คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ครบถ้วน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดีอาญา ไม่จำต้องใช้ถ้อยคำตามกฎหมาย หากบรรยายลักษณะความผิดครบถ้วน
การบรรยายฟ้องคดีอาญานั้น ไม่จำต้องเขียนข้อความล้อหรือเลียนให้เหมือนถ้อยคำที่บัญญัติไว้ในตัวบทกฎหมาย เมื่อได้กล่าวบรรยายลักษณะของความผิดครบถ้วนและถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 แล้วก็ใช้ได้
การฟ้องคดีหาว่า จำเลยเบิกความเท็จนั้น แม้ในฟ้องจะมิได้ใช้คำว่า ถ้อยคำที่จำเลยเบิกความนั้นจำเลยรู้อยู่ว่าเป็นเท็จ แต่เมื่อถ้อยคำทั้งหลายในฟ้องแสดงให้เห็นชัดว่า จำเลยเบิกความโดยจงใจนำความเท็จมากล่าวว่าเป็นความจริง ซึ่งเท่ากับเอาความที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จมาเบิกความนั่นเอง ไม่มีความหมายผิดแผกแตกต่างอะไรกัน ฉะนั้นเมื่อฟ้องบรรยายลักษณะความผิดครบถ้วนและถูกต้องตามมาตรา 158 แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แล้วก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8614/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฯ กรณีไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ครบถ้วน จำเป็นต้องพิจารณาอุทธรณ์ใหม่ทั้งหมด
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ต่างยื่นอุทธรณ์ มาคนละฉบับ ผู้ร้องยื่นคำแก้อุทธรณ์จำเลยทั้งหกมาในฉบับเดียวกัน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหกไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 8 แต่คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 วินิจฉัยเพียงอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 6 โดยไม่มีเนื้อหาวินิจฉัยถึงอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 แต่อย่างใดด้วย จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้วินิจฉัยคดีตามฟ้องอุทธรณ์ของผู้อุทธรณ์ซึ่งศาลชั้นต้นส่งขึ้นมาโดยครบถ้วน และไม่อาจถือได้ว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 เท่ากับว่าศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่เห็นพ้องด้วยกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 และยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 240 คดีมีเหตุอันสมควรที่ศาลฎีกาจะยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 8 แล้วให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิจารณาและพิพากษาใหม่ทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8970/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อชำระหนี้ครบถ้วน แม้เจ้าหนี้ไม่ถอนการยึด
ป.วิ.พ. มาตรา 295 บัญญัติว่า "ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีในกรณีต่อไปนี้ (1) เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการบังคับคดีนั้นเอง หรือถอนโดยคำสั่งศาล แล้วแต่กรณี เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้วางเงินต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษา พร้อมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดี หรือค่าธรรมเนียมในการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้จนเป็นที่พอใจของศาล สำหรับจำนวนเงินเช่นว่านั้น..." ดังนั้น เมื่อจำเลยอ้างในคำร้องขอให้ถอนการบังคับคดีว่า จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมแห่งคดีและค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีครบถ้วนแล้ว โดยโจทก์ยื่นคำร้องว่าได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากจำเลยแล้วจริง ทั้งขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตามคำร้องของจำเลยซึ่งเท่ากับโจทก์ก็ประสงค์ให้ถอนการบังคับคดี ส่วนเจ้าพนักงานบังคับคดีทราบคำร้องของจำเลยแล้ว ไม่ได้คัดค้านว่าจำเลยยังชำระค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีไม่ครบถ้วนต้องฟังว่าจำเลยชำระค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีครบถ้วนแล้วเช่นกัน กรณีไม่มีเหตุบังคับคดีจำเลยอีกต่อไป ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ยึดสละสิทธิในการบังคับคดี หรือเพิกเฉยไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในเวลาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนด ที่จะเป็นเหตุให้ผู้ร้องที่ 1 ที่ 2 มีสิทธิขอให้บังคับคดีต่อไปได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคแปด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11735/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ซื้อขาย: เริ่มนับเมื่อส่งมอบสินค้าครบถ้วน ไม่นับแยกแต่ละครั้ง
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยระบุว่า เงินค่าซื้อขายส่วนที่เหลือจะจ่ายให้เมื่อจำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อไว้ครบถ้วนแล้ว แสดงว่ามูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายนี้ถึงกำหนดชำระต่อเมื่อโจทก์ได้ส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์ส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อให้จำเลย 2 ครั้ง อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่จำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อครบถ้วนในครั้งที่ 2 จะนับอายุความแยกเป็นแต่ละครั้งที่มีการส่งมอบสิ่งของที่สั่งซื้อไม่ได้ จำเลยได้รับมอบสิ่งของที่สั่งซื้อครบถ้วนในครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2541 นับถึงวันฟ้องวันที่ 1 ธันวาคม 2542 ยังไม่เกิน 2 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในมูลหนี้ค่าสินค้าที่โจทก์ส่งมอบให้จำเลยในครั้งแรกจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ครบถ้วนและยกหนี้ส่วนที่เหลือ การฟ้องเรียกหนี้จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์จำเลยตกลงกันให้จำเลยทั้งสองผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์โดยแบ่งชำระเป็น 2 งวด งวดแรกชำระภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 งวดที่สองชำระส่วนที่เหลือภายใน 30 วัน นับแต่ชำระงวดแรก จำเลยชำระเงินงวดแรกให้โจทก์แล้วตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 จำเลยต้องชำระส่วนที่ค้างชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2542 จะครบกำหนดชำระหนี้ในงวดที่สองวันที่ 10 มีนาคม 2542 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จึงทวงถามให้จำเลยในฐานะลูกหนี้ให้ชำระหนี้ก่อนวันที่ 10 มีนาคม 2542 ซึ่งเป็นวันที่กำหนดชำระหนี้ไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 191 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องจำเลยในวันสุดท้ายที่จำเลยยังมีสิทธิที่จะชำระหนี้ให้โจทก์อยู่ ยังไม่ถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กลับยื่นคำให้การต่อสู้คดีว่าได้ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนตามข้อตกลงแล้วโดยไม่ได้ยกเงื่อนเวลาชำระหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์ จึงเป็นการสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาโดยปริยายตาม ป.พ.พ. มาตรา 192 วรรคสอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8808/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งทางปกครองต้องมีเหตุผลตามกฎหมาย แม้กฎหมายเฉพาะจะไม่ได้บังคับ เหตุผลต้องชัดเจนและครบถ้วน
มาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ กำหนดให้คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ และมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือน ฯ กำหนดให้คำชี้ขาดของอธิบดีกรมสรรพากรหรือสมุหเทศาภิบาลให้แจ้งไปยังผู้ร้องเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น คำชี้ขาดดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่จะต้องทำเป็นหนังสือและต้องทำให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 คือต้องจัดให้มีเหตุผลและเหตุผลต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ ซึ่งตามใบแจ้งคำชี้ขาดระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 มีคำวินิจฉัยชี้ขาดให้โจทก์ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินยืนตามที่จำเลยที่ 1 ประเมิน ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 มีเหตุผลอย่างไรที่วินิจฉัยยืนตามการประเมินของจำเลยที่ 1 คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงไม่ปรากฏเหตุผลตามที่กฎหมายกำหนด และไม่เข้าข้อยกเว้นที่ไม่ต้องแสดงเหตุผลตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 วรรคสาม (2) ที่ว่าเหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จำต้องระบุอีกจึงขัดต่อบทบัญญัติมาตรา 37 แม้มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ บัญญัติเพียงว่าคำชี้ขาดให้แจ้งไปยังผู้ร้องเป็นลายลักษณ์อักษร โดยมิได้บังคับว่าต้องให้เหตุผล แต่ตามมาตรา 3 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ ได้วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า วิธีปฏิบัติราชการปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะแล้ว และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม หรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ คำชี้ขาดตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ เป็นวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอย่างหนึ่ง และเป็นคำสั่งทางปกครองที่ต้องทำเป็นหนังสือและต้องให้เหตุผลไว้ด้วยตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 แต่มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ฯ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมหรือมีมาตราฐานในการปฏิบัติราชการต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ มาตรา 37 ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ขั้นต่ำอยู่แล้ว คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 3 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯ เมื่อคำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 ไม่มีเหตุผลตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 37 คำชี้ขาดของจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาครบถ้วน แม้ลายมือชื่อในเอกสารบางส่วนไม่ครบถ้วน การพิจารณาคดีไม่เป็นโมฆะ
แม้จะมีลายมือชื่อผู้พิพากษาคนเดียวในคำเบิกความพยานลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 วันที่ 30 ตุลาคม 2544 และวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 แต่ปรากฏจากรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2544 และวันที่ 30 ตุลาคม 2544 ด้านหน้ามีข้อความระบุว่าผู้พิพากษาออกนั่งพิจารณาคดีนี้เวลา 10 นาฬิกา และ 11.20 นาฬิกา ตามลำดับ และมีลายมือชื่อผู้พิพากษาสองคนลงลายมือชื่อไว้ด้วย จึงต้องฟังตามรายงานกระบวนพิจารณาดังกล่าวว่า ในวันเวลาดังกล่าวมีผู้พิพากษาสองคนนั่งพิจารณาคดีอันถือได้ว่าเป็นการนั่งพิจารณาครบองค์คณะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แล้ว ส่วนรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 ที่มีผู้พิพากษาเพียงคนเดียวลงลายมือชื่อไว้นั้น อาจเกิดจากความหลงลืมของผู้พิพากษาอีกคนหนึ่งที่มิได้ลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาก็เป็นได้ ทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้คัดค้านว่าการพิจารณาคดีในวันดังกล่าวผู้พิพากษานั่งพิจารณาคดีไม่ครบองค์คณะจนกระทั่งคดีเสร็จการพิจารณา กรณีจึงเชื่อได้ว่าในวันเวลาดังกล่าวมีผู้พิพากษาสองคนนั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 แล้วเช่นกัน หาได้เป็นการขัดต่อมาตรา 236 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย พ.ศ.2540 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3096/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้โดยผ่านบุคคลอื่นและการครบถ้วนของการชำระหนี้ตามสัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง และ ป.วิ.พ. มาตรา 94 ห้ามการนำสืบเฉพาะกรณีการใช้เงิน ไม่ห้ามการนำสืบกรณีการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยโอนเงินหรือฝากเงินเข้าบัญชีเงินฝากของ ส. เพื่อชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ แล้ว ส. โอนเงินดังกล่าวทั้งหมดเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์โดยโจทก์ยินยอมรับเงินที่ ส. โอนเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ ซึ่งเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง และจำเลยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของ ย. ผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนโจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 315 ถือได้ว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดในฟ้องอาญา: การบรรยายข้อเท็จจริงครบถ้วน แม้ไม่ใช้ถ้อยคำตามกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติให้ฟ้องต้องระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด หรือฟ้องต้องบรรยายให้ครบองค์ประกอบความผิด แต่การบรรยายฟ้องส่วนของข้อเท็จจริงในองค์ประกอบความผิดไม่ได้เคร่งครัดว่าจะต้องใช้ถ้อยคำตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายทุกประการ
ฟ้องโจทก์ข้อ 2.1 ถึงข้อ 2.3 บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดฐานปลอมเอกสาร ฐานใช้หรืออ้างเอกสารปลอม และฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงาน เป็นลำดับและมีรายละเอียดต่อเนื่องกัน เมื่ออ่านโดยรวมแล้วเข้าใจได้ และมีการบรรยายข้อความต่อเนื่องอีกว่า การกระทำตามฟ้องข้อดังกล่าวทำให้โจทก์ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินไปเป็นของจำเลยที่ 2 เป็นการบรรยายองค์ประกอบความผิดแล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการกระทำในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชนอย่างไร ฟ้องโจทก์ทั้งสามฐานนี้จึงครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
ฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ฟ้องโจทก์บรรยายแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันนำต้นฉบับโฉนดที่ดินของโจทก์ไปเสียจากโจทก์ ต่อมานำไปจดทะเบียนซื้อขายกับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำให้โจทก์ต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นฟ้องที่บรรยายว่าการกระทำดังกล่าวน่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ผู้อื่นหรือประชาชนอย่างไร ครบองค์ประกอบความผิดแล้ว
of 3