พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งประทับฟ้องคดีอาญาไม่ผูกพันคดีแพ่ง การพิสูจน์เอกสารปลอมต้องมีผลชี้ขาดในคดีอาญา
ในคดีอาญาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาว่าร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีมีมูลเฉพาะจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 คดีไม่มีมูล จึงประทับฟ้องจำเลยที่ 1 และยกฟ้องจำเลยที่ 2 คำสั่งของศาลชั้นต้นให้ประทับฟ้องจำเลยที่ 1 มีผลให้คดีเข้าสู่การพิจารณาของศาลเท่านั้น ยังไม่ได้ชี้ว่าหนังสือมอบอำนาจปลอมหรือไม่ และคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ยังไม่ถึงที่สุด ทั้งไม่อาจนำมาผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิด จึงมิใช่ข้อเท็จจริงที่จะฟังในคดีแพ่งว่าหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาคดีอาญาฐานบุกรุกต่อคดีแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายและการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
ในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานบุกรุกนั้น ข้อวินิจฉัยที่ว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยเข้ามาสร้างบ้านสองชั้นเป็นของโจทก์หรือไม่ เป็นปัญหาโดยตรงในการวินิจฉัยคดีส่วนอาญา ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาซึ่งถึงที่สุดแล้วดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 โดยต้องฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ จะให้ฟังว่าเป็นของจำเลยหรือเป็นลำห้วยสาธารณประโยชน์หรือออกโฉนดที่ดินทับลำห้วยสาธารณประโยชน์มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2241/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องค่าชดเชยหลังศาลสั่งฟื้นฟูกิจการ: เป็นฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินลูกหนี้ ต้องห้ามตาม พรบ.ล้มละลาย
คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจำเลยที่ 3 ที่สั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามคำร้องนั้น มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 1 ยังไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่านั้น มิได้บังคับโจทก์ให้กระทำหรือไม่กระทำการใด หากโจทก์ไม่ติดใจในค่าชดเชยนั้นต่อไปโจทก์ไม่จำต้องนำคดีไปฟ้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว และหากโจทก์ประสงค์จะได้ค่าชดเชยโจทก์ก็สามารถฟ้องคดีขอให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ได้ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีคำขอให้ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ อันเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ในคดีล้มละลาย แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 2 ที่ 3 และขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานของจำเลยที่ 2 ซึ่งสั่งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเข้ามาด้วย ก็เพื่อที่จะให้โจทก์ได้รับจ่ายค่าชดเชยจากจำเลยที่ 1 เท่านั้น ไม่ทำให้คดีนี้ไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/12 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: การประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย
คดีนี้เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่มีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ฐานขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ ศ. ได้รับอันตรายแก่กาย ถือว่าพนักงานอัยการได้ดำเนินคดีอาญาแทน ศ. ผู้เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ในฐานะเป็นผู้เสียหาย ข้อเท็จจริงในคดีอาญาย่อมผูกพันโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิจาก ศ. ด้วย เมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดแล้ว โดยศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานที่โจทก์ในคดีอาญานำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำโดยประมาทซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 บัญญัติให้ศาลในคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฎในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ศาลฎีกาจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ยุติในคดีอาญาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อ เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งกระทำการแทนจำเลยที่ 2 มิได้ประมาทเลินเล่อ จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8880/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อ-ค้ำประกันไม่เสียอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้ แม้จำเลยขาดนัด
สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์หรือเสียภาษีอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ คดีนี้จึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจริง แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ชั้นต้น คดีจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8880/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานในคดีแพ่งได้
สัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันไม่ได้ปิดอากรแสตมป์หรือเสียภาษีอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้ต้นฉบับหรือสำเนาเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ แม้จำเลยที่ 1 จะขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อ เมื่อสัญญาเช่าซื้อไม่อาจใช้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ คดีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์ และแม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับว่าจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจริง แต่คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็หามีผลถึงจำเลยที่ 1 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ชั้นต้น คดีจึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8380/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งหลังคดีอาญา: ผลกระทบจากการพิพากษาถึงที่สุดและการซื้อขายสินค้า
แม้ในวันที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดพิษณุโลก คดีของโจทก์จะยังถือว่าไม่ขาดอายุความเพราะอายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสอง เนื่องจากโจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแขวงพิษณุโลกเป็นคดีอาญาฐานยักยอกก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืนตามศาลแขวงพิษณุโลกให้ยกฟ้องและคดีถึงที่สุด คดีของโจทก์จึงต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 51 วรรคสี่ ซึ่งอายุความในการฟ้องคดีแพ่งของโจทก์จะต้องเป็นไปตามบัญญัติเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. เมื่อนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองเป็นการซื้อขายสินค้า อายุความที่โจทก์เรียกร้องค่าสินค้าหรือส่งมอบสินค้าคืน จึงมีกำหนด 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) โจทก์ฟ้องคดีแพ่งต่อศาลจังหวัดพิษณุโลกในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2542 ซึ่งนับจากระหว่างวันที่ 10 พฤษภาคม 2539 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2539 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่จำเลยทั้งสองรับสินค้าไปจากโจทก์และครบกำหนดส่งสินค้าที่เหลือคืน เป็นเวลาเกินกว่า 2 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีกรรมสิทธิ์ที่ดินเปลี่ยนจากคดีปลดเปลื้องทุกข์เป็นคดีมีทุนทรัพย์ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดขอให้ห้ามจำเลยและบริวารยุ่งเกี่ยวกับที่ดินพิพาทอันเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แต่เมื่อจำเลยให้การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ว่าเป็นของจำเลย จึงเปลี่ยนเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้หรือเป็นคดีที่มีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทุนทรัพย์ของคดีไม่เกินสามแสนบาท จึงอยู่ในอำนาจศาลแขวง ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งให้โอนคดีไปยังศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 16 วรรคสี่ ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกคู่ความเข้ามาในคดี: เหตุผลความจำเป็นต้องแสดงความสัมพันธ์ทางสิทธิและการใช้สิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยโอนอาคารพาณิชย์พร้อมสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ตามสัญญา และยื่นคำร้องขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดี ตามคำร้องระบุเพียงว่าจำเลยให้การว่าวัดเจ้าของที่ดินมอบสิทธิการเช่าที่ดินและการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ให้แก่จำเลยร่วม กรณีไม่สามารถทราบได้ชัดแจ้งว่าเจ้าของที่ดินมอบสิทธิให้แก่ผู้ใด จึงขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีเพื่อไม่ต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ โดยไม่ได้แสดงเหตุว่าโจทก์อาจฟ้องหรือถูกจำเลยร่วมฟ้องได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทนถ้าศาลพิจารณาให้จำเลยร่วมแพ้คดี เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (3) (ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา หากไม่มีข้อตกลงระงับความรับผิดทางอาญา
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งที่ไม่มีข้อตกลงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)