พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676-1677/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รวมสำนวนคดีเดียวกัน แม้สืบพยานแยกกัน ศาลลงโทษฐานสมรู้ร่วมคิดได้
คดี 2 สำนวน ทั้งโจทก์และจำเลยจะต่างคนกัน ทั้งสองสำนวนแต่เป็นเรื่องกรณีเดียวกัน แม้ศาลสืบพยานแต่ละสำนวนกัน ก็พิพากษารวมกันได้ตามอำนาจในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการในการจัดให้มีการเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อปรากฏว่าเป็นเพียงผู้ทำไพ่ และคนไพ่อันเป็นการอุปการะแก่การกระทำผิดรายนี้ ศาลก็ย่อมลงโทษฐานสมรู้ได้ ตามนัยฎีกาที่205/2483,214/2484
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานเป็นตัวการในการจัดให้มีการเล่นการพนันโดยไม่ได้รับอนุญาต เมื่อปรากฏว่าเป็นเพียงผู้ทำไพ่ และคนไพ่อันเป็นการอุปการะแก่การกระทำผิดรายนี้ ศาลก็ย่อมลงโทษฐานสมรู้ได้ ตามนัยฎีกาที่205/2483,214/2484
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับสิทธิเรียกร้องอาญา: คดีเดียวกัน, ลงโทษแล้ว, ห้ามฟ้องซ้ำ
จำเลยถูกอัยยการฟ้องและศาลพิพากษาลงโทษแล้วคดีที่เจ้าทุกข์เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในกรณีความผิดนั้นก็เป็นอันระงับไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2478
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาอ้างอิงคำพิพากษาเดิมในคดีที่มีโจทก์จำเลยและรูปคดีเดียวกัน
คดีที่โจทก์จำเลยตรงกันและรูปคดีทำนองเดียวกันเป็นแต่ผู้ร้องขัดทรัพย์คนละคน ศาลตัดสินอ้างถึงคำพิพากษาในคดีก่อนก็เพียงพอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691-694/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีเดียวกัน ศาลยกฟ้องเมื่อเคยมีคำตัดสินแล้ว
ฟ้องซ้ำฐานประกาศจัดการสอาดในจังหวัดพระนคร ร.ศ.117 ข้อ 10 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตามประกาศข้างบนนี้ ศาลตัดสินปรับแล้วจะมาฟ้องซ้ำอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3158/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีล้มละลายซ้ำซ้อน: ห้ามฟ้องเรื่องเดียวกันในขณะที่คดีเดิมยังพิจารณาอยู่
การฟ้องคดีล้มละลายมิใช่การฟ้องเพื่อบังคับเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ดังเช่นคดีแพ่งทั่วไป แต่เป็นการฟ้องเพื่อจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามกระบวนการที่กฎหมายล้มละลายกำหนดเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย อีกทั้งตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 บัญญัติว่า "ในการพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้นั้น ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายให้ศาลยกฟ้อง" ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 4 ไว้ในคดีหมายเลขดำที่ 223/2555 ต่อศาลล้มละลายกลางแล้ว โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 4 ในคดีนี้อีก แม้โจทก์จะอาศัยมูลหนี้ที่รับโอนมาจากสถาบันการเงินคนละสถาบันและคนละมูลหนี้ในการฟ้องแต่ละคดีก็ตาม แต่ศาลก็ต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 เช่นเดียวกัน สภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับก็เป็นอย่างเดียวกัน ถือได้ว่าเป็นการยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันต่อศาลเดียวกันในขณะที่คดีหมายเลขดำที่ 223/2555 อยู่ในระหว่างพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 544/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีรอนสิทธิที่ดินกับคดีละเมิดจากการปักเสาไฟฟ้า แม้คำขอต่างกันแต่เป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 โดยลูกจ้างของจำเลยที่ 1 คนหนึ่ง และลูกจ้างของจำเลยที่ 1 อีกหลายคน ซึ่งกระทำในทางการที่จ้างได้ร่วมกันเข้าไปในที่ดินของโจทก์ และร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างขุดดินปักเสาไฟฟ้าโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายกับรื้อถอนขนย้ายเสาไฟฟ้า สายส่งไฟฟ้าออกไปจากที่ดินของโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์กับพวกมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดิน 16 แปลง จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันใช้อำนาจโดยมิชอบเข้าทำการรอนสิทธิในที่ดินของโจทก์กับพวกดังกล่าวด้วยการบุกรุกเข้าไปปักเสาพาดสายส่งไฟฟ้าแรงสูง โดยอ้างอำนาจตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ แต่จำเลยกับพวกมิได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามขั้นต้นที่ มาตรา 28 (2) (ข) (ค) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวกำหนดไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับค่าทดแทนเนื่องจากการรอนสิทธิ ขอให้จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันจ่ายค่ารอนสิทธิและขาดประโยชน์หรือรับซื้อที่ดินทั้งหมด หากไม่ยินยอมก็ขอให้จำเลยที่ 1 ย้ายแนวปักเสาพาดสายส่งไฟฟ้าแรงสูงออกจากที่ดินทั้งหมด แม้คดีนี้คำขอของโจทก์เป็นเรื่องเรียกค่ารอนสิทธิหรือบังคับให้จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินหรือย้ายแนวก่อสร้างปักเสาพาดสายส่งไฟฟ้าแรงสูงออกไปจากที่ดิน 16 แปลง ซึ่งแตกต่างจากคดีก่อนที่โจทก์ขอให้จำเลยที่ 1 ใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดที่ทำให้ที่ดิน น.ส. 3 ก. เลขที่ 2301 ได้รับความเสียหายก็ตาม แต่คดีก่อนโจทก์ก็มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ขนย้ายเสาไฟฟ้าและสายไฟฟ้าออกไปจากที่ดินของโจทก์ด้วย เช่นกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นการกระทำเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนคดีของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ทั้งในคดีนี้และคดีก่อนเป็นเรื่องเดียวกันเมื่อปรากฏว่าขณะคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณา โจทก์นำคดีนี้มายื่นฟ้องจำเลยที่ 1 กับพวกอีก ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักวันคุมขังต้องเป็นการคุมขังในคดีเดียวกัน ผู้ประกันไม่ร้องขอส่งตัวจำเลยเพื่อออกหมายขังในคดีใหม่ ไม่อาจหักวันคุมขังได้
ป.อ. มาตรา 22 วรรคแรก บัญญัติว่า "โทษจำคุกให้เริ่มแต่วันมีคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษา ให้หักจำนวนวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกตามคำพิพากษา เว้นแต่คำพิพากษานั้นจะกล่าวไว้เป็นอย่างอื่น" คำว่า ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษานั้น หมายความว่า ต้องถูกคุมขังอยู่ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษา การที่จำเลยถูกคุมขังในคดีอื่นและผู้ประกันมิได้ร้องขอส่งตัวจำเลย เพื่อให้ศาลออกหมายขังจำเลยในคดีนี้จึงไม่อาจหักวันที่ถูกคุมขังออกจากระยะเวลาจำคุกในคดีนี้ได้