คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความจำเป็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 165 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: เหตุผลความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม
การอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลแรงงานไปยัง ศาลฎีกาต้องอุทธรณ์ภายใน 15 วัน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง และเหตุในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 31 ได้ ในการย่นหรือขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่งมาตรา 26 ได้วางหลักเกณฑ์ว่าศาลแรงงานจะกระทำได้ต่อเมื่อ มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเท่านั้นไม่ได้กำหนดว่าจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 จำเลยที่ 2อ้างว่าหลังจากศาลแรงงานกลางพิพากษาแล้ว ได้ยื่นคำแถลงขอคัดคำพิพากษาตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2541 แต่เจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่ายังพิมพ์ไม่เสร็จและผู้พิพากษายังไม่ได้ลงลายมือชื่อจึงขอคัดไม่ได้ จำเลยที่ 2 ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ศาลเพื่อขอรับสำเนาคำพิพากษาตลอดมา จนกระทั่งวันที่ 3 พฤศจิกายน2541 จำเลยที่ 2 จึงได้รับสำเนาคำพิพากษา อันเป็นเวลาล่วงเลยกำหนดเวลาที่จะยื่นอุทธรณ์ซึ่งหากคำร้อง ของ จำเลยที่ 2 เป็นความจริง จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้ทราบคำพิพากษานั้น ถือได้ว่ามีความจำเป็น และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึง ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้แก่จำเลยที่ 2 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์หลังจากครบกำหนดแล้ว ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 สละสิทธิในการอุทธรณ์ ศาลแรงงานกลางชอบที่จะไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยที่ 2 ว่าเป็นความจริงหรือไม่ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีแรงงาน: ศาลใช้ดุลพินิจตามความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 26 ได้บัญญัติในกรณีขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ.มาตรา 23 ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 31แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ได้ และระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯหรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แสดงว่า ในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง จะกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษเช่นที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 23 ไม่
ศาลแรงงานมีคำสั่งในคดีนี้ว่า พฤติการณ์ตามคำร้องของจำเลยมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้นั้นเท่ากับศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่าคดียังไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะ-เวลาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยนั่นเอง
คดีนี้ศาลแรงงานอ่านคำพิพากษาในวันที่ 1 กันยายน 2540ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอถ่ายคำพิพากษาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2540 และแจ้งให้จำเลยทราบพร้อมทั้งแจ้งฐานะคดีเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2540 เพื่อขอคำยืนยันจากจำเลยว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ ดังนี้ แม้ทนายจำเลยจะยังไม่ได้รับคำยืนยันเป็นหนังสือจากจำเลย หากทนายจำเลยเห็นว่าคดีมีเหตุควรอุทธรณ์ก็น่าจะอุทธรณ์ไปก่อนได้ เพราะทนายจำเลยมีอำนาจกระทำได้อยู่แล้วตามใบแต่งทนาย ทั้งไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างใด การที่ทนายจำเลยไม่ได้รับแจ้งจากจำเลยว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ดังกล่าว นับว่าเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าคดีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานจะพึงขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขยายระยะเวลาอุทธรณ์คดีแรงงาน: พิจารณาความจำเป็นและประโยชน์แห่งความยุติธรรม ไม่ใช่พฤติการณ์พิเศษ
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 26 บัญญัติให้ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แสดงให้เห็นว่าในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่งนั้น มาตรา 26ได้วางหลักเกณฑ์ว่าจะกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม หาได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าจะต้องมีพฤติการณ์พิเศษเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ไม่ ฉะนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่า พฤติการณ์ตามคำร้องของจำเลยมิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้นั้นเท่ากับศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยแล้วว่าคดียังไม่มีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่จะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยนั่นเอง เมื่อศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาในวันที่ 1 กันยายน 2540 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอถ่ายคำพิพากษาวันที่ 2 กันยายน 2540 และแจ้งให้จำเลยทราบพร้อมทั้งแจ้งฐานะคดีเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2540 เพื่อขอคำยืนยันจากจำเลยว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ ดังนี้ แม้ทนายจำเลยจะยังไม่ได้รับคำยืนยันในหนังสือจากจำเลย หากทนายจำเลยจะยังไม่ได้รับ คำยืนยันเป็นหนังสือจากจำเลย หากทนายจำเลยเห็นว่าคดีมี เหตุควรอุทธรณ์ก็น่าจะอุทธรณ์ไปก่อนได้ เพราะทนายจำเลยมี อำนาจกระทำได้อยู่แล้วตามใบแต่งทนายทั้งไม่ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างใด การที่ทนายจำเลยไม่ได้รับแจ้งจากจำเลยว่าจะอุทธรณ์หรือไม่ดังกล่าวเป็นความบกพร่องของฝ่ายจำเลยเอง ถือไม่ได้ว่าคดีมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมที่ศาลแรงงานกลางจะพึงขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3441/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ การใช้กำลังป้องกันต้องสมควรแก่เหตุ และไม่เกินความจำเป็น
เมื่อผู้ตายเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อนโดยตบตีทำร้าย และเตะจำเลยก่อนฝ่ายเดียวอันถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะป้องกันตัวเองได้แต่ขณะเกิดเหตุผู้ตายเพียงแต่ตบเตะจำเลยโดยไม่มีอาวุธแต่อย่างใด การที่จำเลยใช้อาวุธมีดเลือกแทงที่ช่องท้องของผู้ตายอันเป็นอวัยวะที่สำคัญ แม้จะแทงไปเพียง 1 ครั้งแต่ถูกลำไส้และเส้นเลือดแดงใหญ่ในช่องท้องฉีกขาดเป็นเหตุ ให้ผู้ตายถึงแก่ความตายทันที แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้ตาย จึงเป็นการกระทำที่เกินสมควรแก่เหตุ การกระทำของจำเลยย่อม เป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเพื่อป้องกันเกินสมควร แก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ประกอบด้วยมาตรา 69

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3043/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้มีเหตุผลทางธุรกิจ แต่ต้องพิจารณาความจำเป็นและความเดือดร้อนของลูกจ้าง
บทบัญญัติเรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มีเจตนารมณ์เพื่อเป็นการคุ้มครองนายจ้างและลูกจ้างมิให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แม้ตามมาตรา 123 ซึ่งมุ่งหมายมิให้นายจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องจะได้กำหนดเหตุแห่งการเลิกจ้างไว้ แต่ก็มิได้หมายความว่า เมื่อนายจ้างมีเหตุจำเป็นนอกเหนือจากเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวแล้ว นายจ้างจะเลิกจ้างไม่ได้ จึงต้องพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญฉะนั้นแม้การเลิกจ้างจะเป็นเหตุให้ผู้ถูกเลิกจ้างเดือดร้อน แต่ถ้าเป็นความจำเป็นทางฝ่ายนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างดำรงอยู่ต่อไป ก็ย่อมเป็นสาเหตุที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้
จำเลยร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานที่เกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องและถูกโจทก์เลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับ ทั้งก่อนที่โจทก์จะยุบตำแหน่งจำเลยร่วม โจทก์ก็ยังประกอบกิจการได้กำไรอยู่ การยุบเลิกตำแหน่งดังกล่าวเป็นเพียงนโยบายของสำนักงานใหญ่ของโจทก์เท่านั้น ทั้งตำแหน่งงานใหม่ที่โจทก์เสนอให้จำเลยร่วมคือรองนายสนามบิน ก็ต้องทำงานเป็นกะบางครั้งต้องทำงานในเวลากลางคืนและทำงานช่วงวันเสาร์อาทิตย์ จำเลยร่วมมีครอบครัวจึงไม่สะดวก ส่วนตำแหน่งฝ่ายปฏิบัติการประจำสนามบินมีผลประโยชน์ต่ำกว่าตำแหน่งเดิมที่จำเลยร่วมทำงานอยู่ จำเลยร่วมจึงปฏิเสธ โจทก์ไม่สามารถหาตำแหน่งงานใหม่ที่เหมาะสมให้แก่จำเลยร่วมได้ การที่จำเลยร่วมปฏิเสธตำแหน่งงานใหม่ที่โจทก์เสนอจึงมิใช่ความผิดของจำเลยร่วม กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์มีเหตุที่จำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ในการเลิกจ้างจำเลยร่วม ทั้งการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมเพราะเหตุยุบตำแหน่งของจำเลยร่วม ก็ไม่อยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 การที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยร่วมในกรณีนี้จึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตขายที่ดินของผู้เยาว์: พิจารณาความจำเป็น, ฐานะ, โอกาสทางการศึกษา และอนาคตของผู้เยาว์
ผู้ร้องและผู้เยาว์มีบ้านอยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งไม่มีปัญหาเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย ผู้ร้องประกอบอาชีพเป็นหลักฐานและมีรายได้ประจำเดือนละ 50,000 บาทแม้จะต้องใช้จ่ายในการอุปการะเลี้ยงดูแก่บิดามารดาของผู้ร้อง แต่ก็ต้องกันรายได้ให้เหลือเพียงพอแก่การครองชีพของผู้ร้องบ้าง การที่พี่ชายของผู้เยาว์มีโครงการจะศึกษาต่อระดับปริญญาโท และผู้เยาว์ต้องการเงินไปฝากธนาคารไว้เพื่อเป็นทุนการศึกษา และสำรองเก็บไว้ใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินนั้น มิใช่เป็น เรื่องจำเป็นเร่งด่วนหรือเป็นเหตุฉุกเฉินที่ผู้เยาว์จำเป็น จะต้องขายที่ดินเพื่อนำเงินมาใช้จ่าย ผู้เยาว์ได้รับเงิน ค่าอุปการะเลี้ยงดูจากบิดาผู้เยาว์เดือนละ 10,000 บาท เมื่อคำนึงถึงฐานะและวัยของผู้เยาว์แล้ว เงินจำนวนดังกล่าว หากใช้จ่ายพอประมาณและแบ่งเก็บไว้บ้างบางส่วนเป็นค่าใช้จ่าย ในการศึกษาคงไม่ถึงกับขัดสนหรือเดือดร้อนแม้ที่ดินของผู้เยาว์ จะได้มาจากการยกให้ของผู้ร้องและบิดาผู้เยาว์ และบิดาผู้เยาว์ ไม่ขัดข้องที่จะขายที่ดินก็ตาม แต่ผู้เยาว์มีอายุ 18 ปีเศษแล้ว อีกไม่นานก็จะบรรลุนิติภาวะและสามารถจัดการทรัพย์สินของตนเอง ได้ เพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ในอนาคต สมควรปล่อยให้ผู้เยาว์ ได้มีโอกาสตัดสินใจด้วยตนเองเมื่อถึงเวลาอันควร อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เยาว์มากกว่า เพราะราคาที่ดิน มีแต่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงยังไม่มีเหตุที่จะอนุญาต ให้ผู้ร้องทำนิติกรรมขายที่ดินของผู้เยาว์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1273/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซ่อมแซมสิ่งของเก่าตามสัญญาจ้าง: ดุลพินิจช่าง, ความจำเป็น, และค่าจ้าง
โจทก์มีหนังสือถึงอธิบดีกรมศิลปากร ขอซ่อมเปียโนพิพาทแจ้งว่าโจทก์มีความสามารถที่จะซ่อมเปียโนให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ มิได้มีการระบุขอซ่อมเพื่อรักษาสภาพของเก่า ตามสัญญาว่าจ้างฉบับพิพาท โจทก์ก็ระบุให้ซ่อมโดยอนุรักษ์ของเก่าเท่าที่ทำได้โดยไม่มีรายละเอียดว่าส่วนใดห้ามเปลี่ยน ส่วนใดให้เปลี่ยนได้การตกลงว่าจ้างซ่อมเปียโนเก่าเพื่อให้ใช้ได้โดยสมบูรณ์และให้รักษาของเก่าด้วยเช่นนี้จึงเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะเปียโนอายุมากกว่า 180 ปี หมดสภาพการใช้งานโดยสิ้นเชิงแล้ว เมื่อการกำหนดรายละเอียดในการซ่อมไม่ปรากฏในสัญญาจ้างโดยชัดแจ้ง จึงต้องอยู่ในดุลพินิจของช่างผู้ชำนาญจะพิจารณา หากรักษาของเก่ามากเปียโนก็ใช้งานไม่ได้ หากจะให้ใช้งานได้สภาพของเก่าจะหมดลง การที่จำเลยให้ช่างเปลี่ยนชุดแป้นลิ่มนิ้วทั้งสองด้าน ทั้งที่ชุดแป้นลิ่มนิ้วด้านหนึ่งยังพอใช้ได้ แต่หากใช้แป้นลิ่มนิ้วเก่าเปียโนจะได้เสียงไม่สมบูรณ์ตามสัญญาจ้าง จึงถือเป็นความจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงได้ นอกจากนี้ตามสัญญาว่าจ้างตกลงค่าจ้างแน่นอน ทั้งตามข้อสัญญามิได้มีข้อกำหนดว่าชิ้นส่วนที่ชำรุดดังกล่าวจะต้องส่งคืนโจทก์ การซ่อมแซมของจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาจ้างแล้ว และเมื่อการบอกเลิกสัญญาของโจทก์เป็นไปโดยมิชอบ โจทก์จึงต้องชำระค่าจ้างที่ค้างแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็นเกิดขึ้นตามความจำเป็น เมื่อไม่มีความจำเป็นแล้ว สิทธิในการใช้ทางนั้นย่อมสิ้นสุด
ทางจำเป็นมิใช่สิทธิที่ติดกับที่ดินที่จะโอนไปพร้อมกับที่ดิน แต่ทางจำเป็นเกิดขึ้นและมีอยู่ตามความจำเป็น เมื่อไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทางแล้ว ก็ขอเปิดทางจำเป็นไม่ได้
โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 32684 ซึ่งอยู่ติดกับที่ดินโฉนดเลขที่12194 ของโจทก์โดยโจทก์สามารถเดินออกสู่ถนนสาธารณะผ่านที่ดินโฉนดเลขที่12194 ได้ แม้เดิมผู้อยู่ในที่ดินโฉนดเลขที่ 32684 ที่โจทก์รับโอนมาจะมีสิทธิใช้ทางในที่ดินโฉนดเลขที่ 32688 ของจำเลยในฐานะทางจำเป็นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ทางนั้น เพราะโจทก์สามารถใช้ที่ดินแปลงโฉนดเลขที่12194 ออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1336 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิขอเปิดทางพิพาทผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 32688 เป็นทางจำเป็นไม่ว่าจะเป็นกรณีตามป.พ.พ.มาตรา 1349 หรือมาตรา 1350

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจค่าฤชาธรรมเนียม - การบังคับคดีเกินความจำเป็น - สิทธิโจทก์
แม้จำเลยเป็นฝ่ายแพ้คดีซึ่งต้องรับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาและความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีย่อมตกอยู่แก่จำเลยก็ตาม แต่ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลพินิจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคแรกที่จะให้คู่ความฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งหมดหรือแต่บางส่วนได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง เมื่อปรากฏว่าจำเลยมีเงินฝากอยู่กับโจทก์ 237,222.86 บาท และโจทก์สามารถตัดบัญชีชำระหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีจำนวน 335,656.76 บาท ได้ แต่โจทก์กลับไปยึดทรัพย์ของจำเลยซึ่งมีราคาเป็นสิบล้านบาท จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิดำเนินการบังคับคดีเกินความจำเป็น เมื่อจำเลยเองก็ไม่ได้ประวิงการบังคับคดี ทั้งได้ขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนภายใน 4 เดือน นับจากวันถูกยึดทรัพย์เช่นนี้จึงไม่สมควรที่จะให้จำเลยทั้งสองรับผิดชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีแทนโจทก์ โจทก์จึงต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 804/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนค้นหาทรัพย์สินลูกหนี้: หลักฐานงบดุลที่ไม่ชัดเจนและการพิจารณาความจำเป็นในการเรียกพยาน
ตามคำร้องของโจทก์อ้างว่าจากการตรวจสอบหลักฐานบัญชีงบดุลของจำเลยณวันที่31ธันวาคม2534ระบุว่าจำเลยมีทรัพย์สินมากกว่าที่จำเลยเป็นหนี้ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)สาขาลาดพร้าว111 ตามที่ได้เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันไว้และมากกว่าเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันที่จำเลยเปิดไว้ต่อธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน)สาขาคลองจั่น อีกบัญชีหนึ่งทั้งทราบจากเจ้าหน้าที่ธนาคารว่ามีทรัพย์สินวางเป็นประกันไว้ต่อธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)สาขาลาดพร้าว111 แต่จำเลยได้ย้ายสำนักงานโดยไม่ทราบว่าย้ายไปอยู่ที่ใดและส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน)สาขาลาดพร้าว111ไม่ยินยอมให้ตรวจทรัพย์สินที่จำเลยวางประกันดังนี้ตามสำเนางบดุลของจำเลยที่โจทก์แนบมาท้ายคำร้องเป็นการระบุสินทรัพย์อย่างกว้างๆไม่มีรายละเอียดและเป็นงบดุลที่แสดงสินทรัพย์เพียงวันที่31ธันวาคม2534ก่อนโจทก์ยื่นคำร้องเป็นเวลาเกือบ2ปี6เดือนระยะเวลาดังกล่าวอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นไม่มีทรัพย์สินตามที่ระบุไว้ก็ได้เนื่องจากการประกอบการงานของจำเลยส่วนหลักประกันที่วางไว้ต่อธนาคารนั้นก็ไม่ปรากฏว่าเป็นหลักประกันด้วยทรัพย์สินอะไรแน่ชัดดังนี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทราบโดยแน่ชัดว่าจำเลยมีทรัพย์ที่สามารถระบุจำนวนชนิดและประเภทได้มากกว่าที่ปรากฏในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันในธนาคารทั้งสองแห่งที่โจทก์ทราบทั้งเงินของจำเลยที่ปรากฏทางบัญชีก็ไม่พอชำระหนี้โจทก์เหตุผลตามคำร้องทำให้โจทก์เชื่อว่าจำเลยมีทรัพย์สินที่จะถูกบังคับมากกว่าที่โจทก์ทราบโดยมีว.กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยและส.ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัดที่อาจจะทราบถึงความมีอยู่ที่แท้จริงแห่งทรัพย์สินของจำเลยคำร้องของโจทก์จึงมีเหตุสมควรที่จะหมายเรียกบุคคลทั้งสามมาทำการไต่สวนตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา277
of 17