่างพิจารณา
พ.ร.บ.อาวุธปืนที่มีบทฉะเพาะกาลให้ผู้มีอาวุธปืนโดยมิได้รับอนุญาตนำปืนไปจดทะเบียนได้นั้น ถือว่ากฎหมายยกเว้นไม่เอาโทษแก่ผู้มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ผู้ที่ถูกฟ้องแล้ว แต่คดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลใดก็ตามก็ได้รับประโยชน์จากกฎหมายนี้
คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์มีผลเมื่ออ่านให้คู่ความฟัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3211/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินในคดีล้มละลาย: อายุความไม่ขาดเมื่อคดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา
คดีก่อนเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องผู้คัดค้านทั้งสองต่อศาลแพ่งธนบุรีขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนนิติกรรม การโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 32761 พร้อมสิ่งปลูกสร้าง ระหว่างผู้คัดค้านทั้งสองอันเป็นการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ส่วนคดีนี้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวอันเป็นการฉ้อฉลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 237 ซึ่งเป็นเรื่องที่กฎหมายล้มละลายให้อำนาจแก่ผู้ร้องไว้เป็นกรณีพิเศษในอันที่จะกระทำการแทนเจ้าหนี้เพื่อรักษาสิทธิของเจ้าหนี้และเพื่อรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้กลับเข้ามาในกองทรัพย์สินและนำมาแบ่งปันให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายในคดีล้มละลาย เมื่อผู้ร้องไม่ใช่โจทก์ในคดีก่อน การยื่นคำร้องคดีนี้จึงไม่เป็นการยื่นคำร้องซ้อนกับคดีก่อน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 113 บัญญัติให้อำนาจผู้ร้องในอันที่จะกระทำแทนเจ้าหนี้ได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทำเป็นคำร้องต่อศาลในคดีล้มละลายโดยไม่ต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่เท่านั้น อายุความที่จะใช้บังคับต้องถือเอาอายุความของเจ้าหนี้ผู้เกี่ยวข้องในขณะที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้นั้นจริงๆ เป็นเกณฑ์พิจารณา เมื่อโจทก์ซึ่งร้องขอให้ผู้ร้องเพิกถอนการฉ้อฉลที่ดินโฉนดเลขที่ 32761 ทราบเหตุแห่งการเพิกถอนเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2549 และโจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนระหว่างผู้คัดค้านทั้งสองต่อศาลแพ่งธนบุรีเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2549 ภายในกำหนดอายุความแล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลงอยู่จนกว่าคดีจะได้วินิจฉัยถึงที่สุดหรือเสร็จสิ้นไปโดยประการอื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนหน้านั้นจึงไม่นับเข้าในอายุความตามมาตรา 193/15 วรรคหนึ่ง และเมื่อเหตุที่ให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่เวลานั้น ตามมาตรา 193/15 วรรคสอง คดีนี้คู่ความนำสืบรับกันว่า ศาลแพ่งธนบุรีมีคำสั่งจำหน่ายคดีก่อนตามคำขอของผู้ร้อง ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 โจทก์อุทธรณ์ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ เหตุที่ให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงยังไม่สิ้นสุด อายุความไม่เริ่มนับใหม่ ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ในขณะที่อายุความของโจทก์สะดุดหยุดลง คดีจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10754/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีภาระจำยอมซ้ำกับคดีเดิมที่อยู่ระหว่างการพิจารณา แม้คดีเดิมจำหน่ายไปแล้ว ก็ไม่ทำให้ฟ้องซ้อนเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่โดยอ้างเหตุว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและจำหน่ายคดีในคดีก่อนเพียง 6 วัน เป็นการยื่นภายในระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 และโจทก์ทั้งเจ็ดยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขณะนั้นระยะเวลาอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ของจำเลยยังไม่สิ้นสุดลงถือได้ว่า โจทก์ยื่นคำฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณา และเมื่อพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ทั้งเจ็ดกล่าวอ้างว่า ที่ดินของจำเลยตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดที่อยู่ติดกันเช่นเดียวกันกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อน แม้คำขอบังคับในส่วนที่เกี่ยวกับความกว้างยาวของทางพิพาทแตกต่างกัน แต่ก็เป็นการขอให้รับรองว่าทางพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งเจ็ดเช่นเดียวกัน คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้กับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อนจึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน และการพิจารณาว่าคำฟ้องคดีหลังเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนหรือไม่ ต้องพิจารณาในวันยื่นคำฟ้องคดีหลังเป็นสำคัญ เมื่อปรากฏว่าขณะที่โจทก์ทั้งเจ็ดยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ คดีก่อนอยู่ระหว่างการพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีก่อน แม้ต่อมาศาลฎีกาในคดีก่อนจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะเหตุฎีกาของจำเลยไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรแก่การพิจารณา ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 วรรคหนึ่ง ก็หาทำให้คำฟ้องของโจทก์ทั้งเจ็ดในคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องซ้อนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลับเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21441/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: คดีหมิ่นประมาทจากหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่อ ก.ตร./ก.ต.ช. เมื่อคดีเดิมยังอยู่ระหว่างพิจารณา
ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 2639/2550 ของศาลแขวงดุสิต โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมมิให้เลื่อนโจทก์เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติต่อคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) และคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) กล่าวหาว่าโจทก์กับพวกส่งคนไปคุกคามข่มขู่จำเลยและพยานของจำเลยในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญาฐานร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ บุกรุก และทำให้เสียทรัพย์ เพื่อขอให้ ก.ตร. และ ก.ต.ช. พิจารณามิให้เลื่อนโจทก์ขึ้นเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติชั่วคราวจนกว่าคดีอาญาที่จำเลยฟ้องโจทก์ต่อศาลอาญาจะถึงที่สุด ซึ่งมีสาระแห่งการกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทของจำเลยเช่นเดียวกับคดีนี้ แม้การมีหนังสือขอความเป็นธรรมทั้งในคดีก่อนและคดีนี้ จำเลยจะได้ยื่นหนังสือดังกล่าวต่อคณะกรรมการของ ก.ตร. และกรรมการ ก.ต.ช. คนละคนกันดังที่โจทก์กล่าวอ้าง แต่การกระทำของจำเลยมีเจตนาเดียวกัน คือเจตนาที่จะร้องขอความเป็นธรรมมิให้ ก.ตร. และ ก.ต.ช. พิจารณาเลื่อนตำแหน่งของโจทก์นั่นเอง จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวกัน คำฟ้องของโจทก์คดีก่อนกับคดีนี้เป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกัน เมื่อขณะโจทก์ยื่นคำฟ้องคดีนี้ คำฟ้องคดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณา คำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6283/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีภาษีอากร: การฟ้องคดีเดิมซ้ำในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล
คดีนี้กับคดีหมายเลขแดงที่ 319/2547 ของศาลภาษีอากรกลาง เป็นการขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ฉบับเดียวกัน คู่ความเดียวกันและคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องจำเลยคนเดียวกันอีกไม่ได้ ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีดังกล่าว ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
อุทธรณ์ของโจทก์คดีนี้เป็นการอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกากลับคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลางที่พิพากษาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีไม่จำต้องวินิจฉัยในประเด็นพิพาทข้ออื่นอีกกับขอให้ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทอื่นต่อไป มิได้ขอให้ชนะคดีตามฟ้อง โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์อย่างคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จำนวน 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งซ้อน: คดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ห้ามฟ้องแย้งคดีเดียวกันอีก
คำว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง นั้น หมายความว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาก็ได้ แม้จำเลยจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาในคดีก่อนของศาลชั้นต้นโดยโต้แย้งเรื่องศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี แต่เมื่อคดีดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา จำเลยจึงไม่อาจนำคดีเรื่องเดียวกันมาฟ้องอีกได้ ฟ้องแย้งของจำเลยย่อมเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)
of 3