พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10942/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลือกตั้งและการแจ้งความเท็จ: ผู้เสียหายต้องเป็น กกต. หรือผู้สมัคร และอายุความหมิ่นประมาท
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม การกระทำใดที่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงมีผลกระทบโดยตรงต่อการเลือกตั้งและผู้สมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น มิได้มีผลต่อบุคคลภายนอก ประกอบกับมาตรา 135 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ยังบัญญัติว่า "ในกรณีที่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เกิดขึ้นในเขตเลือกตั้งใด ให้ถือว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือผู้สมัครในเขตเลือกตั้งนั้นเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา" เมื่อโจทก์มิใช่คณะกรรมการการเลือกตั้งและมิใช่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง โจทก์จึงไม่เป็นผู้เสียหายตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองไว้อีกด้วย ส่วนที่การกระทำของจำเลยอาจทำให้โจทก์ต้องรับโทษทางอาญาและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง โจทก์ก็เป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 137, 174 ได้อยู่แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8440/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาในคดีเลือกตั้ง: การประกาศรายชื่อผู้สมัครและการเพิกถอนการสมัคร
การยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยเกี่ยวกับคดีเลือกตั้งตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 มีได้ 2 กรณี คือ กรณีที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาผู้ใดไม่มีชื่อเป็นผู้สมัครในประกาศของผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ผู้สมัครผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของตนได้ตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง และกรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ประกาศรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไว้แล้ว แต่ต่อมาก่อนวันเลือกตั้งปรากฏหลักฐานว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้หนึ่งผู้ใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งดังกล่าวมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาเพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครผู้นั้นได้ตามมาตรา 40 วรรคหนึ่ง
ผู้ร้องยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 และผู้คัดค้านได้ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว การที่ผู้คัดค้านมีหนังสือถึงผู้ร้องแจ้งว่าผู้ร้องมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในภายหลัง จึงมิใช่กรณีที่ผู้คัดค้านไม่ประกาศชื่อผู้ร้องว่าเป็นผู้มีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งอันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตามความในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้ร้องตามความในมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ก็ต้องถือว่าผู้ร้องยังคงเป็นผู้ที่ผู้คัดค้านประกาศรายชื่อว่าเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งอยู่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยได้
ผู้ร้องยื่นใบสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 2 และผู้คัดค้านได้ประกาศชื่อผู้ร้องเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแล้ว การที่ผู้คัดค้านมีหนังสือถึงผู้ร้องแจ้งว่าผู้ร้องมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในภายหลัง จึงมิใช่กรณีที่ผู้คัดค้านไม่ประกาศชื่อผู้ร้องว่าเป็นผู้มีสิทธิที่จะสมัครรับเลือกตั้งอันจะทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาตามความในมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 ดังนั้น ตราบใดที่ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อขอให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้ร้องตามความในมาตรา 40 วรรคหนึ่ง ก็ต้องถือว่าผู้ร้องยังคงเป็นผู้ที่ผู้คัดค้านประกาศรายชื่อว่าเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งอยู่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อให้มีคำวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8203/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมอิสระจากคำชี้ขาด กกต. ในคดีเลือกตั้ง – ค่าเสียหายการเลือกตั้งใหม่
การใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นไปตามบริบทเฉพาะในส่วนของการจัดการการเลือกตั้งตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรฐานของดุลพินิจก็เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง ดังเช่นกรณีมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว หากภายหลังมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการใดๆ โดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้นั้น และผลของการพิจารณาชี้ขาดก็เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง แต่เมื่อมีการนำคดีมาฟ้องที่ศาลยุติธรรม ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในบริบทของกระบวนพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม ไม่มีกฎหมายใดกำหนดบังคับให้ศาลยุติธรรมจะต้องผูกพันตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา มาตรฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลยุติธรรมก็แตกต่างจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ฉะนั้นศาลยุติธรรมย่อมมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบได้