พบผลลัพธ์ทั้งหมด 47 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7427/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าไม่คล้ายกันพอที่จะทำให้สาธารณชนสับสน สินค้าต่างประเภท และไม่มีเจตนาลวง
เครื่องหมายการค้าของจำเลยเป็นรูปใบหน้าคนทำครัวสวมหมวก มีมือข้างเดียวถือขวดโดยไม่มีส่วนแขน ลำตัว และเท้า แม้รูปส่วนของจำเลยจะประดิษฐ์ขึ้นแต่ก็มองได้ออกอย่างชัดเจนว่าเป็นคน ส่วนของโจทก์เป็นรูปตัวการ์ตูนทรงกระบอกรูปขวดมีหมวก ตา ปาก มือ และลำตัว ซึ่งดัดแปลงมาจากขวดของน้ำมันพืช สำหรับเครื่องหมายการค้าส่วนที่เป็นตัวอักษร ส่วนของโจทก์เป็นอักษรไทยคำว่า กุ๊ก และอักษรโรมันคำว่า COOK เป็นอักษรเพียงพยางค์เดียว แต่ส่วนของจำเลยเป็นอักษรไทยคำว่า กุ๊กทอง มี 2 พยางค์ และอักษรโรมันคำว่า COLDEN COOK มี 3 พยางค์ ลักษณะของเครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดกับที่โจทก์จดทะเบียนเป็นเจ้าของไว้แล้วจึงไม่เหมือนหรือคล้ายกันจนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน เพราะไม่ทำให้ประชาชนสับสนหรือเข้าใจผิดถึงแหล่งกำเนิดสินค้า นอกจากนั้นสินค้าของโจทก์มีเพียงชนิดเดียวคือ น้ำมันพืชส่วนของจำเลยผลิตสินค้า ซอสถั่วเหลือง ซอสพริก น้ำปลา ซีอิ้วและเต้าเจี้ยวโดยไม่ได้ผลิตน้ำมันพืชแสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ชื่อบริษัทที่คล้ายคลึงกันจนเกิดความสับสนถือเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะทราบและรับรองว่าจะเปลี่ยนชื่อแล้ว
ชื่อของโจทก์เป็นภาษาอังกฤษเขียนว่า ACME INDUSTRIESCO.,LTD. ส่วนชื่อของจำเลยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า ACME INDUSTRY CO.,LTD. ชื่อโจทก์และจำเลยจึงคล้ายกันมาก เช่นนี้ ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะชาวต่างประเทศที่ติดต่อค้าขายกับโจทก์เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดว่าโจทก์คือจำเลย หรือจำเลยคือโจทก์ได้ โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้ชื่อภาษาไทยว่าบริษัทอุตสาหกรรมแอคมิ จำกัด ส่วนจำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้ชื่อภาษาไทยว่า บริษัทเอ็กมี่ อินดัสทรี จำกัด สาระสำคัญของชื่อโจทก์และจำเลยที่ใช้เรียกขานอยู่ที่คำว่าแอคมิหรือเอ็กมี่ ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ ACME แม้จะเขียนเป็นภาษาไทยแตกต่างกัน แต่ก็อ่านออกเสียงคล้ายกันมาก ส่วนคำว่า อุตสาหกรรมและอินดัสทรี ก็เป็นคำคำเดียวกัน เพียงแต่ของจำเลยเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษเท่านั้นชื่อของจำเลยจึงพ้องหรือคล้ายกับชื่อของโจทก์แล้ว การประกอบธุรกิจต่างกันหรือมีลูกค้าคนละกลุ่มกันไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาพิจารณาว่าชื่อโจทก์กับจำเลยพ้องหรือคล้ายกันหรือไม่ แม้ขณะที่จำเลยขอจดทะเบียนชื่อของจำเลย จำเลยอาจจะกระทำโดยสุจริตซึ่งอาจจะไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาเมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมีหนังสือแจ้งให้จำเลยเปลี่ยนชื่อใหม่เพราะชื่อซ้ำกับชื่อของโจทก์ และทนายโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยเปลี่ยนชื่อจำเลยก็ได้มีหนังสือถึงทนายโจทก์แจ้งให้ทราบว่าจำเลยจะเปลี่ยนชื่อใหม่ แสดงให้เห็นว่าจำเลยรู้แล้วว่าชื่อจำเลยพ้องหรือคล้ายกับชื่อโจทก์ แต่จำเลยก็เพิกเฉย หาได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อไม่โจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจากวันที่จำเลยรับรองว่าจะเปลี่ยนชื่อเกือบ 6 เดือน เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยนำชื่อที่ซ้ำหรือคล้ายกับของโจทก์มาใช้โดยมิชอบแล้ว
จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจริง ดังนั้น แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้ชัดแจ้งว่าโจทก์ได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด แต่เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยดังกล่าวแล้วศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้
จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจริง ดังนั้น แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้ชัดแจ้งว่าโจทก์ได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด แต่เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยดังกล่าวแล้วศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6441/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน ถือเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีจุดเด่นอยู่ที่คำว่า Angelfaceซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์ เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า AllaPuff ซึ่งอ่านได้เป็น 3 พยางค์เช่นกันส่วนคำว่า POND'S ของโจทก์กับคำว่า DUBARRY ของจำเลยเป็นตัวอักษรขนาดเล็กกว่าคำทั้งสองดังกล่าวและไม่เป็นจุดเด่นของเครื่องหมายการค้าทั้งสอง อักษรโรมัน A ตัวแรกในคำว่าAlla ของจำเลยมีลักษณะการเขียนเหมือนกับอักษรโรมันA ตัวแรกของคำว่า Angel ของโจทก์ และอักษรโรมันตัว P ในคำว่าPuff ของจำเลยก็คล้ายอักษรโรมันตัว F ในคำว่า Face ของโจทก์ลักษณะการเขียนของตัวอักษรคำว่า AllaPuff และคำว่า AngelFaceก็คล้ายคลึงโดยลากเส้นตรงของตัวอักษร P และ F ยาวลงมาด้านล่างเหมือนกันและตัวอักษรมีขนาดเท่ากัน การวางตำแหน่งคำว่า DUBARRY เหนือคำว่า AllaPuff ก็อยู่ในตำแหน่งเดียวกับคำว่า POND's ซึ่งอยู่เหนือคำว่า AngelFaceนอกจากนี้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยยังใช้กับสินค้าชนิดเดียวกัน ตลับแป้งของจำเลยมีขนาดเท่ากับตลับแป้งของโจทก์รูปร่าง ลักษณะของตัวตลับแป้ง และฝาก็เหมือนกัน สีของตลับแป้งของจำเลยก็มีสีแดงเช่นเดียวกับตลับแป้งของโจทก์ ตัวอักษรโรมันที่ตลับแป้งก็ใช้สีทองเช่นเดียวกัน ผู้บริโภคหากมิได้สังเกตย่อมเกิดความสับสนและซื้อสินค้าผิดจากความประสงค์ได้ ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันทำให้สาธารณชนสับสน และการมีอำนาจฟ้องคดี
แม้โจทก์ไม่มีตัวผู้มอบอำนาจมาเบิกความก็ตาม แต่มี ธ.ผู้รับมอบอำนาจเบิกความประกอบหนังสือมอบอำนาจและคำแปลภาษาไทยซึ่งโนตารีปับลิกแห่งมลรัฐเท็กซัสรับรองว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแห่งมลรัฐเท็กซัสจ.เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์และลายมือชื่อผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อ จ. ประกอบกับมีหนังสือรับรองของรัฐมนตรีแห่งมลรัฐเท็กซัสรับรองโนตารีปับลิกและมีหนังสือรับรองของกงสุลไทย ณ นครลอสแองเจลีสรับรองดวงตราและลายมือชื่อรัฐมนตรี จำเลยมิได้นำสืบหักล้างให้เห็นเป็นอย่างอื่นทั้งไม่มีเหตุควรสงสัยว่าไม่ใช่หนังสือมอบอำนาจอันแท้จริงข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามข้อความที่ระบุในหนังสือมอบอำนาจ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยมีเลข 7 อารบิคเป็นส่วนสำคัญเพราะเลข 7 มีขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรมากสามารถเห็นได้เด่นชัด แม้เลข 7 ของจำเลยมีลายเส้นซ้อนกัน 4 ตัว ต่างกับของโจทก์ซึ่งมีลักษณะทึบเพียงตัวเดียวก็เป็นเพียงรายละเอียดไม่น่าจะเป็นที่สนใจของผู้พบเห็น ส่วนอักษรELEVEn ของโจทก์ และBIGSEVEn ของจำเลยเป็นตัวพิมพ์เหมือนกันโดยเฉพาะอักษร 4ตัวท้ายเขียนเหมือนกันและอักษรตัว n ท้ายสุดเป็นตัวพิมพ์เล็กเช่นเดียวกัน ลักษณะการวางรูปแบบเครื่องหมายการค้าเหมือนกันคืออักษรพาดกลางตัวเลข เมื่อคำนึงว่าสาธารณชนจำนวนมากมิได้มีความรู้ภาษาอังกฤษหรือตัวอักษรโรมันดีพอที่จะแยกได้ว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยต่างกัน และโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อนจำเลยจนเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทยการที่จำเลยประกอบกิจการค้าเช่นเดียวกับโจทก์และใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับของโจทก์เห็นได้ว่าจำเลยเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดว่ากิจการค้าของจำเลยเป็นกิจการค้าของโจทก์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตอันเป็นการลวงสาธารณชนและเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 968/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการคุ้มครองสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน
บริษัทฟ.เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า FRITOS จดทะเบียนไว้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2476 โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายนี้ในประเทศไทย เมื่อปี 2524 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้ออกคู่มือรับจดทะเบียนให้โจทก์ในปี 2525 ต่อมาปี 2530 บริษัทฟ. ได้ทำหนังสือมอบฉันทะให้โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย และประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกแสดงว่า บริษัทฟ. ได้ให้สัตยาบันการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทยมีอำนาจฟ้องผู้เลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ เครื่องหมายการค้าคำว่า FREEDOS ของจำเลยและเครื่องหมายการค้าคำว่า FRITOS ของโจทก์ ต่างก็เป็นคำอักษรโรมัน อ่านออกเสียงสองพยางค์เหมือนกัน แม้เครื่องหมายการค้าของจำเลย จะมีรูปประดิษฐ์เป็นตัวอักษร F สองตัว หันหลังชนกันในกรอบสี่เหลี่ยมและมีภาษาไทยกำกับว่า ฟรีโดส์ แต่เครื่องหมายการค้าทั้งสองคำน่าจะมีสาระสำคัญอยู่ที่การอ่านออกเสียง หรือสำเนียงเรียกขานมากกว่าอย่างอื่น เครื่องหมายการค้าของจำเลยอ่านว่า ฟรีโดส์ มีสำเนียงใกล้เคียง หรือเกือบเหมือนกับเสียงอ่านเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า ฟรีโดส์หรือฟรีโตส์ อีกทั้งเครื่องหมายการค้าของโจทก์ประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 6 ตัว ส่วนของจำเลยมี 7 ตัว แต่ปรากฏว่ามีซ้ำกันถึง 4 ตัว จึงถือได้ว่าเครื่องหมายการค้า คำว่า FREEDOS ของจำเลยมีลักษณะตัวอักษรและการอ่านออกเสียง เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้า คำว่า FRITOS ของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4585/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายคลึงกัน โจทก์ใช้ก่อนมีสิทธิเหนือกว่า จำเลยต้องถอนคำขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นอักษรญี่ปุ่นและอักษรจีนอ่านออกเสียงตามภาษาญี่ปุ่นได้สองแบบว่า "อายิโนะโมะโต๊ะ" หรือ"อายิโนะมิโชะ"อ่านออกเสียงเป็นภาษาจีนแต้จิ๋วว่า"บีจือซู"ส่วนเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งจำเลยขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นอักษรจีน อักษรไทย และอักษรโรมันว่า "บีซู"ซึ่งเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่เป็นอักษรจีนเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนกับอักษรตัวแรกในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือคำว่า "ปี" กับ "อายิ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "รส"และอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของจำเลยเขียนเหมือนอักษรตัวหลังของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ คือคำว่า "ชู" กับ คำว่า"โมะโต๊ะ" และมีคำแปลเหมือนกันว่า "ส่วนสำคัญ" เครื่องหมายการค้าของจำเลยต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพียงเครื่องหมายการค้าของจำเลยไม่มีอักษรตัวกลาง แต่เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษรตัวกลางเป็นภาษาญี่ปุ่นอ่านออกเสียงว่า "โนะ" เท่านั้น จำเลยใช้อักษรภาษาจีนคำว่า "บีซู"เน้นเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายการค้าของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ ซึ่งเป็นภาษาญี่ปุ่นก็เน้นจุดเด่นคำว่า "อายิ"กับคำว่า"โมะโต๊ะ"ตัวอักษรญี่ปุ่นคำว่า"โนะ"มีขนาดเล็กมากมิได้เน้นความเด่นชัดของเครื่องหมายการค้าโจทก์จึงเป็นอักษรที่ไม่มีความหมายสำคัญแก่บุคคลทั่วไปที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น และแม้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจะมีอักษรไทยและอักษรโรมันอยู่ด้วย แต่ก็เน้นความเด่นอยู่ที่อักษรจีนเพราะจัดวางไว้ตรงกลาง ความแตกต่างของเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับของจำเลยจึงมีเพียงเล็กน้อย การพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยเหมือนกันหรือคล้ายกันหรือไม่ ต้องพิจารณาส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นเกณฑ์ เมื่อส่วนประกอบหลักหรือส่วนประกอบสำคัญเป็นตัวอักษรเหมือนกันอย่างเห็นได้โดยเด่นชัด การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันเครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยคือสินค้าของโจทก์ได้ การที่โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาก่อนจำเลยทั้งได้จดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและต่างประเทศหลายประเทศก่อนที่จำเลยจะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารายพิพาทดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1929/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันและมีเจตนาไม่สุจริต
เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมีสาระสำคัญของลักษณะบ่งเฉพาะอยู่ที่ตัวอักษรโรมันคำว่า BROTHER และ brother แม้จำเลยจะจดทะเบียนและยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่าbrother โดยมีคำว่า tri อยู่ด้านหน้า กับคำว่า TRADE MARK อยู่ด้านล่างและมีรูปห่วงวงกลม 3 ห่วง วางเรียงกันอยู่เหนือคำว่า brother คำว่า triและ TRADE MARE เป็นเพียงส่วนประกอบบอกจำนวนว่าเป็น tri brother หรือสามพี่น้อง ส่วนคำว่า TRADE MARK แปลว่า เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแต่อย่างใด สำหรับรูปห่วงวงกลม 3 ห่วง ที่วางเรียงกันก็ไม่มีลักษณะพิเศษไม่ถึงกับเป็นลักษณะบ่งเฉพาะอันอาจแสดงให้เห็นว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยแตกต่างไปจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ และจำเลยได้ใช้หรือจะใช้เครื่อง-หมายการค้าดังกล่าวของจำเลยกับสินค้าจำพวก 6 และชนิดสินค้าจักรเย็บผ้าเช่นเดียวกันกับของโจทก์ และจำเลยเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าจักรเย็บผ้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า BROTHER ของโจทก์มาก่อน ทั้งจำเลยเคยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าอักษรโรมันคำว่า brother ใช้กับสินค้าจำพวก 13 ชนิดสินค้า ขาจักรเย็บผ้า จนนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ยกคำขอของจำเลยมาแล้ว แสดงให้เห็นความไม่สุจริตของจำเลยที่จะทำให้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนมาโดยตลอดโจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนลวงสาธารณชน เป็นการละเมิดสิทธิเครื่องหมายการค้า
เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า LODINE และ โลดีน ของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าซึ่งจดทะเบียนภายหลังคำว่า LODINOX และโลดินอกซ์ ของจำเลย ต่างเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทเครื่องหมายคำโดยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา และตัวอักษรไทยรูปแบบธรรมดาเป็นคำอ่านออกเสียงรูปแบบอักษรโรมันไม่มีลวดลายหรือลักษณะพิเศษแตกต่างกัน การออกสำเนียงในการอ่านคำในสองพยางค์หน้าของ เครื่องหมายการค้าทั้งสองคล้ายคลึงและใกล้เคียงกัน แม้จำเลยจะต่อเติมอักษรโรมันในพยางค์หลังและอธิบายว่าคำว่า LODINOXมีที่มาจากถ้อยคำของสูตรตัวยาแก้ท้องเสีย 2 ตัว คือ LOPERAMIDE และFURASOLIDINE และต่อเติมคำว่า NOX อ้างว่าให้มีความหมายว่าหยุด ก็เป็นเพียงความประสงค์ของจำเลยเองที่ไม่ถูกต้องตรงกับความหมายของถ้อยคำและตัวอักษรที่ย่อมเอามา กล่าวคือ คำว่า NOXเป็นคำที่ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรม และคำว่า LODINOX ก็ไม่ตรงกับ ตัวอักษร LO และ LID ที่จำเลยอ้างว่านำมาจากสูตรตัวยา 2 ตัวดังกล่าวแล้วนำมารวมกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ทั้งเครื่องหมายการค้าของจำเลยใช้กับสินค้าจำพวกที่ 3 ตามรายการจำพวกสินค้าเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ สาธารณชนย่อมยากที่จะแยกได้ว่าสินค้ายาเครื่องหมายการค้าใดเป็นสินค้าของโจทก์หรือของจำเลย และอาจทำให้ผู้ซื้อยาเกิดความสับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าที่โจทก์ผลิตขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไม่มีความรู้ภาษาอังกฤษหรือรู้น้อยย่อมเกิดความสับสนหรือหลงผิดได้ง่าย ถือได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1818/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกันจนทำให้เกิดความเข้าใจผิด และสิทธิในการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "NICCO" ซึ่งจดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 13 จำหน่ายแพร่หลายในประเทศไทยมาประมาณ 15 ปีแล้ว การที่จำเลยใช้ เครื่องหมายการค้า"NICCO" จดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวกที่ 18 จึงเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าที่เป็นตัวอักษรโรมันคำเดียวกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ต่างกันแต่เพียงว่า ของโจทก์อยู่ภายในวงกลมที่ล้อมรอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าและตัวอักษร "O" เป็นตัวทึบ ส่วนของจำเลยใช้ตัวอักษรโรมันธรรมดา การกระทำของจำเลยเป็นการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อให้ผู้ซื้อหลงเข้าใจผิดว่าสินค้าของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าจำเลย และมีสิทธิห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้านั้นด้วย.
มาตรา 21 และมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งแบ่งออกเป็นขั้น ๆ รวมทั้งขั้นประกาศตามมาตรา 21 และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา 22 ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศ เมื่อปรากฏว่าไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และไม่ตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตน ดังนั้น เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยแล้ว ถ้าหากโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1) สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลจึงยังไม่สิ้นไป.
มาตรา 21 และมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพุทธศักราช 2474 เป็นบทบัญญัติสำหรับวิธีดำเนินการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ซึ่งแบ่งออกเป็นขั้น ๆ รวมทั้งขั้นประกาศตามมาตรา 21 และขั้นจดทะเบียนตามมาตรา 22 ซึ่งได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นคำคัดค้านการจดทะเบียนไว้ว่าจะต้องยื่นภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศ เมื่อปรากฏว่าไม่มีการคัดค้าน จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 22 และไม่ตัดสิทธิเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่แท้จริงที่จะดำเนินคดีเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าของตน ดังนั้น เมื่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยแล้ว ถ้าหากโจทก์เป็นเจ้าของซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่าจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนคำขอจดทะเบียนกับทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามมาตรา 41(1) สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลจึงยังไม่สิ้นไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าประเภทคำและการเลียนแบบที่ทำให้ผู้บริโภคสับสน
เครื่องหมายการค้าคำว่า"IXOL"ของโจทก์และเครื่องหมายการค้าคำว่า"itol"ของจำเลยเป็นเครื่องหมายการค้าประเภทคำที่เป็นตัวอักษรโรมันอย่างเดียวไม่มีรูปหรือลวดลายประกอบการที่จำเลยนำเอารูปจิงโจ้อยู่ในวงกลมมาประกอบเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ภาชนะบรรจุสินค้าหาใช่สาระสำคัญในการนำมาประกอบการวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่เพราะรูปภาพดังกล่าวมิได้จดทะเบียนเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าเมื่อเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยมี2พยางค์เหมือนกันตัวอักษร5ตัวเท่ากันและเหมือนกันถึง4ตัวต่างกันเฉพาะตัวกลางเท่านั้นและแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดส่วนของจำเลยเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เฉพาะตัวแรกอีก4ตัวเป็นตัวพิมพ์เล็กแต่เมื่ออ่านออกเสียงมีสำเนียงใกล้เคียงกันทั้งที่ภาชนะบรรจุสินค้าของจำเลยใช้คำภาษาไทยว่า"วิลตอล"ย่อมทำให้ประชาชนผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยต่อภาษาต่างประเทศย่อมอาจจะฟังหรือเรียกขานเป็นสำเนียงเดียวกันได้เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงมีลักษณะเป็นการเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทำให้ประชาชนหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ได้เป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์.