พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 989/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินโดยอาศัยสัญญานอกศาล และการได้กรรมสิทธิ์ตามอายุความ แม้สัญญานั้นไม่ผูกพันผู้เยาว์
สัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลที่มารดาของบุตรผู้เยาว์ทำขึ้นโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลนั้น ย่อมไม่ผูกพันบุตรผู้เยาว์
การเข้าครอบครองทรัพย์ตามสัญญาซึ่งจะต้องชำระเงินตอบแทนต่อไป ในบางกรณีอาจถือเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของยังมิได้ เพราะเป็นแต่เข้าครอบครองโดยอาศัยความยินยอมของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งภายใต้ข้อผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญาก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กัน
ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลกับจำเลยโดยจำเลยให้เงินมารดาโจทก์ และมารดาโจทก์ยอมให้จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์พิพาทได้ ดังนี้ ถือว่าเป็นการยอมให้เข้าครอบครองดุจเจ้าของโดยเด็ดขาด แม้มารดาโจทก์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 (4) ก็ตาม แต่เมื่อไม่ได้ความว่ามารดาโจทก์กับจำเลยได้คบคิดกันกระทำการเพื่อให้โจทก์เสียหายเมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์พิพาท(ที่ดิน) มาครบ 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)
การเข้าครอบครองทรัพย์ตามสัญญาซึ่งจะต้องชำระเงินตอบแทนต่อไป ในบางกรณีอาจถือเป็นการครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของยังมิได้ เพราะเป็นแต่เข้าครอบครองโดยอาศัยความยินยอมของคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งภายใต้ข้อผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามสัญญาก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กัน
ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินระหว่างโจทก์จำเลย และมารดาโจทก์ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลกับจำเลยโดยจำเลยให้เงินมารดาโจทก์ และมารดาโจทก์ยอมให้จำเลยเข้าครอบครองทรัพย์พิพาทได้ ดังนี้ ถือว่าเป็นการยอมให้เข้าครอบครองดุจเจ้าของโดยเด็ดขาด แม้มารดาโจทก์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้ที่พิพาทเป็นของจำเลยโดยมิได้รับอนุญาตจากศาลในระหว่างที่โจทก์เป็นผู้เยาว์ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546 (4) ก็ตาม แต่เมื่อไม่ได้ความว่ามารดาโจทก์กับจำเลยได้คบคิดกันกระทำการเพื่อให้โจทก์เสียหายเมื่อจำเลยครอบครองทรัพย์พิพาท(ที่ดิน) มาครบ 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 143/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สิน: แม้ไม่ใช่เจ้าของโดยตรง แต่การดูแลรักษาตลอดก็มีผลต่อการพิจารณาคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า กระบือที่ถูกคนร้ายลักไปเป็นของผู้เสียหายทางพิจารณาได้ความว่ากระบือนั้นเป็นของแม่ยายของผู้เสียหายแต่ผู้เสียหายเป็นคนดูแลรักษากระบือนั้นทั้งหมดดังนี้ ไม่เป็นเหตุที่จะให้ศาลพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความมรดก: การฟ้องขอส่วนแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สิน
คดีเรื่องก่อน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งฟ้องนางสาวเสงี่ยมซึ่งเป็นทายาทด้วยกันขอส่วนแบ่งมรดก ทายาทคนอื่นมิได้เข้าเป็นคู่ความร่วมเพื่อขอส่วนแบ่งด้วยคดีถึงที่สุดโดยโจทก์กับนางสาวเสงี่ยมตกลงประนีประนอมยอมความกันให้ที่นามรดกโฉนดที่ 2154 และ 2155 ได้แก่ โจทก์ทรัพย์นอกนั้นได้แก่นางสาวเสงี่ยม ต่อมาโจทก์ไปจัดการขอรับมรดกที่ดินโฉนดนั้นต่อสำนักงานที่ดิน ทายาทอื่นได้โต้แย้งการรับมรดกโจทก์จึงฟ้องทายาทอื่นเป็นจำเลยขอให้ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้องและถอนคำโต้แย้งนั้นจำเลยให้การตัดฟ้องว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความมรดก ดังนี้ การฟ้องร้องคดีเรื่องก่อนต้องฟ้องภายในอายุความ คือ ภายใน1 ปี อายุความจึงจะสะดุดหยุดอยู่ อันอาจเป็นเหตุทำให้โจทก์ฟ้องคดีเรื่องหลังเกินกว่า 1 ปีได้ แต่ปรากฏว่าเจ้ามรดกตายเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2501 แต่โจทก์ฟ้องคดีเรื่องก่อนเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2502 เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ขาดอายุความแล้ว ดังนั้นการฟ้องคดีเรื่องก่อนของโจทก์จึงไม่เป็นเหตุทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีเรื่องหลังได้เกินกว่า 1 ปี เมื่อคดีเรื่องหลังปรากฏว่าจำเลยเป็นฝ่ายครอบครองนาพิพาทรายนี้ตลอดมา และนับแต่เจ้ามรดกตาย โจทก์มิได้ครอบครองนาพิพาทรายนี้เลยเป็นเวลาเกือบ 2 ปี คดีเรื่องหลังของโจทก์ย่อมขาดอายุความมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินโดยสงบ: การโต้เถียงสิทธิไม่ใช่การถูกกำจัด
การครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น หมายความว่า ครอบครองอยู่ได้โดยไม่ได้ถูกกำจัดให้ออกไป หรือไม่ได้ฟ้องร้องเพียงแต่โต้เถียงสิทธิกัน ยังไม่หมายความถึง ไม่สงบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินของผู้รับมอบ: สิทธิการครอบครองยังไม่สละ หากไม่ได้มอบหมายอย่างชัดเจน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์และได้ความจากผู้เสียหายว่าจำเลยเป็นน้องผู้เสียหายๆ ได้ให้จำเลยเอาเงินไปเก็บในตู้ซึ่งเป็นที่เก็บเงินและเสื้อผ้า ตู้นี้อยู่ในห้องนอนของผู้เสียหายผู้เสียหายได้มอบกุญแจตู้ให้จำเลยไปด้วย ข้อเท็จจริงดังนี้จะถือว่าผู้เสียหายสละสิทธิการครอบครองเงินนั้นให้แก่จำเลยแล้ว ยังไม่ได้ผู้เสียหายยังมีสิทธิครอบครองเงินนั้นอยู่ รูปคดีอาจเป็นเรื่องลักทรัพย์ไม่ใช่ยักยอก ซึ่งศาลควรฟังพยานโจทก์ต่อไป ไม่ควรสั่งงดสืบพยาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินร่วม การยื้อแย่งทรัพย์โดยไม่ชอบ และความรับผิดของผู้กระทำละเมิดร่วม
โจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของข้าวร่วมกัน จำเลยได้แยกไปอยู่ที่อื่น แต่ข้าวยังอยู่ในความครอบครองของโจทก์ จำเลยได้พาพวกมาขนข้าวไปโดยพลการ โดยโจทก์ไม่ยินยอมดังนี้จำเลยต้องรับผิดและต้องคืนข้าวส่วนที่เกินให้โจทก์ไป
ผู้รับจ้างรู้ว่า ผู้จ้างไม่มีสิทธิในทรัพย์แต่ยังยอมรับจ้างไปขนทรัพย์นั้นมา ต้องรับผิดฐานละเมิดร่วมรับผู้จ้างด้วย
ผู้รับจ้างรู้ว่า ผู้จ้างไม่มีสิทธิในทรัพย์แต่ยังยอมรับจ้างไปขนทรัพย์นั้นมา ต้องรับผิดฐานละเมิดร่วมรับผู้จ้างด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงการยึดทรัพย์ ไม่ถือเป็นการฝากทรัพย์ สิทธิในทรัพย์สินยังคงเป็นของเจ้าของเดิม
โจทก์ฟ้องอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ๆ ให้จำเลยยึดถือครอบครองไว้แทนเพื่อหลบหลีกไม่ให้ถูกยึดทรัพย์ บัด
นี้จำเลยจะขายที่พิพาทนี้ โจทก์จึงขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของดจทก์ ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง ฝ่ายจำเลยก็ต่อสู้ว่าที่
พิพาทเป็นของจำเลยๆ ครอบครองดดยอำนาจของตนเอง หาได้ครอบครองไว้แทนโจทก์ไม่ ดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์ฟ้อง
ขอให้แสดงสิทธิเป็นเจ้าของที่พิพาทห้ามจำเลยเกี่ยวข้องหาใช่เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนได้โดยอาศัยนิติกรรมการ
ฝากทรัพย์ไม่ ฉะนั้นจะยกเอาอายุความเรื่องการฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยไม่ได้ และประเด็นในคดีนี้คงมีเพียงว่า ที่พิ
พาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยยึดถือครอบครองแทนจริงหรือไม่ ถ้าเป็นความจริง และจำเลยมิได้บอกกล่าวแสดง
เจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองแล้ว แม้จำเลยจะครอบครองมาช้านานเพียงใด ก็หาได้สิทธิเป็นเจ้า
ของไม่ โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของอยู่ตลอดมา./
นี้จำเลยจะขายที่พิพาทนี้ โจทก์จึงขอให้ศาลแสดงว่าที่พิพาทเป็นของดจทก์ ห้ามจำเลยเกี่ยวข้อง ฝ่ายจำเลยก็ต่อสู้ว่าที่
พิพาทเป็นของจำเลยๆ ครอบครองดดยอำนาจของตนเอง หาได้ครอบครองไว้แทนโจทก์ไม่ ดังนี้ เป็นเรื่องโจทก์ฟ้อง
ขอให้แสดงสิทธิเป็นเจ้าของที่พิพาทห้ามจำเลยเกี่ยวข้องหาใช่เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนได้โดยอาศัยนิติกรรมการ
ฝากทรัพย์ไม่ ฉะนั้นจะยกเอาอายุความเรื่องการฝากทรัพย์ขึ้นวินิจฉัยไม่ได้ และประเด็นในคดีนี้คงมีเพียงว่า ที่พิ
พาทเป็นของโจทก์ให้จำเลยยึดถือครอบครองแทนจริงหรือไม่ ถ้าเป็นความจริง และจำเลยมิได้บอกกล่าวแสดง
เจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองแล้ว แม้จำเลยจะครอบครองมาช้านานเพียงใด ก็หาได้สิทธิเป็นเจ้า
ของไม่ โจทก์ยังคงเป็นเจ้าของอยู่ตลอดมา./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 146/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าต่ออายุและการบอกเลิกสัญญาเช่าเมื่อผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สิน
ทำหนังสือสัญญาเช่าตึกกำหนดเวลาเช่ากันไว้ 3 ปี แล้วมีข้อตกลงกันในข้อหนึ่งว่า "เมื่อสัญญาฉะบับนี้ ได้ครบ 3ปีแล้ว ผู้ให้เช่าและผู้เช่าจะทำสัญญาเช่าฉะบับใหม่ต่อไปอีกเป็นเวลากำหนด 3 ปี" ดังนี้ ข้อตกลงดังกล่าวมิใช่คำมั่นของผู้ให้เช่าฝ่ายเดียว แต่ผู้เช่าเองก็ยอมตกลงจะทำสัญญาเช่าตามกำหนดนั้นเหมือนกัน จึงเป็นข้อตกลงผูกพันกันทั้งสองฝ่ายว่า จะต้องทำสัญญาเช่ากันต่อไปอีก 3 ปี แต่เมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่ายังคงครอบครองทรัพย์สินที่เช่าต่อไปอีก ก็ต้องถือว่าผู้เช่าและผู้ให้เช่าได้ทำสัญญาต่อไปอีกไม่มีกำหนดเวลาตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 570 เมื่อเป็นเช่นนี้ให้เช่าย่อมบอกเลิกการเช่าได้ตามมาตรา 566 ผู้เช่าจะอ้างข้อตกลงในสัญญาดังกล่าวแล้วว่าสัญญาเช่าต่อมีกำหนด 3 ปี หาได้ไม่ เพราะสัญญาเช่าต่อที่มีกำหนด 3 ปี นั้น ยังมิได้เกิดมีขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1253/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์สินชั่วคราวและการลักทรัพย์: การที่การช่วยถือทรัพย์ไม่อาจตัดสิทธิเจ้าของได้
เจ้าทรัพย์ยอมให้จำเลยช่วยถือทรัพย์ไว้แทนตนและไปด้วยกัน การครอบครองในทรัพย์ยังตกอยู่แก่เจ้าของทรัพย์ การที่จำเลยบังอาจพาทรัพย์นั้นหนีไป ให้พ้นจากความครอบครองของเจ้าของทรัพย์ โดยไม่ได้รับอนุญาต ย่อมเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอครอบครองทรัพย์สินและแบ่งมรดก: คำขอไม่ชัดเจนและจำเลยมีสิทธิในกองมรดก
โจทก์เป็นภรรยาผู้ตาย ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นบุตรขอให้ (1) ส่งทรัพย์สินของผู้ตายทั้งหมดให้โจทก์มีสิทธิยึดถือครอบครองแต่ผู้เดียว หรือว่า (2) ให้แบ่งปันทรัพย์ซึ่งโจทก์มีส่วนได้รับ 2,206 บาท ดังนี้ ศาลบังคับให้ตามฟ้องโจทก์ไม่ได้ เพราะคำขอข้อ 1 ไม่ใช่เรื่องขอเข้าจัดการมรดกตามกฎหมาย เป็นการขอเข้าครอบครองเฉยๆ ซึ่งจำเลยเป็นทายาทมีส่วนได้ในกองมรดกอยู่ด้วย จึงทำไม่ได้ คำขอข้อ 2 โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องเป็นเรื่องขอแบ่งสมรสและแบ่งมรดก จำเลยไม่มีโอกาสต่อสู้ในเรื่องสินเดิมของผู้ตาย ไม่มีทางจะแบ่งให้ในคดีนี้ได้